วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีด P. 5 : Initiating insulin : Multiple Options

Sept 10,2014

ในการรักษาโรคเบาหวานประเภทสอง (T2DM) ด้วยการฉีดซูลิน
(insulin therapy) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้า...
มีแนวทางให้เราเลือกใช้หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้


วิธีที่ 1 : ฉีดอินซูลินเพียง 1 ครั้ง (One injection): มีให้เลือกใช้อย่างใด
อย่างหนึ่ง...

o ใช้ Intermediate-acting insulin หรือ Long-acting analog ให้ก่อนนอ
   (At bedtime) หรือ

o ใช้ Premixed formulation ก่อนอาหารเย็น (before dinner)

วิธีที่ 2: ฉีดอินซูลิน 2 คร้ง (2-injections): เป็นการรักษาด้วยการให้ฉีด
อินซูลินสองครั้ง โดยให้ออกฤทธิ์จัดการกับน้ำตาลที่เกิดจากอาหารมื้อเช้า 
(breakfast)  และก่อนอาหารมื้อเย็น (dinner) โดยการใช้อินซูลิน:

o ใช้ premixed formulation ฉีดเช้าเย็น (ก่อนอาหารเช้า และก่อนอาหารเย็น)
หรือ

o ใช้ short-acting หรือ rapid-acting + NPH,  หรือ Long-acting Analog
ฉีดเช้า/เย็น  (โดยให้ก่อนอาหารเช้า  และอาหารเย็น)

วิธีที่ 3: เป็นการฉีดอินซูลิน 3 ครั้ง ( 3-injctions) : เป็นการรักษาด้วย
การฉีดอินซูลิน 3 ครั้ง โดยเพิ่มอินซูลินสำหรับอาหารมื้อกลางวัน  ดังนี้:

o  ให่้ premixed insulin สำหรับอาหารเที่ยง (lunchtime) ร่วมกับการฉีด 
premixed formulation อีก  2 ครั้งสำหรับในมื้อเช้า (breakfast) และมื้อย็น
(dinner) หรือ

o ให้ short-acting หรือ rapid-acting insulin สำหรับอาหารมื้อเที่ยง  
เป็นการเพิ่มการให้ (ฉีด) อินซูลินด้วย  premixed insulin สำหรับอาหารมื้อเช้า
 และอาหารมื้อเย็น  หรือ

o ให้  intermediate insulin หรือ  long-acting insulin ก่อนนอน  ร่วม
กับการใช้ short-acting  หรือ rapid-acting analog สำหรับอาหารมื้อเช้า 
และอาหารมื้อเย็น 

วิธีที่ 4: ฉีดอินซูลินหลายครั้ง (multiple injections): เป็นวิธีรักษาโรคเบาหวาน
ด้วยการฉีดอินซูลินหลายครั้ง   ในการฉีดแต่ละครั้ง  เป็นการใช้อินซูลินเพื่อจัดการ
กับน้ำตาลที่ได้จากอาหารที่รับประทานในแต่ละครั้ง (มื้อ)  ดังนี้:

o ฉีด short-acting หรือ rapid-acting insulin analog สำหรับอาหารในแต่ละมื้อ 
โดยร่วมกับการฉีด intermediate- หรือ long-acting insulin ก่อนนอน  หรือ

o เป็นการฉีดแบบ insulin pump

ในการรักษาด้วยอินซูลินฉีดทั้งสี่วิธี...
แต่ละวิธีที่กล่าวมา  ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคนไป  เป็นหน้าที่ของแพทย์ฺจะต้อง
เลือกใช้ให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายไป  โดยขึ้นกับปริมาณอิซูลินที่เหลือ
จากการสร้างของตับอ่อน (resudual endogensous insulin), และผลของการ
ควบคุมน้ำตาล,  รวมไปถึงการออกกลังกายของตัวคนไข้รายนั้น 

ในการรักษาโรคเบาหวานด้วยการฉีดอินซูลินเพียง 1 ครั้ง  ด้วยการใช้ 
Intermediate- acting insulin หรือ  long-acting insulin analog ฉีดก่อนนอน   
เป็นวิธีที่ใช้เสริม basal insulin ที่ได้จากตับอ่อน (endogenous basal secretion), 
เสริมยาเม็ดลดน้ำตาล,  และช่วยแก้ไขระดับน้ำตาลในช่วงท้องว่างที่มีค่าสูงขึ้น

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กล่าว...
เราจะใช้  basal insulin analog (glargine)  10 units /วัน ก่อนนอน  พร้อมกับ
มีการตรวจดูระดับน้ำตาลในตอนเช้า (FPG) ทุกวัน  และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  
เราสามารถเพิ่มขนาด (dose) ของอินซูลินตามความต้องการ  โดยอาศัยข้อมูล
จากการตรวจ FPG ของ 2 วันก่อน

นอกจากวิธีดังกล่าว...
เราสามารถใช้  premixed insulin หรือ insulin analog เพื่อจัดการ
กับน้ำตาลที่ได้จากอาหารเย็น โดยการให้อินซูลินในเวลาอาหารเย็น  โดยฤทธิ์
ของอินซูลินที่ฉีด ก่อนอาหารเย็น (dinner) นอกจากจะทำหน้าที่เป็น basal insulin
ยังออกฤทธิ์จัดการกับน้ำตาลที่ได้จากอาหารเย็น (post-dinner coverage) ด้วย

ถ้าผลของการรักษาในวิธีแรกไม่สามารถทำให้ระดับน้ำตาลลดลงสู่เป้าหมาย
เราจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการรักษา  โดยใช้วิธีฉีดอินซูลิน 2 ครั้ง   ด้วยการใช้ 
premixed formulation  ซึ่งประกอบด้วย rapid- และ intermediate-acting insulins 
หรือใช้  Insulin analogs ก่อนอาหารเช้า และก่อนอาหารเย็น 

ถ้าผลของการรักษาตาวิธีที่สอง ยังไม่บรรลุเป้าหมาย...
เราต้องขยับเป็นการรักษาด้วยด้วยการฉีดยาเข็มที่สาม ด้วยการให้ short-
Acting insulin หรือ rapid-acting insulin analog สำหรับอาหารเทียงวัน
(lunchtime) เพิ่ม  เป็นการฉีดอินซูลิน 3 ครั้ง

มีคนไข้บางรายเกิดมีระดับน้ำตาลลดต่ำในตอนกลางคืน (nocturnal hypo-glycemia)  
หรือมีรับน้ำตาลขึ้นสูงในตอนเช้า (morning hyperglycemia)
อาจจำเป็นต้องให้อินซูลิน 3 ครั้ง (3 injecions)

นอกจากนั้น เราสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดระดับน้ำตาลลดต่ำในตอนกลางคืน
nocturnal hyperglycemia)  โดยการลดยาฉีดในตอนก่อนนอน 
(ทั้ง intermediate- หรือ long-acting insulin)


<< BACK    NEXT   >> P. 6: Initiating insulin : continued 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น