March 5,2013
เมื่อสมัยก่อนโน้น...
คนที่ทุกข์ทรมานจากโรคหืดหอบจะพึ่งพายารักษาเพียงกลุ่มเดียว
นั้นคือ ยาขยายหลอดลม (bronchodilators)
ซึ่งจะทำหน้าที่เปิดทางเดินให้ลมหายผ่านได้สดวกขึ้น
พอมาถึงปัจจุบัน เมื่อเรามีความเขาใจในโรคหืดหอบกีขึ้นว่า
มันเกิดจากการอักเสบ(inflammation) ของทางเดินของลมหายใจ
มันเกิดจากการอักเสบ(inflammation) ของทางเดินของลมหายใจ
และเพื่อให้การรักษาภาวะดังกล่าวได้ผลดีขึ้น เขาได้แบ่งการรักษาเป็นสองส่วน
หนึ่ง...ทำหน้าที่ควบคุม (ป้องกัน) ไม่ให้มันเกิดขึ้น และสอง...เมื่อมี
อาการเกิดขึ้น จะช่วยให้คนไข้สามารถหายใจไ้ด้ง่าย เป็นการบรรเทาอาการให้แก่คนไข้
จากกรรมวิธีรักษาโรคหืดดังกล่าว เราสามารถแบ่งยาออกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรก: ควบคุมโรค (controllers) และกลุ่มสอง: ทำหน้าที่บรรเทาอาการ (relievers)
ยาควบคุมโรค (controllers)
ในคนเป็นโรคหืด (asthma)….
ในคนเป็นโรคหืด (asthma)….
เมื่อเราสามารถควบคุมการอักเสบในหลอดลมได้
ย่อมเป็นการป้องกันไม่ให้หลอดลมเกิดการหดตัว (bronchospasm)
ย่อมเป็นการป้องกันไม่ให้หลอดลมเกิดการหดตัว (bronchospasm)
ส่วนใหญ่ ยาควบคุม (controllers) สามารถจัดการกับการอักเสบได้
ไม่เพียงเท่านั้น ยังสามารถป้องกันการอักเสบติดเชื้อได้อีกด้วย
ซึ่งมักจะเกิดในคนที่เป็นโรคหืด
นอกจากนั้น ยาควบคุมบางตัวไม่มีผลต่อการอักเสบเลย แต่มันจะทำงาน
ตลอดทั้งกลางวันและคืน (24 ชั่วโมง) โดยการทำให้หลอดลมคลายตัวอยู่ตลอดเวลา
ไม่ทำให้หลอดลมเกิดการหดตัวเมื่อเผชิญต่อสิ่งเร้า ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น
ไม่ทำให้หลอดลมเกิดการหดตัวเมื่อเผชิญต่อสิ่งเร้า ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น
โดยปกติ คนไข้โรคหืดหอบ จะได้รับคำแนะนำให้ใช้ยาควบคุม (controllers)
ด้วยการได้รับยาทุกวันทั้งๆ ที่ไม่มีอาการใด ๆ
แต่ความผิดพลาดมักเกิดขึ้น นั่นคือ คนเป็นโรคหืดจะไม่ใช้ยาควบคุม (controller) เมื่อเขาไม่มีอาการหืดหอบเกิดขึ้น
ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะใช้ได้ผลดีเฉพาะคนไข้ที่มีอาการหืดหอบ
ในบางฤดูกาลเท่านั้น
ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะใช้ได้ผลดีเฉพาะคนไข้ที่มีอาการหืดหอบ
ในบางฤดูกาลเท่านั้น
สำหรับคนที่เป็นโรคหืดหอบมีอาการตลอดปี...
หากเขาหยุดรับยา ที่ทำหน้าที่ควบคุม (controllers) การอักเสบของทาง
เดินของลมหายใจจะกลับคืนมา พร้อมๆ กับอาการหืด-หอบ
ยากลุ่มควบคุม (controllers) มีหลายตัวด้วยกัน เช่น:
<!--[if !supportLists]-->§ <!--[endif]-->Corticosteroids:
เป็นยาต้านการอักเสบไร้เชื้อที่มีฤทธิ์สูงมาก เป็นยาที่ใช้ในรูปแบบพ่น (inhaler) เข้าปอด
เพื่อรักษาโรคหืดหอบในระยะยาว
นอกจากยาพ่นแล้ว ยังมีในรูปเม็ดรับประทาน (oral corticosteroids)
ซึ่งเป็นยาที่นำมาใช้ในการควบคุมอาการหลังการรักษาภาวะที่มีโรคหืดปะทุขึ้นมา (flare up)
โดยให้คนรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน
โดยให้คนรับประทานติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน
นอกจากนั้น การให้ยาเม็ดรับประทาน อาจใช้ในกรณีที่มีอาการรุนแรง
<!--[if !supportLists]-->§ <!--[endif]-->Cromolyn sodium and nedocromil:
ยาในกลุ่มนี้ อาจนำมาใช้สำหรับรักษาโรคหืดในเด็ก โดยใช้เป็นยารักษาในระยะยาว
และอาจใช้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการหืด-หอบในเมื่อมีการออกกำลังกาย
หรือต้องสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหืดหอบ ยากลุ่มนี้ มีฤทธิ์ด้อยกว่ายากลุ่ม
corticosteroids แต่เป็นยาที่เหมาะสำหรับกรณีที่ไม่รุนแรง (mild symptoms)
หรือต้องสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหืดหอบ ยากลุ่มนี้ มีฤทธิ์ด้อยกว่ายากลุ่ม
corticosteroids แต่เป็นยาที่เหมาะสำหรับกรณีที่ไม่รุนแรง (mild symptoms)
<!--[if !supportLists]-->§ <!--[endif]-->Long-acting beta-2 agonists :
เป็นยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว (bronchodilatators) ถูกนำไป
ใช้รักษาการอักเสบไร้เชื้อ (anti-inflammatory) เพื่อการควบคุมอาการในระยะยาว
โดยเฉพาะรายที่มีอาการในตอนกลางคืน และยังถูกนำไป
โดยเฉพาะรายที่มีอาการในตอนกลางคืน และยังถูกนำไป
ใช้ป้องกันไม่ให้เกิดอาการในขณะออกกำลังกายได้ด้วย
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ salmeterol (Serevent), formoterol (Foradil) และ
ยังออกมาในรูปผสมระหว่าง salmeterol กับ corticosteroid (Advair)
ในการใช้ยาในกลุ่มนี้...
มีการรายงานว่า อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหืด-หอบที่มี
อาการุนแรง หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ (fatal asthma flare)
แต่เนืองจากปัญหาดังกล่าวเกิดได้น้อยมาก และประโยชน์ที่คนไข้ได้
รับมีมาก สามารถทำให้คนไข้หายจากอาการโรคหืดหอบได้ดี
ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคปอดจึงยังแนะนำให้ใช้ยาตัวนี้ต่อไป
แต่มีข้อแม้ว่า...ต้องใช้อย่างระมัดระวัง !
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น