ในคนไข้โรคหมอนกระดูกระดับคอ...
ส่วนใหญ่ ประมาณ 95 % จะดีขึ้นด้วยการรักษาตามวิธีอนุรักษ์
ส่วนการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดอาจถูกนำมาใช้ในกรณีที่ไม่สามารถรักษา
ด้วยวิธีอนุรักษ์ หรือเมื่ออาการเลวลลง
Go to... http://neurosurgery.ufl.edu
โรคหมอนกระดูกคอ (cervical disc disease) เกิดจากมีความผิดปกติ
ในหมอนกระดูกเพียยงระดับเดียว หรือหลายระดับ โดยมีการแตก (disc rupture)
และเคลื่อนหลุดของส่วนของหมอนประสาทไปกดไขประสาท หรือรากประสาทเข้า
เป็นเหตุให้เกิดมีอาการปวดคอ, เสียวซ่า, ชา และร้าวไปยังแขน
และ / หรือ ร่วมกับการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
ในกรณีดังกล่าว อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาหมอน
กระดูกที่เสียออกไป หลังจากเอาหมอนกระดูกออกไป เราสามารถรักษา
ความสูงของกระดูกคอให้เหมือนเดิมได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
• Artificial cervical disc replacement
• Cervical fusion
ในปี 2007 ...
เป็นครั้งแรกที่ artificial disc ได้รับการยอมรับจาก FDA ให้ใช้ในการรักษา
คนไข้โรคหมอนกระดูกคอ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทำด้วยโลหะ มีรูปลักษณ์
คล้ายหมอกนกระดูก สามารถทำให้กระดูกคอเคลื่อนไหว
ได้เหมือนกับหมอนกระดูกจริง
Go to... http://www.sehealth.org
ในการศึกษาคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดใส่ artificial disc จำนวน 541 ราย
ปรากฏว่า ทำให้อาการปวดคอ และปวดแขนดีขึ้น มีความปลอดภัย และ
ได้ผลดีเท่าๆ กับการทำ cervical fusion แต่มีผลดีกว่าในด้านคงสภาพ
การเคลื่อนไหวของกระดูกคอเอาไว้
อย่างไรก็ตาม ในคนที่ได้รับ artificial disc มักจะได้รับการผ่าตัดทำให้
กระดูกคอเชื่อมติดกัน (cervical fusion) ในภายหลังเสมอ
Go to..http://www.medivisuals.com
คนไข้ต่อไปนี้ จะไม่มีคุณสมบัติพอที่จะได้รับการการผ่าตัดใส artificial disc:
• Osteoporosis
• Joint disease
• Infection
• Inflammation at the site หรือ
• Allergy to stainless steel
จากการผ่าตัดทำ cervical fusion...
แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาหมอนกระดูกที่ถูกทำลายออก และแทนที่ด้วยกระดูก
ซึ่งส่วนใหญ่เอากระดูกจากกระดูกเชิงกราน (iliac crest) ของคนไข้เอง หรือจาก
กระดูกของศพ (cadaver) โดยใส่เข้าไปในตำแหน่งที่เอาหมอนกระดูกออก
จากการผ่าตัดด้วยการใช้กระดูกใส้เข้าไปแทนที่หมอนกระดูกที่ถูกเอาออกไปนั้น
มีเป้าหมายสองประการ ประการแรก เพื่อคงสภาพความสูงของกระดูกคอเอาไว้ให้
เหมือนเดิม และประการต่อมา เพือทำให้กระดูกคอระดับที่เสื่อมสภาพ
เชื่อมติดกันเป็นกระดูกชิ้นเดียว
หลังการผ่าตัดอาจมีการยึดกระดูกด้วย metal plate & screws
เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกที่ปลูกเคลื่อนหลุด และให้กระดูกเชื่อมประสาน
ติดกัน
การผ่าตัดเอาหมอนกระดูกออกทิ้ง (discectomy) ร่วมกับทำ cervical Fusion
สามารถบรรเทาอาการปวดจากโรคหมอนกระดูก
แต่สิ่งที่ท่านจะต้องรับทราบเอาไว้ คือ หลังการผ่าตัดกระดูกคอของท่าน
จะทำให้การเคลื่อนไหวของกระดูกคอลดลงได้ระดับหนึ่ง
Risks of Cervical Disc Surgeries
แม้ว่า การผ่าตัดเอาหมอนกระดูกคอ (cervical disc surgery)
จะเป็นการผ่าตัดที่ปลอดภัยก็ตาม แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ดังต่อไปนี้:
• เกิดอักเสบติดเชื้อ (Infection)
• มีเลือดออกมาก (Excessive bleeding)
• มีปฏิกิริยาต่อการดมยาสลบ (Reaction to anesthesia)
• แปรสภาพเป็นปวดคอเรื้อรัง (Chronic neck pain)
• เกิดบาดเจ็บต่อเส้นประสาท, ไขประสาท, ท่อทางเดินอาหาร,
และกล่องเสียง (Damage of the nerves, spinal cord, esophagus
or vocal cords)
• ไม่สามารถฟื้นตัวสู่สภาพเดิมได้ (failure to heal)
หลังการผ่าตัดกระดูกคอ (cervical fusion)...
ผลจากการวิจัยรายหนึ่ง ซึ่งทำการศึกษาในคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัด cervical
fusion พบว่า 25 % ของกลุ่มคนดังกล่าว เกิดโรคหมอนกระดูก (cervical
disc disease) ภายใน 10 ปี หลังการผ่าตัด และในจำนวนดังกล่าว
มีถึง 10 % ถึง 12 % จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดทำ cervical fusion ใน
ตำแหน่งที่ต่างออกไป
นักวิจัยหลายนายไม่เชื่อว่า การทำ artificial disc จะทำให้เกิดมีปัญหา
ได้เช่นเดียวกับการทำ cervical fusion
แต่พวกเขาจำเป็นต้องทำการศึกษากันต่อไป
การฟื้นคืนสู่สภาพปกติหลังการผ่าตัดหมอนกระดูกคอ
หลังการผ่าตัดหมอนกระดูกคอ ท่านสามารถลุกขึ้นยืนภายในไม่กี่ชั่วโมง
และสามารถกลับบ้านในวันเดียวกัน ท่านสามารถกลับบ้านได้
หรือกลับบ้านในวันรุ่งขึ้น และท่านอาจมีความเจ็บปวดที่บริเวณผ่าตัด
แต่เมื่อเวลาผ่านไป อาการก็จะหายไปเอง
หลังการผ่าตัด cervical fusion...
จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ถึงปี สามารถทำให้กระดูกเชื่อมติดกัน
ได้อย่างแข็งแรง (solid fusion) และในช่วงเวลาดังกล่าว
ท่านยังอาจมีอาการได้บ้าง ซึ่งแพทย์ผู้รักษาอาจแนะนำให้สรวมไส่
cervical collar เพื่อประคองกระดูกต้นคอไว้ประมาณ 4 – 6 อาทิตย์
ท่านสามารถช่วยทำให้หายของกระดูก และฟื้นตัวสู่สภาพเป็นปกติ
ได้เร็วขึ้น โดยการรับประทานอาหารที่ให้สุขภาพ ออกกำลังกาย
อย่างฃสม่ำเสมอ และฝึกตนให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง (good posture)
http://www.webmd.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น