วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Parkinson's Disease: An Overview

What is Parkinson's disease?

โรค Parkinson’s เป็นโรคเรื้อรังของระบบประสาท
ซึ่งมีการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทในสมองบริเวณใกล้ส่วนคอ
ชื่อเรียกว่า substantia nigra ทำหน้าที่ผลิตสาร dopamine
เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter)
ทำหน้าที่เป็นตัวสื่อสัญญาณประสาทภายในสมอง

โดยเฉพาะเซลล์ประสาทในส่วนที่เรียก basal ganglia
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วน substantia nigra
ในโรคพาร์กินสัน เราจะพบว่า เซลล์ประสาทมันลดลง หรือตายไป
เป็นเหตุให้สมองขาดสารสื่อประสาท (dopamine) ไป
ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
เมื่อขาดสารดังกล่าว...คงไม่ต้องสงสัยว่า อะไรจะเกิดขึ้น

Who gets Parkinson’s disease?
ใครเป็นโรค Parkinson’s ?
เอาสถิติของคนสหรัฐฯ ที่เป็นโรค Parkinson’s เป็นกรณีศึกษา
พบว่า ในแต่ละปี มีคนเป็นโรคพาร์กินสันถึง 50,000 ราย

มีความเป็นไปได้ว่า โรคพาร์กินสัน อาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
เกิดในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 60 ได้มากว่าผู้หญิง
พบอายุโดยเฉลี่ย คือ 60 ปี
มีประมาณ 10 % สามารถวินิจฉัยโรคได้ก่อนอายุ 40

What are the symptoms of Parkinson's?
คนเป็นโรคพาร์คินสัน มีอาการสำคัญ ๆ ดังนี้:

 กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (Muscle stiffness)
 สั่น (tremors)
 การเคลื่อนไหวช้าลง (bradykinesia)
 รูปแบบการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป
 การพูด และการเขียนหนังสือ ไม่ป็นปกติ

How is Parkinson’s disease diagnosed?
ในการวินิจฉัยโรค ในระยะแรกๆ บางครั้งกระทำได้ยากพอสมควร
อาการที่เกิดมักคล้ายกับ โรคอื่น ๆ
ยกตัวอย่าง อาการสั่นของมือ (temors) ในขณะพัก อาจไม่ปรากฏให้เห็นได้

ในขณะนี้เราไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ เพื่อการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันได้
การตรวจดูภาพ (imaging) เช่น CT (computed tomography)
หรือ MRI ( manetic resonance imaging) scans
ถูกนำมาใช้เพื่อพิจารณาวินิจฉัยโรคอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการคล้ายโรคพาร์กินสัน

ในการวินิจฉัยโรค ข้อมูลที่ได้จากคนไข้
จากประวัติ เช่น อาการของโรค การทำงาน ยารักษา โรคประจำตัว
ตลอดรวมถึงการสัมผัสสารต่าง ๆ ร่วมกับการตรวจร่างกาย
และการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ต่าง ๆ ต่างมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรค

อาการที่พบบ่อยที่สุดในโรคพาร์กินสัน คืออาการ "สั่น"ของร่างกายด้านใดด้านหนึ่ง
ซึ่ง บางรายมีเพียงบางส่วนที่มีอาการสั่น
เช่น สั่นที่มือ หรือเท้า
ซึ่งมีการกระจายไปส่วนอื่นเมื่อโรคเลวลง หรือเมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น

อาการสั่นของร่างกาย จะไม่ทำให้คนไข้พิการ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
ส่วนใหญ่ อาการจะหายไป เมื่อคนไข้มีการเคลื่อนไหว หรือ เมือนอนหลับ

Bradykinesia เป็นอีกอาการหนึ่งที่พบได้บ่อย
เป็นการเคลื่อนไหว ที่เชื่องช้าลง
เช่น เวลาแต่งตัว หรืออาบน้ำ อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงถึงจะเสร็จเรียบร้อย

คนไข้โรคพาร์กินสันส่วนใหญ่ จะพบกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง แขนหรือขาแข็งเกร็ง
ซึ่งเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อไม่มีการผ่อนคลาย
ทำให้มีการเคลื่อนไหวลำบาก
พร้อมกันมีความรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อทั่วไป

คนไข้จะมีปัญหาเรื่องความสมดุลของร่างกาย
ทำให้คนไข้มีลักษณะลำตัวโย้ไปด้านหน้า หรือด้านหลัง
ทำให้มีโอกาสหกล้มได้ง่าย

อาการอย่างอื่นของโรคพาร์คินสัน ได้ แก่:

 การแสดงออกทางสีหน้าลดลง
 ภาษาเปลี่ยนแปลงไป
 รายมือ (เขียนหนังสือ) เปลี่ยน
 มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
 ท้องผูก
 ปัญหาทางผิวหนัง เช่น มีขี้รังแค
 นอนไม่หลับ

สิ่งที่เราควรรู้ คืออาการของคนไข้แต่ละราย จะแตกต่างกัน
ในรยะแรก ๆ จะทำให้การวินิจฉัยด้วยความลำบาก
ซึ่งความจริงมีว่า 25 % มักจะวินิจฉัยผิดเสียด้วย (ในมือของผู้เชี่ยวชาญ)

What treatment options are available?
Medication options:
มียาจำนวนมากมายถูกนำมาใช้รักษาอาการของโรคพาร์กินสัน
ยาที่ใช้บ่อยที่สุด คือ levodopa
ซึ่งเซลล์ประสาทจะใช้สารดังกล่าวสร้างสาร dopamine
เพื่อนำไปชดเชยสาร dopamine ทีพร่องไป
ยาที่เรานำมาใช้ ส่วนมากจะออกมาในรูปผสม Carbidopa กับ levodopa
ซึ่ง สามารถช่วยลดผลข้างเคียงลงได้

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากลัวในการใช้ยา levodopa ในระยะยาว
คือ มันจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยไม่สามารถควบคุมได้ (dyskinesias)
ซึ่ง เป็นอุปสรรคต่อการทำงานในชีวิตประจำวัน

ยาตัวใหม่ คือ dopamine agonists เมื่อนำมาใช้กับคนไข้พาร์คินสัน
จะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบควบคุมไม่ได้เหมือนกับการใช้ levodopa
ดังนั้น เราจะพบว่า ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มหนึ่ง แนะนำไม่ให้ใช้ levodopa ในระยะแรก ๆ
และแนะนำให้ใช้ dopamine agonist แทน
หากคนไข้ตอบสนองต่อยา dopamine agonist หรือตอบสนองช้า
แพทย์อาจเพิ่มยา sinemet (levodopa plus carbidopma)แก่คนไข้

ยาในกลุ่ม dopamine agonists เป็นที่ผลิตออกมาใหม่
ได้แก่ ropinirole (Requip) และ pramipexole (Mirapex)
(ส่วน bromocriptine (Parlodel) เป็นยาเก่า
ถูกนำมาใช้รักษาคนไข้เป็นโรคพาร์กินสัน โดยที่ยาในกลุ่ม
นี้จะมีฤทธืเลียนแบบฤทธิ์ของยา dopamine
และมีการทำงานกระตุ้นสมอง และไขสันหลังบางส่วน

ยาในกลุ่มนี้ ถูกนำมาใช้รวมกับ dopamine เพื่อลดอาการ
กล้ามเนื้อแข้งเกร็ง และลดอาการเคลื่อนไหวช้า

ยากลุ่มต่อไป ที่แพทย์นำมาใช้รักษาโรคพาร์คินสัน คือ
COMT inhibitors เป็นยาที่ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งเอ็นไซม์
ที่สลายสาร levodopa และ Dopamine ลง
ได้แก่ talcapone (Tasmar) และ entacpaone (Comtan)
โดยตัวของมันอย่างเดียวจะไม่มีประโยชน์ต่อคนไข้เลย
แต่เมื่อนำมาใช้ร่วมกับน่ levodopa จะลดการทำลาย levodopa ลง
ทำให้ Levodopa มันมีโอกาสอยู่ในร่างกายนานขึ้น

นอกเหนือจากการทำให้ยา levodopa ทำงานได้ดีแล้ว
ยาในกลุ่ม COMT inhibitors ยังเพิ่มผลข้างเคียงได้ด้วย
เช่น ทำให้การเคลื่อนไหวชนิดไม่สามารถควบได้ (dyskinesia) เพิ่มขึ้น
นอกจากนั้น tolcapone ยังมีผลต่อการทำลายตับ ทำให้เกิดตับวายได้ด้วย

ยากลุ่มต่อไปได้แก่ amantadine (Symmetrel),
segegiline (Deprenyl) และ rasagiline (Aselect)
เป็นยาทีใช้ในระยะแรก ๆ ของโรค และสามารถใช้ร่วมกับยา levodopa ในระยะหลังได้

Surgical options
บทบาทของศัลยกรรมต่อการรักษาโรคพาร์กินสัน
พบว่า เมื่อ การรักษาด้วยยา ไม่สามารจัดการรักษาโรคได้
การรักษาด้วยกรรมวิธีศัลยกรรมก็มีส่วนช่วยได้ เช่น
การผ่าตัดวาง electrode ลงในสมองหนึ่งในสามตำแหน่งลึกลงไปในสมอง
และมีการเชื่อมต่อกับที่กำเนิดคลื่นไฟฟ้า (pacemaker)ที่ ฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณทรวงอก
เมื่อเปิดเครื่องมือกำเนิดไฟฟ้า ให้คลื่นของไฟฟ้าจะวิ่งอย่างต่อเนื่องไปยังเป้าหมาย
ตรงตำแหน่งที่ฝังขั้ว electrode เอาไว้
สามารถยับยั้งคลื่นสมอง ที่ทำให้เกิดอาการสั่น (tremors) ลงได้

ผลประโยชน์ที่ได้จากการกระตุ้นสมองด้วยคลื่นไฟฟ้าดังกล่าว ไม่เป็นอันตรายต่อสมอง
การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าดังกล่าว สามารถปรับขนาดของคลื่นได้ตามความต้องการ
เครื่องมือดังกล่าว คนไข้สามารถปิดเครื่องได้เอง เมื่ออาการดีขึ้น
หรือเมื่อภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น

การผ่าตัดอย่างอื่นซึ่งเคยมีการนำมาใช้ในสมัยก่อน
แต่ขณะนี้ล้มเลิกไปแล้ว เช่น pallidotomy เป็นการตัด
เอาส่วนของสมองที่ทำงานมากเกินออกทิ้งไป
เป็นการรักษาอาการแข็งเกร็งของกล่ามเนื้อ
เช่น การเคลื่อนไหวช้า และปัญหาด้านความสมดุลของการเคลื่อนไหว

การผ่าตัด thalamotomy มีลักษณะคล้าย ๆ กัน
เป็นการผ่าตัดเอาชิ้นส่วนของ thalamus ส่วนที่ทำหน้าที่ส่งคลื่นประสาท
ที่ทำให้เกิดอาการสัน ออกทิ้งไป

What is the outlook?
ทั้ง ๆ ที่มีการศึกษาโรคพาร์กินสัน กันอย่าวต่อเนื่องก็ตาม
เรายังไม่สามารถรักษาให้หายขาด หรือ ป้องกันไม่ให้โรคเกิดขึ้นได้เลย
ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของคนไข้ และแพทย์จำเป็นต้องช่วยวางแผนการรักษา
เพื่อ ทำให้คนไข้ส่วนใหญ่ สามารถมีชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขได้

http://www.webmd.com/parkinsons-disease/guide/parkinsons-disease-topic-overview?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น