Aug. 18, 2013
ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจรับผ่าตัดกระดูกสันหลัง...
โปรดพิจารณาข้อมูลที่ได้จากการสังเกตุการณ์ต่อไปนี้ แล้วค่อยตัดสินใจ
จะรีบผ่าตัด หรือรอ ?
หนุ่มวัยฉกรรจ์สองคน (วัย 30s) เป็นเพื่อนกัน ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรี
ต่างเป็นโรคหมอนกระดูกแตกระดับเอว (disc herniation)
มีอาการปวดหลัง และปวดร้าวไปยังขา...
ซึ่งต่างก็ได้รับการรักษาด้วยยา และกายภาพบำบัด
ประมาณสองสามเดือนผ่านไป เหตการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป ทำให้วิถีชีวิตของ
หนุ่มคนหนึ่งสมมุติชื่อ หนุ่ม “ข” ต้องเปลี่ยนไปตลอดชีวิต...
โดยเขาได้ตัดสินใจรับการผ่าตัดเอาหมอนกระดูกออก ตามคำแนะนำของแพทย์
หลังการผ่าตัด อาการปวดหลัง และปวดขาหายไปเป็นปลิดทิ้ง
ด้วยความดีใจ จากประสบการณ์ที่ได้รับ...
และมีความปราถนาดี เขาจึงไปพบเพื่อน (สมมุติชื่อ “ก”) ซึ่งเป็นโรคชนิดเเด่ีียว
กับโรคที่เขาเป็น ( Disc herniation) บอกให้เพื่อนเปลี่ยนแพทย์ผู้ทำการรักษา
เพื่อไปรับการผ่าตัดตามที่เขาได้รับมาแล้ว
ไม่ว่าหนุ่ม "ข" จะพูดชักชวนโน้มน้าวอย่างไร...
หนุ่ม "ก" ปฏิเสธลูกเดี่ยว...พร้อมกับบอกเพื่อนด้วยความสัตย์จริงว่า
"เขากลัวมีดผ่าตัด...และกลัวอะไรหลายอย่าง..."
หนุ่ม "ข" จากไปด้วยความไม่พอใจ ที่เพื่อนไม่ยอมปฏิบัติตาม ก่อนจากเพื่อนไป
เขาได้ตำหนิเพื่อนเอาไว้ว่า...
"ฉันอุตส่าห์...เดินทางไกลมา เพื่อให้แก้ไดเ้รับการรักษาที่ดีกว่า...แกยัง...
เองจงโง่ต่อไปเถอะ..."
หนึ่งปีผ่านไป สองหนุ่ม ( "ก" และ "ข" )ได้มีโอกาสพบกันอีกครั้ง
หนุ่ม “ก” เป็นคนทักหนุ่ม “ข” ด้วยประโยคที่ฟังแล้วมันขัดหูยังไงชอบกล...
“ทำไมหน้าตาของแก อมทุกข์เหมือนเมียทิ้งจังเลยว่... ?”
หนุ่ม “ข” มองหน้าเพื่อน (หนุ่ม “ก”) พยักหน้าอย่างช้าๆ พร้อมกับ
กล่าวด้วยน้ำเสียงละห้อย ไม่กังวาลเหมือนก่อน
"ภายหลังการผ่าตัดเอาหมอนกระดูกออก...
อาการปวดหายไปหมด ทำงานหนักได้เหมือนปกติ แต่หลังจากนั้น
ประมาณสัก ุ6 เดือนกว่า ๆ เห็นจะได้ อาการปวดหลังมันกลับมาเยี่ยม
ข้าฯ อีก และดูเหมือนจะมากกว่าเดิม... กินยาก็แล้ว, กายภาพบำบัดก็ไม่ดีขึ้น
ฉีดยาก็ดีขึ้นในระยะสั้น ๆ ...งานการไม่เป็นอันต้องทำ...หงุดหงิดขี้โมโห...
จนเมียข้าทนไม่ไหว ต้องจากข้าฯ ไป...
พร้อมกับพูดประโยคสุดท้ายด้วยน้ำตาเล็ดว่า "ข้าฯ ถูกเมียทิ้งจริง ๆ"
ก่อนจะจากกันไป...
หนุ่ม "ก " ไ้ด้บอกเพื่อนผู้เคระห์ร้ายว่า โชคดีที่เขาไม่ยอมรับการผ่าตัด ได้รับ
ยาแก้ปวดเป็นบางครั้ง ออกกำลังกายอย่างสมำ่เสมอ พร้อมๆ ไปกับการ
ได้รับกายภาพบำบัด จนโรคหายไปได้เอง...โดยที่ตนเองไม่แน่ใจว่า
มันหายไปเมื่อใด
จากข้อมูลที่นำเสนอนี้...
มันน่าจะบอกอะไรบางอย่าง ?
Disc Herniation
Go to... http://www.physiospot.com/
ในคนที่มีอาการปวดหลังระดับเอว...
เราพบว่า 95 % ของคนที่เป็นโรคหมอนกระดูกแตก (disc herniation)
จะเกิดขึ้นที่ตำแหน่งของกระดูกระดับบั้นเอว L4-5 (L5 signs)
หรือเกิดระดับ L5-S1 (S1 signs)
ประมาณ 75 % ของคนที่มีหมอนกระดูกระดับบั้นเอวแตก เมื่อเกิดขึ้นแล้ว
สามารถหายได้เอง ในเวลาที่ผ่านไป
ในจำนวนคไข้ที่เป็นโรคดังกล่าว...
มีเพียง 5 – 10 % เท่านั้นที่มีอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท sciatic
ซึ่งจำเป็นต้องรับการผ่าตัด และหลังจากการผ่าตัด พบว่า เขามีโอกาส
เกิดหมอนกระดูกระดับเอวแตกได้สูงถึง 10 เท่าตัว
เมื่อเปรียบกับคนทั่วไป
ในคนที่เป็นโรคหมอนกระดูกแตกชนิดฉับพลัน (acute disc herniation)
ส่วนใหญ่ คนไข้จะมีอาการปวดหลังระดับเอวอย่างเฉียบพลัน และมีอาการปวด
ร้าวไปตามเส้นประสาทของขา (radicular pain)
นั่นเป็นเรื่องราวอย่างย่อที่สุดเกี่ยวกับโรคหมอนกระดูกแตก
ต่อไป ลดมาพิจารณาดูโรคอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง
Facet joint syndrome หรือ Facet Joint arthritis
Facet Joint (Posterior Element) Pain
Go to...http://www.methodistorthopedics.com
ในคนที่เป็นโรคปวดหลังเรื้อรัง (chronic low back pain)...
พบว่า 40 % ของคนเป็นโรคปวดหลังเรื้อรัง จะมีปัญหาที่บริเวณ facet joint
ซึ่งเป็นข้อที่อยู่ทางด้านหลังของกระดูกสันหลังต่างระดับมาจรดกัน
มันเป็นข้อห่อหุ้มด้วยเpnjvอบุกข้อ (synovial membrane)
ซึ่งสามารถเกิดอักเสบได้เหมือนกับข้ออื่น ๆ
การอักเสบของของ facet joint ในระดับบั้นเอว จะมีลักษณะเฉพาะ
นั่นคือ อาการปวดจะเกิดขึ้นเมื่อเรา แอ่น (extend) กระดูกสันหลังส่วนเอว
ไปทางด้านหลัง ซึ่งจะทำให้ข้อ facet joint กด หรืออัดเข้าหากัน
และแยกจากกันเมื่อทำการก้มตัว ( flexion) ไปทางด้านหน้า
เมื่อการอักเสบของ Facet joint...
เมื่อใดที่เราแอ่นกระดกสันหลัง (extend) จะก่อใหเกิดอาการปวดขึ้น
และอาการปวดจะหายไปเมื่อก้มตัว (flexion)
ซึ่งการก็ม & เงย (แอ่น) กระดูกสันรหลัง ถูกใช้วิธีการหนึ่งสำหรับการวินิจ
ฉัยโรคข้อ "แฟเซท" เกิดการอักเสบ (facet joint osteoarthritis)
อาการปวดหลังที่เกิดจากโรค Facet joint arthritis...
ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้น เมื่อกระดูกบั้นเอว (lumbar spine) มีการแอ่นอย่าง
เต็มที่ (acutely extension) พร้อมกับบิดบั้นเอว (rotation) โดยไม่มีอาการ
ปวดที่เกิดจะร้ายไปที่ขา (nonradiating lumbar spine pain) แต่มีบางราย
มีอาการปวดร้าวได้ แต่ร้าวไปได้แค่ก้นหย่อนเท่านั้น
โดยไม่ต่ำว่าหัวเข่า)
มีการประเมินเอาไว้ว่า...
80 % ของคนที่โรคข้อ facet เกิดการอักเสบ (facet joint syndrome)
จะมีหลักฐานบ่งชี้ว่า เขามีโรคหมอนกระดูก (disc disease) มาก่อน
คนที่เป็นโรค facet joint syndrome จะไม่มีอาการทางระบบประสาทแต่อย่างใด
การทีใครก็ตามเป็นโรคปวดหลังอย่างฉับพลัน (sudden onset)
เขามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคของ facet joint syndrome ได้มากกว่าโรคหมอนฃ
กระดูก (disc disease)
ส่วนคนที่มีอาการปวดหลังค่อยๆ โดยมีสาเหตุจากโรคหมอนกระดูก
(disc lesion) อาการปวดของเขาจะค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
โดยสรุป...
จากข้อมูลที่นำเสนอ บอกให้เราได้ทราบว่า
ธรรมชาติ...มีพลัง และความมหัศจรรย์ ซึ่งยากต่อการทำความเข้าใจ
หากเราสามารถรู้ซึ้งในธรรมชาติของปัญหาใดๆ ได้...
ย่อมทำให้เราสามารถแก้ปัญหานั้นๆ ได้โดยไม่ยากนัก...
เป็นไปได้หรือไม่ ?
ที่หนุ่ม “ข” ผู้ซึ่งได้รับการผ่าตัดเอาหมอนกระดูกสันหลังทิ้งไป
เป็นการฝืนธรรมชาติ เพราะสิ่งที่ตามมา... คืออาการปวดหลังของเขา
ได้เกิดขึ้นอีก
ส่วนหนุ่ม “ก” ซึ่งเป็นโรคชนิดเดียวกันกับหนุ่ม “ข” ได้ทำการรักษา
โรคด้วยวิธีอนุรักษ์ (ยาแก้ปวด,กายภาพบำบัด,และ ออกกำลังกาย
อย่างสม่ำเสมอ) เป็นการปฏิบัติตัวตามวิถีของธรรมชาติ จึงทำให้เขา
โรคของเขาหายได้่... ?
http://www.northaustinsportsmedicine.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น