วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Carpal Tunnel Syndrome (1) : เมื่อญาติของท่านปวด-ชาที่มือ
Aug. 21, 2013
Carpal Tunnel Syndrome (CTS) เป็นกลุ่มอาการ
ที่เกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกด เช่น เส้นประสาทชื่อ
Median nerve ซึ่งอยู่ภายในข้อมือ
Go to link.... http://www.beverlyhillsneurology.com/
Carpal tunnel เป็นช่องทางเดินที่อยู่ภายในข้อมือ
ซึ่งเป็นทางให้เส้นประสาท “มีเดียน” (Median nerve) ทอดผ่านไปยังมือ
เมื่อเส้นประสาท “มีเดียน” ถูกหนีบ หรือถูกกดโดยเอ็นพังผืดที่ทอดขวาง
ทางด้านฝ่ามือ (transverse carpal ligament)
เมื่อเส้นประสาทดังกล่าวถูกกด หรือถูกหนีบ...
จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่ข้อมือ, ชา และปวดเสียวซ่าไปยังปลายมือ
ซึ่งบางครั้งจะมีลักษณะเหมือนถูกเข็มทิ่มตำ โดยเฉพาะอาการจะเกิด
ในตอนกลางคืน
Go to link...http://www.activemotionphysio.ca/
นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า...
เวลาที่ท่านกำมือ จะพบว่ามีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ พร้อมๆ
มีความรู้สึกผิดปกติ...สูญเสียการประสานงานของนิ้วมือ
Go to link.. www://physicaltherapy.about.com
ถามว่า...มีใครเกิดเป็นโรคชนิดนี้... ?
Carpal tunnel syndrome...เป็นกลุ่มอาการที่ทำให้คนเราไม่สามารถปฏิบัติ
ภาระกิจได้ตามปกตินั้น ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับสตรีที่มีอายุระหว่าง 30 – 50
นอกจากนั้น เรายังพบอีกว่า ภาวะ CTS จะเกิดในกลุ่มคนที่ทำงานด้วยมือ
ประเภทที่ต้องทำซ้ำๆ กัน โดยการใช้แรงที่มากผิดปกติ และเป็นประจำ
เช่น ทำงานในห้างสรรพสินค้า มีตรวจเช็คสินค้าของลูกค้า, หรืองานประกอบ
เครื่องจักร, หรือทำงานด้านพิมพ์ดิด, นักบัญชี,
เขียนหนังสือเป็นประจำ หรืออื่น ๆ
คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคดังกล่าว จะไปพบแพทย์ด้วยอาการดัง
กล่าวมาแล้ว และการวินิจฉัยสามารถยืนยันได้ด้วยการตรวจร่างกาย
และตรวจเส้นประสาทตามความเหมาะสม
เราจะรักษาภาวะ CTS อย่างไร ?
การจะรักษาภาวะ CTS อย่างไรนั้น จำเป็นต้องขึ้นกับระยะของโรค...
ในระยะแรก ๆ กลุ่มอาการที่เกิดจากเส้นประสาท “มีเดียน” ถูกกด
ถูกทำลายได้ไม่มาก สามารถฟื้นตัวสูสภาพเดิม (ปกติ)ได้ โดยการรักษาด้วย
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน, ใช้เฝือกประคองข้อมือ
ชนิดสามารถถอดออกได้ตามต้องการ (removable wrist brace)
ในรายที่เป็นมาก (Moderate stages)...โดยเฉพาะในรายที่มีอาการปวด และชา
ที่บริเวณข้อมือ และมืออย่างต่อเนื่องกัน ไม่หายสักที...
ในกรณีเช่นนี้ หากได้รับยาฉีด cortisone เข้าสู่ carpal tunnel จะได้ผลดี
สามารถลดอาการปวด & ชา ลงได้
การรักษาด้วยกรรมวิธีผ่าตัด (surgical intervention)...
จะถูกนำมาใช้เฉพาะในรายไม่ตอบสนองต่อการรักษาตามวิธีที่ได้กล่าว
มา (non-operative treatment)
รายที่พัฒนาถึงขั้นสุดท้าย โดยเฉพาะในรายที่กล้ามเนื้อของมืออ่อนแรง
อย่างมาก หรือมวลกล้ามเนื้อลดลง...กล้ามเนื้อฟ่อลีบ...
รายเช่นนี้ควรพิจารณารีบทำการผ่าตัดในระยะแรก ๆ ให้ได้
คนเป็นโรค CTS ควรได้รับการรักษา...
ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ เป็นอันขาด เพราะสุดท้ายมันจะทำให้เส้นประสาท
ถูกทำลายอย่างถาวรได้
การผ่าตัดที่ทำกันเป็นประจำ สำหรับโรค CTS คือการทำ
Carpal tunnel Release นั้นเอง
>> Next
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น