วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

Misdiagnosis of Psoriatic Arthritis

Aug. 30, 2013

นับเป็นเรื่องยาก ที่จะวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินได้อย่างง่าย ๆ
ทั้งนี้เป็นเพราะอาการต่างๆ ที่ปรากฏจะมีลักษณะเป็นๆ หายๆ
ซึ่งมีโรคไขข้อที่มีลักษณะดังกล่าวมีหลายโรคด้วยกัน จำเป็นต้องได้รับการ
แยกออกไป  เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis), ข้ออักเสบ
จากการเสื่อมสภาพ (osteoarthritis) และโรคเก้า (gout)

ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้การวินิจฉัยโรคไขข้อสะเก็ดเงิน (PsA)
ในตอนแรกผิดผลาดไป แถมยังได้รับการบอกกล่าวว่า เขาเป็นโรค
ข้ออักเสบชนิดเดียวเท่านั้น แต่ต่อมาภายหลัง ปรากฏว่า โรคที่เกิดขึ้นนั้น
เป็นอีกโรค ซึ่งแตกต่างจากโรคที่วินิจฉัยในตอนแรกโดยสิ้นเชิง

คำถามที่เกิดขึ้นมีว่า...
การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินได้ตั้งแต่แรก...
มันสำคัญอย่างไร หรือ?

หมอ Eric Matteson, cahir of rheuatology at Mayo Clinic in Rocheser,
Minn. กล่าวว่า

“การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินได้ไว ถือเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะสามารถป้องกันปัญหาในระยะยาวไม่ให้เกิดขึ้นกับข้อได้...
โดยเฉพาะในเดือนแรกของการเกิดโรค และหากสามารถรักษาควบคุมโรค
ในสามเดือนแรก...จะสามารถป้องกันไม่ให้ข้อถูกทำลายได้”

แม้ว่าโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (PsA) เป็นโรคไขข้อที่เกิดจากการอักเสบ
(inflammatory form) ก็ตาม แต่บางครั้งทำให้เกิดความสับสนกับโรคข้อ
เสื่อมสภาพ (osteoarthritis) ซึ่งไม่ใช้เกิดจากการอักเสบ
นอกจากนั้น  มันอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคข้ออักเสบจากรูมาตอยด์ (RA)
หรือโรคเก้า (gout) ได้อีก

เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้วินิจฉัยโรคสะเก็ดเงินผิดพลาด...
ลองพิจารณาคำแนะนำต่อไปนี้ดู:

 ถ้าท่านเกิดมีอาการปวดข้อ และมีผื่นแดงตามผิวหนัง ผื่นแตกเป็นขุย
แสดงให้เห็นว่า ท่านอาจเป็นโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis)
ยิ่งเล็บของท่านเกิดผิดปกติ ถูกกัดกร่อนเป็นรอยบุ๋ม (nail pitting)
ร่วมเข้าไปอีก ยิ่งท่ำให้เรามั่นใจว่า น่าจะเป็นโรคสะเก็ดเงิน

โดยทั่วไป โรคสะเก็ดเงิน มักจะเกิดก่อนที่โรคข้ออักเสบ แต่ไม่เสมอไป 
บางทีมันอาจไม่เกิดโรคข้ออักเสบเลย

 ถ้าท่านมีอาการของโรคสะเก็ดเงิน มีรอยบุ๋มบนผิวหนัง และเกิดมีอาการ
ปวดข้อ....โรคสะเก็ดเงินน่าจะเป็นต้นเหตุของปัญหา...
อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยอย่างอื่นที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย เป้นต้นว่า ถ้า
ท่านมีอายุระหว่าง 60 – 70 และข้ออักเสบที่ทำให้ท่านรู้สึกเจ็บปวดนั้น ไม่มี
อาการบวมเลย... น่าเป็นโรคข้ออัเสบแบบเสื่อมสภาพ (OA)

 ถ้าข้ออักเสบเป็นเพียงข้อเดียว และปวดมากตลอดทั้งคืน...
โรคที่น่าจะเป็น คือ โรคเก้า (gout) ซึ่งสามารถยืนยันได้ด้วยการตรวจน้ำไขข้อ...
หากพบ uric crystal ลักษณะคล้ายเข็ม เราสามารถบอกได้เลยว่า
ข้ออักเสบนั้น เป็นโรคเก้า

การที่มี “คริสตอลของกรดยูริค”ในกระแสเลือดเลือดสูง เป็นเพราะไต
ไม่สามารถจัดการกับสารดังกล่าวได้ หรือเป็นเพราะร่างกายผลิตได้มากเกินไป
และเป็นโรคเก้าเท่านั้น ที่ทำให้มีระดับ “ยูริค” ในน้ำไขข้อได้

 ถ้าข้อที่ทำให้ท่านเกิดมีอาการปวด ไม่บวม หรือบวมไม่มาก...
โอกาสที่จะเป็นโรคข้อกระดูกเสื่อม (osteoarthritis) มีได้สูงมาก

การที่ข้อเกิดมีอาการบวม เราจะพบเห็นในรายที่มีการอักเสบเท่านั้น
เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ , โรคข้อักเสบสะเก็ดเงิน, และโรคเก้า

สำหรับโรค OA เป็นผลมาจากกระดูกอ่อนเสื่อมสลายลง ไม่เกี่ยว
ข้อกับการอักเสบมากนัก ซึ่งส่วนมากจะมองไม่เห็นภาวะการอักเสบ

 ถ้าอาการบวมปรากฏว่า บวมตลอดความยาวของนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า
ให้นึกถึงโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (PsA) ภาวะดังกล่าว เขามีชื่อเรียกว่า
dactylitis หรือ sausage fingers

ส่วนข้ออักเสบของโรครูมาตอยด์...จะพบว่า อาการบวมจะจำกัดตัว
อยู่ในบริเวณข้อที่อักเสบเท่านั้น

 ถ้าข้ออักเสบเกิดขึ้นไม่เหมือนกันทั้งสองข้าง (asymmetrical)
หรือมันมีข้ออักเสบเพียงด้านเดียวเท่านั้น กรณีดังกล่าวน่าจะเป็น
โรคสะเก็ดเงินได้มากกว่าโรครูมาตอยด์ ซึ่งมักจะเป็นสองข้าง มี
ลักษณะเหมือนกัน (symmetrical)

 ถ้าอาการปวดข้อมีอาการเพิ่มขึ้นมากกว่า 2-3 นาที ในตอนเช้า
หรือหลังได้พัก ให้นึกถึงโรครูมาตอยด์ (RA)
และโรคไขสะเก็ดเงิน(PsA)

ส่วนอาการปวดจ่ากโรคเก้า (gout) มันจะปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว
และปวดมาก ส่วนโรคกระดูกข้อเสื่อม จะมีอาการปวดภายหลังการ
ออกแรง

 ถ้าอาการปวด หรือขยับข้อลำบาก ปรากฏในตอนเช้า ต่อมาประมาณ
สักห้านาทีอาการจะดีขึ้น...น่าจะเป็นจะเป็นโรคกระดูกเสื่อม (OA)
และไม่น่าจะเป็นโรค RA และ PsA สวนใหญ่
ซึ่งจะกินเวลานานมากกว่า 20 – 30 นาที กว่อาการจะดีขึ้น

 ถ้าผลการตรวจเลือด พบ Reumatoid factor ซึ่งเป็น autoantibody
ให้นึกถึงโรครูมาตอยด์เอาไว้ก่อน และสามารถตัดโรคสะเก็ดเงินออก
ไปได้ทันที่ เพราะคนเป็นโรคสะเก็ดเงินจะไม่มี RF ในเลือด

มีคนจำนวนน้อย ที่ตรวจพว่า ในกระแสเลือดมี RF ในระดับต่ำ
โดยไม่เป็นโรครูมาตอยด์ และจะไม่เป็นโรคด้งกล่าว

http://www.arthritistoday.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น