วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Tennis Elbow or Lateral epicondylitis


Aug. 11, 2013

Anatomy of the Elbow
ข้อศอกของมนุษยเรา  มีลักษณะเหมือนข้อบานพับ (hinge joint)
ประกอบด้วยกระดูกต้นแขน Humerus, ulna และ Radius รวมกัน
เป็นข้อ เพื่อทำงานร่วมกัน โดยทำหน้าที่เป็นข้อบานพับ
และสามารถหมุนได้เพียงเล็กน้อยใน



Go to...  http://www.mendelsonortho.com/


การหมุนของข้อศอก (rotation) จะสังเหตุได้ในขณะที่มีการยกมื่อหยิบอาหาร
เข้าปาก ซึงเป็นการเคลื่อนไหวในขณะที่มีการรับประทานอาหาร

ความมั่นคง หรือเสถียรภาพของข้อศอก จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเอ็น
ที่อยู่ด้านในของข้อศอกเป็นสำคัญ 
ซึ่งมีชื่อเรียก ulnar collateral ligament



อย่างไรก็ตาม บาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับข้อศอก ซึ่งเกิดบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่จะเกิด
ทางด้านนอกของข้อศอก ซึ่งชื่อเรียกว่า lateral epicondylitis
หรือที่พวกเราทราบดีในชื่อ Tennis Elbow นั่นเอง

Tennis Elbow (Lateral Epicondylitis)

Tennis Elbow หรือ lateral epicondylitis เป็นหนึงในปัญหาที่เราพบได้บ่อย
ที่สุดในแผนกศัลยกรรมกระดูก และข้อ

Go to.... http://sinewtherapeutics.com

ตามเป็นจริงแล้ว Tennis Elbow คือการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อที่มีชื่อว่า
Extensor carpi radialis brevis ซึ่งยึดกับส่วนด้านข้างของกระดูกต้นแขน
(lateral epicondyle) โดยอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บอย่างฉับพลัน หรือ
เกิดจากการใช้แขนบ่อย ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง


Go to..   http://www.hughston.com/

มีแพทย์จำนวนไม่น้อยมีความเชื่อว่า การฉีกขาดของเอ็นที่ยึดทางด้านข้าง
ของกระดูกต้นแขน ในระดับไมโคร จะเกิดภาวะที่เรียกว่า hypervascular
phenomenon ขึ้น เป็นเหตุให้มีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น

อาการปวดจะมีมากขึ้นเมื่อมีการกำมืออย่างแน่น (strong gripping) ใน
ขณะที่มีการเหยียดข้อศอกตรง (extended position)
ซึ่งเป็นท่าที่กำลังหวดลูกเทนนิสท่า back hand

อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นกับการเล่นกอล์ฟ หรือการ
กีฬาที่มีการใช้อุปกรณ์ในลักษณะซ้ำ ๆ กัน

การรักษา (Treatment)...

ส่วนใหญ่เขารักษาด้วยวิธีอนุรักษ์  โดยการใช้อุปกรณ์ทำหน้าที่ประคอง (brace) 
พยุงข้อศอก พร้อมกับมีการปรับวิธีการใช้งานข้อศอกให้เหมาะสม, 
ใช้ยาลดการอักเสบ และกายภาพบำบัด

ถ้าการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์ดังกล่าวไม่ประสบผล
แพทย์จะพิจารณาฉีดสาร corticosteroid (cortisone injection) เข้าบริเวณที่มีการ
อักเสบ  สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ 
แต่มีข้อแม้ว่า ท่านจะต้องไม่ฉีดเกินสามคร้งต่อปี

การรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์ ประกอบด้วยสองระยะ...
ภายหลังระยะแรก (Phase I) เมื่ออาการปวดหายไป  การรักษาจะเข้าสู่ระยะที่สอง
(phase II) ซึ่งมีความสำคัญพอๆ กับระยะแรกเช่นกัน 
การรักษาในระยะที่ II ประกอบด้วยการยืด (stretching) ที่ไปยึดเกาะข้อศอกทาง
ด้านข้าง (lateral side) ของข้อศอก พร้อมกับการบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง 
(strengthening exercise) ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้โรคเกิดขึ้นได้อีก



Go to....http://www.vidoevo.com

ในกรณีทีการรักษาด้วยวิธีอนุรักษ์ไม่ประสบผล (อย่างน้อย 6 เดือน) แพทย์
จะพิจารณาผ่าตัดให้แก่ท่าน ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน

วิธีที่ง่ายที่สุด คือการตัดเอ็นของกล้ามเนื้อ extensor carpi radialis
Brevis ออกจากด้านข้างของกระดูกต้นแขน (percutaneous release)
นอกจากน้น ในระยะหลังๆ ได้มีการผ่าตัดโดยผ่านกล้อง (arhtroscopic
Procedure) หรือวิธีการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับข้อ และการตัดเอ็น...
ปัจจับัน วิธีที่ทำกันมากที่สุด คือการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่เป็นโรคภาย
ในเอ็นออกทิ้งไป, ขูดกระดูกที่ขลุขละออก พร้อมกับเย็บเอ็นให้กลับ
เข้าที่เดิม

http://www.scoi.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น