วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

Gout (โรคข้ออักเสบที่เราเข้าใจ) - What Causes Gout?


Sept. 2, 2013

โรคเก้าจะปรากฏอย่างเฉียบพลัน ด้วยอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง
ที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้าที่บวม หรือข้ออื่นๆ ที่อยู่ส่วนล่างของร่างกาย
ซึ่งตามเป็นจริง กระบวนการเจ็บปวดดังกล่าว จะปรากฏอยู่ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น

สาหตุที่อยู่เบื้องหลัง  ที่ทำให้เกิดโรคเก้า จะแตกต่างจากปัจจัยที่ไปกระตุ้น
ให้เกิดอาการเจ็บปวด (gout attack) ซึ่งเป็นผลมาจากมีปริมาณกรดยูริค
ในร่างกายมากเกินไป เราเรียกภาวะดังกล่าวว่า “Hyperuricemia”
     
กรดยูริค เป็นสารถูกสร้างขึ้นจากสาร purine ที่มีอยู่ในเซลล์ของคนเรา 
และจากสารอาหารหลายชนิด ซึงเมื่อถูกทำให้แตกสลายลงแล้ว
จะได้กรดยูริคเกิดขึ้น

กรดยูริคจะถูกส่งไปตามกระแสเลือดเข้าสู่ไตทั้งสอง 
ซึ่งมันจะทำหน้าที่ขับถ่ายออกจากร่างกายไป

อย่างไรก็ตามร่างกายของบางคนสร้างกรดยูริคได้มากเกินปกติ 
หรือผลิตได้ตามปกติ แต่ไตไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้เท่าที่ควร 
เป็นเหตุให้มีปริมาณของกรดยูริคสะสมในกระแสเลือดมากขึ้น
และที่สำคัญ มีบางคน ทั้งๆ ที่มีระดับกรดยูริคสูง แต่ไม่ม่ีอาการของโรคเก้า

ปัจจัยทางวิถีชีวิตของบางคน  สามารถทำให้เกิดมีระดับกรดยูริคในเลือดได้สูง
และทำให้เกิดเป็นโรคเก้าได้ เป็นต้นว่า รับประทานอาหารที่มีสาร purines
ในปริมาณสูง, อ้วน,  และดื่มแอลกอฮอลมากเกินไป โดยเฉพาะคนที่ชอบดื่มเบียร..
.
Gout Triggers
ในคนที่เป็นโรคเก้า... พบว่า สาเหตุที่อยู่เบื้องหลังคือ 
การมีปริมาณของกรดยูริคในกระแสเลือดมีปริมาณสูงกว่าปกติ แต่สิ่งที่กระตุ้น (triggers)
ให้เกิดมีอาการของโรคเก้า (gout attack) เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 
ได้แก่:

เหตุปัจจัยทางร่างกาย
(Medical or Healths triggers)


 บาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับข้อ (joint injury)

 ได้รับการผ่าตัด หรือเกิดโรคอย่างฉับพลัน หรือรุนแรง
    (surgery, sudden, illness)

 เกิดอักเสติดเชื้อ (infection)

 กินยาขับปัสสาวะ (diuretic medications) รักษาโรคความดัน
   โลหิตสูง รักษาอาการบวม หรือรักษาภาวะหัวใจวาย

 เมื่อเริ่มรักษาด้วยการใช้ยาลดระดับกรดยูริค และ
    (Drug lowering –uric acid  treatment)

 เมื่อมีการรักษาด้วยเคมีบำบัด (chemotherapy)

เหตุปัจจัยทางวิถีชีวิตที่กระตุ้นให้เกิดอาการโรคเก้า
(Lifestyle triggers)

 เมื่อมีการอดอาหาร
 ดื่ม (alcohol) จัด
 รับประทานอาหารบางชนิดที่มีสาร purines สูง
 (เช่น เนื้อแดง หรือพวกหอย)
 ภาวะขาดน้ำ (dehydration)
 ดื่มน้ำหวาน (sweet sodas)

http://www.arthritistoday.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น