วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

รับรู้เรื่องโรค “พาร์กินสัน”



พาร์กินสัน เมื่อเกิดขึ้นแล้วมันจะแปรสภาพเป็นโรคเรื้อรัง....
ซึ่งหมายถึงว่า มันเป็นความผิดปกติในส่วนหนึ่งของสมองของคนเรา
โดยมันจะกระทบกับวิถีการทำงานของสมอง
ซึ่งมีต่อการทำงานการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์

มันเป็นโรคที่เกิดในคนที่มีอายุมากกว่า 50 เป็นส่วนใหญ่ 
และจะพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในคนที่แก่มากขึ้น
แต่อาจเกิดในคนที่มีอายุต่ำกว่า 50 ที่ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป
 คือ นักแสดง Michael J Fox และ นักชกนามกระช่อน Muhammad Ali

โรคดังกล่าวเกิดขึ้นได้เป็นเพราะ เซลล์สมองที่ทำหน้าที่สร้าง dopamine
ซึ่งทำหน้าที่นำคลื่นคำสั่งระหว่างสมอง กับระบบประสาท
โดยมีการกล่าวกันว่า เซลล์ประสาทสมองจะต้องตายไป 80 %
จึงจะทำให้เกิดอาการของโรคขึ้น โดยเราไม่ทราบเลยว่า...
อะไรเป็นต้นเหตุให้เซลล์สมองตายไป

แม้ว่าโรค “พาร์กินสัน” จะไม่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ก็ตาม...
แต่มีการกล่าวว่า ความผิดปกติทางพันธุกรรมมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค
ในคนที่มีอายุต่ำกว่า 50

มีรายงานจากอังกฤษว่า
มีคนเป็นโรคพาร์กินสันประมาณ 127,000 ราย
หรือพบหนึ่งใน ทุกๆ 500 คนจะเป็นโรคดังกล่าว
ซึ่งจากตัวเลขที่เสนอ มีการคาดการณ์ว่า อีก 50 ปีข้างหน้า 
จะมีคนเป็นโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

ลองมาพิจารณาดูอาการที่สำคัญของโรค
ซึ่งมันอาจเลวลงตามเวลาที่ผ่านไป  โดยมีอาการดังนี้:

§ แข็งเกร็ง (stiffness) ของกล้ามเนื้อต่างๆ เป็นเหตุให้แขนไม่
สามารถสวิงได้ตามปกติในขณะเดิน

§ อาการสั่น (shake or tremor) ซึ่งจะพบเห็นในบริเวณนิ้วมือ,หัวแม่มือ,
แขน, ต้นแขน, และส่วนที่เหลือของร่างกายที่เราสามารถมองเห็น

§ การเคลื่อนไหวช้าลง เช่น ขณะลุกจากที่นั่ง เดินอย่างช้า 
แต่ไม่สามารถยกเท้าพ้นจากพื้นได้

นอกจากนั้น อาจมีอาการอีกหลายอย่างเกิดขึ้น...
เช่น ไม่แสดงอาการทางสีหน้าเลย การเคลื่อนไหวของนิ้วมืออาจเสียไป
จนไม่สามารถปลดกระดุมเสื้อได้, มีปัญหาเรื่องการเขียนหนังสือ,
สูญเสียการทรงตัว, พูดได้ช้าลง มีเสียงโทนเดียว และกลืนอาหารลำบาก

เนื่องจากไม่มีวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ เพื่อวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน
โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ ของการเป็นโรค การวินิจฉัยโรคกระทำได้ยาก
ส่วนมาก ผู้เกี่ยวข้องกับโรคจำเป็นต้องแยกโรคชนิดอื่น ๆ
และตัดสินว่า โรคปาร์กินสันเป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการหรือไม่ ?

So is there any hope for the sufferes?

ถึงแม้ว่า โรคพาร์กินสันไม่สามารถรักษาให้ขาดได้
และไม่สามารถหยุดยั้งไม่ให้โรคเลวลงได้ก็ตาม
แต่โชคยังดีที่มีการรักษาหลายอย่าง และมียาหลายชนิดสามารถลด
อาการต่าง ๆ ได้เป็นเวลาอีกหลายปี

Parkinson’s UK ได้ชี้ให้เห็นว่า...
ผลจากการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า เรากำลังเข้าใกล้กับสิ่งที่
เราต้องการเพื่อจัดการกับโรค “พาร์กินสัน” ได้ดีกว่าปัจจุบัน

โดยมีรายงานจากอังกฤษแสดงให้เห็นว่า...
ผลจากการรักษาทางพันธุกรรม (gene therapy) กระทำในสตรีชาวอังกฤษ..
สามารถทำให้เธอสามารถเขียนหนังสือได้เหมือนปกติ
ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบครั้งใหม่ ด้วยการฉีดยาชื่อ ProSavin  หนึ่งเข็ม 
ซึ่งสามารถช่วยให้สารเคมีชื่อ dopamine เข้าสู่สมองส่วนกลางได้

จากข้อมูลที่เสนอมา ได้ชี้ให้เห็นว่า
วันหนึ่งข้างหน้า เราคงได้ทราบจากการวิจัยชิ้นใหม่ที่สามารถรักษาคนไข้
โรคพาร์กินสันได้ดีกว่าปัจจุบัน


http://whattodoinretirement.co.uk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น