วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

Anemia and Kidney Disease 3

Feb. 21,2013
Continued…

ความจริงที่น่ารู้...เกี่ยวธาตุเหล็ก

ท่านเคยทราบไหมครับว่า...
ตับ (ทุกชนิด), อาหารมีส่วนผสมธาตุเหล็ก,เนื้อวัว, เนื้อหมู,สัตว์ปีก
ต่างมีธาตุเหล็ก ?  อาหารพวกนี้  บางรายไม่เหมาะ
สำหรับคนเป็นโรคไตเลย  ฉะนั้นก่อนที่ท่านจะปรับเปลี่ยนเรื่องอาหาร
ท่านควรปรึกษาแพทย์  หรือนักโภชนากร  น่าจะดี !

มีรายงานว่า  ในคนจำนวน 200 – 300  คน จะมีปัญหาด้านพันธุกรรม
เป็นโรคเรียก hemochromatosis ซึ่งมีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายใน
จำนวนสูง  การรักษาคือ การเอาเลือดออกบางส่วน ?

Vitamin C มีฤทธิ์ช่วยดูดซึมธาตูเหล็กได้เพิ่มขึ้น เมื่อท่านใช้พร้อมกัน?

ยาเม็ดธาตุเหล็ก หรือไวตามินทั้งหลายที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก...
เป็นสาเหตุหนึ่งของพิษ  ซึ่งทำลายชีวิตในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ?

ธาตุเหล็กสามารถเพิ่มในอาหารให้รับประทาน
ซึ่งสามารถรับประทานเป็นเม็ด หรือน้ำเชื่อม หรือให้ทางเส้เลือดดำ

ก่อนให้ยา (ธาตุเหล็ก) แก่คนไข้....
พยาบาล หรือแพทย์ควรให้ยาในขนานน้อย (test dose)
เพราะมีบางคน (ประมาณ 1 %) เมื่อได้รับการฉีด...จะเกิดมีปฏิกิริยาต่อยาได้
หากเกิดมีอาการแพ้ขึ้น  เช่น หายใจลำบาก...
การแก้ปัญหากระทำได้ด้วยการให้ epinephrine หรือ corticosteroids
ย่อมสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้


Kidney disease and Anemia : Measuring anemia
Continued…

เกิดมีคำถามจากคนไข้ที่เป็นโรคไต ว่า....
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า  ระดับของเลือด และธาตุเหล็กต่ำไป ?

เพื่อเป็นการตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ลองพิจารณาข้อความต่อไป

Measuring Anemia

เมื่อท่านไปพบแพทย์...
วิธีการง่ายที่สุดที่จะบอกท่านได้ว่า เม็ดเลือดของท่านมีสุขภาพดีหรือไม่ ?
เรากระทำได้ง่ายที่สุด  คือการตรวจเลือด หรือที่เรียกว่า
complete blood count  หรือ  CBC
เป็นการตรวจที่ครอบคลุมสองอย่าง

การตรวจอันแรก  เป็นการวัด Hemoglobin (Hgb หรือ Hb)
การตรวจอย่างที่สอง เป็นการวัด Hematocrit (Hct หรือ “crit”)

การตรวจ Hemoglobin….มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
และเป็นโปรตีน ซึงทำหน้าที่ที่เป็นตัวนำส่งออกซิเจน และทำให้เลือดแดงมีสึแดง
เมื่อระดับของ Hemoglobin ปกติ ลักษณะของเม็ดเลือดแดงจะ “กลม”
และ “สีแดง” ทำหน้าที่นำส่งออกซิเจนในปริมาณที่เหมาะสม
ให้แก่อวัยวะต่างๆ  และแก่กล้ามเนื้อทั้งหลาย

เมื่อระดับของ Hemoglobin ลดต่ำลง...
สีแดงสดของเม็ดเลือดแดงจะหายไป  สีซีดลง  ไม่กลม ดูผิดรูปไป

ระดับปกติของ Hemoglobin:
ในผู้ชายที่สมบูรณ์  จะมีค่าระหว่าง 14 – 18 g/dL
และในสตรีที่สมบูรณ์  จะมีค่าระหว่าง 12 – 16 g/dL

นั่นคือค่าของเม็ดเลือดแดงที่ท่านควรทราบเกี่ยวกับตัวของท่านว่า
มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร  ทั้งระหว่างก่อน และหลังการรักษา ?

ในเลือดของคนเรา ประกอบด้วย  น้ำเลือด (plasma fluid), เม็ดเลือดแดง
(red blood cells), เม็ดเลือดขาว (white blood cells) และเซลล์ชนิดอื่นๆ
เมื่อเปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงต่ำลง...
จะทำให้ตัวทำห้าที่บรรทุกออกซิเจนให้แก่ร่างกายจะน้อยลง

ระดับของ hematocrit…
ค่าปกติของชายที่สมบูรณ์  จะมีค่า 40 -  50 %
สำหรับสตรีที่สมบูรณ์ มีค่าระหว่าง 36 -  44 %

สำหรับคนที่เป็นโรคไต (kidney disease)…
เป้าหมายของของ Hematocrit  ควรมีค่าระหว่าง 33 – 36 %

ระดับของ Hemoglobin และ Hematocrit มีความสำคัญ
เพราะแพทย์เขาจะใช้ค่าดังกล่าว  วินิจฉัยว่าท่านเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ ?
ตลอดรวมไปถึงใช้เป็นค่าสำหรับปรับแผนการรักษาภาวะที่เป็นโรคโลหิตจาง


ในกรณีที่ท่านเป็นโรคโลหิตจางจากโรคไตวาย...
และเริ่มทำการรักษาด้วยการได้รับยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ESA
ท่านจะได้รบการตรวจเลือดบ่อยขึ้น  เพื่อตรวจดูว่า
การสนองตอบต่อการรักษาของท่าน....เป็นเช่นใด ?
และ....เมือใดที่ระดับของ Hgb/Hct เพิ่มสู่ระดับตมที่ต้องการ...
การตรวจเลือดก็ลดการตรวจลง ไม่ต้องตรวจบ่อย
!

ค่าของ Hemoglobin และ Hematocrit
ในคนที่ทำการฟอกเลือด

สำหรับคนที่ได้รับการฟอกเลือด การรักษาด้วย ESA จะต้องทำให้
ค่าของ Hgb/Hb ควรกลับสูระดับที่ต่ำกว่าระดับปกติ  นั่นคือ...
Hgb ให้มีค่าระหว่าง 10 – 12 g/dL และ Hct ให้มีระดับ 33 – 36 %
(ทั้งชาย และหญิง)

ผลจากการวิจัย  รายงานว่า...
การเพิ่มระดับของ Hgb/Hct ถ้าหากให้สูงเกินระดับดังกล่าว  อาจก่อใหเกิด
อันตรายในคนไข้ที่เป็นโรคไตได้  ท่านต้องระวัง !


นอกเหนือจาก Hemoglobin และ  Hematocrit….
ยัมีการตรวจอีกสองอย่า  ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจาง (anemia)
ซึ่งทั้งสองวิธี  เป็นการตรวจดูระดับของธาตุเหล็กที่มีในกระแสเลือด

ธาตูเหล็กเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง
ดังนั้น  ในการรักษาโรคโลหิตจากในคนเป็นโรคไต  ไม่เพียงแต่ EPO เท่านั้น
เราจำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กด้วย

การตรวจแรก เรียก Ferritin หรือ Serum Ferritin
การตรวจอันที่สอง เรียก Transferrin Saturation (TSAT)

ลองมาพิจารณาการตรวจอันแรกซ Ferritin Test
เนื่องจากธาตุเหล็กมีความสำคัญต่อสุขภาพสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง
และ ร่างกายของคนเรามีวิธีเก็บรักษา “ธาตุเหล็ก” เอาไว้ใช้ในอนาคต
โดยที่ไม่ต้องใช้ทันที และจะถูกเก็บรักษาไว้ในโปรตีน  เรียก “ferritin”
ดังนั้น  การตรวจ Ferritin test จึงเป็นการตรวจดูว่า
“มีธาตุเหล็กถูกสะสมไว้ในร่างกายมากน้อยแค่ใด ?”

ในคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์....
จะพบว่า  ระดับ Ferritin  จะมีค่าระหว่าง  30 – 300 ng/ML
(nanograms per milliliter of blood)

สำหรับในคนที่ทำการฟอกเลือด (dialysis)…
เป้าหมายของธาตุเหล็กควรมีค่าอยู่ระหว่าง 100 – 1,200 ng/mL
ซึ่งจะต้องแน่ใจให้มีระดับของธาตุในระดับดังกล่าว...อย่าให้มากกว่านี้
เพราะการมีธาติเหล็กถูกสะสมในร่ากายในขนาดน้อย...ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี
หากมีมากเกินไป...ไม่ใช้สิ่งที่ดี

เพราะธาตุเหล็กที่มากไป  จะสะสมในร่างกาย  หรืออวัยวะต่าง ๆ จะ
ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะนั้นๆ หรือกระทั้งทำให้เกิดความตายได้
ดังนั้น  เราจะต้องตรวจดูระดับของ ferritin ให้ดี...
จงแน่ใจว่า  ธาตุเหล็กไม่สูงเกินไปเป็นอันขาด

การตรวจอย่างที่สอง: Transferrin saturation หรือ TSAT
TSAT เป็นการตรวจส่วนสำคัญ (building block) ซึ่งมันคือธาติเหล็กที่อยู่
ในร่างกาย  เพื่อทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดงนั้นเอง

ในกรณีที่ TSAT มีค่าต่ำ  หมายถึงภาวะที่มีธาตุเหล็กในระดับต่ำ...ส่วนใหญ่
จะเกิดจากการเสียเลือด  หรือมีปัญหาจากการปล่อยธาตุเหล็กจากที่สะสมไว้
เมื่อถึงคราวที่ร่างกายต้องการ

ค่าของ TSAT จะวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ เหมือนค่าของ HCT
โดยค่าของ TSAT ระดับปกติจะมีค่าระหว่าง 20 – 50 %
(ระดับเดียวกันกับคนที่ไม่ต้องทำการฟอกเลือดขdialysis)

หมายเหตุ:

1.    Iron stored in the body  = Ferritin
2.    Oxygen-carrying protein in red cells = Hemoglobin
3.    Percentage of red cells  = Hematocrit
4.    Transferrin saturation (TSAT) = Iron building blocks to make
Red cells

 << BACK

Kidneyschool.org./pdfs/ksmodul6.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น