วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

Fibromyalgia : (1 )Treatments Worth Trying

Aug. 10, 2013

ในขณะที่เราไม่สามารถรักษาโรค "ไฟโบรมัยแอลเกีย" ให้หายขาดได้ 
จะพบว่า การทำให้อาการปวด   และอาการเมื่อยล้าที่เกิดจากโรคดังกล่าว
จำเป็นต้องอาศัยทั้งการรักษา  และการบำบัด เท่าที่มี 
ซึ่งเป็นการช่วยเหลือคนไข้แบบลองผิดลองถูก   เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม  
และมีประสิทธิภาพ  ให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคดังกล่าว

ในขณะนี้ มีวิธีการรักษาหลายอย่างให้เลือก ดังนี้:

Medications

ในปัจจุบัน มียาสามขนาน ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา

(FDA) ของสหรัฐฯ เพื่อนำไปใช้รักษาคนไข้ที่เป็นโรค "ไฟโบรมัยแอลเกีย"
ได้แก่:

o Pregabalin (Lyrica)
ยาตัวนี้ เริ่มแรกถูกใช้เป็นยารักษาอาการชัก (anti-siezure) แต่ก็ได้รับการพิสูจน์ว่า
เป็นยาที่มีประโยชน์ต่อการบรรเทาอาการเครียด, ปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ,
และอาการเจ็บปวดที่เกิดจากโรค "ไฟโบรมัยแอลเกีย" ได้
นอกจากนั้น ยังพบว่า ยังมียาที่ใช้รักษาอาการชักอีกตัว คือ gabapentin (neurontin)
ถูกนำมาใช้รักษาคนที่เป็นโรคดังกล่าวได้  แต่ไม่ได้รับการรับรองจาก FDA

o Duloxetine (Cymbalta) and milnacipran (Savella)
ยาตัวนี้ออกฤทธิ์สองอย่าง  โดยสาร norepinephrine และ serotonin
reuptake inhibitors (santidepressants) ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มความเข็มข้นของสาร
สื่อประสาท (neurotransmitters) ที่เป็นที่ทราบว่าทำหน้าที่ยับยั้ง (inhibitors)
คลื่นของความเจ็บปวด

ส่วนยารักษาอาการซึมเศร้าตัวอื่น ๆ (anti-depressants) ซึ่งทำหน้าที่บรรเทา
อาการของคนเป็นโรค FMS ได้แก่ amitriptyline hydrochloride,
Fluoxetine (Prozac), paroxetine (Paxil) และ sertraline (Zoloft)
นอกจากยาที่กล่าวมา ยังมียาอีกหลายขนาน ซึ่งสามารถใช้บรรเทาอาการของ
คนไข้ FMS ได้แก่:

o ยาแก้ปวด (Analgesic ) เช่น tramadol
o ยาคลายการหดเกร็งกล้ามเนื้อ (relaxants) เช่น cyclobenzaprine
o ยารักษาอาการเหนื่อยเพลีย (fatigue medications) เช่น medafiinil
(Flexeril, Cycloflex)

Exercise
การออกกำลังกายเป็นวิธีการที่มีประโยชน์ต่อการรักษาคนเป็นโรค FMS
แต่การบริหารร่างกายนั้น จะต้องเลือกให้เหมาะกับคนไข้แต่ละราย
และควรเริ่มต้นอย่างช้า ไม่ต้องออกแรงมากนัก

เป็นที่ทราบกันว่า ...
ภาวะกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง (decondition) เป็นสาเหตุของโรค "ไฟโบรมัยแอลเกีย"
ซึ่งไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด  แต่มีประเด็นที่ควรระมัดระวังให้มาก
นั้นคือ การบอกให้คนไข้ออกกังลังกาย... แล้วอาการจะดีขึ้นนั้น อาจไม่ถูกต้อง
เพราะการออกกำลังไม่เหมาะสม  แทนที่จะได้ประโยชน์
กลับทำให้คนไข้ต้องนอนซมบนเตียงนานเป็นอาทิตย์  ทำให้คนไข้ไม่เห็น
ความสำคัญของการออกกำลังกาย

วิธีการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง...มีข้อควรระวังเป็นพิเศษ  นั่นคือ
ต้องออกกำลังกายอย่างช้า ๆ จากน้อยไปหามาก
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น...

บางที เพื่อให้คนไข้สามารถออกกำลังกายได้ดี
แพทย์จะแนะนำให้ คนไข้กินยา pyridostigmine (Mestinon)
ก่อนเริ่มออกกำลังกาย

มีเหตุผลอะไร ?
Dr. Jones และผู้ร่วมงาน พบว่า ในคนไข้ที่เป็นโรคไฟโบรมัยแอลเกีย ส่วนใหญ่
ไม่สามารถสร้าง growth hormone ได้ในปริมาณที่พอเพียงต่อ
การออกกำลังกายอย่างหนักได้

Growth hormone จะช่วยสร้างกล้ามเนื้อ...
ถ้าคนไข้ที่เป็นโรค "ไฟโบรมัยแอลเกีย"  ส่วนใหญ่จะม่ีมวลกล้ามเนื้อน้อย
เมื่อมีการออกกำลังกาย จึงทำให้คนไข้เกิดอาการเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น ยา pyridostigmine (mestinon) จะออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการทำงา
นของฮอร์โมนตัวหนึ่ง ชื่อ somatostatin  ซึ่งเป็นตัวทำหน้าที่ยับยั้ง
การผลิต growth hormone

Mestinon เป็นยาที่ได้รับการรับรองจาก FDA ให้เป็นยาสำหรับรักษาคนไข้ที่เป็น
โรค myasthenia gravis ซึ่งเป็นโรคทางระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดเพี้ยน
โดยทำให้มวลกล้ามเนื้อหายไป

ผลจากการศึกษาโดย Dr. Jones และพวก พบว่า
ยา Mestinon สามารถทำให้ระดับของ growth hormone กลับสู่ระดับปกติ
ดังนั้นจึงทำให้คนเป็นโรคไฟโบรมันแอลเกีย สามารถออกกำลังกายได้
โดยไม่เจ้บปวด  อย่างไรก็ตาม   ยาตัวดังกล่าวยังอยู่ในขั้นทดลอง


>> Next

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น