Aug. 10, 2013
(continued)
Opioids
สำหรับบางคน...
พบว่าการใช้ยากลุ่ม NSAIDs และยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxants) ไม่
สามารถลดอาการปวดหลังได้ โดยเฉพาะคนที่ปวดหลังมานาน
เช่น ในรายที่ได้รับการผ่าตัดมาหลายครั้ง จะพบว่า ในบางครั้งจำเป็นต้อง
ได้รับยากลุ่ม opioids หรือยากลุ่ม narcotic painkillers
จากการศึกษาชิ้นหนึ่งกล่าวว่า
มีประมาณ 70 % ของคนที่มีอาการปวดหลังมากได้รับยากลุ่ม opioids
ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางนายกล่าวว่า การรักษาด้วย opiods เป็นการให้ยาเกิน
ความจำเป็น
ยาในกลุ่ม opiods จะออกฤทธิ์ที่ตัวรับ (receptors) ภายในสมอง
และเซลล์ประสาท (nerve cells) โดยทำหน้าที่ลดความเจ็บปวด
คุณหมอ Jung กล่าวว่า...ยาในกลุ่ม opioids ที่ออกฤทธิ์สั้น
เช่น Viscodin (acetaminophen and Hydrocodone) และ Tylenol + codeine
ควรเป็นยากลุ่มแรก เพื่อใช้รักษาอาการปวดหลังที่มีอาการรุนแรง
หากอาการไม่ดีขึ้นค่อยพิจารณาพวก morphine ในตอนหลัง
ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยากลุ่ม opiods...
• Drowsiness and sedation
• Constipation
• Risk of dependency
• Allergic reactions, such as hives and itching
Corticosteroids
เหมือนกับยารักษาการอักเสบชนิดอื่น ๆ...
corticosteroids สามารถลดการอักเสบ และใน๘ณะเดียวกันสามารถ
บรรเทาอาการปวดหลังได้ด้วย ยากลุ่มดังลก่าวใช้รับประทาน หรือฉีด
เข้าสู่หลังโดยตรง
เนื่องจากยา steroids เป็นอาวุธของแพทย์ที่มีฤทธิ์ในลดการอักเสบได้สูง
ในกรณีทีอาการปวดไม่ตอบสนองการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อ
แพทย์อาจสั่งยากลุ่ม steroids ชนิดรับประทานให้แก่คนไข้ระยะสั้นๆ ได้
ซึ่งสามารถทำให้การอักเสบลดลง ก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลงเป็นโรคเรื้อรัง
เพื่อบรรลุเป้าหมายในการให้ยา (steroid)...
เขาจะเริ่มให้ยา medrol (methylprdnisolone) 24 mg ในวันแรก
จากนั้นให้ลดขนาดยาลงวันละ 4 mg ทุกวัน
ซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมด 5 – 6 วัน
นอกจากนั้น เรายังใข้ยา corticosteroids โดยการฉีดยาเข้าไปในบริเวณรอบๆ
เส้นประสาท หรือฉีดเข้าไปในข้อแฟเซท ( facet joints)
ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด (arthritis)
การฉีดยาเข้าไปในบริเวณที่มีอาการเจ็บปวดโดยตรง ...
เป็นการให้ยาที่ได้ประสิทธิภาพสูง และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้
ยาชนิดเม็ดรับประทาน
เพื่อความปลอดภัย...
ในการฉีดยา steroid เราไม่ควรฉีดยาเกิน 3 ครั้ง ต่อปี
หากฉีดยามากเกินไป สามารถทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก, น้ำหนักตัวเพิ่ม,
และมีผลกระทบต่ อการระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
Adjuvant Therapies
เนื่องจากคนที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง มักมีปัญหาทางด้านจิตประสาทด้วยเสมอ
เช่น เกิดมีอาการซึมเศร้า และเครียด...
ดังนั้น จึงมีการให้ยากลุ่ม antidepressants แก่คนไข้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังด้วยเสมอ
ยารักอาการซึมเศร้าบางอย่าง (antidepressants) เช่น Cymbalta (duloxetine)
และยารักษาอาการชัก (anti-seizure) เช่น Lyrica(pregabalin)
หรือ neuontin (gabapentin) ถูกนำมาใช้รักษาอาการปวดหลัง
ซึ่งมีอาการทางประสาทเกิดร่วม ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่พอใจ
นอกจากนั้น ยังมียา antidepressants ที่อยู่ในกลุ่มอื่น เช่น tricyclics
เช่น amitriptyline (Elavil) และ nortriptyline (Pamelor) ยังถูกนำ
มาใช้รักษาคนเป็นโรคปวดหลังเรื้อรัง....
ตัวอย่าง ถ้าท่านปวดหลัง โดยเส้นประสาทถูกกด มีอาการปวดร้าวไป
ยังขา...ยาในกลุ่ม tricyclics สามารถบรรเทาการละคายเคื่องเส้นประ
สาทลงได้ ทำให้อาการปวดชนิดแสบร้อน, ชา, และอาการเสียวซ่า
ลดลงได้
ยาในกลุ่ม antidepressants และ anti-seizure ที่ถูกใช้รักษาอาการปวดหลัง
ต่างมีผลข้างเคียงคล้ายๆ กัน และที่พบได้บ่อยได้แก่:
• Headaches
• Nausea
• Constipation
• Diarrhea
• Insomnia
• Sexual side effects
• Fatigue
แต่ผลข้างเคียงอาจมากกว่านี้ได้ ซึ่งท่านจะต้องพบแพทย์เมื่อท่านมีอาการ
ดังต่อไปนี้:
• Allergic reactions such as hives, itching, and swelling
• Changes in heart rhythm
• Seizures
• Confusion or hallucinations
• Inability to sit still
• Aggression, mood swings, or other significant behavior changes
• Thoughts of suicide
ยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดหลัง...
ไม่ว่ามันจะเป็นยาในกลุ่มใดก็ตาม มันเป็นแค่ใช้บรรเทาอาการปวดให้
ลดลงเท่านั้นเอง
ถ้าคนไข้มีเพียงอาการปวดหลังได้ไม่กี่วัน...
คนไข้ส่วนใหญ่สามารถฟ็นตัวสู่สภาพเดิม หายได้เองโดยไม่ต้องพบแพทย์
แต่ในกรณีที่อาการปวดหลังเป็นนานเกิน 3 เดือน
แพทย์ส่วนใหญ่ มีแนวโน้มที่จะใช้ยามากกว่าหนึ่งขนาน เพื่อช่วยบรรเทา
อาการหวดให้แก่คนไข้ นอกจากนั้น แพทย์ยังจำเป็นต้องช่วยสนับสนุนให้
คนไข้ได้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง
การรักษาด้วยกายภาพบำบัด ควรให้แก่คนไข้ตั้งแต่แรกเริ่ม
เขาควรรู้วิธีการการบริหารร่างกายตามที่แพทย์แนะนำ และควรใช้ร่วมกับ
การรักษาอย่างอื่น ๆ ซึ่งจะดีกว่าการกินยาแต่เพียงอย่างเดียว
<< Prev.
http://www.webmd.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น