Aug. 25,2013
เมื่อท่านไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดที่บริเวณสะโพก มีอาการร้าวไปยังขา
นอกจากท่านได้รับความทรมานจากอาการปวดดังกล่าว ท่านอาจเกิดความสับสน
ได้ ตอคำวินิจฉัยที่ท่านได้รับ เมื่อท่านได้รับข้อมูลจากแพทย์หลายนาย
ซึ่งแพทย์บางท่านบอกท่านว่า ท่านเป็นโรคทับเส้นประสาทจากหมอนกระดูก....
ส่วนอีกท่านหนึ่งบอกว่า ท่านเป็นโรคทับเส้นประสาทจริง
แต่ไม่ใช้จากหมอนกระดูกหรอก...
ผู้เขียนได้รับคำถามจากเพื่อนผู้เคราะห์ร้ายว่า...
อาการของเขา (อาการปวดหลัง และร้าวไปยังขานั้น) เป็นโรคอะไรกันแน่ ?
ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่า...เขาเป็นโรคอะไรกันแน่
เพราะมีอะไรหลายอย่าง ที่เราคิดว่าถูกต้อง แต่พอเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง
สิ่งที่เราเคยคิดว่า ถูกต้องนั้น...มันกลายเป็นอย่างอื่นไปเสียแล้ว
Go to link... http://www.eorthopod.com
อย่างไรก็ตาม คนที่เป็นโรคหมอนกระดูกระดับล่างแตก และกดรากประสาท
จะมีอาการปวดหลังระดับล่าง พร้อมกับมีอาการปวดร้าวไปยังขา
จากการตรวจร่างกาย พบว่า การตรวจ Straight leg raising จะได้ผลเป็นบวกเสมอ
ซึ่งยืนยันว่า หมอนกระดูกแตกจริง โดยการตรวจพิเศษ MRI scans
สามารถบอกได้ว่า หมอนกระดูกแตกจริงหรือไม่?
ภาวะดังกล่าว เป็นภาวะที่เส้นประสาทถูกกดทับที่ระดับเอว
และถูกเรียกว่า Sciatica
Go to...http://www.clinicalexams.co.uk/piriformis-syndrome.asp
ในนักกีฬา เมื่อกล้ามเนื้อ piriformis ได้รับบาดเจ็บ...
จะทำให้กล้ามเนื้อักเสบเกิดการอักเสบ และเกิดการระคายต่อเส้นประสาทไซเอติก
เป็นเหตุให้มีอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท ซึ่งเรียกว่า siatica เช่นเดียวกัน
เรียกภาวะดังกล่าวว่่า piriformis syndrome
ในการตรวจวินิจฉัยภาวะ piriformis syndrome...
ปรากฏว่า เราไม่มีการตรวจเป็นการเฉพาะ เหมือนภาวะหมอนกระดูกแตก
อาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท “ไซ-เอ-ติก” จากกล้ามเนื้อ piriformis
จะถูกเรียกว่า “ไซ-เอ-ติ-ก้า” เช่นเดียวกัน โดยที่อาการปวดร้าวไปยังด้าน
หลังของต้นขา สู้เท้า และ หรือ มีอาการปวดร้าวขึ้นสู่ด้านบนสู่หลังส่วนล่างด้วย
ซึ่งอาการจะเลวลงเมื่อคนไข้นั่งลง,หรือนั่งยอง ๆ หรือเดินขึ้นบันไดหลายขั้น
กล้ามเนื้อ piriformis จะทำหน้าที่ช่วยถ่างต้นขาออกนอกลำตัว
และหมุนต้นขาออกทางด้านนอก (adduction & laterally rotating the thigh)
เมื่อมีการยืด (stretching)กล้ามเนื้อ piriformis มักจะทำให้คนไข้ที่เป็นโรค
piriformis syndrome จะทำให้เกิดมีอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาทไซเอติค
ซึ่งกระทำได้ด้วยการตรวจ FAIR test (hip flexion = F, Adduction = A,
Internal = I, Rotation = R):
ซึ่งท่่านสามารถทำการตรวจได้ด้วยตัวของท่านเอง เป็นการตรวจง่ายๆ ดังนี้:
ให้ท่านนอนหงาย งอสะโพก และข้อเข่าได้ด้านขวาประมาณ 60 องศา
ให้่ใช้มื่อด้านซ้ายจับเข่าด้านขวา...ดึงเข้าหาไหล่ซ้ายของท่าน
ในขณะที่มือด้านซ้ายถึงหัวเข่าด้านขวาสู่ไหล่ด้านซ้าย...
ให้ใช้มือด้านขวาของท่าน จับที่ข้อเท้า แล้วถึงออกทางด้านนอกของแกน
กลางของร่างกาย...เป็นการบิดหมุนข้อสะโพกเข้าด้านใน (internal rotation)
จากการกระทำดังกล่าว...จะทำให้กล้ามเนื้อ piriformis ด้านขวา
ถูกดึงให้ยืดออก
การวินิจฉัย (Diagnosis)
ในการวินิจฉัยภาวะ piriformis syndrome กระทำได้โดยอาศัยข้อมูล
จากประวัติของอาการ และการตรวจร่างกาย โดยไม่มีการตรวจใดเพื่อยืนยัน
คำวินิจฉัยได้เลบ ส่วนการตรวจ X-rays, MRI scans และการตรวจประเมิน
การทำงานของเส้นประสาท (nerve conduction tests) อาจมีความจำเป็น
เพื่อแยกโรคอื่น ๆ ออกไป...
สาเหตุอย่างอื่น ซึ่งทำให้เกิดมีอาการ “ไซ-เอ-ติ-ก้า” ได้แก่:
โรคของกระดุกสันหลังเอง เช่น หมอนกระดูกแตก (herniated disc),
ภาวะเอ็นอักเสบเรื้อรังของกล้ามเนื้อ “แฮมสตริง” (chronic Hamstring
Tendinitis), และเส้นประสาท “ไซ-เอ-ติก” ถูกยึดติดด้วยพังผืด...
การรักษา (Treatment)
เมื่อได้รั้บการวินิจฉัยได้ถูกต้อง...
การรักษาที่คนไข้จะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอน (stepwise)
เริ่มต้นด้วยการยีดกล้ามเนื้อ piriformis จากน้อยไปหามาก
โดยเริ่มทำการยืดกล้ามเนื้อเพียง 5 วินาทีก่อน จากนั้น ค่อยเพิ่มเวลา
จนกระทั้งถึง 60 วินาที...จากนั้นให้ทำซ้ำกันวันละหลายครั้ง
หากมีปัญหาด้านชีวะกลศาสตร์ เช่น overpronation ของเท้าก็ให้แก้ไขเสีย
ในการยืด (stretching) กล้ามเนื้อ piriformis...
สามารถใช้ร่วมกับกายภาพบำบัดอย่างอื่น เช่น การรักษาด้วยอัลตร้าซาวนด์
ถ้าผลของการรักษาตามที่กล่าวมาไม่ประสบผล...การรักษาขั้นที่สองจะกระ
ทำด้วยการฉีด corticosteroids เข้าไปในกล้ามเนื้อ piriformis
ส่วนขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นการผ่าตัดจะสงวนเอาไว้เมื่อการรักษาที่กล่าวมา
ไม่ประสบผล
http://www.coreconcepts.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น