วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เมื่อท่านมีอาการเจ็บหน้าอก (3): What's Causing My Chest Pain?


Aug. 24, 2013

(continued)

Chest Pain Causes: Gastrointestinal Problems
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับระบบย่อยอาหาร (GI problems) ยังสามารถ
ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ เช่น

Go to link: http://www.chestpainaftereating.net/

Gastroesophageal reflux disease (GERD).
บางครั้งเราเรียก “กรดไหลย้อน” (acid reflux) หรือ GERD
มันเกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่อยู่ในกระเพาะ (กรด) ไหลย้อนกลับไปยังคอ
ทำให้ท่านได้รับรสเปรี้ยวที่ปาก พร้อมกับมีความรู้สึกแสบร้อนในบริเวณทรวงอก 
และคอ คนทางภาคอีสานเรียกว่า “แสบบักโหก” 

มีปัจจัยหลายอย่าง ที่กระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนกลับ 
เป็นต้นว่า อ้วน, สูบบุหรี่, สตรีตั้งครรภ์, และกินของรสจัด หรืออาหารที่เป็นมัน

อาการเจ็บหัวใจ (heat pain) หรืออาการแสบหัวใจ (heart pain) จากกรดไหลย้อน
จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน ทั้งนี้เพราะตำแหน่งของหัวใจและท่ออาหาร
ต่างอยู่ใกล้กัน และใช้ประสาท (nerve network) เส้นเดียวกัน...

• Esophageal contraction disorders.
ในบางครั้ง กล้ามเนื้อของท่ออาหาร (esophagus)..
ทำงานไม่ประสานกัน หรือเกิดการหดเกร็ง (spasms) อย่างมาก 
เป็นปัญหาหนึ่งของท่ออาหาร  ซึ่งสามารถทำใหเกิดมีอาการเจ็บหน้าอกได้...

Esophageal hypersensitivity.
เป็นภาวะที่ท่ออาหาร ที่มีความไวต่อความดันภายในท่อที่เปลี่ยนแปลงไป
หรือต่อกรดจากกระเพาะอาหาร เป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวดย่างมาก
โดยไม่ทราบสาเหตุ

• Esophageal rupture.
มีบางครั้ง จากการอาเจียนอย่างหนัก หรือเกิดจากการตรวจท่ออาหาร...
สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ ซึ่งอาจเป็นอาการบ่งบอก
ให้ทราบว่า  อาจมีการแตกของท่ออาหาร ได้

• Peptic Ulcers.
เมื่อมีแผลเกิดในกระเพาะอาหาร มันสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ 
ซึ่งมักพบเห็นในคนที่สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล หรือ
กินยาปแอสไพริน หรือยากลุ่ม NSAIDs...
อาการปวดที่เกิดส่วนใหญ่จะดีขึ้นเมื่อได้กินยาลดกรด

• Hiatus hernia.
เมื่อคนเป็นโรคดังกล่าว สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่ส่วนบนของ
กระเพาะอาหาร ซึ่งถูกดันเข้าไปอยู่ในส่วนล่างของช่องปอด
ซึ่งทุกครั้งที่รับประทานอาหารจะทำให้เกิดมีอาการปวดเกิดขึ้น
และอาการจะหายไปเมื่อท่านนอนลง

• Pancreatitis.
ถ้าตับอ่อน (pancreas) ของท่านเกิดการอักเสบขึ้นมา
มันอาจทำให้ท่านเกิดอาการเจ็บปวดที่ทรวงอกส่วนล่าง
ซึ่งมักจะมีอาการเลวลงเมื่อท่านนอนลาบ และอาการจะดีขึ้นเมื่อ
ท่านโน้มตัวไปทางด้านหน้า

• Gallbladder problems
เมื่อท่านมีนิ่วในถุงน้ำดี หลังรับประทานอาหารที่เป็นพวกไขมัน  
จะทำให้ท่านมีความรู้สีกแน่นท้อง หรือปวดที่บริเวณทรวงอกด้านขวาส่วนล่าง 
หรือบริเวณท้องส่วนบนด้านขวา ?
ท่านอาจมีปัญหาเรื่องถุงน้ำดีได้

Chest Pain Causes: Bone, Muscle, or Nerve Problems
ในบางครั้งอาการเจ็บหน้าอกอาจเป็นผลมาจากการใช้งานมากเกิน
หรือได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอกจากหกล้ม หรือประสบอุบัติเหตุ
นอกจากนั้นการอักเสบติดเชื้อไวรัส ก็สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บ
หน้าอกได้เช่นกัน
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการเจ็บอกได้แก่:

• Rib problems.
ที่พบเสมอๆ ได้แก่กระดูกสีข้างหัก...เมื่อหายใจ หรือไอจะทำ
ให้อาการปวดเลวลง หรือปวดมากขึ้น เมื่อกดตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
จะรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้น นอกจากนั้น ในปริเวณรอยต่อระหว่างกรูกสีข้าง
และกระดูกกสันอกเกิดการอักเสบสามารถทำให้
เกิดมีอาการเจ็บอกได้

• Muscle strain.
กล้ามเนื้อในบริเวณกระดูกสีข้า เกิดการอักเสบ หรือฉีดขาด
สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ อาการมักจะเลวลงเมื่อ
มีการออกแรง

• Shingles.
เมื่อร่างกายเกิดมีการอักเสบจากเชื้อ vaiicella zoster virus จะ
ทำให้เกิดโรคงูสวัส ซึ่งอาจทำให้เกิดมีอาการปวดบริเวณหน้า
อกได้อย่างมาก โดยมีอาการปวดหลายวันก่อนที่จะมีผื่นเกิด
ที่บริเวณทรวงอก

Other Potential Causes of Chest Pain
 
นอกจากสาเหตุทางกายตามที่กล่าวมา ยังมีสาเหตุอย่างอื่น ๆ 
ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ เช่น ความวิตกกังวล และ
ภาวะตื่นตกใจ (anxiety & panic attacks) 

นอกจากอาการเจ็บหน้าอกแล้ว มันยังก่อให้เกิดอาการวิงเวียน, หายใจลำบาก,
ใจสั่น, รู้สึกเสียวซ่า และหนาวสท้านได้

สิ่งที่ท่านควรกระทำเมื่อเกิดมีอาการเจ็บหน้าอก:
เมื่อไหร่ก็ตาม ท่านเกิดมีความสงสัย ในอาการเจ็บหน้าอก...
ท่านต้องเรียกรถฉุกเฉิน หรือรีบไปพบแพทย์พบแพทย์ 
โดยเฉพาะเมื่อท่านมีอาการเจ็บแปลบที่บริเวณหน้าอก หรือไม่สามารถทำให้
บรรเทาลงด้วยยาลดการอักเสบ (NSAIDs) หรือภายหลังการช่วยเหลือตนเอง
ด้วยขั้นตอนอื่น ๆเป็นต้นว่า ปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกิน

การเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน (ambulance) จะกระทำเมื่อ:

• ท่านเกิดมีอาการเจ็บเแน่นหนาอก หรืออาการอัดแน่นภายใต้กระดูกสัน
อก (breastbone)

• อาการเจ็บหน้าอก แพร่กระจายไปยังกระดูกกราม, ต้นแขนซ้าย หรือหลัง

• มีอาการเจ็บปน้าอกอย่างเฉียบพลันร่วมกับหายใจลำบาก
โดยเฉพาะเกิดขึ้นเมื่อไม่ได้ทำอะไร (inactivity) เป็นเวลานาน

• มีอาการคลื่นไส้, วิงเวียน, หัวใจเต้นเร็ว หรือหายใจเร็ว, สับสน, ซีดเผือด,
หรือมีเหงือออกมาก

• มีความดันลดต่ำมาก ๆ หรืออัตราการเต้นหัวใจต่ำมาก ๆ


<< Prev.
http://www.webmd.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น