วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Alzheimer's disease - Introduction

Introduction:

Alzheimer’s disease เป็นโรคของสมอง
ซึ่ง ทำให้เกิดการสูญเสียความทรงจำ และ การทำงานด้านจิตไป
เมื่อโรคเลวลง คนไข้ที่เป็นโรค Alzheimer’s
จะสูญเสีย ความทรงจำ รวมไปถึงการสูญเสียการ ตัดสินใจ ไม่มีสมาธิ
สูญเสียความชำนาญด้านภาษา บุกลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป และ
ความสมารถในการเรียนรู้ลดน้อยลง

ในคนที่อยู่ในระยะสุดท้ายของโรค คนไข้จะเสียความทรงจำ
และ ความสามารถด้านจิตไปโดยสิ้นเชิง

Alzheimer’s disease เป็นโรคของสมอง
ซึ่ง ทำให้เกิดความอาการ dementia ทีีพบได้บ่อยที่สุด
คนชาวอเมริกัน มีประมาณ 5 ล้าน คน ที่เป็นโรคดังกล่าว
เนื่องจากมีปริมาณคนสูงอายุเพ่ิ่มขึ้น จึงคาดว่า คนที่เป็นโรคดังกล่าว
จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย

การพัฒนาของโรคในแต่ละคน จะแตกต่างกันไป
ถ้าโรคเกิดขึ้นเร็ว มันมักจะมีอาการเลวลงอย่างรวดเร็วด้วย

โรค Alzheimer’s จะเกิดขึ้น เมื่อโรคทำลายเซลล์ประสาทในสมอง
ในคนที่มีสมองสมบูรณ์ มีเซลล์ประสาทเป็นจำนวนนับล้าน ๆ
ซึ่งทำหน้าที่สร้างสารเคมี ให้เป็นสื่อประสาท
เพื่อถ่ายทอดสัญญานประสาท ระหว่างเซลล์ ประสาท
ที่ทำหน้าที่ในการ “คิด”, “จำ” และ “รู้สึก”

สารสื่อประสาททั้งหลาย เป็นสารเคมี จะทำหน้าที่ช่วยให้คลื่น
ประสาทเคลื่อนจากเซลล์หนึ่ง ไปยังเซลล์อีกตัวหนึ่งภายในสมอง

และในคนที่เป็นโรค Alzheimer’s เซลล์ประสาทสมองในบาง
ตำแหน่งจะเริ่มตายลง ทำให้เซลล์ประสาท ไม่สามารถสร้างสารสื่อประสาทได้เพียงพอ
เป็นสาเหตุทำให้สมองมีปัญหาต่าง ๆ ด้านส่งคลื่นประสาทตามที่กล่าว

โรค Alzheimer’s ให้ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้
แต่มียาบางอย่าง สามารถช่วยชะลอไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงในสมองของบางคนได้
สมุนไพรบางอย่าง และอาหารเสริม และ การปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมชีวิต อาจช่วยลดอัตราเสี่ยง ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้

Signs and Symptoms:
ในระยะเริ่มแรกของคนไข้ Alzheimer’s
อาการที่เกิดอาจเล็ดลอดสายตาของคนเราไปได้
อาการ และอาการแสดงต่อไปนี้ เป็นอาการที่พบเห็นในโรค
Alzheimer’s:

Psychological Symptoms:
o ความจำเสื่อมลง โดยเริ่มจากการลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่นาน
และลืมข้อมูลใหม่ ๆ ไป , มีอาการพัฒนาไปถึงขั้นลืมเพื่อน และสมาชิกในครอบครัว
o ขาดสมาธิ ไม่เข้าใจในคำต่าง ๆ ,ไม่สามารถจบประโยค หรือ ใช้คำพูดที่ต้องการ
o ลืมสถานที่ ๆ ตนเคยรู้จัก
o มีอาการซึมเศร้า ก้าวร้าว รู้สึกกังวลใจ ร้อนรน
o ขาดความสนใจ ทำตัวเป็นปักษ์ ขาดการยับยั้งใจ

Physical Symptoms
o มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ขาดการประสานงาน
o กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ชอบลากขาเวลาเดิน
o นอนไม่หลับ มีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการนอน
o น้ำหนักลด
o กลั้นปัสสาวะไม่ได้
o กล้ามเนื้อกระตุก

Causes:
นักวิจัยทั้งหลายไม่แน่ใจว่า อะไรทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ขึ้น
แต่เชื่อว่า พันธุกรรม และ สิ่งแวดล้อม อาจมีส่วนร่วมกันในการเกิดโรคในบางราย
จากการศึกษาในเร็ว ๆ นี้ บ่งชี้ว่า สารอนุมูลอิสระ (เป็นโมเลกูล ซึ่ง
สามารถทำให้เกิด oxidation และทำให้เกิดอันตรายต่อ DNA)
อาจมีบทบาทในการทำให้เกิดโรค “อัลไวเมอร์” ได้

ในสมองของคนเป็นโรคอัลไวเมอร์ จะมีการสะสมของโปรตีน สองชนิดรวมกันเป็น
กระจุกภายในสมอง
ชนิดแรกมีชื่อว่า beta-amyloid protein เป็นกระจุกรวมกัน
อยู่ในระหว่างเซลล์ประสาท (neurons) ของสมอง
ซึ่งอาจขัดขวางการติดต่อสือสารระหว่างเซลล์ของสมองได้

อีกชนิดหนึ่ง เรียก tau protein
เป็นโปรตีนที่อยู่ภายในเซลล์ประสาทมองเอง
ปกติสารโปรตีน tau จะทำหน้าทีในการทำงานของสองเอง
แต่เนื่องจากมันผิดรูป...วางตัวไม่เป็นระเบียบ
ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุให้เซลล์สมองถูกทำลายไป
นั่นเป็นความเชื่อของนักวิจัย...

นอกจากนั้น เขายังพบต่อไปอีกว่า คนที่มี “ยีน” ที่มีชื่อว่า APOE-e4 gene
ถูกเรียกว่า เป็น “ยีนอันตราย”
ซึ่งใครก็ตามมียีนดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะเกิดเป็นโรค “อัลไซเมอร”

มีนักวิทยาศาสตร์อีกหลายนายเชื่อว่า ยังมี “ยีน” อีกหลายตัวที่มีส่วนต่อการเกิดโรค
อย่างไรก็ตาม การเป็นโรค “อัลไซเมอร” ไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดทางพันธุกรรม

Risk Factors:
มีปัจจัยเสียงหลายอย่าง อาจมีส่วนเกี่ยวกข้องกับการทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
เช่น:

o ประวัติครอบครัว มีคนเป็นโรคอัลไซเมอร์
o สูงอายุ หลัง 65 ทุก ๆ 5 ปี มีโอกาสเกิดโรคเพิ่มเท่าตัว
o ความดันสูงระยะยาว
o โรคหัวใจ
o ได้รับบาดเจ็บของศีรษะมาก่อน
o Down syndrome เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติใน chromosome...
เป็นผลจากพันธุกรรม ทำให้เกิดปัญญาอ่อน...
o ระดับการศึกษา ยิ่งมีการศึกษาสูงโอกาสที่จะเป็นโรคยิงน้อยลง

Diagnosis:
ไม่มีการตรวจพิเศษสำหรับวินิจฉัยโรค “อัลไซเมอร์”
การวินิจฉัยได้อย่างแน่นอน กระทำได้ด้วยการตรวจสมองของคนตายเท่านั้น
คนไข้ที่เป็นโรค อัลไซเมอร์ จะมีอาการแสดงของมัน
ซึ่งแพทย์จะทำหน้าที่แยกโรคต่าง ๆ ที่เป็นเหตุทำให้เกิดอาการดังกล่าว
โดยอาศัยขอมูลที่ได้จากประวัตการเกิดโรค อาการแสดง
และการตรวจร่างกาย รวมทั้งตรวจระบบประสาท

การตรวจมีดังต่อไปนี้ คือ
o Mental status evaluation.
เป็นการตรวจความจำ ช่วงของความสนใจ
o คนไข้อาจมีปัญหาด้านการแก้ปัญหา ปัญหาทางสังคม และ ด้านภาษา
o Genetic tests. เป็นการตรวจเลือด หา APOE-e4 gene
คนที่มี “ยีน” ตัวนี้มีโอกาสเป็นโรค อัลไซเมอร์...แต่ไม่เสมอไป
o Imaging tests ต่าง ๆ เช่น CT, MRI หรือ PET sans
ในระยะแรก ๆ ที่คนไข้มีอาการ dementia การตรวจ brain scans อาจปกติ
แต่ในละหลัง ๆ ของการเป็นโรค การตรวจ MRI
อาจแสดงผล ขนาดของสมองในบริเวณบางแห่ง มีขนาดเล็กลง
การตรวจ MRI ไม่สามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่สามารถแยกโรคชนิดอื่น
ที่เป็นต้นเหตุของ dementia ได้
เช่น เนื้อเงอกของสมอง หรือ ภาวะสมองขาดเลือด (stroke)
ซึ่ง ทำให้เกิด vascular dementia

Preventive Care:
ไม่มีใครทราบวิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้หรอก
แต่ เชื่อว่า การรับประทานอาหารที่ให้สุขภาพ
และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยได้ นอกจากนั้น:

o กิน omega 3 fatty acids จะมีประโยชน์ต่อสมอง และ หัวใจ
o Antioxidants. เช่น vitamin A, E, C อาจช่วยป้องกัน
อันตรายจากอนุมูลอิสระได้
o รักษาความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับปกติ
o รักษาสภาพจิต และด้านสังคม ให้อยู่ในภาพปกติ
อาจช่วยชะลอ ไม่ให้โรค “อัลไซเมอร” เลวลงได้

Treatment:
เป้าหมายในการรักษาโร “อัลไซมอร์” :

o ชะลอการดำเนินของโรค
o จัดการปัญหาด้านพฤติกรรม ความสับสน และ ความกังวล
o เปลี่ยนสภาพบ้านช่องให้ปลอดภัย
o สนับสนุนสมาชิกในครอบครัว และ ผู้ดูแลคนไข้
o เนื่องจากเราไม่มีทางรักษาโรค “อัลไซเมอร์ “ให้หายได้
การรักษาที่ได้ผล คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ ยา

Lifestyle
จากการศึกษาพบว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ
อาจช่วยทำให้พฤติกรรมของคนไข้ที่เป็นโรค อัลไซเมอร์” ดีขึ้น เช่น:

o การเดินร่วมกับผู้ดูแลอย่างสม่ำเสมอ ๆ สามารถช่วยทำให้การสื่อสารดี
และเป็นการลดโอกาสให้คนไข้เดินเตร็ดเตร่คนเดียว ปิดโอกาสไม่ให้เกิดการสูญหายได้
o Bright light therapy. การรักษาด้วยไฟสว่าง อาจลดอาการนอนไม่หลับลงได้
o ฟังเพลงเบา ๆ อาจลดความร้อนรน เป็นการเพิ่มสารเคมีในสมอง
สามารถทำให้พฤติกรรมดีขึ้นได้
o การฝึกผ่อนคลาย (relaxation training) หรือ การฝึกอย่างอื่น
ซึ่งจำเป็นต้องให้คนไข้สนใจในเป้าหมายบางอย่าง อาจช่วยให้การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นดีขึ้น
และสามารถปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ ได้ดีขึ้น
o สุดท้ายอย่าลืม ให้คนไข้พกพาใบสำคัญของตนเอง เช่น ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์
ผู้ที่สามารถติดต่อได้ ซึ่งจะมีประโยชน์ในกรณีคนไข้หนีหายไปจากบ้านโดยไม่รู้ตัว

Medications
มียาจำนวนมาก ถุูกนำมาใช้ในการรักษา เพื่อชะลอโรค “อัลไซเมอร”
และอาจช่วยทำให้การทำงานของจิตดีขึ้น
เช่น:

o Cholinesterase inhibitors. จะทำให้สาร
Acetylcholine ในสมองเพิ่มขึ้น
ผลข้างเคียงได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และ ท้องล่วง
ยาในกลุ่มนี้ได้แก่:

• Donepazil (Aricept)
• Rivastigmine (Exelon)
• Galantamine (Rasadyne)

• Memantine (Namenda) –
เป็นยาที่ทำหน้าที่ปรับสารเคมี (สารสื่อประสาท) ชื่อเรียก Glutamate
ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาข้อมูล และการดึงข้อมูลในสมอง
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาตัวนี้ ได้แก่ ปวดศีรษะ ท้องผูก เกิดความสับสน และ อาการวิงเวียน
เป็นยาเพียงตัวเดียว ที่อนุญาตให้ใช้รักษาคนไข้ “อัลไซเมอร์”
ที่ มีอาการขนาดปานกลางถึงขั้นรุนแรง

นอกจากนั้น ยังมียาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งช่วยลดอาการที่สัมพันธ์
กับโรค “อัลไซเมอร์”
เช่น:
o Seletive serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
ป็นยาที่เพิ่มสารเคมีในสมอง ชือ serotonin ถูกนำมาใช้รักษาอาการซึมเศร้า
ซึ่งมักจะเกิดในระยะแรกของคนไข้โรคอัลไวเมอร์
o Methylphenidate (Cncerta) เป็นยากระตุ้น (stimulant)
มักสั่งให้คนไข้ ที่ไร้ความสนใจ ซึ่งส่วนมากมักจะใช้ในคนทีหมดความสนใจ (apathy)
o Carbamazepine (Tegretol) เป็นยาแก้ชัก (anti-seizer)
o เป็นยารักษาระดับของ sodium ภายในสมองให้คงที่
o บางครั้งถูกนำไปใช้รักษาคนไข้ที่มีอาการ “กังวล” หรือ “ตื่นเต้น” ในคนไข้โรคอัลไซเมอร์

www.umm.edu/altmed/articles/alzheimers-disease-000005.htm#ixzz1h5CyfWI7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น