วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Parkinson's Disease (PD) - Basic

Definition

Parkinson’s disease เป็นโรคที่มีความเสื่อเกิดขึ้นในสมองชนิดหนึ่ง
คำว่าเสื่อม (degenerative) หมายความถึงความเสื่อมถอยใน
คุณภาพ (declinging in quality)
ความรุนแรงของโรคพารคินสัน จะเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป
มัน ยังถูกเรียกว่า chronic progressive neurologic
disease.

เป็นที่ยอมรับกันว่า โรคพาร์กินสํน เมื่อเกิดขึ้นแล้ว
ไม่มีทางรักษาให้หายได้ มีแต่มันจะค่อยๆ เลวลงตามเวลาที่ผ่านไป
มันถูกตั้งชื่อ ตามชื่อของแพทย์ชาวอังกฤษ James Parkinson
ผู้ซึ่งได้อธิบายโรคพาร์กินสัน เป็นครั้งแรก

What happened in Parkinson ‘s disease?
ในคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน ในบริเวณสมองส่วนทีเป็น Substantia nigra
จะมีการเปลี่ยนแปลง (เสื่อม)เกิดขึ้นที่เซลล์ประสาท
ซึ่งเชื่ว่าเป็นต้นเหนุของโรค

เมื่อเซลล์ในบริเวณ Substantia nigra เสื่อมลง
จะทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกายผลไปจากปกติ
ซึ่งเป็นอาการต่าง ๆ อันเป็นลักษณะของโรคพาร์กินสัน
เช่น:

 มีอาการมือสั่น (tremor)เกิดในขณะพักผ่อน
 กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (rigidity)
 สูญเสียการเคลื่อนไหว หรือไม่สามารถเคลือนไหวได้ตามธรรมชาติ(Akinesia)
 การเคลื่อนไหวช้าลง (Bradykinesia)มีปัญหาในการเดิน
หรือท่าทาง (problems with walking and posture)

ใครก็ตามที่มีอาการ และอาการแสดงต่าง ๆ
อันเป็นลักษณะของโรคพาร์คินสัน เราเรียกว่า มี parkinsonism...
แต่ จงเข้าใจไว้ด้วยว่า คนที่มีอาการ และอาการแสดง parkinsonism
ไม่จำเป็นต้องเป็นโรค Parkinson’s เสมอไป
มันเป็นเพียงแต่ โอกาสที่จะเป็นโรคพาร์คินสันได้เท่านั้น

คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคพาร์คินสัน
ต่อมาภายหลังพบว่า....เขาไม่ได้เป็นโรคพาร์กินสัน 20-25 %
ซึ่งหมายความว่า เขาเป็นโรคอื่น ที่ให้อาการแสดงเหมือนคนเป็นโรคพาร์คินสันเท่านั้น

คนที่อาการ parkinsonism ดูเหมือนกับว่า เขาเป็นโรคพาร์คินสัน
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความเป็นจริงได้ปรากฏขึ้นมาว่า
เขาเป็นโรคอย่างอื่น ที่ทำให้เกิดมีอาการพาร์กินสันนิสึม

Signs and Symptoms of Parkinson's Disease
ในคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน
กลุ่มของเซลล์เฉพาะที่เราเรียกว่า Neuronถูกทำลายลงอย่างช้า ๆ อย่างต่อเนื่อง
ทำให้คูณภาพของเซลล์สมองเลว หรือตายไป
ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเฉพาะสำหรับโรคพาร์คินสันขึ้น

ในระยะแรกของการเป็นโรค เราจะไม่ค่อยเห็นอาการของโรค
มีคนจำนวนมาก เห็นภาพของมือของตนเองมีอาการมือสั่น
บางทีแพทย์อาจเป็นผู้สังเกตพบอาการบางอย่าง
ทำให้เกิดความสงสัยว่า เป็นโรคพาร์กินสันขึ้น

อาการที่อาจพบเห็นในระยะแรก ๆ ของโรคพาร์คินสัน:

 มีการเปลี่ยนแปลงทางใบหน้า ไร้อารมณ์ ไม่กระพริบตา
 เดินไม่แกว่งแขน
 เวลายืน ตัวจะงอไปทางด้านหน้า
 คนไข้อาจมาพบแพทย์ด้วยไหล่ติด มาด้วยอาการปวดไหล่
 เดินลากขา
 ชา เสียว ปวดเมื่อย หรือไม่สบาย ที่บริเวณคอ หรือแขน – ขา
 เสียงค่อย
 มีความรู้สึกตัวเขย่า หรือ สั่นภายตัว
 อาการสั่นในขณะพัก

What Causes the Symptoms?
สมองส่วนที่เป็น substantia nigra อยู่ในตำแหน่งลึกลงไปในสมอง
คนเป็นโรคพาร์คินสันจะไม่แสดงออกให้เห็นได้
จนกว่า เซลล์ในบริเวณ Substantia nigra จะตายไปประมาณ 80 %
จากการตรวจดูมีเซลล์ในสมองส่วน ดังกล่าว ด้วยกล้องจุลทัศน์
จะพบปริมาณของเซลล์ประสาทจำนวนน้อยลง แถมรูปร่างยังผิดปกติอีกด้วย

เซลล์ประสาทในสมอง subsantia nigra จทำหน้าที่สร้าง Dopamine
ซึ่งเป็นสารเคมี มีหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท
เมื่อเซลล์ในบริเวณสมองส่วนดังกล่าว เกิดเสื่อม หรือตายไป
ย่อมทำให้สาร dopamine ลดลงไป
เป็นเหตุให้การส่งสัญญานประสาทระหว่างศูนย์ต่าง ๆ ในสมองเสียไป
ทำให้สมองส่วนดังกล่าว ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
นี้คือสาเหตุ ที่ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของคนที่เป็นโรคพาร์คินสันขึ้น

เราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่า อะไรเป็นตัวทำให้เกิดโรคพาร์คินสัน
แต่มีปัจจัยหลายอย่าง มีทบาทให้เกิดโรค เช่น

 Genes: มีการค้นพบว่า
มีการเปลี่ยนแปลงในพันธุกรรมบางอย่าง มีส่วนทำให้เกิดเป็นโรคพาร์คินสันขึ้น
เรายังทราบอีกว่า การเปลี่ยนแปลงในยีนที่เกิดขึ้นนั้น อาจได้จากสืบทอดทางสายเลือด
ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ให้เกิดโรคดังกล่าวได้

 Environment factors: การสัมผัสกับสารพิษ (toxins)
หรือ ไวรัสบางชนิด อาจกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคพาร์คินสันได้
ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เกิดโรคไดอย่างไร ไม่สามารถทราบได้
แต่มันสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้ขึ้น

o A lack of dopamine. คนเป็นโรคพาร์คินสัน
จะมีอาการหลายอย่างเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากสมองขาดสารสื่อประสาท dopamine
มันจะเกิดขึ้นได้เมื่อเซลล์สมอง ทีทำหน้าที่ผลิตสารดังกล่าว เสื่อม หรือตายลง
ทำไมมันเกิดเชนนั้นได้...เราก็ไม่ทราบอีกเช่นกัน

o Low nor-epinephrine levels.
ในคนที่เป็นโรคพาร์กินนสัน ยังพบปลายประสาทที่ทำหน้าที่ผลิตสารสื่อประสาท
ซึ่งมีชื่อ nor-epinephrine ถูกทำลายลง
สารตัวนี้ ทำหน้าที่ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติของร่างกาย เช่น ควบคุมระดับความดันโลหิต

o The presence of Lewy body.
ในคนที่เป็นพาร์กินสัน ได้พโปรตินอีกชนิดหนึ่ง ชื่อ Lewy body สะสมอยู่ภายในสมอง
มันไปอยู่ในสมองของคนเป็นโรคพาร์คินสันได้อย่างไร
หรือมีการเสื่อมของเซลล์สมองได้อย่างไร ก็ไมมีใครอธิบายได้อีกเช่นกัน

What Will Happen to Me if I Have Parkinson's?
เนื่องจากโรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ
จึงทำให้เราสามารถพอที่จะคาดคะเนได้ว่า
ในแต่ละปีที่ผ่านไป อาการของโรคจะปรากฏให้เห็นเด่นชัดขึ้น
และที่สำคัญ ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่า โรคจะเปลี่ยนแปลงไปได้เร็วแค่ใด?

เราไม่มีวิธีการตรวจรู้ ว่า เซลล์ใน substantia nigra
จะสูญเสียไปมากแค่ไหน และไมมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ใด
สามารถบอกเราให้ทราบได้ว่า เซลล์มีการตายมากเท่าใด
หรือ โรคจะเปลี่ยนแปลง (พัฒนา) ไปเร็วแค่ใด

แม้ว่า เราไม่สามารถชะลอไม่ให้โรคเลวลงได้
แต่เราสามารถรักษาอาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
โดยเฉพาะในระยะแรก ๆ ของโรค

มีคนไข้จำนวนไม่น้อย ที่ได้รับการรักษาได้อย่างเพียงพอ
สังเกตพบว่า โรคมีการเปลี่ยนแปลง (พัฒนา)ลดลง หรือไม่เปลี่ยนแปลงเลย
โดยเฉพาะในระยะ 2 – 3 ปี แรก

บางขณะ ความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
และภายในเวลา 5 – 10 อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้คนไข้พิการได้
ในกรณีดังกล่าว อาจจำเป็นต้องเพิ่มขนาดของยารักษา ให้แก่คนไข้
พร้อมกับการตรวจคนไข้บ่อยขึ้น

มีปัญหาต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในคนที่เป็นโรคพาร์กินสัน
ซึ่งมีเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น:

o การเรียนรู้ และ พฤติกรรมเลวลง
o มีปัญหาด้านการติดต่อสื่อสาร
o ปัสสาวะลำบาก
o หกล้ม
o การปฏิบัติภาระกิจตามปกติเลวลง
o มีปัญหาด้านเพศสัมพันธ์
o กลืนลำบาก
o การเดิน การทรงตัวเสียไป
o น้ำหนักตัวลดล

Diagnosing Parkinson's Disease
How a Diagnosis is Made?
โรคพาร์คินสัน เป็นโรค ๆ หนึ่งในโรคระบบประสาท
ที่มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหว ซึ่งมีอาการคล้าย ๆ กัน
เป็นหน้าที่ของแพทย์ จะต้องแยกจากโรคชนิดอื่น ๆ
แน่นอน การที่แพทย์จะทำเช่นน้นได้ จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์
ทำการวินิจฉัยทางอาการคลินิค

คนไข้บางคนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองไม่ได้โดยสิ้นเชิง
ในบางราย โรคพัฒนาไปได้ช้ากลายเป็นโรคเรื้อรัง
และมีอาการรุนแรงตามเวลาผ่านไป

Diagnostic Tests
ตามความเป็นจริง เราไม่มีการตรวจพิเศษสำหรับโรคพาร์กินสัน
การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการณ์ก็เช่นกัน ไม่มีการตรวจ
ใดที่สามารถยืนยันโรคพาร์คินสันได้

การตรวจคลื่นสมอง electroencephalograms (EEGs)
ไม่สามารถบอกเรื่องของโรคพาร์คินสันได้

การทำ MRI และ CAT scans ของสมองสามารถเห็นภาพของสมอง
การตรวจภาพ MRI และ CAT scans ของสมองของคนไข้โรคพาร์คินสัน
จะได้ภาพปกติ

ในการเปลี่ยนแปลงในสมองของคนเป็นโรคพาร์กินสัน
เป็นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ที่เสื่อมสภาพลง พบได้ทางกล้องจุลทัศน์เท่านั้น
ซึ่ง มีการเปลี่ยนแปลงในระดับของสารเคมีของสมอง (dopamine)
ไม่สามารถมองเห็นด้วยตรวจด้วยภาพ (imaging) ทาง scans

เมื่อเราไม่มีการตรวจ เพื่อใช้ช่วยวินิจโรคได้
จึงเป็นหน้าที่ของแพทย์ต้องพิจารณาตัดสินใจเอง
โดยอาศัยความเคยชิน หรือประสบการณ์ของแพทย์เป็นสำคัญ
เมื่อมาทำการตรวจคนไข้ จึงจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์
เราเรียกวิธีการดังกล่าว่า clinical diagnosis

Continued > treatment options

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น