วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Movement disorder 2

JUn. 2013

กลุ่มกล้ามเนื้อต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้าน
(Antagonistic muscle pairs)

การเคลื่อนไหวของมือตามทีกล่าวมา ถือเป็นการเคลื่อนไหวอย่างง่ายๆ
แต่การเคลื่อนไหวที่มีความละเอียดกว่านั้น จะเกิดจากบทบาทของ
กลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ตรงข้าม ซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านกับกลุ่มกล้ามเนื้อ
ตามที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้

ยกตัวอย่าง...
กล้ามเนื้อ biceps ซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของต้นแขน
จำหน้าที่ทำให้แขนงอพับที่ข้อศอก ส่วนส่วนกล้ามเนื้อ triceps ที่อยู่ทางด้านหลัง
ของต้นแขน เมื่อมีการหดตัว  จะทำให้แขนเหยียดตรง 
ซึ่งทำหน้าที่ตรงข้ามกับกล้ามเนื้อ biceps

ในการทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสองกลุ่ม...
จะถูกควบคุมโดยการทำงานของระบประสาท  โดยมีคลื่นกระแสประสาทจากไขสันหลัง
ที่ถูกส่งมายังกล้ามเนื้อกลุ่มดังกล่าว โดยการทำให้กล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่งหดตัว 
และขณะเดียวกันจะบล็อกการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มตรงข้ามไม่ให้ทำงาน

เพื่อให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น...
ในขณะที่มีคลื่นประสาท (signals) ให้กล้ามเนื้อ biceps ทำงานด้วยกาเกิดการหดตัว
อีกคำสั่งหนึ่งจากไขสันหลัง จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อ Triceps
เกิดการหดตัว

บาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับไขประสาทสันหลัง หรือสมอง สามารถทำลาย
ระบบคุมควบการเคลื่อนไหวดังกล่าว และก่อให้เกิดมีการหดเกร็งของ
กล้ามเนื้อได้เอง (involuntary simultaneous contraction) พร้อมกับ
ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายถูกแรงต่อต้านเกิดขึ้น

The Cerebellum (สมองน้อย)

เมื่อการเคลื่อนไหวของมือเริ่มเกิดขึ้น
จำเป็นต้องได้รับข้อมูลทางความรูสึก (sensory information) ที่สำคัญ
เพื่อเป็นเป็นตัวชี้นำให้นิ้วมือสามารถกเคลื่อนไหวสู่เป้าหมายได้ถูกต้องตามต้องการ

นอกเหนือจากภาพที่เห็น (sight) ยังมีข้อมูลที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ
ตำแหน่งของร่างกาย (position sense) โดยมีเซลล์ประสาทจำนวนในบริเวณมือ และเท้า
ทำหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับตำแหน่ง (position)  และท่าทาง (posture)
ของมือ และเท้า (proprioception) ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำให้การใช้นิ้วมือสัมผัส
ส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า

อวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว (balance organs)
ซึ่งอยู่ในหูชั้นใน (inner ears) จะเป็นตัวให้ข้อมูลเกี่ยวกับท่าทางของคน(posture)

ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จาก proprioception และจาก balance organs ใน
หูชั้นใน และจากตา จะส่งผ่านการประมวนผลโดยสมองน้อย หรือที่เราเรียก cerebellum
ซึ่งจะมีการปรับปรุงการเคลื่อนไหว ให้มีความประณีตขึ้น

เมื่อใดก็ตามที่เกิดความผิดปกติในสมองน้อย (cerebellum)…
จะทำให้สมองส่วนดังกล่าวไม่สามารถควบคุมแรง, ตำแหน่งที่เหมาะสม, รวมถึงความเร็ว
ของการเคลื่อนไหว  ทำให้เกิดการเคลื่นไหวที่ผดปกติไป (ataxia)

นอกจากนั้น ความผิดปกติในสมองน้อย
อาจทำให้เกิดความบกพร่องในการตัดสินระยะทางของเป้าหมายผิดพลาดไป 
เช่น สั้นไป หรือยาวไป (dysmetria)

และอาการสั่นเทา (tremor) ของร่างกายในระหว่างการเคลื่อนไหว
ก็เป็นผลมาจากสมองน้อย (cerebellum) ถูกทำลายได้เช่นกัน

   <<  Prev   Next>>

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น