ท่านเป็นคนที่รับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ,
มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์มิได้ขาด
ถึงกระนั้นก็ตาม บางครั้งท่านอาจลงเอยด้วยอาการปวดหลัง
ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ท่านทรมานจากอาการปวดหลังเท่านั้น
ท่านอาจลงเอยด้วยการมีปัญหาอย่างอื่นเกิดขึ้น
(See picture on.. http://www.psychologytoday.com/)
สำหรับคนส่วนใหญ่ อาการปวดหลัง (LBP) เป็นแต่เพียงสิ่งที่สามารถรบกวนได้บ้าง
โดยนานครั้งอาจเกิดขึ้นสักครั้ง เมื่อเกิดแล้วก็หายไปได้เอง อย่างมากก็แค่วัน-สองวัีน
ส่วนคนอื่นกลับไม่เป็นเช่นนั้น ยังปรากฏว่ามีความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องมิได้ขาด
เมื่ออาการปวดหลังแปรเปลี่ยนเป็นอาการปวดเรื้อรัง ถึงขั้นเรียกได้ว่า เป็นโรคเรื้อรัง...
(chronic pain disease) มีบางราย มีความทรมานจากอาการเจ็บปวด
จนเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์แปรปรวนไป
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อกันละ...
เมื่อเกิดมีอาการปวดหลังขึ้นมา บางท่านจะโยนความผิดให้กับทุกอย่างที่ขวางหน้า
อย่างไร้เหตุผล ยกตัวอย่าง มีบางคนเดินเต๊ะกระป๋อง หรือเดินชนวัตถุสิ่งของบางอย่าง
เป็นเหตุให้เกิดบาดเจ็บ และเกิดความเจ็บปวดอย่างมาก...
แทนที่เขาจะโทษตนเองว่า ...ซุ่มซ่าม
แต่ส่วนใหญ่ หาเป็นเช่นนันไม่ เขามักจะโทษคนอื่นเสมอว่า
วางสิ่งของไม่ถูกต้อง ... อะไรทำนองนั้น
ปัญหาที่ควรรู้ คือ เราจะจัดการกับอาการปวดหลังได้อย่างไร ?
ผลของการรักษาอาการปวดหลัง จะดีหรือไม่ย่อมขึ้นกัีบอารมณ์ที่แปรเปลี่ยนไป
เพราะอารมณ์ (ความเครียดม ซึมเศร้า๗ มีบทบาทสำคัญต่ออาการปวดหลัง
หากไม่เข้าใจเรื่องดังกล่าว การจัดการกับอาการปวดหลัง
จะกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมาทันที
The Pain-Emotion Connection
ความเจ็บปวดเรื้อรัง เป็นอะไรบางอย่าง ซึ่งสามารถกับทุกๆ แง่มุมของ
ชีวิตมนุษย์ มันสามารถทำให้ท่านสูญเสียสมาธิ, ไม่สามารถจำอะไร ๆ
ได้เหมือนปกติ, มันกระทบกับความอยากรับประทานอาหาร,
มันสามารถกระทบกับการหลับนอนของท่านได้
ใครก็ตามที่มีความเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา อาจมีความกังวล, ความเครียด
ซึ่งอาจเป็นอุปสรรค์ต่อการทำงานของเขา
ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติภาระกิจในชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม
อย่างที่กล่าว...
ความเจ็บปวดเรื้อรัง สามารถทำให้ให้เกิดความซึมเศร้า, กังวลใจ, นอนไม่หลับ,
หงุดหงิดขี้โมโห และอื่น ๆ
ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น มันเป็นมากกว่าความรู้สึกอันไม่น่าพอใจ
ซึ่งเป็นคลื่นกระแสไฟฟ้า ที่วิ่งผ่านระบบประสาทเท่านั้น แต่มันจะมีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการรับรู้, ความรู้สึก, และความคิด และการสร้างภาพต่างๆ
ยิ่งความคิด หรือการสร้างภาพของท่านยิ่งแย่มากเท่าใด...
มันจะทำให้ความเจ็บปวด และความรู้สึกของท่านยิ่งแย่ลงไปลงด้วย...
ในบางคนที่ทรมานจากความเจ็บปวด....
ความเจ็บปวดสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงขั้นระเบิด กลายเป็นความรู้สึกที่มากเกิน
ความเป็นจริง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดทำลายล้างได้อย่างขนานใหญ่
เมื่อแพทย์ได้วินิจฉัยว่า ท่านเป็นโรคหมอนกระดูกเสื่อม (degenrative disc disease)
และท่านตกอยู่ในความทรมานจากความเจ็บปวดอย่างหนัก ท่านจะเห็นภาพต่าง ๆ
ซึ่งเป็นคลื่นประสาท ที่วิ่งผ่านดวงจิตของท่าน...
เป็นภาพของไม่พอใจ, โมโห, เห็นความผิดพลดาของคนอื่น ๆ...
ลองจินตาการดูว่า ถ้าท่านมีอาการปวดหลัง ซึ่งทำให้ท่านไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
มีความเจ็บปวด ถึงขั้นทำให้ท่านต้องหยุดทำงาน มองเห็นภาพต้องนั่งรถเข็นตลอดไป....
ท่านจะรู้สึกอย่างไร ?
ความเจ็บปวด ซึ่งกระทบต่อร่างกาย และอารมณ์...
จะทำให้คนไข้ดังล่าวลงเอยด้วยภาวะซึมเศร้าได้ประมาณหนึ่งในสามของคนที่มีอาการปวด
หลังเรื้อรัง และมีรายงานว่า ในคนไข้ที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า ซึ่งกำลังได้รับการรักษา
จะมีอาการต่าง ๆ รวมถึงความเจ็บปวด ประมาณ 75 %
เมื่อความเจ็บปวดสามารถทำให้เกิดความเครียด...
และในทางกลับกัน ความเครียดสามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดได้
ดังนั้น ถ้าท่านมีปัญหาเกี่ยวกับความเครียดมากเท่าใด ท่านยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดมีความเจ็บ
ปวดเพิ่มมากขึ้น
มีการศึกษาชิ้นหนึ่งไม่ใหญ่นัก...
ชี้ให้เห็นว่า คนไข้ที่มีความเครียด (mental stress) หรือมีความเจ็บปวดเรื้้อรัง (chronic pain)
จากสาเหตุอย่างอื่น มีโอกาสเกิดเป็นโรคปวดหลัง(low back pain) ได้ถึงสามเท่าตัว
จากรายงานยังกล่าวต่อไปอีกว่า ...
ความเครียด และความเจ็บปวดไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย
เมื่อท่านมีความเจ็บปวด...ท่านจะมีความรูสึกเครียด และกังวลใจ และ เกิดภาวะซึมเศร้าขึ้น
ความเครียดสามารถทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวเพิ่มขึ้น (increase muscle tension)
ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดความเจ็บปวดเกิดขึ้น ยิ่งในรายที่มีความเจ็บปวดอยู่แล้ว
ยิ่งทำให้ความเจ็บปวดนั้น มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น....
นอกหนือจากที่กล่าว...
คนที่มีิอาการปวดหลัง มักจะมีความกลัว ถึงขั้นต้องหลีกเลี่ยงจากกิจกรรมต่าง ๆ
โดยมีความเชื่อกิจกรรมทั้งหลาย (activities) สามารถทำให้ความเจ็บปวดที่เขามี
เลว (แย่) ลง
การงดเว้นจากกิจกรรม ( avoidance of activities) ต่าง ๆ...
สุดท้ายจะทำให้ตัวเขาลงเอยด้วยความอ่อนแอของกล้ามเนื้อ รวมถึงสุขภาพโดยรวม
เป็นเหตุให้ไม่มีพละกำลังเพียงพอที่จะทำอะไรได้
>> Next
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น