วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

สิ่งควรรู้ในโรคข้ออักเสลรูมาตอยด์ 2 (WHAT YOU NEED TO KNOW ABOUT RA)

Aug. 13,2013

การวินิจฉัยโรค RA...(Diagnosing RA Can Be Tricky)
See picture ....http://www.om/medicinenet.com

เนื่องจากเราไม่มีวิธีตรวจที่สามารถยืนยันผลข้อวินิจได้ทันทีว่า 
ท่านเป็นโรครูมาตอยด์   แพทย์จำเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายดังกล่าว
ถ้าแพทย์ของท่านสงสัยว่า  ท่านอาจเป็นโรค RA  สิ่งแรกที่เขาจะต้องทำ
คือ การซักประวัติการเกิดโรคของท่าน  ซึ่งจะช่วยให้เขาได้รวบรวมข้อมูลบางอย่าง
เกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ของท่าน ที่อาจชี้ไปยังการเป็นโรค RA เป็นต้นว่า:

เมื่อท่านมีอาการปวดหลายๆ ข้อใช้หรือไม่ ? ข้อที่ทำให้ท่านรู้สึกปวด
สองข้างเป็นเหมือนกันใหม ? การเคลื่อนไหวข้อในตอนเช้าเป็นอย่างไร ?
และท่านมีความรู้สึกเมื่อยเพลียหรือไม่ ? เป็นต้น
 


แพทย์อาจประเมินความสามารถของท่านด้วยคำถามต่าง ๆ 

ที่เขาเรียกว่า  Health Assessment Questionnaire.... เป็นการตั้งคำถาม และ
ให้ท่านตอบ  เพื่อวัดระดับความเจ็บปวด  และผลกระทบทีเกิดกับชีวิตของท่าน
หลังจากนั้น  แพทย์จะทำตรวจร่างกาย  มองหา อาการบวม (swelling), 

ตำแหน่งกดเจ็บ (Tenderness), และมีการเคลื่อนไหวของข้อติดขัด หรือฝืด
หรือพบก้อน (nodules) ใต้ผิวหนัง

นอกจากนั้น  แพทย์อาจขอให้ท่านทำงานบางอย่าง  เพื่อประเมินความ
สามารถในการทำงานของท่าน

แม้ว่า แพทย์ของท่านจะทำการตรวจเลือดหา  rheumatoid factor

ซึ่งเป็นภูมิต้านทานที่บ่งบอกให้เราได้ทราบว่า  ท่านเป็นโรครูมตอยด์ (RA)
แต่การปรากฏของ rheumatoid factor ไม่ใช้ตัวบ่งบอกที่แท้จริง...
เพราะมีคนส่วนใหญ่ที่เป็นโรค RA  จะตรวจพบมี rheumatoid factor
และมีประมาณ  20 – 30 % ของคนเป็นโรคดังกล่าว  จะไม่มี rheumatoid factor

มีการตรวจที่มีความจำเพาะมากกว่า  rheumatoid factor

นั้นคือ  การตรวจหา  anticyclic citrullinated Peptides (Anti-CCP) 
ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกิดจากทำลายของเนื้อเยื่อโดยโรค RA
หากท่านถูกตรวจพบ  anti-CCP ในเลือดของท่านเมื่อใด 
 ท่านมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) ถึง 90 – 95 %

นอกจากการตรวจตามที่กล่าว...

ท่านจะได้รับการตรวจเลือดหาค่าอย่างอื่น เช่น

o ภาวะเลือดจาง (เม็ดเลือดต่ำลง) ซึ่งมักปรากฏในคนเป็นโรค RA
o ตรวจ erythrocyte sedimentation rate (ESR)...
เป็นการตรวจการจับตัวของเม็ดเลือดแดง-ตกลงไปยังก้นของหลอดทดลอง
หากพบว่า เม็ดเลือดตกลงด้วยอัตราเร็วสูง แสดงให้เห็นว่า มีการอักเสบสูง
o ตรวจ C-reactive protein (CRP) ยังสามารถบ่งบอกให้ทราบว่า
มีการอักเสบสูงมากน้อยแค่ใหน
o การตรวจเอกซเรย์ข้อ...เพื่อประเมินขอบเขตของการทำลายข้อ
ซึ่งสามารถบ่งบอกให้ทราบว่า  มีการสูญเสียมวลกระดูกที่บริเวณขอบของข้อ, 

มวลกระดูกบางลง; กระดูกอ่อนถูกทำลาย โดยพบช่องว่างของข้อลดลง 
(narrow joint space)

อะไรคือสาเหตุของโรค RA ?

แม้ว่าจะมีการวิจัยอย่างมากมาย  เพื่อหาสาเหตุทำให้เกิดโรค ...
เรายังไม่สามารถทราบอยู่ดีว่า  อะไรคือสาเหตุทำให้เกิดโรครูมาตอยด์
นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน และกลไก

การเกิดอักเสบเป็นอย่างมาก  แต่กลับไม่ทราบว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด
กระบวนการณ์ผิดปกติขึ้น  ซึ่งยังคงเป็นเครื่องลึกลับต่อไป

และแพทย์ส่วนใหญ่ต่างเชื่อว่า  ความผิดปกติทางพันธุกรรม 

และปัจจัยภายนอก  น่าจะมีส่วนรับเกี่ยวข้องต่อการทำให้เกิดโรค RA ขึ้นก็ได้

นักวิจัยจำนวนมากได้พบ ความผิดปกติในพันธุกรรม (genetic marker)หลายตัว 

ซึ่งน่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรครูมาตอยด์ได้ถึงสิบเท่าตัว
โดยพันธุกรรมดังกล่าวจะปรากฏร่วมกับภูมิคุ้มกัน,  การอักเสบเรื่อรัง, 

หรือการเกิด  และการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการเป็นโรค RA
แต่มีบางคนที่มีพันธุกรรมผิดปกติดังกล่าว กลับไม่เป็นโรค RA เลย

นักวิจัยหลายนาย ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยหลายอย่าง 

ซึ่งอาจเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดโรครูมาตอยด์ (RA) ได้ 
เป็นต้นว่า เชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อไวรัส

นักวิจัยบางคนยังสงสัยในฮอร์โมนของเพศหญิง เพราะโรค RA มักปรากฏ
ในเพศหญิงถึง 70 % นอกจากนั้น พวกเขายังสงสัยต่อไปอีกว่า
ภายใต้ภาวะความเครียดทั้งด้านร่างกาย และด้านอารมณ์ 

อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นให้เกิดโรคดังกล่าว 
และสุดท้าย....การสูบบุหรี่อาจมีส่วนในการทำให้เกิดโรคก็ได้ ?

<< Prev. Next >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น