วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

Alzheimer’s Disease: Treatments for Behavior 2

การรักษาด้วยกรรมวิธีไม่ต้องใช้ยา (Non-drug approach):

กรรมวิธีรักษาโดยไม่ใช้ยา 
สามารถจัดการกับอาการทางพฤติกรรมที่เปลียนไป
และก่อให้เกิดความบายทั้งกาย และใจได้

ขั้นตอนของรักรักษาโดยไม่ใช้ยา:

§  จงทราบไว้ด้วยว่า  คนเป็นโรค AD จะเป็นคนโมโหร้าย 
     และการที่มีพฤติกรรมเช่นนั้น  เป็นเพราะโรค AD ทำให้เป็นไป
§  ตรวจหาสาเหตุที่คนไข้โรค AD เกิดมีอาการทางพฤติกรรม
ซึ่งอาจสัมพันธ์กับประสบการณ์ของตัวคนไข้เอง
§  เปลี่ยนสภาพแวดล้อม  เพื่อขจัดปัญหา หรืออุปสรรคต่อความ
สบายกาย, ความปลอดภัย  และความสบายใจ

การรักษาด้วยยา (Medications)

ถ้าวิธีการรักษาด้วยวิธีไม่ใช้ยา (non-drug measures) ปราศจากผล 
ก็คงต้องถึงเวลาพิจารณาใช้วิธีการรักษาอย่างอื่น 
ซึ่งอาจจะเหมาะสำหรับคนไข้ที่มีอาการรุนแรง หรือ
เหมาะสำหรับรายที่อาจก่ออันตรายให้แก่ตนเอง หรือแก่คนอื่น

เมื่อมีการใช้ยารักษา...
เราต้องเข้าใจด้วยว่า FDA ไม่ได้ยอมรับให้ใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งเป็นการเฉพาะ
เพื่อรักษาอาการทางพฤติกรรม หรือความผิดปกตทางด้านจิตใจ

แนวทางสำหรับการใช้ยา:

§  ยาทุกตัวมีทั้งประโยชน์ และโทษ
ดังนั้น  ก่อนใช้ยาเราจะต้องรู้ประโยชน์ที่พึงได้รับ และโทษที่อาจเกิดจากการใช้ยา

§  มีเป้าหมายในการใช้ยาเป็นการเฉพาะ
การรักษาอาการอย่างหนึ่งที่ได้ผลดี  อาจช่วยบรรเทาอาการอย่างอื่นได้ด้วย  
ยกตัวอย่าง  ยาต้านอาการซึมเศร้าบางตัวอาจช่วยทำให้คนไข้นอนหลับดี

§  ให้เริ่มใช้ยาเพียงหนึ่งตัวด้วยขนาดน้อยก่อน พร้อมกับตรวจสอบผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด 
ยาบางตัวอาจมีผลข้างเคียงรุนแรง และอาจทำให้อาการเลวลงได้
 
ก่อนเพิ่มขนาดของยา  จะต้องประเมินผลอย่างละเอียดเสียก่อน

ตัวอย่างของยาที่ใช้:

มียาบางตัวถูกนำมาใช้เป็นประจำ  เพื่อรักษาอาการทางพฤติกรรมที่แปรเปลี่ยน
และอาการจิตประสาทที่เกิดในคนเป็นโรคอัลไซเมอร์

Antidepressants:

สำหรับทำให้คนเกิดความรู้สึกผ่อนคลายอารมณ์ และลดอาการหงุดหงิดลง
ได้แก่:

§  Citalopram (Celexa)
§  Fluoxetine (Prozac)
§  Paroxetine (Praxil)
§  Sertraline (Zoloft)
§  Trazodone (Desyrel)

Anxiolytics Medications:

เป็นยาถูกนำมาใช้สำหรับอาการเครียด (anxiety),
ไม่อยู่สุข (restlessness),  และพฤติกรรมการใช้ภาษาถูกยับยั้ง
และถูกต่อต้าน

§  Lorazepam (Ativan)
§  Oxazepam (Serax)

Antipsychotic medications:

ยากลุ่มนี้ถูกนำมาใช้รักษาอาการประสาทหลอน (hallucinations),
เข้าใจผิด (delusions), ก้าวร้าว (aggression), หงุดหงิดงุ่นง่าน
(agitation), ไม่เป็นมิตร และไม่ร่วมมือ
(hostility & uncooperativeness)  ยาที่ใช้ได้แก่:

§  Aripiprazole (Abilify)
§  clozapine (Clozaril)
§  haloperidol (Haldol)
§  olanzapine (Zyprexa)
§  quetiapine (Seroquel)
§  risperidone (Risperdal)
§  ziprasidone (Geodon)


Antipsychotic Medications

ในการตัดสินใจใช้ antipsychotic drug…
เราจำเป็นต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบอย่างสูง
เพราะจากการใช้ยาดังกล่าว  ชี้ให้เห็นว่า  การใช้ยาในกลุ่มนี้
จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองถูกทำลาย
(stroke) และทำให้คนสูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมเสียชีวิต


จากข้อมูลที่ได้  การใช้ยา antipsychotics ควรใช้ในกรณีต่อไปนี้:

1.    อาการทางพฤติกรรมที่เกิดจาก mania หรือ psychosis
2.    อาการที่เกิดจะเป็นอันตรายต่อคนไข้เอง หรือต่อคนอื่น
3.    คนไข้ตกอยู่ในอารมณ์เศร้า เสียใจถึงขั้นไม่สามารถยอมรับความ
ช่วยเหลือ

ยา Antipsychotic ไม่ควรใช้เพื่อให้คนไข้ง่วงหลับ (sedate)
หรือบังคับคนไข้ (restrain) ที่เป็นโรคสมองเสื่อม (dementia)
หากจำเป็นต้องใช้ จะต้องใช้ด้วยขนาดน้อยทีสุด  และในเวลาอันจำกัด
หากมีผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น  จะต้องประเมินอย่างละเอียดที่สุด

แม้ว่า antipsychotic drugs เป็นยาที่ใช้บ่อยที่สุดสำหรับรักษาอาการ
อาการที่มีกังวล และความเครียด...
แพทย์บางคนอาจสั่งยารักษาอาการชัก/ ยารักษาอารมณ์ให้คงที่
ซึ่งยาที่ใช้ได้แก่  carbamazepine (Tegretol)

<< BACK

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น