วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

สิ่งควรรู้ในโรคข้ออักเสลรูมาตอยด์ 3 (WHAT YOU NEED TO KNOW ABOUT RA)

Aug.13,2013

(continued)

How Will RA Affect You?

อาการต่าง ๆ ของโรครูมาตอยด์ จะมีความแตกต่างกันจากคนสู่คน
แต่ละคนที่เป็นโรคจะสังเกตุ เห็นการเปลี่ยนแปลงของของโรคในแต่วัน
โดยอาจขึ้นกับข้อใด ๆ ก็ได้  แต่ส่วนใหญ่จะเห็นการอักเสบเกิดขึ้นที่ข้อนิ้ว
มือข้อแรกที่คนเรา ทำ “มะเหงก เขกหัวคน” (Knuckles), 
นอกจากนั้น ยังพบที่เท้า  และข้อมือ
See picture on:  http://www.cedars-sinai.edu/

ต่อมาภายหลัง จะมีการอักเสบของข้อศอก, ไหล่ และข้อเข่าทั้งสองข้าง
มีคนไข้บางคนที่เป็นโรค RA  มีอาการน้อย โดยมีอาการกำเริบขึ้นเป็นบางครั้ง 

ส่วนอีกคนอาจมีอาการรุนแรงอย่างต่อเนื่อง   และมีอาการเลวลงตามเวลาที่ผ่านไป

โรค RA สามารถทำให้ท่านรู้สึกเมื่อยล้า  และรู้สึกไม่สบายทั่วทั้งร่างกาย
โดยเฉพาะระหว่างที่โรคกำเริบ...ท่านอาจกินข้าวไม่รู้สรสชาติ,  น้ำหนักตัวลดลง,
มีไข้ต่ำ ๆ  และแพทย์ผู้รักษา จะทำการตรวจเลือดของท่าน 

โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา  ซึ่งผลของการตรวจเลือดอาจพบว่า 
เม็ดเลือดแดงของท่านลดต่ำลง....ซึ่งเป็นภาวะที่เรารู้กันว่า เป็นโรคโลหิตจาง
 (Anemia)

ท่านอาจมีความรู้สึกเครียด, หงุดหงิด, ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
และมีความรู้สึกสูญเสียการควบคุมตนเอง  ซึ่งมักจะพบเห็นในเป็นโรคเรื้อรัง
ดังนั้น การรักษาที่เหมาะสม รวมไปถึงการควบคุมความเครียดให้ได้ 

ย่อมเป็นวิธีทีดี ที่สามารถจัดการกับโรค RA

การวินิจฉัยโรค (RA)ให้ได้ไว  พร้อมกับให้การรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม...
ย่อมสามารถป้องกันไม่ให้ข้อถูกทำลายได้

ในขณะที่เรายังไม่มีวิธีทำให้โรคหายได้ ...
อย่างน้อย ๆ นักวิจัยก็กำลังพยายามอย่างเต็มที่  เพื่อค้นหาวิธีการรักษาโรค RA 

ให้หายให้ได้นั้น การรักษาโรคจะมุ่งตรงไปยังการทำให้โรคทุเลาเบาลง

ผลการวิจัยในปัจจุบัน  ชี้ให้เห็นว่า ข้อที่ถูกทำลายจนไม่สามารถแก้ไขได้ นั้น

เป็นผลมาจากการวินิจฉัยโรคได้ช้านั่นเอง    ดังนั้น หมอส่วนใหญ่จะ  "โฟกัส "
ไปจุดเริ่มต้นของการเกิดโรค  หหรือระยะแรกๆ ของการเกิดโรครูมาตอยด์
แล้วรีบให้การรักษาอย่างรีบด่วน  ด้วยการให้ยากลุ่ม  DMARDs 
(modifying anti-rheumatic drugs)  โดยจะออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการต่าง ๆ 
ในร่างกาย  ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบขึ้น

ในระยะเริ่มต้นของการเป็นโรครูมาตอยด์ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วย DMARDs 

แพทย์อาจเลือกที่จะใช้ยาในกลุ่ม DMARDs  ซึ่งพึ่งผ่านการพัฒนา 
เรียกว่า biologic response modifiers หรือจะเรียกสั้น ๆ ว่า biologics 
โดยเป็นยาที่สร้างจาก genes หรือผลิตจากสิ่งที่มีชีวิต เช่น เชื้อไวรัส หรือจากโปรตีน 
ซึ่งยาตัวนี้จะออกฤทธิ์ขัดขวางกระบวนการเกิดการอักเสบ

มีแพทย์หลายนายมักจะใช้ยา DMARDs ร่วมกับ biologics...
และเนื่องจากผลทิ่เกิดจากการใช้ยาทั้งสอง  จำเป็นต้องใช้เวลาสักระยะ
ดังนั้น เราจึงเห็นแพทย์อาจสั่งยากลุ่ม NSAIDs เช่น aspirin เพื่อลด
การอักเสบ  และใช้ยาลดอาการปวด (acetaminphen) แก่คนไข้
บางครั้ง แพทย์อาจสั่งยากลุ่ม corticosteroids ที่ออกฤทธิ์สั้นแก่คนไข้
เช่น  prednisolone  เพื่อลดการอักเสบ


การควบคุมโรครูมาตอยด์ จำเป็นต้องอาศัยทีมเวิร์ค


ในการรักษาโรครูมาตอยด์ จำเป็นต้องใช้ทีมเวิร์ค
โดยทั่วไป แพทย์ท่านแรกที่ให้การรักษาท่าน ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง 

(rheumatologist) ซึ่งเป็นอยุรแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรม  เพื่อการวินิจฉัย
และการรักษาโรคข้ออักเสบ  หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อ,  กระดูก, กล้ามเนื้อ,
ผิวหนัง, และเนื้อเยื่ออย่างอื่น

ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว อาจได้รับการฝึกอบรมด้านโรคเด็ก, โรคข้อกระดูก, กายบำบัด, 

เวชศาตร์การกีฬา,  หรือแพทย์สาขาอื่น ๆ

ในขณะทีการรักษาของท่านกำลังดำเนินไปนั้น...
ท่านอาจพบเห็นผู้ให้การดูแลรักษา...หลายสาขา เป็นต้นว่า หมอโรคข้อ
และกระดูก ทำหน้าที่รักษาโรคกระดูกโดยตรง; พยาบาล ทำหน้าที่
ช่วยแพทย์ดูแลคนไข้; นักเวชศาสตร์ฟื้นฟู  ทำหน้าที่กายบำบัด และโปรแกรมฟื้นฟู

สมรรถภาพ; นักกายภาพบำบัด ทำหน้าที่ช่วยให้ท่านรู้วิธีการบริหารร่างกาย 
และทำให้ร่างกายแข็งแรง และป้องกันไม่ให้ข้อติดแข็ง; 

นักกิจกรรมบำบัด ...ทำหน้าที่สอนให้ท่านไม่ให้ข้อของท่านทำงานหนักในขณะทำงาน; 
เภสัชกร จะทำหน้าที่บรรจุยาให้แก่คนไข้;  นักจิตวิทยา จะทำหน้าที่จัดการกับปัญหา
ที่เกิดขึ้นกับอารมณ์ โดยมีสาเหตุจากอาการปวดเรื้อรัง; และผู้แลด้านอื่น ๆ 

และสุดท้าย...ท่านเป็นส่วนสำคัญของทีมเวิร์ค ที่ทำหน้าที่ในการรักษาโรค
ท่านจะต้องเรียนรู้เรื่องโรคของท่านให้มากที่สุดที่จะมากได้
ท่านต้องมั่นใจในการตรวจดูอาการของท่าน  รวมถึงการจัดการกับปัญหาที่
เกิดจากโรคด้วยความมั่นใจ ยึดมั่นกับวิธีการรักษาของแพทย์  ปฏิบัติตามคำแนะนำ

ของแพทย์อย่างเคร่งคัด และเหนืออื่นใด ท่านต้องดูแลท่านตัวของท่านเอง

คนที่สามารถดูแลรักษาโรคได้ดีที่สุด...คือตัวท่านเอง


เมื่อท่านเป็นโรครูมาตอยด์ (RA)...
สิ่งสำคัญที่สุด คือ ท่านจะต้องเอางานหนักเกิน (extra strain) ออกจากข้อ
อักเสบของท่าน การออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่ครบทุกอย่าง
สามารถส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของท่านได้

เป็นหน้าที่ของท่านเอง อย่าให้น้ำหนักเกิน เพราะการมีน้ำหนักเกินจะ
เพิ่มน้ำหนักลงบนข้อ ให้เกิดการทำลายข้อมากขึ้น


นอกจากนั้น ท่านต้องไม่ปล่อยให้ข้อของท่านอยู่นิ่ง ๆ ต้องให้ข้อเคลื่อนไหว

ให้มากที่สุดที่จะมากได้  การออกกำลังกายพอประมาณตามปกติ 
จะช่วยลดอาการเมื่อยล้า, เพิ่มความแข็งแรง, และสร้างความยืดหยุ่นให้แก่
กระดูกและข้อ  รวมถึงความรู้สึกที่ดีขึ้น

ผลจากการวิจัยพบว่า  อาหารบางอย่างมี่ผลกระทบกับการอักเสบ...
ซึ่งอาจทำให้อาการดีขึ้น หรืออาการเลวลงได้
ดังนั้น อาหารที่ควรรับประทาน ควรเป็นอาหารประเภทธัญพืช และอาหาร
ที่มีประโยชน์ ซึ่งได้แก่ ผลไม้ และผักทั้งหลาย

ถ้าท่านกินยาประเภท steroids ท่านจะต้องรับประทานอาการที่มีแคลเซี่ยมสูง 

ถ้าท่านรับประทานยา methotrexate ซึ่งบางครั้งจะก่อให้เกิดปัญหา
เกี่ยวกับตับ ท่านต้องระวัง ให้มาก  และอย่าดื่มแอลกอฮอล 

ซึ่งจะมีผลเสียต่อตับได้

<< Prev

 http://www.arthritistoday.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น