วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อตัดสินใจรักษาด้วยอินซูลินฉีดญ P.2: Initiating insulin in T2DM: Therapeutic goal

Sept. 10,2014
continued

ในคนเป็นโรคเบาหวาน ผู้ได้รับการรักษาด้วยยาเม็ดลดน้ำตาล 
(oral anti-Diabetic agents) ร่วมกัน แล้วปรากฏว่าไม่สามารถลดน้ำตาล
ลงสู่เป้าหมายตามที่ต้องการได้  ควรพิจารณาเริ่มให้อินซูลินทันที

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานประเภทสอง...
ส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาด้วยยาเม้็ดลดระดับน้ำตาล (oral medicines)
จากนั้น  คนไข้ควรได้รับตรวจเช็คระดั้บ A1C ทุก  2 – 3 เดือน 
ถ้าปรากฏว่า   เราไม่สามารถสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้  คนไข้จะได้
รับการพิจารณาเพิ่มยาเม็ดลดน้ำตาลเป็น 2 ขนานร่วมกัน  พร้อมกับทำ
การตรวจดูระดับ A1C ทุก 2 -3 เดือน  ถ้าผลปรากฏว่า เราไม่สามารถลด
ระดับน้ำตาล และ / หรือ A1C ไม่ลดลงตามเป้าหมาย...
ในกรณีเช่นนี้  เราควรต้องเพิ่มอินซูลิน  เป็นยาตัวที่สามให้แก่คนไข้

เป้าหมายของการรักษาด้วยอินซูลิน  จะเหมือนกับเป้าหมายของการรักษา
เบาหวานด้วยวิธีอย่างอื่น   นั้นคือ ลดระดับน้ำตาลสู่ระดับที่ต้องการ 
โดยไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลลดต่ำ hypoglycemia หรือทำให้น้ำหนักตัว
เพิ่มมากขึ้น หรือไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนไข้

ด้วยเป้าหมายตามที่กล่าว...
แพทย์ผู้รักษาจำเป็นต้องรู้สภาพของคนไข้แต่ละรายว่า :

o คนไข้คือใคร?
o การดำเนินชีวิตในแต่ละวันเป็นอย่างไร ?
o รับประทานอาหารสม่ำเสมอหรือไม่ ? ชอบรับประทานอาหารประเภท
   ใดเป็นการพิเศษ?
o อายุมากน้อยแค่ใหน?
o รtดับความสามารถทางสมองอยุู่ระดับใด ?
o มีข้อจำกัดทางร่างกายอย่างใดหรือไม่  เป็นต้นว่า มีปัญหาด้านการเคลื่อน
   ไหว เช่น เป็นโรคไข้ข้ออักเสบ หรือโรคปวดประสาท?

เมื่อนำเอาประเด็นต่างๆ มาร่วมพิจารณาในการรักษา ย่อมทำให้เราสามารถ
เลือกวิธีที่เหมาะสมให้แก่คนไข้ได้

เป้าหมายของการรักษาก็มีความสำคัญเช่นกัน...

The American Diabetes Association (ADA) ได้แนะเป้าหมายของการ
รักษาเอาไว้ที่ A1C อยู่ที่ระดับ 7%  หรือต่ำกว่า 
ส่วน The American Association of Clinical Endocrinologists ได้กำหนด A1C 
ไว้ที่ 6.5%  หรือต่ำกว่า

เราจะเห็นว่า คำแนะนำของสองหน่วยงาน...มีความแตกต่างกัน และอาจเป็นเหตุ
ให้เกิดความสับสนได้่    และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงควรกำหนดเป้าหมาย
สำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติเอาไว้ว่า ...
ให้ กำหนดเป้าหมาย  โดยให้ค่า  A1C  ไกล้เคียงกับค่าปกติ  โดยไม่ก่อให้เกิด
ภาวะ hypoglycemia

มีประเด็นที่ควรได้รับพิจารณา.... 
เมื่อคนไข้มาพบแพทย์ด้วย A1C มีค่า  10% หรือสูงกว่า    เขาสมควรได้รับการ
รักษาด้วย insulin ทันที  เพื่อลดระดับน้ำตาลให้ลงสู่ระดับที่ต้องการ 


ข้อมูลที่ได้จากระดับน้ำตาลในช่วงอดอาหาร (fasting blood sugar),
ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหาร (postpandrial blood glucose), และระดับ A1C 
สามารถนำมาพิจารณาในการใช้อินซูลินชนิด basal insulin  หรือ หากจำเป็น อาจ
พิจารณาใช้อินซูลินร่วมกันระหว่าง basal insulin  กับ bolus insulin

สุดท้าย ดีกรีของการไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ก็เป็นอีกประเด็นที่นำ
มาใช้ในการพิจารณาเพิ่มขนาด (dose) ของอินซูลิน


<< BACK    NEXT >> P.3: The Challenges of Insulin Therapy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น