วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เมื่อไหล่ของท่านมีหินปูน (Calcific Tendonitis)

Aug 16,2013

เมื่อไหล่ของท่านเกิดมีหินปูน (Calcific Tendonitis)

เมื่อมีกล่าวคำว่า calcific tendonitis เราหมายถึง การมีธาตุแคลเซี่ยม
เข้ไปเกาะตัวอยู่ในเอ็น rotator cuff นั่นเอง...

เมื่อมีธาตุแคลเซี่ยมสะสมในเอ็น มันสามารถก่อให้มีแรงอัดเกิดขึ้นภายในตัว
ของเอ็น จนเป็นเหตุให้เกิดมีการละคายเคืองขึ้น (chemical irritation)



Go to...http://shoulderandelbowsurgery.net/

ผลของการมีระคายเคืองของเอ็นในบริเวณข้อไหล่ ย่อมนำไปสู่อาการเจ็บปวด 
บางรายปวดมากจนไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้เลย...สุดท้าย
ทำให้ไหล่ติดแข็ง (frozen shoulder) 

นอกเหนือจากการเกิดละคายเคืองต่อเอ็น (rotator cuff) แล้ว
ตัวแคลเซี่ยมเองยังทำให้ช่องว่างระหว่างเอ็น rotator cuff และกระดูก Acromion 
แคบลง รวมถึงการทำงานของเอ็นดังกล่าวลดลงไปเพราะความเจ็บปวดในทุก
ครั้งที่มีการยกแข้นขึ้น เราเรียกภาวะดังกล่าวว่า  subacromion impringement

อะไรทำให้เกิดดมีแคลเซี่ยมไปเกาะที่เอ็น rotator cuff ละ ?

ในปัจจุบันเรายังไม่สามารถทราบได้ว่า...
แคลเซี่ยมไปเกาะตัวที่เอ็น rotator cuff ได้อย่างไร ?
ส่วนใหญ่ มันเป็นภาวะที่ชอบเกิดในคนที่มีอายุระหว่าง 30 – 60 ปี 
ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นได้เอง มันก็หายได้เองภายในระยะเวลา 5 – 10 โดยเรา
ไม่ทราบอีกเช่นกันว่า มันหายได้อย่างไร ?
นั่นเป็นธรรมชาติของหินปูนเกาะบนเอ็น rotator cuff

การวินิจฉัย (Diagnosis)

เมื่อทีธาติแคลเซี่ยมสะสมภายในเอ็น rotator cuff ...
ถ้ามันเป็นก้อนใหญ่ เราสามารถทราบได้จากการตรวจด้วยภาพเอกซเรย์
ส่วนในกรณีที่มีขนาดเล็ก เราสามารถตรวจได้ด้วย Ultrasound
ซึงมันสามารถบอกถึงทิศทาง และการกระจายตัวของแคลเซี่ยมที่สะสมอยู่
ภายในเอ็นได้ และในขณะเดียวกัน เราสามารถมองเห็นเส้นเลือด 
ซึ่งที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับแคลเซี่ยมที่รวมตัวกัน


การรักษา (Treatment)

เมื่อเกิดมีธาติแคลเซี่ยมไปเกาะตัว สะสมในเอ็นของไหล่ 
มันจtทำให้เกิดมีอาการเจ็บปวด  และำทำให้การเคลื่อนไหวข้อไหล่ติดขัด 
เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อของไหล่ไม่ถูกใช้งาน จึงเกิดอ่อนแรงในที่สุด
ดังนั้นการรักษาจึงมุ่งตรงไปที่:

• บรรเทาอาการเจ็บปวด ด้วยยาแก้ปวด (painkellers) และลดการอักเสบ 
ซึ่งกระทำได้ด้วยการใช้ยา acetaminophen หรือ NSAIDs เช่น ibruprofen 
หรือ naproxen

• กายภาพบำบัด (physiotherapy) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่
แข็งแรงเหมือนเดิม  พร้อมๆ กับทำให้การเคลื่อนไหวข้อไหล่กลับสู่สภาพปกติ

• ฉีด steroid (cortisone) เข้าไปในในบริเวณเอ็นที่มีการอักเสบ 
ซึ่งนอกจากจะลดการอักเสบได้แล้ว ยังสามารถลดอาการเจ็บปวดได้ดี

• Ultraound guided Barbotage เป็นการใช้ประโยชน์จาก ultrasound
ซึ่งสามารถบอกตำแหน่งของแคลเซี่ยมที่รวมตัว เพื่อฉีดน้ำเกลือเข้าไปล้างเอา
ธาตุแคลเซี่ยม แล้วดูดเอาออก....ซึ่งสามารถ กระทำได้หลายครั้งจนกว่าจะล้าง
ออกได้หมด...

• Surgical removal –ทำการผ่าตัดเอาก้อนแคลเซ่ยมที่สะสมออกโดยตรง


แค่...หินปูนเกาะในเอ็นเทานั้น จำเป็นต้องผ่าตัดด้วยหรือ ?

โดยทั่วไป...
การผ่าตัดจะสงวนเอาไว้ในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามวิธีอนุรักษ์
และ/หรือ มีอาการเจ็บปวดอย่างมาก โดยเฉพาะจะมีอาการปวดในตอน
กลางคืน ซึ่งเป็นเหตุให้มีผลกระทบต่อการหลับพักผ่อน

เป้าหมายของการผว่าตัด คือต้องการลดผลอันเกิดจากการกดเส้นเอ็น
(impringement) ซึ่งกระทำได้ด้วยการเพิ่มช่องว่างระหว่าง acromion
และเอ็น rotator cuff   จะทำให้การเคลื่อนไหวของเอ็นดีขึ้น และทำให้
การอักเสบลดลงได้อีกด้วย



  Go to.... http://www.regenexx.com

ในการผ่าตัดเอาแคลเซี่ยมที่สะสมออกจากเอ็น (rotator cuff)....
สามารถกระทำได้ด้วยการใช้กล้อง ซึ่งไม่เพียงแต่เอาแคลเซี่ยมที่สะสม
ออก ยังสามารถทำให้ช่องว่างในบริเวณดังกล่าวเพี่มขึ้นด้วการกรอเอา
กระดูกที่'งอกจากกระดูก acromion ออกทิ้ง


http://www.shoulderdoc.co.uk

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น