วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

WHAT IS DEMENTIA ? 2


การวินิจฉัย (Diagnosis of dementia)


ถ้ามีคนเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia)…
ในปัจจุบัน  เราไม่มีการตรวจสำหรับวินิจฉัยโรคดังกล่าว  
แต่แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรค “อัลไซเมอร์”
และสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ 
โดยอาศัยประวัติการเกิดโรค (medical history),
ตรวจร่างกาย (physical exam.),
ผลการทางห้องปฏิบัติการณ์ (lab. Tests)
และการเปลี่ยนแปลงในการคิด (thinking), การปฏิบัติกิจในระหว่าง
วัน (day–to-day function) และพฤติกรรมในแต่ละราย

จากข้อมูลที่ได้  แพทย์สามารถตัดสินได้ว่า...
คนไข้แต่รายมีภาวะสมองเสื่อม (dementia) ด้วยความมั่นใจสูง
แต่เป็นการยากที่จะบอกว่า 
ภาวะสมองเสื่อมนั้นเป็นโรคนชนิดไหน ?
ทั้งนี้เพราะอาการแสดง และการเปลี่ยนแปลงของสมองแต่ละรายแตกต่างกัน 
และอาจทำให้เกิดอาการคาบเกี่ยวกัน (overlap) ได้

มีคนไข้บางราย  แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม 
แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดใด
ในกรณีเช่นนี้  อาจจำเป็นต้องพึงพาผู้เชี่ยวชาญ (neurologist )
ทำการตรวจสองด้วยวิธีพิเศษ

การรักษา (Dementia treatment)
 

ในการรักษา  ย่อมขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
ในรายที่มีอาการเลวลงเรื่อยๆ  (progressive)
เช่น โรค “อัลไซเมอร์” ในขณะนี้เราไม่มีทางรักษาโรคให้หาย
และไม่มีทางชะลอ หรือทำให้โรคยุติเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ให้เลวลงได้
แต่เรามียาที่สามารถทำให้อาการดีขึ้นในระยะสั้น ๆ ได้เท่านั้น



ยาชนิดเดียวกันกับที่ใช้รักษาโรค “อัลไซเมอร์” เป็นกลุ่มยาที่ถูกนำ
ไปใช้รักษาอาการของคนไข้สมองเสื่อมชนิดอื่นๆ
รวมถึงการรักษาด้วยวิธีไม่ต้องใช้ยา (non-drug therapies)
ซึ่งสามารถช่วยลดอาการของคนไข้โรคสมองเสื่อมในบางราย

สุดท้าย...
แนวทางสู่การรักษาแบบใหม่ที่ได้ผลดีต่อคนไข้สมองเสื่อม 
จำเป็นต้องอาศัยการวิจัยใหม่ๆ เพิ่มขึ้น 
โดยผ่านการวิจัยที่มีทุนเพิ่มขึ้น  พร้อมกับเพิ่มผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น
ซึ่งปัจจุบัน...มีการกล่าวว่า  จำเป็นต้องมีคนเข้าร่วมกับโครการดัง
กล่าวอย่างน้อย 50,000 ราย.....

ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกันโรค
(Dementia risk and prevention)

มีปัจจัยหลายอย่าง   มีส่วนทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม 
เช่น  อายุที่แก่ขึ้น (age) และพันธุกรรรม (genetics)
ซึ่งเป็นปัจจัยทีไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  แต่นักวิจัยยังพยายามทำการศึกษา
อย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้รู้ว่า  มีปัจจัยอะไรอีกบ้างที่มีผลกระทบต่อสมอง 
และพยายามหาทางป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองเสื่อม

ในขณะนี้นักวิจัยได้ทำการศึกษาอย่างหนักเกี่ยวกับการลดปัจจัย
เสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม  ซึ่งได้แก่  ปัจจัยเกี่ยวกับระบบหัวใจและเส้นเลือด,
ความสมบูรณ์ทางกาย (physical fitness) และ อาหาร (diet)

Cardiovascular risk factors:


สมองของมนุษย์เราได้รับการหล่อเลี้ยงจากเครือข่ายของเส้นเลือด
ที่ให้เลือดแก่สมองได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด...
อะไรก็ตามที่สามารถทำลายเส้นเลือดของร่างกาย  ย่อมสามารถทำลาย
เส้นเลือดในสมองได้เช่นกัน  เป็นเหตุให้เซลล์ของสมองถูกทำลาย
จากการขาดเลือด และออกซิเจนได้

การเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดในสมอง  จะมีส่วนสัมพันธ์กับการทำ
เกิดสมองเสื่อมจากเส้นเลือด (vascular dementia)
นอกจากนั้นยังทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ
เช่น  โรค “อัลไซเมอร์”  สมองเสื่อมชนิดที่มี Lewy bodies

การเปลี่ยนแปลงในสมองจากปัจจัยทางเส้นเลือดและหัวใจ 
อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยา  ทำให้สมองเสื่อมเลวขึ้น หรือทำอาการแย่มากขึ้น
ในกรณีดังกล่าว  เราสามารถป้องกันสมองของเราได้ในรูปแบบเดียว
กับการป้องกันหัวใจของเรา

นั้นคือ  ไม่สูบบุหรี่;  ควบคุมระดับความดันโลหิต, ระดับ cholesterol
และระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติตามที่กำหนด;
และ ควบคุมระดับน้ำหนักตัวให้ดี

การออกกำลังกาย (Physical exercise):
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการ
เกิดโรคสมองเสื่อมบางชนิด  โดยมีหลักฐานบ่งชี้ให้เห็นว่า
การออกกำลังกายมีผลประโยชน์โดยตรงต่อเซลล์ประสาทสมอง
ด้วยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และออกซิเจนสู่สมอง
ได้มากขึ้น

อาหาร (Diet):

สิ่งที่เรารับประทานอาจมีผลกระทบอย่างมากต่อสมองโดยผ่านทางระบบหัวใจ...
อาหารอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อหัวใจ  ย่อมเป็นประโยชน์ต่อสมองด้วยเช่นกัน

เช่น อาการ Mediteranean Diet
ซึ่งเป็นอาหารที่มีเนื้อแดง (red meat) ในปริมาณน้อย,
และเน้นที่อาหารที่เป็นผัก, ผลไม้, ธัญพืช, ปลา, หอย, ถั่ว, น้ำมันพืช...


http://www.alz.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น