วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

Understanding Parkinson's Disease 1

How Our Brain Controls Our Movement
เพื่อให้เกิดความเข้าในโรคพาร์กินสัน (หรือโรค PD) ดีขึ้น....
หากเราทบทวนการทำงานของสมองด้านควบคุมการเคลื่อนไหว
อาจทำให้เราเข้าใจโรค PD ได้ดีขึ้นก็เป็นได้
เช่น การเดินเป็นตัวอย่าง:


เริ่มต้นสมองจะรับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกาย
เช่น ในขณะที่ท่านนั่ง, นอน หรือลุกขึ้นยืน  รวมถึงความสมดุลของ
ร่างกายของท่าน  นอกจากนั้น  สมองยังรู้อีกว่า 
ท่านทำกำลังจะเดินไปไหน?  จะเดินผ่านพื้นที่ขรุขระ  หรือพื้นที่รื่นง่าย
ต่อการหกล้ม   ซึ่งสมองจะรวบรวมข้อมูลต่างๆ
ที่ได้จากฝ่าเท้าตอนสัมผัสพื้น

 สมองส่วนกลางที่มีชื่อว่า striatum จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ
ซึ่งจะมีการแปรผล และบูรณาการณ์พร้อมกับส่งคำสั่งไปยังประสาท
ส่วนปลายเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายในแง่มุมต่างๆ ต่อไป
นอกจากนั้นสมองส่วน striatum จะทำงานร่วมกับสมองส่วนอื่นๆ
รวมทั้งส่วนที่เรียกว่า Substantia nigra ซึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยว
กับส่งคำสั่ง (commands) สำหรับความมดุล (balance)
และการประสานการเคลื่อนไหว (coordination)

โดยคำสั่งดังกล่าว (commands) จะถูกส่งออกจากสมองสู่ไขสันหลัง
(spinal cord) ผ่านเครือข่ายของประสาทสู่กล้ามเนื้อ 
ซึ่งจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวต่อไป...

ระบบประสาทของคนเราจะประกอบด้วยหน่วยเล็กๆ เป็นจำนวนมาก
เรียก เซลล์ประสาท (nerve cells)  ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่อข่ายสื่อสาร
(communication network) ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์

ในการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาททั้งหลาย...
เซลล์ประสาทเหล่านั้นจะใช้สารเคมีที่ทำหน้าที่นำส่งคลื่นประสาท
(chemical messengers) เรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitters)
ระหว่างเซลล์ประสาท  โดยส่งผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาท  เรียก synapse

สารที่ทำหน้าที่นำข้อมูลข่าวสารมีชื่อว่า  dopamine
ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยสมองส่วนที่เรียก substantia nigra
โดยสารตัวนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหว และเป็นสารสื่อประสาท
ที่ทำหน้าที่นำข้อมูลข่าวสารไปยังสมองส่วนที่เรียก  stiatrum
ซึ่งทำหน้าที่ตั้งแต่เริ่มต้น (initiate) จนกระทั้งควบคุมการ (control)การเคลื่อนไหว และการทรงตัว

หน้าที่ของสาร dopamine มีความเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อให้ทำงานโดยราบรื่น (smooth…)
ไม่ติดขัด เป็นไปตามที่ต้องการ

เมื่อจำเป็นต้องมีข้อมูลข่าวสารจากสาร dopamine...

เมื่อเซลล์ประสาทจะผลิตสาร dopamine ออกมาและอนุภาคของสารดังกล่าว 
จะถูกถูกรวมกันเป็นแพกเกต

เมื่อแพกเกตดังกล่าวถูกเปิดออก  อนุภาคของ dopamine  จะถูกปล่อยออกสู่ช่องว่างระหว่าง
เซลล์ประสาท  และจะเข้าไปจับกับตัวรับ
ที่เซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่รับ
(receiving nerve cells)

เมื่อเซลล์ประสาทรับข้อมูลทีมาพร้อมกับสาร dopamine แล้ว
มันจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารต่อไปยังเซลล์ประสาทตัวถัดไปในลักษณะเดียวกันต่อไป


ภายหลังเซลล์ประสาทตัวรับ  ได้รับการกระตุ้นให้ส่งต่อข้อมูลข่าวสาร
มันจะปล่อยอนุภาคออกสู่ช่องว่าง synapse 

ในการปรับปรุงการเคลื่อนไหวให้ประสานกันอย่างราบรื่นนั้น... 
อนุภาคของ สาร dopamine ที่ถูกใช้ไปแล้ว (used dompamine)
กับอนุภาค dopamine ที่เหลือตกค้างในบริเวณ synapse (ไม่ถูกยึดจับกับ
เซลล์ประสาทตัวรับ) จะถูกทำลายโดยสารเคมี เชื่อ MAO-B

ขั้นตอนดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ
ของมนุษย์เรา  ถ้าปริมาณของ dopamine มีมากไป หรือมีน้อยไป 
ย่อมกระทบกับความสมดุลระหว่าง  dopamine กับ สารสื่อประสาทตัวอื่น
ซึ่งเป็นเหตุให้กระทบกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติไป

Acetylcholine เป็นสารสื่อประสาทอีกตัวที่ทำงานร่วมกับสาร dopamine
เพื่อทำให้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ  ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
มีเซลล์ประสาทบางตัวในสมองจะมีหน้าที่เฉพาะในการใช้สาร dopamine หรือสาร
Acetylcholine อย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นกับว่าท่านต้องการทำอะไร

มีอะไรเกิดขึ้นในโรค “พาร์กินสัน”

ในคนที่เป็นโรค “พารกินสัน”...
มีอะไรหลายอย่างที่เราไม่ค่อยจะเข้าใจแจ่มแจ้งนัก  เป็นต้นว่าเซลล์ประสาทสมอง
ที่อยู่ในสมองส่วน substantia nigra ซึ่งทำหน้าที่ผลิต หรือสร้างสารสื่อประสาท
Dopamine นั้น  มีปริมาณลดลงไป

เมื่อปริมาณของ dopamine ลดลงไปแล้ว  ร่วมกับสารเคมี MAO-B ทำหน้าที่
ทำลายสารสื่อประสาท dopamine ที่ตกค้างอย่างต่อเนื่อง
อะไรจะเกิดขึ้น ?

แน่นอน...ระดับของสารสื่อประสาท dopamine ในสมองยอมลดลงไป  เป็น
เหตุให้ความสมดุลระหว่าง dopamine/ acetylcholine  เสียไป

อย่างที่เราทราบมาว่า...
สมองส่วน basal ganglia มีหน้าที่ในการปรับแต่ง (modify) ให้การทำงาน
ของกล้ามเนื้อดำเนินไปด้วยความราบรื่นด้วยการใช้สาร “ dopamine”
เมื่อปริมาณของสาร dopamine น้อยลง หรือขาดหายไป 
ย่อมก่อให้เกิดมีการแข็งตัวของกล้ามเนื้อมากไป (overly tense), ร่างกายสั่น (tremor)
มีข้อต่อแข็งเกร็ง (joint rigidity) และเคลื่อนไหวช้าลงไป (slow movement)

ดังนั้น  เราจึงเห็นว่า...
ยาทั้งหลายที่นำมาใช้รักษาโรค “พาร์กินสัน” เป็นยาเพิ่มระดับของ dopamine
ในสมอง หรือเป็นยาที่ออกฤทธิ์ตรงข้ามกับสาร  acetylcholine

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น