วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

Understanding Thyroid Problems (1)-- Diagnosis and Treatment

March 6, 2013
Thyroid problems:


ปัญหาที่เกิดกับต่อมไทรอยด์  ที่ควรรู้มีได้สองอย่างด้วยกัน....
อาจเป็นต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism)  หรือต่อมไทรอยด์ทำงานขาด (hypothyroidism)  ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างกัน  

แพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคทั้งสอง  
โดยการตรวจดูระดับของฮอร์โมนในกระแสเลือด  ได้แก่  ฮอร์โมนผลิตโดยต่อมไทรอยด์
และฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไต้สมอง (pituitary gland) มีชื่อเรียกว่า
thyroid-stimulating hormone (TSH)  
ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำการผลิตฮอร์โมนขึ้น

เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยได้เกิน...

เราจะพบว่า  มีปริมาณของฮอร์โมน TSH ถูกผลิตออกมากผิดปกติ
ซึ่งเป็นความพยายามของร่างกาย  กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำหน้าที
ผลิตฮอร์โมนให้มากขึ้น

ในการระบุว่า ต่อมไทรอยด์ของใครทำงานมากเกินหรือไม่ ?
แพทย์จะทำการตรวจคนไข้  โดยการใช้ radioactive iodine uptake tests
เพื่อทำการติดตามการดูดซึม iodine โดยต่อมไทรอยด์  ที่ได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป
เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของไทรอยด์ฮอร์โมน  
ดังนั้น ปริมาณของ iodine ที่ดูดซับเอา iodine เข้าไปจึงเป็นตัวชี้บ่งให้ทราบว่า
ปริมาณของฮอร์โมนถูกสร้างมากขึ้นมากน้อยแค่ใด
ถ้ามีปริมาณมากย่อมแสดให้ทราบว่า ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน


ในการตรวจ radioactive iodine uptake…
แพทย์ผู้ตรวจจะเอาเครื่อมือวางแปะไว้ที่บริเวณด้านหน้าของคอ
ตรงตำแหน่งของต่อมไทรอยด์ เพือตรวจดูว่า ต่อมดังกล่าวมีระดับของ
Radioactive iodine มากน้อยเท่าใด 

จากนั้นเขาจะให้คนไข้กลืนเอาสาร radioactive iodine (liquid or capsule) จำนวนไม่มาก 
4 - 6 ชั่วโมง  หลังจากนั้น เขาจะทำการตรวจด้วยเครื่องมืออีกครั้ง 
และทำการตรวจเป็นตรั้งที่สองเมื่อ 24 ชั่วหลังการกลืนสาร

จากเครื่องมือที่ตรวจ  แพทย์เขาสามารถบอกได้ว่า  ต่อมไทรอยด์มีสาร
Radioactive iodine รวมอยู่ในต่อมมากน้อยแค่ใด

ผลจากการตรวจพบว่า  ถ้าปรากฏว่า มีสาร radioactive iodine เป็นจำนวนมาก
แพทย์ทำการตรวจด้วยภาพอีกครั้งด้วย  radioactive iodine uptake scan
ซึ่งสามารถบอกตำแหน่งของสารรังสี iodine  ปรากฏอยู่ที่ส่วนใดของต่อม...
ยกตัวอย่าง... สารรังสีอาจรวมตัวในก้อน(nodule) ในต่อมไทรอยด์
ซึ่งเป็นส่วนที่รับผิดชอบต่อการสร้างฮอร์โมนออกมามากเกิน

และหากพบว่า  สาร radioactive iodine กระจายทั่วทั้งต่อมไทรอยด์
ย่อมหมายความว่า  ต่อมไทรอยด์ทั้งต่อมเป็นตัวรับผิดชอบ...

การมีก้อนเกิดที่ต่อมไทรอยด์  ซึ่งเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน  ส่วนใหญ่ก้อนที่เกิดขึ้นนั้น
มักจะเป็นก้อนที่มีน้ำอยู่ภายใน (fluid-filled cysts)  ไม่ใช้เนื้อร้าย (bernign)
ซึ่งแพทย์สามารถทำการประเมินได้ด้วยการตรวจด้วย ultrasound exam….

ถ้าผลจากการตรวจเลือดพบว่า  ก้อนในต่อมไทรอยด์สร้าง “thyroid hormone” 
ออกมามาก  และคนไข้มีอาการอย่างอื่นที่บ่งบอกให้ทราบว่า 
เป็นต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  แพทย์จะให้การรักษาภาวะดังกล่าวทันที

สำหรับท่านที่มีก้อน (nodule) ที่บริเวณต่อมไทรอยด์ 
ซึ่งไม่มีอาการใดๆ  อย่าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่สนใจ  ท่านควรได้รับการตรวจเช็คบ่อยๆ...
เพราะการตรวจต่างๆ สามารถบอกให้ทราบว่า 
ก้อนที่เกิดนั้นเปลี่ยนสภาพไปเป็นมะเร็งหรือไม่ ?

ในคนส่วนใหญ่ที่มีก้อนที่บริเวณต่อมไทรอยด์...
แพทย์จะทำการตรวจสอบดูว่า  ก้อนเป็นมะเร็งหรือไม่ด้วยการใช้เข็มเจาะ
หรือ ทำการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อมาตรวจ (biopsy)

มีบางราย(น้อยมาก) มะเร็งของต่อมไทรอยด์สามารถตรวจสอบจากการ
ตรวจเลือดวัดดูระดับของฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างกระดูก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น