วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

Gout (โรคไขข้อที่เรารู้จัก) :Obesity and Gout

Aug. 3,2013

ผลจากการศึกษา ของ Boston University School of Medicine
โดยมีการติดตามผลเป็นเวลา 52 ปี และมีการตีพิมท์ในปี 2010 มีใจความว่า
การควบคุมน้ำหนักตัว ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับควบคุมโรคเก้า

จากสถิติของสหรัฐฯ...
คนทีเป็นโรคเก้าจำนวน 71 % จะเป็นคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป และใน
จำนวนดังกล่าว จะเป็นคนอ้วน  14 %โดยให้คำจำกัดความว่า ความอ้วนหมายถึงคนที่มี
body mass index (BMI) ซึ่งเป็นค่าที่ได้จากการวัดน้ำหนักตัว โดยสัมพันธ์กับความสูง 
แล้วได้ค่ามากกว่า 30

ผลจากการการวิเคราะห์ข้อมูลของ Hyon Choi, MD, DPh จาก Framingham Heart Study
ในสตรีจำนวน 2,476 และในชาย 1951 คน
ปรากฏว่า  คนที่มีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 30 ปอนด์ หลังจากมีอายุได้ 21 ปี
มีโอกาสเกิดโรคเก้าได้ถึงสองเท่าของคนปกติ
ส่วนคนที่ลดน้ำหนักได้มากกว่า 10 ปอนด์ จะลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคเก้าได้ถึง 30 %

ความอ้วนยังทำให้ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นของคนไข้สูงเพิ่มขึ้นได้อีก
เช่น โรคในระบบเส้นเลือด และหัวใจ, ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวานไม่ตอบสนองต่อ
insulin,  และระดับไขมันคลอเลสเตอรอลในกระแสดลือดสูง

ความอ้วนจะเพิ่มแรงกด (stress) ลงบนข้อต่าง ๆ เป็นเหตุให้มีอาการปวด
และการอักเสบเพิ่มมากขึ้น

จริงๆ แล้ว...
การลดน้ำหนัก เป็นวิธีหนึ่งที่นำมาใช้ควบคุมทั้งความเสี่ยงต่าง ๆ ซึ่งมา
พร้อมกับความอ้วน และความเสี่ยงของการเกิดโรคเก้า
แต่ก่อนจะทำการลดน้ำหนัก...อย่าลืมปรึกษาแพทย์ในเรื่องการลดน้ำหนักให้ดี
เพราะการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว สามารถทำให้โรคเก้าเกิด gout attack ได้

แม้ว่าการลดน้ำหนักตัวเป็นเรื่องที่ดี แต่การลดน้ำเร็วเกินไป สามารถ
ทำให้ระดับของกรดยูริคสูงขึ้นในระยะสั้นๆ ได้ และอาจทำให้เกิดมีอาการ
ปวดข้อเกิดซ้ำ (gout attack) ได้

ดังนั้น ทางที่ดี ท่านควรลดน้ำหนักตัว (ที่สูงเกิน) อย่างช้า ๆ
โดยหวังผลให้น้ำหนักลดลง 1 – 2 ปอนด์ ต่อหนึ่งอาทิตย์
ท่านสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดเป็นโรคเก้าได้

http://www.arthritistoday.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น