วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

Rapid-Acting Insulin (ควบคุมเวลาการใช้ให้ถูกต้อง) Part 4:Insulin action

Nov. 17, 2013

ฤทธิ์ของอินซูลินที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งเป็นสามระยะด้วยกัน:

 Onset: จุดเริ่มต้นของการออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
 Peak: เป็นช่วงที่อินซูลินออกฤทธิ์ต่อการลดระดับน้ำตาลได้สูงสุด
 Duration: เป็นระยะเวลาที่อินซูลินออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลอย่าง
ต่อเนื่อง

อินซูลินออกฤทธิ์ในระยะสั้น (rapid-acting insulin) ...
มักจะถูกเรียกว่า mealtime insulin หรืออินซูลินที่ใช้ในขณะกินข้าว
หรือรับประทานอาหาร ที่เรียกเช่นนั้น เพราะการออกฤทธิ์ของมันจะ
คล้ายกับฤทธิ์ของอินซูลินที่ถูกปล่อยออกมาตามธรรมชาติโดยตับอ่อน
ซึ่งถูกปล่อย (หลั่ง) ออกมาเพื่อจัดการกับน้ำตาลที่ได้จากอาหารที่คน
เรารับทานเข้าไป...

อย่างไรก็ตาม มีผู้คนจำนวนไม่น้อยได้ใช้ rapid-acting insulin แก่
คนไข้เพื่อให้มันทำหน้าที่จัดการกับน้ำตาลในกระแสเลือดให้เข้าสู่เซลล์
ในขณะท้องว่างทั้งกลางวัน และกลางคืน โดยวิธีให้อินซูลินอย่างต่อ
เนื่อง (insulin pump) เพื่อให้เพื่อให้เซลล์ในร่างกายได้ใช้น้ำตาลเป็น
พลังอย่างต่อเนื่อ..ซึ่งเราเรียก basal insulin

ในปัจจุบัน เรามีอินซูลินออกฤทธิ์เร็ว (rapid acting insulin) ให้เราได้
ใช้เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาล...อยู่สามชนิด นั้นคือ Lispro, aspart
(Novolog) และ glulisine (Apidra) ซึ่งต่างมีวิถีการออกฤทธื (action
Curve) คล้ายๆ กัน (เริ่มออกฤทธิ์5 -15 นาที., ออกฤทธิ์มสูงสดุใน
เวลา 45-90 นาที และช่วงเวลาการออกฤทธิ์นานประมาณ 3 – 4 ชม.)

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่แสดงการออกฤทธิ์ของอินซูลินได้สุงสุดมาเป็น
เพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น (45 – 90 นาที) ซึ่งอาจเร็ว หรือช้ากว่านั้นได้
ดังนั้น ท่านอาจพบได้จากการตรวจรับน้ำตาลในกระแสเลือด...เพื่อได้
ที่เหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละรายไป

<< PREV    NEXT >> Part 4 Matching insulin and food

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น