วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เมื่อท่านเป็นโรคกระดูกคอเสื่อม (1) : Nature & Clinical syndrome

Aug. 9,2013
ข้อ-กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม (cervical spondylosis)...


Go to link...http://drlumbago.com/

เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาวะการเสื่อมสภาพของข้อกระดูกคอ (cervical spind) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในเวลาอันยาวนาน โดยมีความสัมพันธ์กับอายุที่แก่ขึ้น

ความเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นกับคนเรานั้น 
สามารถเกิดขึ้นกับตัวกระดูกคอ (cervical vertbrae), ข้อ facet ซึ่งเป็นข้อเล็กๆ ที่อยู่ทางด้านหลังของกระดูกต้นคอ และข้ออื่น ๆ  ตลอดรวมไปถึงเนื้อเยื่อต่าง ๆ
ทีทำหน้าที่พยุงกระดูกคอด้วย 
 
หมอนกระดูกเสื่อมสภาพ (disc degeneration)...
เป็นผลเนื่องมาจากความแรงที่กระทำต่อหมอนกระดูกในรูปแบบต่างๆ เช่น แรงกด, 
บิด และบด  

ซึ่งมีมากผิดปกติ เป็นเหตุให้มีสิ่งผิดปกติหลายอย่างเกิดขึ้น  เป็นต้นว่า มีกระดูกงอกในข้อ "ฟาเซท" รวมไปถึงความผิดปกติในอเนื้อเยื่อต่าง ๆ เป็นต้นว่า  เอ็นที่อยู่ด้านหลังของกระดูกคอ(posterior longitudinal ligement)  และ ligamentum flavum

การเสื่อมสภาพต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกระดูกคอ...
เมื่อเป็นมากขึ้น ย่อมทำให้เกิดพยาธิบางอย่างเกิดขึ้น เช่น รากประสาทถูกหนีบ
หรือไขประสาทสันหลังถูกกด ซึ่งจะทำให้เกิดกลุ่มอาการต่างเกิดขึ้น และเพื่อให้ง่าย
แก่การเรียนรู้ & จำ  เราสามารถแบ่งโรคกระดูกคอเสื่อมออกเป็นสามกลุ่มดังนี้:

§  Axial neck  pain syndrome
§  Cervical radiculopathy syndrome
§  Cervical myelopathy syndrome

ผลจากการศึกษาพบว่า คนกระดูกคอเสื่อมสภาพ ที่เกิดในผู้ใหญ่อายุต่ำกว่า 40
โดยไม่มีอาการใดๆ สามารถพบได้ 25 %,  และในคนที่มีอายุมากกว่า 40 พบได้ 50 %
ส่วนที่สูงวัยมีอายุมากกว่า 60 สามารถพบได้ถึง 85 %
และในกลุ่มคนดังกล่าว ปรากฏว่ามีการเสื่อมสภาพของหมอนกระดูก 
(degenerative disc disease) เกิดร่วมด้วย

นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาชิ้นอื่นที่กล่าวถึงกระดูกคอเสื่อมสภาพ 
โดยไม่มีอาการ (asymtomatic) พบว่า กระดูกคอมีการเสื่อมสภาพอย่างรุนแรง 
เพียงหนึ่งระดับ ซึ่งพบในคนมีอายุระหว่าง 65 -60  ปรากฏว่า
เกิดในเพศหญิง  70 % ใ, และ ในเพศชายพบได้่้ 95 % 

ตำแหน่งของกระดูกคอ ที่มีเสื่อมสภาพมากที่สุด 
คือกระดูกคอระดับ C5-6  และตามด้วย C6-7 และ C4-5 ลดหลั่นตามตามลำดับ

การรักษาคนไข้กระดูกคอเสื่อมสภาพ  ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยกรรมวิธี
อนุรักษ์ (conservative treatment) 

ส่วนรายที่เสื่อมสภาพมาก จนถึงขั้นทำให้เกิดมีอาการปวดรุนแรง 
ไม่ตอบสนองต่อการรักษา, โรคดำเนิน (เลวลง) อย่างต่อเนื่อง เกิดมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง 
และมีอาการทางปวดเสียวซ่า และมีอาการปวดร้าวลงไปยังแขน และมือ
(neurological deficts) ในกรณีเหล่านี้ อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด


>> Next : Natural History

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น