วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

ASTHMA : Pitfalls Of Treatment

March 7, 2013



เมื่อคนเป็นโรคหืดต้องใช้ยา...
ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ 
โดยที่แพทย์บางท่านอาจไม่ได้สนใจที่จะบอกให้คนไข้ว่า  
ต้องใช้ยาอย่างไร?   ซึ่งอาจมีคนไข้บางราย  โดยเฉพาะคนสูงอายุ
อาจจำไม่ได้ว่า จะใช้ยาตัวใด และเมื่อใดระหว่างยาตัวที่ทำหน้าที่ควบคุม
 ( controllers) และตัวทีทำหน้าที่บรรเทาอาการหืดหอบ (relievers)

การเรียนรู้ว่าจะใช้ยาทั้งสองชนิด (controllers & relievers) ได้ถูกต้องตลอด
รวมถึงหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลข้างเคียง  ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคน
ที่เป็นโรคหืดหอบทุกคน

ถือว่าเป็นเรื่องที่โชคดีที่  ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ง่าย
และสามารถทำให้อาการหืดหอบดีขึ้นได้

ข้อผิดพลาด และวิธีแก้ไข  ที่พบเห็นดังต่อไปนี้

<!--[if !supportLists]-->1.   <!--[endif]-->ท่านจะต้องแน่ใจว่า  ยารักษาตัวใดทำหน้าที่ควบคุม (controller)
และยาตัวใดทำหน้าที่สำหรับบรรเทาอาการ (reliever)
ถ้าท่านเกิดความสับสน  ให้ทำเครื่องหมายติดแปะไว้ที่เครื่องพ่น (inhaler)

การใช้ยา controller ในขณะมีอาการจะไม่ช่วยให้ท่านบรรเทาจากอาการได้ทันที  
และทำนองเดียวกัน  การใช้ยาบรรเทา (reliever) ทุกวัน
จะไม่ทำให้การอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุพื้นฐานของโรคหืดลดได้ลง

ถ้าท่านมีตัวนำที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการหืดหอบ  เช่น สัตว์เลี้ยง, 
การออกกำลังกาย, หรืออากาศเย็น...
ยาที่ท่านต้องใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการหืดหอบ  คือ ยา albuterol 
ซึ่งเป็นยาในกลุ่มของ reliever นั่นเอง  โดยทำการพ่นยาก่อนที่จะเผชิญกับปัจจัยดังกล่าว


<!--[if !supportLists]-->2.    <!--[endif]-->อย่าหยุดการใช้ยาควบคุม (controller) เพราะท่านหายใจสะดวก
ท่านจะต้องเข้าใจว่า  การที่ท่านหายใจเป็นปกติเป็นเพราะยาควบคุม (controller) 
ทำให้การอักเสบหายไป  ทำให้หลอดลมหายใจเปิด  อากาศผ่านได้สะดวก

ถ้าท่านไม่ใช้ยาควบคุม (controller) เมื่อใด  มันก็เหมือนกับท่าน
ได้เปิดประตูเชื้อเชิญให้การอักเสบของหลอดเกิดขึ้น  และเมื่อนั้น
ปัญหาด้านการหายใจก็จะกลับคืนมา

เมื่อมีอาการกลับคืนมา  ท่านจะต้องเสียเวลาหลายวันถึงหลายอาทิตย์  
จึงจะสามารถควบคุมอาการได้  ไม่แต่เท่านั้น  ท่านอาจจำเป็นต้องใช้ยาควบคุม
(controller) มากกว่าเดิม

ถ้าอาการของท่านหายไปได้สักระยะ (symptom-free) ท่านควรปรึกษาแพทย์
เพื่อพิจารณาลดขนาดของยา  หรือหยุดยาเสียเลย
ซึ่งท่านจำเป็นต้องเรียนรู้ว่า  จะค่อยๆ ลดขนาดยาอย่างไร  และ
เรียนรู้วิธีจัดการกับโรคที่เปลี่ยนแปลงไป

<!--[if !supportLists]-->3.   <!--[endif]-->ตรวจสอบการใช้เครื่องพ่นยา...
ถ้าท่านมีความสงสัยในการใช้เครื่องพ่นยาว่า  ท่านทำถูกต้องหรือไม่?  
ท่านควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษา  ด้วยการแสดงวิธีการใช้เครื่องพ่นยาให้แพทย์ดูว่า 
ท่านทำถูกต้องหรือไม่ ?  อย่าอายที่จะทำเช่นนั้น

มีความผิดพลาดที่ไม่น่าเกิด  เช่นหาย “ใจออกในขณะที่พ่นยาเข้าปอด”
ที่ถูกต้องท่านจะต้องหายใจเข้าพร้อมกับพ่นยาเข้าปอด
หากไม่ทำเช่นที่แนะนำ  ยาจะไม่เข้าสู่ปอด  แต่จะกระจายอยู่ที่หลังลำ
คอ (throat) เป็นเหตุให้การพ่นยาไม่ได้ผลเท่าที่ควร

http://www.intelihealth.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น