วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

Aug. 9,2013

คุณยายอายุ 75
มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง พร้อมกับบ่นว่า

“ปวดหลังมานาน ทุกครั้งที่มาพบแพทย์ ก็ได้รับการบอกกล่าวว่า 
เป็นโรคกระดูกพรุน...ทรมานเหลือเกิน 
 ...มีวิธีใดที่จะช่วยให้คุณยายจากอาการปวดหลังได้ .. ?”

โรคกระพรุน เป็นโรคกระดูกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (metabolsim)
โดยความหนาแน่นของกระดูกลดลง หรือความแข็งแรงของกระดูกน้อยลง
เป็นเหตุให้กระดูกแตกหักได้ง่าย

นอกจากนั้น เมื่อกระดูกมีความอ่อนแอ  มีความเปราะมากขึ้น 
เพียงถูกกระแทกเบา ๆ ก็สามารถทำให้คนที่มีกระดูกเปราะบางเกิดแตกหักได้ 
ตำแหน่งที่มีการแตกหักได้บ่อยที่สุด ได้แก่กระดูกสันหลังส่วนทรวงอก, 
กระดูกสันหลัง, กระดูกข้อม์อ และกระดูกข้อสะโพก

คนที่เป็นโรคดังกล่าว มักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดเฉียบพลัน
หรืออาจมีประวัติปวดหลังเรื้อรัง

ในการป้องกัน และการรักษาโรคกระดูกพรุน ประกอบด้วยการให้ Ca และ vitamin D,
บริหารร่างกายเพื่อทำให้กระดูก และกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง, 
หลีกเลี่ยงจากการหกล้ม, ให้ยารักษาเพื่อคงสภาพควาแข็งแรงของกระดูก
หรือกระตุ้นกระดูกให้มีการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น

คนชนิดใดเป็นโรคกระดูกพรุน ?

จากสถิติของสหรัฐฯ...
รายงานเอาไว้ว่า  ผู้หญิง อายุมากกว่า 50 มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย
โดยพบได้ประมาณ 10 ล้านคน และ  อีก 34 ล้านคนที่มีอายุมากกว่า 50 
จะพบเป็นโรคกระดูกชนิดที่เนื้อกระดูกลดน้อยกว่าปกติ เรียกภาวะชนิดนี้ว่า  Osteopenia  
ซึ่งมีโอกาสเกิดเป้นโรคกระดูกพรุนในตอนหลังได้

เหตุที่พบโรคในสตรีมากกว่าชาย...
ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะ สตรีสูงอายุจะอยู่ในภาวะขาดฮอร์โมน estrogen 
เป็นเหตุทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก (bone loss) ไป

จากสถิติ มีรายงานเอาไว้ว่า ในสตรีหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว  5 ถึง  7 ปี 
มีโอกาสสูญเสียมวลกระดูกไปถึง 20 % ได้

ปัจจัยเสี่ยง (Risk factors)


แม้ว่าเราจะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคกระดูกพรุนก็ตาม
แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว ซึ่งได้แก่:

 อายุ (Aging). ความหนาแน่นของกระดูกจะลดลงตามอายุที่แก่ขึ้น

 เชื้อชาติ (Race). สตรีชาวผิวขาว และสตรีชาวเอเชีย มีความเสี่ยงต่อการเกิด
โรคกรดูกพรุนมากที่สุด 

 น้ำหนักตัว (Body weight)และ ความอ้วน (obesity) มักมีความเกี่ยวข้องกับการ
เพิ่มความเข็มข้นของมวลกระดูก ดังนั้นคนที่น้ำหนักน้อย และการมีมวลกล้ามเนื้อน้อย
 มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน

 ปัจจัยด้านการดำเนินชีวิต (Lifestyle factors). พฤติกรรมต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยง
ต่อการเกิดกระดูกพรุน เป็นต้นว่า:

o ไม่ค่อยออกแรง (physical inactivity)
o ดื่มกาแฟ (Caffeine)
o ดื่มแอลกอฮอล์มาก (Excessive alcohol use)
o สูบบุหรี่ (Smoking)
o ขาดธาตุแคลเซี่ยม (Ca) และ vitamin D

 ยาบางชนิด (Certain medications)

 ประวัติทางครอบครัวเป็นโรคกระดูก (Family history of bone disease)

>> Next

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น