วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

Impact of Parkinson’s Disease on Relationships

ความเปลี่ยนแปลงทีเกิดจะมีตั้งแต่มีการสูญเสียความสัมพันธ์ไป
จนกระทั้งมีการสร่างความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่
สิ่งสำคัญสุดต่อการเกิดโรค “พาร์กินสัน”...
ท่านต้องจำไว้ว่า ท่านไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของคนที่อยู่รอบข้างท่านได้
แต่ท่านสามารถบอกให้คนที่อยู่รอบตัวท่านทราบว่า  อะไรเกิดขึ้นกับท่าน
ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ท่านไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้

ในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง...
ถึงแม้ว่าท่านจะมีสุขภาพดี  ไม่ได้หมายความว่า  ท่านควบคุมได้ทุกสถานการณ์
ยิ่งเมื่อท่านมีความรู้สึกไม่ปกติได้ 100 %  เช่น อารมณ์หงุดหงิด 
กังวลใจกับโรคที่ท่านเป็น  และไม่แน่ใจกับอนาคตของตนเอง
ยิ่งจะทำให้การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้างได้ยากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม  ชีวิตต้องดำเนินต่อไป...
ท่านจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างให้ได้...ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
โดยวางแผนว่า  ท่านต้องการอะไร และจะต้องทำอย่างไร...
แล้วเมื่อท่านเป็นโรค “พาร์กินสัน”...
ตัวท่านเองจะรู้ทันทีว่า  ความสัมพันธ์ของท่านที่มีต่อคู่ครอง, สมาชิกในครอบครัว,
เพื่อน ๆ, ผู้ร่วมงาน  และคนที่ท่านเคยคุ้นเคย จะเปลี่ยนไป
ลงมือทำทันที  โดยไม่ต้องคำนึงถึงโรคของท่าน...

ยกตัวอย่าง...
สมมุติว่า  ท่านต้องการได้รับความรัก และการสนับสนุนจากคนรอบข้าง
ท่านจะต้องให้ความรัก และให้ความไว้วางใจคนรอบข้างของท่านก่อน

ท่านไม่จำเป็นขอโทษคนรอบข้างต่อการเป็นโรคของท่าน
มันไม่ใช้ความผิดของท่านแม้แต่น้อย
เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว  ทุกคนที่อยู่รอบตัวของท่านจำเป็นต้องรับรู้ด้วย

ถ้าท่านพบว่า  มีใครสักคนที่อยู่รอบข้างท่าน ไม่ยอมรับในสิ่งที่ท่านเป็น
สิ่งที่ท่านต้องทำ  คือปล่อยเขาไป
เพราะนั่นเป็นปัญหาของคนๆ นั้นจะต้องแก้ไขเอง..
ไม่ใช่ปัญหาของท่าน

มีข้อยกเว้น...
สำหรับเด็กเล็ก  ท่านจะต้องหาทางอธิบายให้เด็กได้เข้าใจ 
และยอมรับในสิ่งที่ที่ท่านเป็น

สำหรับผู้ใหญ่  ไม่ใช้ความรับผิดชอบของท่าน 
ที่จะต้องไปบังคับให้เขายอมรับในสิ่งที่ท่านเป็น (โรค)
เพราะความจริงมีว่า  พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้
และเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว  เราต้องยอมรับมัน 
และต้องอยู่กับมันอย่างมีความสุขให้ได้

แน่นอนทีสุด!...
สำหรับคนที่รักท่าน  และร่วมชีวิตกับท่านอาจตอบสนองต่อโรคของท่าน
ด้วยความเสียใจ, โกรธ และผิดหวังได้
แต่ไม่นานนัก  ความรู้สึกดังกล่าวจะค่อยๆ หายไป
ซึ่งคนเหล่านั้นจำเป็นต้องเรียนรู้ว่า 
ตัวท่านยังเป็นตัวของท่านเองวันยังค่ำ
และความสัมพันธ์ระหว่างท่าน กับคนที่ท่านรักจะต้องดำเนินต่อไป

เมื่อเวลาผ่านไป  ในขณะที่โรค “พาร์กินสัน” ของท่านกำลังแย่ลงไปเรื่อย ๆ 
ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างจะเปลี่ยนแปลงไป  หรือลดลงได้
ตามเป็นจริง  ความสัมพันธ์ของคนปกติเมื่อเวลาผ่านไปเป็นปี 
ยังมีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมากมาย...
แล้วคนที่เป็นที่ไม่สบายอย่างโรค “พาร์กินสัน” ละ ?

ความสัมพันธ์ท่ดีจะเกิดขึ้นได้  ย่อมเริ่มต้นที่ตัวเราก่อน
และคนที่อยู่รอบข้างของท่าน  จะให้ความรัก  ความช่วยเหลือท่าน
และท่านจะต้องเข้าใจ และจำไว้ว่า...
โรค “พาร์กินสัน” สามารถทำให้ความสัมพันธ์ของท่านเลวลง
หรือทำให้ความสัมพันธ์ของท่านดีขึ้นได้

http://parkinsons.about.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น