วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

Multiple myeloma: Prevention & Treatment

9/13/12

การป้องกัน (Prevention)
เราอาจสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรค myltiple myeloma 
โดยการหลีกเลี่ยงจากการสัมผัสกับปัจจัยต่อไปนี้:

·      Radiation
·      The toxic chemical benzene
·      Pesticides
·       
การรักษา (Treatment)
ถ้าคนไข้ไม่มีอาการของโรค  การรักษาอาจชะลอไว้ก่อนได้
จนกว่า  อาการจะปรากฏ   ซึ่งการรักษาประกอบด้วย:
§  รักษาด้วยด้วย “เคมีบำบัด”  ซึ่งกินเวลาหนึ่งถึงสองปี  ซึ่งการรักษาแต่ละครั้ง
จะกินเวลา 4 – 6 อาทิตย์ (courses)  โดยสารเคมีจะทำลายเซลล์มะเร็ง 
หรือยุติการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลง  ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่า  เป็นวิธีการที่ดี
สำหรับการรักษาโรค multiple myloma

ด้วยวิธีการรักษาดังกล่าว  คนไข้ส่วนใหญ่จะได้รับผลดีขึ้น
แต่ยังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลือในร่างกาย  มีคนไข้เพียงส่วนน้อยที่พบว่า 
มะเร็งถูกกำจัดได้หมดสิ้น

§  ฉีดสาร Biophosphonates  โดยการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ  สามารถป้องกันไม่ให้กระดูกแตกหัก  และสามารยืดอายุคนไข้ได้  โดยการฉีดยาเดือนละครั้ง

§  ให้ (ฉีก) immunoglobulins เข้าเส้น  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบติดเชื้อ

§  ให้ Thalidomide หรือ lenlidomide. ยาเหล่านี้  อาจให้อย่างเดียว 
หรือให้กับยาตัวอื่น ๆ   ซึ่งแพทย์อาจให้ยาตัวนี้ในระยะแรก ๆ ของการเกิดโรค 
หรือให้ภายหลังการรักษาอย่างอื่น  เพื่อป้องกันไม่ให้โรคมะเร็งฟื้นกลับมาได้อีก

§  การฉายแสง (Radiation therapy)  ถูกนำมาใช้ในการรักษาภาวะที่มีอาการปวดกระดูก  สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดกระดูกลงได้

§  Stem cell transplant  ก่อนที่เราจะทำการรักษาด้วยเซลล์บำบัด  คนไข้จะได้รับ
สารเคมี (chemotherapy) เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดสิ้นไปเสียก่อน  
 จากนั้น  เขาจึงจะฉีดเซลล์ต้นกำเนิด (stem cells)  ให้แก่คนไข้

โดยเซลล์ต้นกำเนิดดังกล่าว  ได้จากตัวคนไข้ (เลือด หรือไขกระดูก)
โดยมีการเตรียมตัวก่อนที่คนไข้จะได้รับ “เคมีรักษา” เพื่อทำลายมะเร็ง
ซึ่งเซลล์ที่ให้แก่คนไข้  จะพัฒนาไปเป็นเซลล์ของเม็ดเลือดที่สมบูรณกันต่อไป

การรักษาทุกอย่างที่กล่าวมา  ไม่มีวิธีใดที่สามารถรักษาโรค multiplemyeloma  
ให้หายขาดได้  แต่วิธีการดังกล่าว  อาจควบคุมโรค  หรือชะลอไม่ให้มันกลับคืน
มาได้หลายปี
การพยากรณ์โรค (Prognosis)
โดยรวม  คนที่เป็นโรค multiple myeloma…
มีประมาณหนึ่งในสามเท่านั้น  ที่สามารถมีชีวิตยืนยามากกว่า 5 ปี
ส่วนคนที่วินิจฉัยโรคได้เร็ว (early) พร้อมกับให้การรักษา
อาจทำให้คนไข้มีชีวิตยืนยาวกว่าก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น