วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โรคกระดูกพรุน (Ostopoorsis) : Exercise precautions 1

July 21,2013

ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่เป็นโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)...
ท่านอาจได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ให้ทำการออกกำลังกายทุกวัน
แพทย์ หรือคนที่รับผิดชอบต่อการดูแลคนไข้ ต่างรู้ดีว่า
มีความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวบ่อยๆ กับความแข็งแรงของกระดูก
แต่สิ่งสำคัญที่เราจะต้องทราบ คือ เราจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง
และควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มทำการออกกำลังกาย
เพราะมีการออกกำลังกายบางท่า สามารถเป็นอันตรายต่อกระดูกกรุนได้

ข้อเท็จจริง (Facts)

 กระดูกพรุน (osteoporosis) บางครั้งเราจะใช้คำว่า กระดูกเปราะบาง 
brittle bone disease  ซึ่งเป็นกระบวนที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ตามอายุที่สูงวัยขึ้น
ส่วนใหญ่กระดูกพรุนจะเกิดขึ้นที่บริเวณกระดูกสะโพก, กระดูกสันหลัง หรือข้อมือ

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว คือร่างกายขาดธาตแคลเซี่ยม
ซึ่งคนเราสามารถได้รับจากสารอาหาร

ตามคำบอกเล่าของ The National Institutes of Health...ผู้ใหญ่ควร
ได้รับ calcium 1,000 – 1,500 mg ต่อวัน แต่คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นชาติใด มักจะ
ได้รับเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น

ผลของการขาดธาตุแคลเซี่ยม หรือไม่ได้ธาตุแคลเซี่ยมในประมาณทีเพียงพอ 
จะทำให้มีการดึงเอาธาติแคลเซี่ยมออกมาจากตัวกระดูก เป็น
เหตุให้กระดูกบางลง (อ่อนแอ) ในเวลาที่ผ่านไป

 เพื่อให้ร่างกายได้รับธาตุแคลเซี่ยม เราจำเป็นต้องได้รับ vitamin D ใน
ปริมาณที่เพียงพอ เพื่อช่วยให้กระดูกดูดซับเอาแคลเซี่ยมได้ดีขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง(Risk Factors)

 ตามที่ the National Osteoporosis Foundation (NOF)...
ได้รายงานเอาไว้ว่า สตรีมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าชายถึงสี่เท่าตัว 
จากสถิติของสหรัฐฯ รายงานไว้ว่า ในประชากรของเขาเป็นโรคดังกล่าวถึง 10 ล้านคนนั้น 
ในจำนวนดังกล่าว พบว่า 80 % เป็นสตรี  ส่วนที่เหลือ 20 % จะพบในชาย

 ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าวได้แก่นำหนักตัวน้อยกว่าปกติ , 
มีประวัติครอบว่าเป็นโรคกระดูกพรุน, แก่มากขึ้น, โครงกระดูกเล็ก, 
หมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร, โรครูมาตอยด์, สูบบุหรี่, 
และดื่มแอลกอฮอล์ จัด หรือดื่มกาแฟ

>> Next :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น