วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Pain Management Trends

Aug. 23,2013

ความจริงที่เราควรทราบ...
อาการเจ็บปวดอย่างเฉียบพลัน สามารถหายไปได้ภายในชั่วพริบตา
แต่มีน้อยราย ที่จะกลายเป็นชนิดปวดเรื้อรังในเวลาต่อมา
อาการปวดเรื้อรัง  เป็นอาการที่ยังคงปวดอย่างต่อเนื่อง ไม่ยอมตอบสนองต่อการรักษา
และสามารถก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้มากมาย

What Is Pain?

เพื่อความเข้าใจตรงกัน ท่านเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “เจ็บ” กับ “ปวด”
มันต่่างกันอย่างไร ?

เมื่อสมัยเรายังเด็ก...
เวลาเราซุกซน...คุณแม่จะทำโทษด้วยการ “หยิก” และความรู้สึกที่เกิดใน
ขณะนั้น  เราจะรู้สึกเจ็บ แต่พอคุณแม่ปล่อยนิ้วมือ...
ความเจ็บที่ได้เกิดขึ้นก็หายไปพร้อมๆ กับนิ้วมือของคุณแม่
ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า เนื้อเยื่อที่ถูกคูแม่หบิกนั้น...ไม่ถูกทำลายแม้แต่น้อย
นั่นคืออาการเจ็บ  

ทีนี้...สมมุติเราได้บาดเจ็บจากอะไรสักอย่าง  เป็นต้นว่า เราถูกมีดบาดเอา
ความรู้สึกที่เกิดจากมีดบาด คือความปวด ไม่ใช้ความเจ็บ
จะเห็นว่า ความปวดจะเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อของคนเราถูกทำลายไปแล้ว

ทุกคนต่างมีประสบการณ์เกี่ยวกับความปวดด้วยกัน
เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราสามารถจะบ่งบอกได้ว่า มีอะไรบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น
โดยแต่ละคน สามารถพิจารณาความเจ็บปวดของตัวเองได้ว่า ความปวดที่เกิดขึ้นนั้น 
มันปวดมากน้อยแค่ใหน ซึ่งอาจเป็นน้อย (mild pain) หรือบางครั้งอาจมีอาการรุนแรง 
และมีความรู้สึกเช่นนั้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
จนเราเรียกว่า "ปวดเรื้อรัง"

What Is Acute Pain?
Acute pain หมายถึงความปวดที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
 มีลักษณะเหมือนถูกของมีคมบาดเอา   ความปวดจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณเดือนถึง
ภัยอันตรายที่มีต่อร่างกาย  ซึ่งภาวะปวดอย่างฉับพลันดังกล่าว อาจเกิดจากสาเหตุ
หลายอย่าง เช่น:

• การผ่าตัด
• กระดูกแตกหัก
• งานด้านทัณตกรรม
• ถูกน้ำร้อนลวก หรือไฟไหม้
• การคลอดบุคร

ความปวดชนิดเฉียบพลัน  อาจมีอาการเพียงเล็กน้อย (mild) เป็นเดี๋ยวเดียวก็หาย
หรืออาจปวดรุนแรง และปวดต่อเนื่องนานเป็นอาทิตย์ หรือเป็นเดือนๆ

ในคนส่วนใหญ่ อาการปวดแบบฉับพลันจะอยู่ได้ไม่นาน
ซึ่งส่วนมาก อาการปวดจะหายไปเมื่อต้นเหตุได้รับการเยียวยา 
ในรายที่ไม่สามารถทำให้ความปวดหายได้ อาจกลายเป็นความปวดเรื้อรังในที่สุด

What Is Chronic Pain?
ความปวดเรื้อรัง หรือจะพูดตามภาษาแพทย์ว่า chronic pain ก็ได้ตามอัธยาศัย
ซึ่งเราหมายถึง ความปวดที่ยังคงมีอยู่กับตัวของคนไข้ตลอดเวลานานมากกว่า ุ6 เดือน
(บางท่านให้ 3 เดือน) ทั้งๆ ที่บาดแผล ที่เป็นต้อนเหตุได้หายไปแล้ว
ที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะคลื่นประสาทเกี่ยวกับความปวดในระบบประสาท  ยังคงทำงาน
อย่างต่อเนืองเป็นเวลานานเป็นอาทิตย์, เป็นเดือน, หรือหลายปี...

ผลการตรวจร่างกาย...
เราจะพบกล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวมากกว่าปกติ, การเคลื่อนไหวอยู่ในวงจำกัด,
รู้สึกไร้พลัง, ไม่อยากรับประทานอาหาร, มีอารมณ์แปรเปลี่ยนไป
เช่น มีอาการซึมเศร้า, โมโห, เครียด, และเกิดความกลัวว่าจะได้รับบาดเจ็บขึ้นอีก
ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงานตามปกติ 
หรือแม้กระทั้งงานด้านสันทนาการ ก็ต้องล้มเลิกไป

ความปวดเรื้อรัง (chronic pain) ที่พบได้เสมอ ๆ ได้แก่:

• ปวดศีรษะ (headache)
• ปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain)
• ปวดโรคมะเร็ง (cancer pain)
• ปวดโรคไขข้อ (Arthritis pain)
• ปวดโรคเส้นประสาท (Neurogencic pain) จากเส้นประสาทถูกทำลาย
• ปวดโรคประสาท (Psychogenci pain) อาการปวดที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับโรคในอดิต 
   หรือไม่มีอาการแสดงของโรคทางกายปรากฏให้เห็น

ปวดเรื้อรัง (chronic pain) อาจมีจุดเริ่มต้นจากบาดเจ็บ หรือมีอักเสบติดเชื้อมาก่อน
หรืออาจมีต้นเหตุจากโรคที่ดำเนินอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นว่า เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง...

อย่างไรก็ตาม มีบางคนทรมานจากความปวดเรื้อรัง โดยไม่มีประวัติได้รับปวดเจ็บ 
หรือมีหลักฐานใดบ่งบอกว่าร่างกายได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด

How Is Pain Treated?
ความรุนแรงของโรคจะเป็นตัวกำหนดว่า เราจะรักษาอย่างไร ?
การรักษาความปวดที่เกิดขึ้น สามารถกระทำได้หลายทางด้วยกัน
และวิะธีการรักษาอาการปวดที่เกิดขึ้น มีให้เราเลือกใช้ได้หนึ่งเดียว
หรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้

• การรักษาด้วยยา เช่น ยาลดการอักเสบ (antiinflammatory drugs)
ซึ่งไดแก่ ibuprofen, naproxen และยาแก้ปวด Tylenol หรือยาที่แรงกว่า
เช่น morphine, codeine หรือยาสลบ aneshesia. 
นอกจากนั้น ยังมียาอย่างอื่น  เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxers) 
และยารักษาอาการซึมเศร้า (antidepressants) ถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการปวด

• การบล๊อกประสาท (nerve blocks) ด้วยยาชาเฉพาะที่ (local anesthetics)

• การรักษาแพทย์ทางเลือก (alternative treatments) เช่นการฝังเข็ม, การ
ผ่อนคลาย (relaxation), และการทำ biofeedback

• การกระตุ้นด้วคลื่นกระแสไฟฟ้า (electrical stimulation) 

• การรักษาด้วยกายภาพบำบัด (physical therapy)

• การรักษาด้วยวิธีศัลยกรรม (surgery)

• การรักษาทางจิต (phychological counseling)

• การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (behavioral counseling)

มียาบางอย่างสามารถใช้อย่างมีประสิทธิภาพได้สูงกว่า เมื่อนำมาใช้ร่วมกับ
การรักษาอย่างอื่น และท่านอาจจำเป็นต้องพยายามหาวิธีการหลายอย่าง
เพื่อคงสภาพลดความปวดเอาไว้ให้ได้

ความปวด....สามารถเกิดขึ้นกับทุกส่วนของร่างกายมนุษย์  เช่น กล้ามเนื้อ,
กระดูก และข้อต่าง ๆ ซึ่งจะได้กล่าวถึงสาเหตุ และการรักษาความปวด
ที่เกิดขึ้น (Acute & chronic pain) ในตอนต่อไป...

http://www.webmd.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น