วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เมื่อท่านเป็นโรคกระดูกคอเสื่อม(2): Nature & Clincal Syndrome

Aug. 9,2013

ธรรมชาติของโรค (Natural History):

เมื่อท่านเป็นโรคข้อ-กระดูกคอเสื่อม ( Cervical  Spondylosis) 
ท่านอาจแสดงออกให้เราได้เห็นในหลายรูปแบบ เช่น ไม่มีอาการใดๆ ,
หรือมาด้วยอาการปวดต้นคอ, ปวดเฉพาะที่,  หรือถ้ามีไขประสาท (spinal cord) ถูกกด 
ย่อมทำให้เกิอาการทางประสาท เช่น มีอาการผิดปกติประสาทของหูรูด (sphincter)
มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อของแขน และขา...

Go.to link: www.terapiaozono.it/

ส่วนใหญ่ โรคจะพบในคนเพศชาย มีอายุราวๆ 40 – 60
เมื่อเทียบอัตราส่วนกับเพศหญิงแล้ว จะพบว่า เกิดขึ้นกับชายได้มากกว่าหญิง
ในอัตราส่วน 3:2

ในกระบวนการของความเสีอมสภาพ เราจะพบเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดที่หมอนกระดูก 
(disc degeneration)  ซึ่งมีรูปร่างผิดไปจากเดิม โดยมีลักษณปูดออกไป,  
เกิดมีกระดูกงอกมีลักษณะเป็นจะงอยยื่นอออก (spur formation ) จากข่อ-กระดูก, 
มีการหนาตัวของเอ็นพังผืด (ligamentous hypertrophy), กระดูกคอมีการเคลื่อนออก
จากที่ไปในระดับหนึ่ง (subluxation), และความสูงของหมอนกระดูกลดลง (disc collapse)
ข้อฟาเซทเสื่อมสภาพ  เป็นเหตุให้ช่องสำหรับเส้นประสาท (foramen) เกิดการตีบแคบ

เมื่อช่องประสาท (foramen)  เมื่อเกิดตีบแคบลง 
ย่อมทำให้เส้นประสาที่ลอดผ่านถูกหนีบ หรือถูกกดได้ ทำให้เกิดกลุ่มอาการปวด-ชา
ร้าวไปยังแขน และมือ เราเรียกภาวะดังกล่าวว่า  cervical radiculopathy

ส่วนช่องของกระดูกสันหลังที่แคบตัวลง (spinal stenosis)  อันเป็นผลจากการเสื่อมสภาพ
ของกระดูกสันหลังส่วนคอตามที่กล่าวมา สามารถทำให้ไขประสาทสันหลัง (spinal cord) 
ถูกกด และถูกทำลายไปในที่สุด กลุ่มอาการที่เกิดขึ้น จัดอยู่ในพวก cervical myelopathy

มีปัจจัยหลายอย่าง สามารถเร่งให้กระบวนการเสื่อมสภาพให้เกิดเร็วขึ้น
เป็นต้นว่า ความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยมีช่องกระดูกสันหลังตีบ-แคบแต่กำหนด
(congenital narrowing spinal canal), ผลของการเล่นกีฬาบางอย่าง
เช่น  จากการต่อยมวย, เล่นฟุตบอล, รักบี่, ขี่ม้า, เผชิญกับอุบัติเหตุ รวมไปถึงโรคทางสมอง 
เช่น dystonic cerebral palsy

ช่วงเวลาของการเกิดโรค (course of disease), การพยากรณ์โรคของคนที่เป็นโรค
กระดูกคอเสื่อม ( Cervical  Spondylosis) เป็นเรื่องยากต่อการคาดคะเนเป็นอย่างมาก

ในปี 1956 นาย Clarke และนาย Robinson ...
ได้ทำการศึกษาเป็นเวลายาวนานในคนไข้จำนวน 120 คน โดยมีอายุเฉลี่ย 53
ซึ่งเป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่ม  cervical Spondylosis myelopathy  
พบว่า:

ประมาณ 75 % ของคนเป็นโรคในกลุ่มดังกล่าว  จะมีอาการทรุดตัวลงเป็นพัก ๆ 
อีก 20 % จะมีอาการเสื่อมทรุดลงอย่างต่อเนื่อง
และอีก 5 % จะมีอาการทรุดหนักอย่างเฉียบพลัน โดยเป็นครั้งเดียว แล้วตามด้วย
ภาวะหยุดชงัก ไม่มีการเสื่อมทรุดลงไปอีกแต่อย่างใด

ในปี 1964 นาย Lees และ Turner ได้ทำการศึกษาด้วยการติดตามผลเป็น
เวลาอันยาวนาน 3-40  ปี ในคนไข้ที่อยุ่ในกลุ่ม cervical melopathy
เขาพบว่า ในระยะยาวแล้วเขาไม่สามารถที่จะคาดการณ์ได้ว่า 
อาการของโรคจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อใด  ส่วนใหญ่กระบวนเสื่อมทรุดของโรคจะหยุดนิ่ง (nonprogressive diasbility) แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางราย...

นาย Robers ได้รายงานในคนไข้จำนวน 24 ราย เอาไว้ว่า...
ในคนไข้ที่มีอาการรุนแรง  ซึ่งถูกปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลายาวนาน เมื่อได้รับการผ่าตัด
ปรากฏว่า ผลที่ได้รับจะไม่ดีเท่าที่ควร
จากข้อมูลดังกล่าว จึงบอกให้เราทราบว่า การวินิจฉัยโรคได้ไว ผ่าตัดได้เร็ว

ย่อมให้ผลดีกว่า

นาย Nurick ได้รายงานในคนไข้จำนวน 37 ราย...
ซึ่งในช่วงแรกของการเกิดภาวะทรุดตัว และตามดวยภาวะหยุดชงัก
ไม่มีการทรุดตัวลงเป็นระยะเวลานานหลายปี แต่ถ้าเป็นคนสูงอายุจะมีแนวโน้ม
ที่จะเสื่อมทรุดได้มากกว่า

ส่วนนาน Epstein ได้รายงานคนไข้ที่เป็นโรคกระดูกคอเสื่อม
พบว่า มีประมาณ 38% อาการจะคงที่ (stable), 26 % จะทรุดตัวลง
และในกลุ่มคนไข้กลุ่มเดียวกัน ได้ทำการเปรียบเทียบผลของการรักษาระหว่างวิธีอนุรักษ์ (conservative Rx) กับการผ่าตัด (surgery)  
ปรากฏว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเลย


จากข้อมูลที่เสนอมา ร่วมกับผลการศึกษาจากที่อื่นๆ ...
พบว่า โรคกระดูกคอเสื่อม จากภาวะ cervical spondylosisไปสู่สภาพ
ของไขประสาทถูกกด (cervical myelopathy) ปรากฏว่า ไม่มีความแน่นอน 
และยากต่อการพยากรณ์  

มีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคกระดูกคอเสื่อม ไม่มีอาการรุนแรงแต่อย่างใด
ในขณะเดียวกัน ก็มีคนไข้อีกไม่น้อย ที่มีอาการทางประสาทถูกทำลาย
ปรากฏว่า อาการของพวกเขาจะทรุดตัวลงเรื่อยๆ ตามเวลาที่ผ่านไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น