เมื่อมีเกล็ดเลือดจับตัวเป็นลิ่ม หรือเป็นก้อน จะเรียกว่าว่า blood clots…
จัดเป็นกระบวนการที่สำคัญของร่างกายอย่างหนึ่ง
ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดเกิดการฉีกขาด...มีเลือดออก
และเพื่อไม่ให้มีการเสียเลือดต่อไป เกล็ดเลือด (platelets)
ซึ่งเป็นเม็ดเลือดอีกชนิดหนึ่ง ร่วมกับโปรตีนที่มีอยู่ในน้ำเลือด (plasma)
รวมตัวกันเป็นก้อนเลือด หรือลิ่มเลือด อุดตรงบริเวณรอยฉีกขาดทำให้เลือดหยุดไหล
โดยทั่วไป ร่างกายของเรามีหน้าที่ตามธรรมชาติ
เหมือนกับกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เมื่องานเสร็จเป็นที่เรียบร้อย
เจ้าหน้าที่ผู้ทำความสะอาด ก็จะทำหน้าที่ต่อ จัดเก็บทุกอย่างให้กลับสู่สภาพเดิมทันที
ภายในร่างกายของคนเราก็เช่นเดียวกัน...
เมื่อเส้นเลือดฉีกขาด มีเลือดออก เลือดจะถูกทำให้หยุดไหล
โดยการจับตัวของเกล็ดเลือดร่วมกับโรตีนที่มีอยู่ในเลือด และเมื่อบาดแผลหายดี
ร่างกายก็จัดการสลายก้อนเลือดให้หมดไป
ร่างกายก็จัดการสลายก้อนเลือดให้หมดไป
นั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติ
บางครั้ง การมีก้อนเลือด หรือลิ่มเลือดเกิดภายในเส้นเลือดโดยไม่ทราบต้นเหตุว่า
ได้รับบาดเจ็บมาก่อน หรือมีลิ่มเลือดอยู่ภายในเส้นเลือด
ได้รับบาดเจ็บมาก่อน หรือมีลิ่มเลือดอยู่ภายในเส้นเลือด
แต่ร่างกายไม่สามารถทำให้ถูกสลาย (dissolve) ได้ตามธรรมชาติ
ซึ่งภาวะดังกล่าว เมื่อเกิดขึ้นสามารถทำให้เกิดเป็นอันตรายได้
จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย และให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม
ลิ่มเลือด (clots) สามารถเกิดภายในเส้นเลือดแดง หรือเส้นเลือดดำ...
ซึ่งเส้นเลือดทั้งสองชนิด ต่างเป็นส่วนหนึ่งของระบบการไหลเวียนของเลือด
โดยจะทำหน้าที่น้ำเลือดให้ไหลเวียนทั่วร่างกาย เส้นเลือดดำ
ซึ่งมีความดันภายเส้นเลือดต่ำ จะทำหน้าที่ที่นำเลือดดำ จากส่วนปลายกลับสู่หัวใจ
ซึ่งมีความดันภายเส้นเลือดต่ำ จะทำหน้าที่ที่นำเลือดดำ จากส่วนปลายกลับสู่หัวใจ
การมีก้อนเลือดเกิดภายในเส้นเลือดดำ อาจขัดขวางไม่ให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจได้ตามปกติ
สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดตรงบริเวณที่มีเลือดคั่งได้
สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดตรงบริเวณที่มีเลือดคั่งได้
การมีลิ่มเลือดเกิดภายในเส้นเลือดดำที่อยู่ลึกลงไป เรียก deep-vein thrombosis (DVT)
ซึ่งสามารถพบได้ที่บริเวณขา หรือพบได้ที่บริเวณแขน, บริเวณเชิงกราน หรือส่วนอื่นๆ
ซึ่งสามารถพบได้ที่บริเวณขา หรือพบได้ที่บริเวณแขน, บริเวณเชิงกราน หรือส่วนอื่นๆ
ส่วนใหญ่เราจะพบที่บริเวณของขา
มีบางรายเกิดมีลิ่มเลือดหลุดเข้าสู่หัวใจ และหลุดเข้าสู่ปอด
ทำให้เลือดไม่สามารถไหลได้สะดวก เรียก pulmonary embolism
ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้อย่างรุนแรง
ลิ่มเลือดที่เกิดในร่างกาย...
ทำให้เกิด pulmonary embolism ได้อย่างไร ?
สำหรับเส้นเลือดแดง...
พบว่าผนังของเส้นเลือดแดงจะเป็นกล้ามเนื้อ ทำให้ความดันภายใน
เส้นเลือดแดงสูงกว่าความดันในเส้นเลือดดำ
โดยมันจะทำหน้าที่นำเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
และเมื่อเราถูกวัดความดันโลหิต ความดันที่วัดได้เป็นตัวเลข...
เลขตัวบนบ่งบอกให้ทราบถึงความดันภายในเส้นเลือดแดงนั้นเอง
และเมื่อเราถูกวัดความดันโลหิต ความดันที่วัดได้เป็นตัวเลข...
เลขตัวบนบ่งบอกให้ทราบถึงความดันภายในเส้นเลือดแดงนั้นเอง
เคยกล่าวมาแล้วว่า ลิ่มเลือดเกิดในเส้นเลือดดำ...
แต่ตามเป็นจริง ลิ่มเลือดสามารถเกิดในเส้นเลือดแดงได้ด้วย
โดยเฉพาะจะเกิดในรายที่เป็นโรคเส้นเลือดแข็ง ซึ่งมีคราบของไขมัน
เกาะตามภายในของผนังเสนเลือดแดง ทำให้เส้นเลือดแดงเกิดแคบลง
เป็นเหตุให้กระแสไหลเวียนของเลือดถูกขัดขวาง
เกาะตามภายในของผนังเสนเลือดแดง ทำให้เส้นเลือดแดงเกิดแคบลง
เป็นเหตุให้กระแสไหลเวียนของเลือดถูกขัดขวาง
การที่กระแสไหลเวียนของเลือดที่พุ่งผ่านเส้นแดงตรงบริวณที่แคบ
สามารถทำให้คราบของไขมันบนผนังเส้นเลือดแตก เกิดมีเลือดออกและมีเกล็ด
สามารถทำให้คราบของไขมันบนผนังเส้นเลือดแตก เกิดมีเลือดออกและมีเกล็ด
เลือดมาเกาะ ทำให้เกิดเป็นลิ่มเลือดอุดเสนเลือด หรือหลุดไปอุดตัน
เส้นเลือดที่สำคัญของหัวใจ หรือของสมอง
ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะทั้งสอง (heart attack & stroke)
ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะทั้งสอง (heart attack & stroke)
ปัจจัยเสี่ยง(Risk)
เราจะพบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำ จะมีความ
แตกต่างจากลิ่มเลือดของเส้นเลือดแดง
และปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
ความจริงมีว่า ในร่างกายของเรา มีโมเลกุลหลายอย่าง
ซึ่งจะส่งสัญญาณให้ร่างกายสร้างลิ่มเลือดขึ้น โดยกำหนดให้มันสร้าง
ลิ่มเลือดขึ้นเมื่อไหร่, ที่ไหน และสร้างเร็วขนาดใด ?
มีปัจจัยบงอย่าง เช่น ความอ้วน (obesity), กระแสเลือดที่วิ่งอย่างเชื่อง
ช้าในเส้นเลือดดำ และปัจจัยอย่างอื่น เช่น “อายุ” สามารถทำให้เพิ่ม
ความสามารถในการสร้างลิ่มเลือดได้
นอกจากนั้น ยังปรากฏว่า มียาบางตัว (medications) สามารถกระทบ
ต่อกรสร้างลิ่มเลือดได้เร็วขึ้น
ปัจจัยต่อไปนี้ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการสร้างลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำ
ได้ เช่น :
ได้ เช่น :
§ ความอ้วน (Obesity)
§ ตั้งท้อง (Pregnancy)
§ สูบบุหรี่ (Smoking)
§ รับทานยาคุม (Contraceptives)
§ มะเร็งบางชนิด (Certain cancers)
§ ได้รับบาดเจ็บ (Trauma)
§ อายุมากขึ้น (มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 60)
§ พันธุกรรม (Inherited clotting disorders)
§ โรคอักเสบไร้เชื้อ ( chronic inflammatory disease)
ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดแดง สามารถทำให้ดีขึ้นได้
โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาทางกายต่อภาวะต่อไปนี้:
ได้ด้วยการ
§ โรคอ้วน (obesity)
§ ไม่ออกกำลังกาย (Lack of physical activity)
§ สูบบุหรี่ (smoking)
§ โรคเบาหวาน (diabetes)
§ โรคความดันโลหิตสูง (high blood pressure)
§ ระดับ cholesterol สูง
อาการ (symptoms)
นอกเหนือจากการรู้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแล้ว...
การรู้อาการของการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดก็มีความสำคัญเช่นกัน
ซึ่งอาการที่เกิดจะแตกต่างกันตามตำแหน่งที่เกิด เช่น
§ Heart: อาการที่เกิด จะมีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งมักจะมีอาการ
ปวดร้าวไปที่แขนด้านซ้าย อาจมีหายใจได้อากาศไม่พอ และ
อาจมีเหงื่อออก
§ Brain: จะพบว่ามีความผิดปกติทางสายตา, มีการอ่อนแรง,
กระตุก, มีปัญหาเรื่องการพูด
§ Arm or Leg: จะมีอาการเจ็บหน้าอก, บวม และกดเจ็บ
§ Lung: เจ็บหน้าอก, หัวใจเต้นเร็ว, ไอเป็นเลือด, หายใจ
ไม่พอ(shortness of breath), มีเหงื่อ และไข้
§ Abdomen: ปวดท้องอย่างแรง, อาเจียน และท้องร่วง
การรักษา (Treatment)
การรักษาลิ่มเลือดมีได้แตกต่างกัน โดยขึ้นกับตำแหน่งที่เกิดลิ่มเลือด และสุขภาพของคนไข้
ถ้าท่านมีความสงสัยว่า มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นกบตัวท่าน ท่านจะต้องไปพบแพทย์ทันที
ในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาลิ่มเลือด (antithrombotic therapy) หลาย
อย่าง ซึ่งสามารถทำมาใช้เพื่อป้องกัน และรักษาลิ่มเลือด
การรักษาที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่:
o Anticoagulants- เป็นยาป้องกันไม่ให้มีการเกิดลิ่มเลือด
o Clot busters- เป็นยาสลายลิ่มเลือด
o Catheter-direct thrombolysis- เป็นวิธีการใสสายยา
เรียก catheter สายยางสู่ตำแหน่งลิ่มเลือด จากนั้นจึงฉีดยาเข้าไปสลายลิ่มเลือด
o Thrombectomy- เป็นการผ่าตัด...เอาลิ่มเลือดออก
ถ้ามีลิ่มเลือดเกิดในเส้นเลือดดำ...
แพทย์จะแนะนำให้แพทย์ทางโรคเลือด (hematologist)
เป็นผู้ดูแลรักษาต่อไป และถ้าเป็นลิ่มเลือดในเส้นเลือดแดง อาจมีแพทย์
หลายสาขาร่วมกันทำการรักษา เช่น แพทย์เฉพาะทางโรคเลือด และแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ
การป้องกัน (Prevention)
การเกิดลิ่มเลือด ส่วนใหญ่เป็นโรคเลือดที่เราสามารถป้องกันได้
ด้วยการ ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ นั่นเอง....
http://www.hematology.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น