ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ จะเป็นโรคอะไรก็ตามทีเถิด
สิ่งแรกที่ท่าน จะต้องรู้ คือ
ใครคือหมอที่เก่งที่สุดในโลก ?
คำตอบ:
หมอที่เก่งที่สุดในโลกหาใช่ผู้ใดไม่
เขาคนนั้น คือ ตัวของท่านเอง
ยกตัวอย่างประกอบ
การที่ท่านจะเอาชนะศัตรูของท่านได้
ท่านต้องรู้ว่า ศัตรู ของท่าน คือใคร รายละเอียด (ข้อมูล)เกี่ยวกับศัตรูตัวนั้น ต้องรู้ให้หมด
เหมือนกับคำพูดของ “ซูนวู”กล่าวว่า... “...รบร้อยครั้ง...ก็ชนะร้อยครั้ง” นั่น แหละ
โรคภัย ไข้เจ็บที่รังควาญชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน
นี่คือตัวอย่าง ที่พบเห็น
“คุณป้า...เป็นโรคอะไรครับ ?”
เป็นโรคเกล็ดเม็ดเลือดต่ำ... คนไข้ตอบ
“ตอนนี้ คุณป้ากินยาอะไรบ้าง” ผู้เขียนถาม
“ไม่ได้กินแล้ว” คนไข้ตอบหน้าตาเฉย
ผู้เขียนเกิดความสงสัยว่า ทำไมคนไข้จึงเลิกกินยาไป
ทั้งๆ ที่คุณหมอผู้ทำการ รักษาไม่ได้บอกให้เลิกซะหน่อย
จึงถามเพื่อ ความแน่ใจว่า มันเกิดอะไรขึ้น
“คุณหมอผู้รักษา บอกให้คุณป้า เลิกกินยาหรืออย่างไร ?”
คนไข้ก็ตอบด้วยความมั่นใจว่า
“อีฉันเลิกกินยาเอง....เพราะรู้สึกว่า ฉันสบายดีแล้ว”
ได้ฟังความคิดเห็นของคนไข้รายนี้ แล้วรู้สึกว่า ไม่ธรรมดาเลย
คุณป้า (คนไข้) เป็นชาวบ้าน ไม่ได้ร่ำเรียนหนังสือ
ฟังมาถึงตรงนี้ หลายท่านคงสงสัยเหมือนผู้เขียนว่า
โรคเกล็ดเม็ดเลือดต่ำ มัน เป็นอย่างไร....
เราควรรู้เรื่องเกี่ยวกับมันมากแค่ไหน
จึงจะอยู่กับมันได้ด้วยความ ปลอดภัย (สำหรับผู้เป็นโรค)
ITP หรือ Idiopathic thrombocytopenic purpura
บางที่เราเรียกว่า Immune thrombocytopenic purpura
มันเป็นความบกพร้องทาง “การจับตัวของเม็ดเลือด” (clotting disorder)
ก่อให้เกิดมีการฟกช้ำดำเขียวที่ใต้ผิวหนัง (bluishing) และเลือดออกไหล ไม่หยุด
โรค ITP เป็นผลจากการที่มีเกล็ดเลือด (platelets) ต่ำผิดปกติ
และเจ้าเกล็ดเลือดตัวนี้แหละ ที่มีหน้าทีทำให้เลือดหยุดไหลด้วยการจับตัวกัน
เป็นก้อนเลือด (clotting)
มันเกิดขึ้นได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่
ในเด็กมันจะเกิดขึ้นภายหลังจากเกิดการอักเสบด้วยเชื้อ “ไวรัส”
ซึ่งมันมักจะ หายไปเอง โดยไม่ต้องทำการรักษาแต่ประการใด
ส่วนในผู้ใหญ่ มักจะกลายเป็นโรคเรื้อรัง
ในการรักษาโรค ITP หรือโรคเกล็ดเลือดต่ำนั้น
มันขึ้นอยู่กับอาการแสดง และปริมาณของเกล็ดเลือดเป็นสำคัญ
ถ้าคุณไม่มีอาการเลือดออก(bleeding) และปริมาณของเกล็ดเลือดไม่ต่ำ เกินไป
การรักษา...ก็ไม่จำเป็น
ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น
นั่นเป็นรายที่อาการไม่รุนแรง
แต่ถ้าหากเป็นรายที่รุนแรงละ
คนไข้จะต้องได้รับการรักษาด้วยการกินยา (medications)
หรือในรายที่ ตกอยู่ในขั้นอันตราย อาจจำเป็นต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด
อาการของคนเป็นโรค ITP(เกล็ดเลือดต่ำ)
คนไข้พวกนี้อาจไม่มีอาการอะไรเลย
สำหรับคนที่มีอาการ และอาการแสดง เราจะพบเห็น:
เกิดอาการaกช้ำที่ใต้ผิวหนังได้ง่าย หรือเป็นได้ทั่วตัว (purpura)
สำหรับคนสูงอายุ มักจะมีเลือดออกตามใต้ผิวหนังได้ง่าย
นั้นเป็นสิ่งที่ปรากฏตามธรรมชาติของคนสูงอายุ...
อย่าได้สับสนกับคนที่เป็น ITP เป็นอันขาด
เราอาจพบรอยเลือดออกเป็นจุด ๆ ที่บริเวณใต้ผิวหนัง เป็นผื่น หรือจุดแดง ๆ
ใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณขาทั้งสอง
เมื่อได้รับบาดเจ็บ เช่นถูกมีดบาด เลือดมักจะหยุดได้ช้ามาก ๆ
มักจะมีเลือดออกตามไรฟัน หรือเลือดกำเดาออก โดยไร้สาเหตุ
มีเลือดในปัสสาวะ หรืออุจจาระ
ถ้าเป็นสุภาพสตรี จะมีประวัติเลือดประจำเดือนออกมามากผิดธรรมดาเขา
หากได้รับการผ่าตัด ก็มีเลือดออกมาก ไม่ค่อยหยุดตามกระบวนการหยุดเลือดขณะผ่าตัด
ท่านควรพบแพทย์เมื่อไหร่ดี?
ถ้าตัวคุณ หรือบุตรหลานของคุณเกิดมีเลือดไหลออกผิดปกติ
เช่น เกิด หลังถูกของมีคม มันไหลออกไม่ค่อยหยุดสักที หรือเกิดมีรอยฟกช้ำง่าย
หรือมีผื่น เป็นจุดแดง ๆ ตามขาทั้งสอง ท่านต้องพบแพทย์ทันที
ในกรณีที่ท่านมีประจำเดือนออกมากผิดปกติ อาจเป็นอาการแสดงของ โรค ITP
ท่านควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเช่นกัน
ในกรณีที่เลือดออกอย่างอย่างมากมาย หรือมีเลือดออกทั่วไป
บ่งบอกให้ทราบถึงความรุนแรง และควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างรีบด่วน
อะไรก็คือสาเหตุของการเป็นโรคชนิดนี้:
สาเหตุที่แท้จริงนั้นเราไม่ทราบหรอก ด้วยเหตุนี้เองเขาจึงใช้คำว่า Idiopathic
(ซึงในวงการแพทย์ แปลว่าไม่ทราบสาเหตุ)
อย่างไรก็ตาม คนไข้ที่ เป็นโรคนี้ พบว่า
ระบบภูมิคุ้มกันของคนไข้ที่เป็นโรค ITP มันทำงานผิดปกติ
ระบบภูมิคุ้มกันที่ว่านั้น มันเห็นว่า เกล็ดเลือดของตัวเองเป็นของแปลกปลอมไป
มันจึงทำลายเกล็ดเลือดของตัวเอง
มันทำลายอย่างไร?
ระบบภูมิคุ้มมกัน จะสร้าง “สาร” ภูมิคุ้มกันตัวเองขึ้นมา เรียกว่า antibodies
และสารตัวนี้จะจับเกล็ดเลือดเอาไว้ เพื่อทำลาย และขจัด ทิ้งต่อไป
อวัยวะที่รับช่วงต่อ คือ “ม้าม” (spleen) ซึ่งปกติมันทำหน้าที่ช่วยร่างกาย
ต่อสู้กับการอักเสบทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับท่าน
ม้ามจะรับทำหน้าที่จัดการ “ขจัดเกล็ดเลือด” ที่ถูก antibodies จับเอาไว้
ทิ้ง ไปจากร่างกายของท่าน ผลที่เกิดจากความเข้าใจผิดของระบบภูมิคุ้มกัน
แล้วทำลายเกล็ดเลือดของตัวเองนั้น จึงทำให้ปริมาณของเกล็ดของท่านลดน้อยลงไป
ในคนปกติ ระดับเกล็ดเลือดของท่านจะอยู่ในราว ๆ 150,000 ถึง 450,000 ตัวต่อ microlilter
ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ที่เป็นโรค ITP มักจะพบว่า เกล็ดเลือดต่ำกว่า 20,000
ในขณะที่เกล็ดเลือดลดต่ำลง อันตรายจากการมีเลือดออกย่อมมีเพิ่มขึ้น
อันตรายจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น เมื่อเกล็ดเลือดต่ำกว่า 10,000
ซึ่งในกรณีเช่นนี้ จะเกิดมีเลือดออก (bleeding)ภายใน โดยที่ไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ เลย
โรค ITP จัดเป็นโรคเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มของโรคเลือดทั้งหลาย
สามารถ เกิดขึ้นกับใครก็ได้ เป็นได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ แต่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้
ได้เพิ่มขึ้น เช่น
Sex. สุภาพสตรีมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่าชายถึง 2 เท่าตัว
Age. สมัยก่อนรู้มาว่า มันเป็นโรคของคนอายุยังน้อย
แต่มาตอนหลังพบว่า มันเป็นโรคของคนสูงอายุมากกว่า 60 ขึ้นไป
After viral infection. มีเด็กหลายคนเกิดโรคชนิดนี้หลังจากเกิดมีการอักเสบของเชื้อไวรัส
เชน โรคคางทูม, อีสุกอีใส. หรือเกิดจากโรคหวัด-เจ็ดคอ. และไอ
โรคITP ที่เกิดเด็กนั้น มักจะหายไปได้เองภายใน สอง ถึง แปดอาทิตย์
Tests and Diagnosis
เมื่อเกิดความสงสัยขึ้นมา เราก็ต้องทำการตรวจ เพื่อให้ทราบ...
แพทย์มักจะทำการวินิจฉัยโรคของท่านด้วยวิธีการ ตัด (excluding)โรคอื่นๆ ออกไป
เช่น ท่านเป็นโรคอะไรที่ทำให้เกิดมีเลือดออก และทำให้เกล็ดเลือดของท่านต่ำลงได้?
หรือจากยาที่ท่านรับประทานเข้าไป
เมื่อตรวจสอบดูแล้ว ไม่พบว่ามีปัญหาอะไรซ่อนอยู่...
จึงมาลงเอยด้วยการวินิจฉัยว่า ท่านเป็นโรค ITP
ในการวินิจฉัยว่า ท่านเป็นโรค ITP หรือไม่ แพทย์อาจต้อง:
ทำการซักประวัติความเจ็บไข้ได้ป่วย และการตรวจร่างกายของท่าน.
เขาจะมองหาบริเวณที่มีเลือดออกตามผิวหนังของท่าน อาจถามประวัติความเจ็บป่วยในอดีต
ถามเรื่องยาที่ท่านรับประทาน ตลอดรวมถึงอาหารเสริมทั้งหลายด้วย
ตรวจเลือด (complete blood count). คนไข้ที่เป็น ITP จะพบว่า
พวกเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวจะมีค่าเป็นปกติ ส่วนเกล็ดเลือดจะมีค่าต่ำ
Blood smear เป็นการตรวจเพื่อยืนยัน (confirm) จำนวนเกล็ดเลือดที่นับ-ตรวจเลือดตามปกติ
Bone marrow examination เป็นการตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำจากการตรวจไขกระดูก
เนื่องจากเกล็ดเลือดสร้างจากไขกระดูก...
คนที่เป็นโรค ITP จะพบว่าไขกระดูกของท่านปกติ
ทั้งนี้เพราะเกล็ดเลือดของท่านถูกทำลายโดยม้าม (spleen) ที่อยู่นอกไขกระดูกโน้น
ปํญหาอยู่นอกไขกระดูก ไม่ใช้ปัญหาในไขกระดูกไม่
ยา และการรักษา (Treatment and drugs)
เป้าหมายของการรักษาคนไข้ที่เป็นโรค ITP
คือการทำให้ระดับของเกล็ดเลือดกลับมาอยู่ที่ระดับที่ปลอดภัย
และป้องกันไม่ให้มีเลือดออก (bleeding)ขณะเดียวกันก็ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
ในเด็กเล็ก โรค ITP มันเป็นของมันเอง เมื่อถึงเวลามันก็หายไปเอง โดยไม่ต้องทำอะไร
ประมาณ 80 % ที่คนไข้เด็กที่เป็นโรค ITP มันจะหายเองภายใน 6 อาทิตย์
แม้ว่าในเด็กบางคน โรคของเขา (ITP) อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังก็ตาม อาจหายได้เอง
ซึ่งบางรายอาจใช้เวลาเป็นปีก็ตาม
คนสูงอายุ ที่มีอาการไม่มาก (mild case)...
ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด เพียงแต่มั่นตรวจเช็คดูระดับของเกล็ดเลือดบ่อย ๆ
ในรายที่มี อาการ ท่าน และแพทย์ที่ทำการรักษา อาจต้องปรับแผนการรักษา
การรักษาของท่าน ประกอบด้วย “ยา” และบางครั้ง อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเอาม้ามออก (splenectomy) แพทย์อาจให้ท่านเลิกยาบางชนิด
ถ้ายาตัวนั้นบังเอิญมันไปสกัดกั้นการทำงานของเกล็ดเลือด เช่น aspirin, ibuprofen
และยาลดการจับตัวของเม็ดเลือด (blood-thinning) เช่น warfarin (Coumadin)
ยาต่าง ๆ ที่ท่านอาจได้รับในการรักษา
(Medications)
• Corticosteroids.เป็นยาตัวแรก (first line) ที่นำมาใช้ในการรักษาโรค ITP
คือ พวก Corticosteroids ส่วนใหญ่เราจะใช้ prednisolone
ซึ่งสามารถเพิ่มระดับเกล็ดเลือด โดยมันไปกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
เมื่อระดับของเกล็ดฟื้นตัวกลับสู่ระดับที่ปลอดภัย ท่านสามารถค่อยๆ ลดยาลง
ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 6 อาทิตย์
ปัญหาที่พบเห็นเสมอ ๆ ในผู้ใหญ่ที่เป็นโรค ITP
คือ ภายหลังการหยุดยา corticosteroids โรคจะกลับเป็นใหม่อีก
ในกรณีเช่นนี้ เราจำเป็นต้องให้ยาใหม่แต่เราจะไม่ให้นาน
การให้ยา corticosteroids สามารถทำให้เกิดภาวะอันไม่พึงปรารถนาได้หลายอย่าง
เช่น ต้อกระจก, น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น, มีโอกาสเกิดการอักเสบ, เกิดกระดูกพรุน (osteoporosis)
ดังนั้น ทั้งท่านและแพทย์จะต้องชั่งดูว่า จะทำอย่างไร ระหว่าง “อันตรายจากการใช้ยา” กับ
“ประโยชน์ที่พึงได้รับ” ถ้าเอิญ ท่านต้องรับยาพวกนี้นานเกินสามเดือน
แพทย์เขาจะแนะนำให้ท่าน “รับ...” พวกแคลเซี่ยม และไวตามิน D เสริมให้แก่ท่าน
เพื่อช่วยให้กระดูกของท่านคงสภาพได้เป็นปกติ
• Intravenous immune globulin (IVIG).
ใช้ในกรณีท่านเกิดมีเลือดออก (bleeding)อย่างรุนแรง จำเป็นต้องการผ่าตัด
ท่านจำเป็นต้องถูกคนไข้มีปริมาณของเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
แพทย์อาจให้ immune globulin โดยให้ทางเส้นเลือด ฤทธิ์ของมันจะค่อยหมดไปในเวลาสองอาทิตย์
ยาตัวนี้มีผลข้างเคียงด้วยเหมือนกัน เช่น ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ, คลื่นไส้ และอาเจียน
• Thrombopoeietin receptor agonists. มียาตัวยใหม่ที่นำมาใช้ในการรักษา ITP
คือ romiplostim (Nplate) และ eltrombopag (Promata) โดยยาทั้งสองจะทำหน้าที่ช่วยให้ไขกระดูกผลิตเกล็ดเลือด เพิ่มมากขึ้น และเป็นการลดการเกิดอาการฟกช้ำ ไม่ให่มีเลือดออก(bleeding)
แต่อาการข้างเคียงของยาพวกนี้ก็มีเหมือนกัน
เช่น ทำให้เกิดอาการปวดดศีรษะ , คลื่นไส้, อาเจียน,ปวดกล้ามเนื้อ แ ละปวดตามข้อ เป็นต้น
การรักษาด้วยการผ่าดัด
(Surgery)
ถ้าท่านเป็นพวกที่มีอาการรุนแรง และการรักษาด้วย prednisolone ไม่ได้ผล
การตัด “ม้าม”ทิ้งอาจเป็นทางเลือกก็ได้ เป็นวิธีกำจัดแหล่งที่ทำลายเกล็ดเลือดโดยตรง
สามารถทำให้เกล็ดเลือดดีขึ้นภายในไม่กี่อาทิตย์
การผ่าตัดเอาม้ามออกทิ้ง เพื่อรักษา ITP ใช่ว่าจะเป็นวิธีที่ควรทำเป็น Routine ไม่ เพราะหลังการผ่านตัดม้ามออกทิ้ง จะเกิดผลผลเสียหลายอย่าง เช่น เกิดการอักเสบได้อย่างรุนแรง
สำหรับเด็ก เขาไม่นำเอาวิธีการตัดม้ามมรใช้กันหรอก
เหตุผลเพาะ ITP ในเด็กไม่รุนแรง
มีการรักษาทางอื่นอีกไหม ?
เมื่อให้การรักษาด้วย corticosteroids หรือ ตัดม้าม (splenectomy)แล้ว ยังไม่สามารถลดความรุนแรงของโรค ITP ลงได้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยา corticosteroids ในขนาดน้อย ๆ ร่วมกับยาตัวอื่น เช่น
• Immunosuppressant drugs.
ยาพวกนี้ จะไปกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของท่าน เช่น
Rituxmab (Ritruxan) เป็นยาที่ใช้มากที่สุด Cyclophosphamide (Cytoxxan) และ azaathioprine (Imuran,Azasan)ได้ปรากฏว่ามีการนำมารใช้ในการรักษาพวก ITP แต่ อาการข้างเคียงของมันสูงมาก ๆ และผลที่ได้...ยังรอการพิสูจน์อยู่
Experiment drugs. มียาใหม่ ๆ ที่สามารถเพิ่มการสร้างเกล็ดเลือด เช่น eltrombopag และ AMG531 ได้มีการทดลองนำมาใช้ในคนไข้ แม้ว่าคนไข้จะทนต่อยาได้ดีก็ตาม แต่ปัญหาที่เกิดจากการใช้ในระยะยาว ยังต้องรอดูกันต่อไป และการฟื้นตัวของโรคก็ยังคงมีอยู่เมื่อหยุดยา
H. Pylori treatment. คนไข้บางรายเกิดเป็นโรค ITP มีสาเหตุจากการอักเสบของ Helicobacter pylori เชื้อโรคตัวเดียวกันกับตัวที่ทำให้เกิดกระเพาะเป็นแผล (peptic ulcer)
เด็กส่วนใหญ่ที่เป็นโรค ITP นั้น ความผิดปกติเกิดตามหลังการอักเสบ จากเชื้อไวรัส
เช่น เป็นหลังการเป็นโรคหวัด (flu) เป็นโรคคางทูม (mumps)โดยที่การอักเสบที่เกิดขึ้นนั้น
เป็นตัวเปิดสวิทให้ระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มันทำงาน
วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554
Diet for renal failure
คนเป็นโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease)
มาพบแพทย์คราใด แพทย์จะทำการตรวจเช็คดูการดำเนินของโรค ว่ามันดำเนินไปถึงขั้นไหน
คนไข้จะได้รับการตรวจเลือด (BUN & creatinine) และตรวจปัสสาวะ
ผลของการตรวจ สามารถบอกให้แพทย์ และคนไข้ได้ทราบว่า การทำงานของไตของคนไข้ เป็นเช่นใด
ก่อนคนไข้จะกลับบ้าน เขาจะได้รับคำแนะนำเดิม ๆ ว่า:
“ให้ระมัดระวังเรื่องอาหารการกินนะ “
หลายคนอดสงสัยไม่ได้... จึงตั้งคำถามว่า
“คนไข้เข้าใจในสิ่งที่คุณหมอบอก (แนะนำ) …
จริงหรือ ?
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน และให้หายข้อข้องใจ จะขอนำเรื่องอาหารของคนเป็นโรคไตมาเล่า ให้พวกเราฟังเล่น ๆ ...
คนไข้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) อีกชื่อเรียกว่า kidney failure
ไตของคนเราจะทำหน้าที่ขับพิษ (urea & phosphorous) และน้ำที่เกินออกจากร่างกาย ..
ถ้าไตของท่านไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
อะไรจะเกิดขึ้น ?
พิษ และน้ำก็จะถูกกักไว้ในร่างกาย
ปกติกระแสเลือดของคนเรามีขีดจำกัดของมัน ซึ่งมันมีน้ำเป็นส่วนประกอบ
ถ้าเกิดสภาวะน้ำเกิน ไตไม่สามารถขับออกได้ มันจะไปอยู่ที่ไหนกัน ?
มันจะเก็บกัก หรือสิงสถิตในตัวเซลล์ทั่งร่างกายก่อน เมื่อมีมากเข้าก็ออกนอกเซลล์ ไปอยู่ ตามช่องต่าง ๆ เช่น ช่องปอด ช่องหัวใจ (heart cavity) ตามเนื้อหนังทั่วไป
จะพบเห็นคนไข้มีอาการ หน้าบวม (puffiness) เท้าบวม....
เมื่อมันมีมากขึ้น จะทำให้เกิดน้ำท้วมปอด... ทำให้คนไข้หายใจไม่สะดวก ต้องนำส่ง
โรงพยาบาลเพื่อการรักษาแบบฉุกเฉินต่อไป
ในคนปกติ เมื่อรับประทานเกลือเข้าไป เกลือจะทำให้มีน้ำในร่างกายเพิ่มขึ้น มันสามารถขับ ออกทางปัสสาวะได้ภายในวันสองวัน
ส่วนคนเป็นโรคไตละ...มันไม่สามารถทำเช่นนั้นได้
ในคนที่เป็นโรคไตวายไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้เช่นคนปกติหรอก
พอเพิ่มเกลือเข้าไปอีกเท่านั้นแหละ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม
จะทำให้มีน้ำในร่างกายเพิ่มมากขึ้น....ซึ่ง มันทำให้สภาวะต่างๆ เลวลง
การให้เกลือและน้ำร่วมกันในปริมาณมากเกิน จะเป็นการทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของ คนไข้ที่เป็นโรคไตวายได้ โดยไม่คำนึงว่า คนไข้รายนั้นกำลังได้รับการฟอกเลือดหรือไม่
คนไข้ที่เป็นไตวาย (kidney failure)
การวินิจฉัยอย่างนี้ เป็นการบอกให้ทราบว่า เขากำลังอยู่บนเส้นทางสู่การฟอกเลือด หรือ
การเปลี่ยนไต (kidney transplant)
แพทย์ผู้ทำการรักษา จะทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะของคนไข้ เพื่อพิจารณาว่า คนไข้ นั้นอยู่ในขั้นเลวร้ายแค่ใด
เพื่อเป็นการควบคุมอาการต่าง ๆ รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้ไตเลวลงไปอีก แพทย์จะให้ยา แก่คนไข้ พร้อมกับคำแนะนำเรื่องอาหารการกินแก่เขา
นั้นคือเป้าหมายที่เราจำเป็นจะต้องควบคุมให้ได้
ถ้าคนไข้สามารถยึดมั่นในคำแนะนำเรื่องอาหารการกินได้
เขาสามารถชะลอการฟอกเลือดได้เป็นเดือน ๆ หรือ เป็นเวลาหลายปี
หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น คือ การไม่รับประทานเกลือ จะช่วยไม่ให้ไตเลวลงนั่นเอง
เมื่อคนไข้เริ่มทำการฟอกเลือด ล้างไตเมื่อใด จะมีปรับเปลี่ยนในเรื่องอาหารการกิน ทั้งนี้ย่อม อยู่บนพื้นฐานของสุขภาพของคนไข้แต่ละรายเป็นสำคัญ รวมไปถึงชนิดของการฟอกเลือดว่า จะเป็นชนิดใด (peritoneal diaysis หรือ hemodialysis)
แนวทางต่อไปนี้ สำหรับคนไข้ที่เป็นโรคไตทุกคน
• Limiting fluids
• Eating a low –protein diet
• Restricting salt, potassium, phosphorous, and other electrolytes
• Getting enough calories if you are losing weight
คำแนะนำเรื่องอาหารอาจต้องมีการปรับเมื่อเวลาผ่านไป ถ้าไตของคุณแย่ลง หรือถ้าคุณ จำเป็นต้องทำการฟอกเลือด
เป้าหมายของการให้อาหาร เพื่อคงสภาพความสมดุลในระดับของเกลือแร่ และน้ำ ของคนไข้ ที่กำลังทำการฟอกเลือด
การฟอกเลือด- hemodialysis เพียงอย่างเดียวจะไม่พอสำหรับคนเป็นโรคไต จำเป็นต้อง ระมัดระวังเรื่องอาหาร และปริมาณของน้ำด้วย
หากเราไม่ระวัง จะเป็นการเพิ่มของเสียในร่างกายขึ้น ทำให้เป็นภาระเพิ่มแก่ไตขึ้นอีก
คนไข้โรคไต พบว่าขับน้ำออกได้น้อย (ปัสสาวะลดลง) จึงจำเป็นต้องจำกัดปริมาณน้ำด้วย
การที่คนไข้ไม่ขับถ่ายปัสสาวะ จะทำให้ปริมาณเลือดในร่างกาย สูง ซึ่งจะนำไปสู่การมีน้ำใน หัวใจ ปอด และข้อเท้าทั้งสอง
คำแนะนำที่คนไข้ควรนำไปปฏิบัติ
(Recommendations)
ควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อขอคำแนะนำในเรื่องอาหาร
นักโภชนาการบางท่านก็เชี่ยวชาญในทางโรคไตเป็นการเฉพาะ
ซึ่งในกรณีเช่นนี้ สามารถสร้างแนวทางเกี่ยวกับอาหารให้คนที่เป็นโรคไตเป็นการเฉพาะได้
ระดับของ calories ต่อวัน จำเป็นต้องสูงพอสมควร เพื่อเสริมสุขภาพ และป้องกันการ ไม่ให้ร่างกายเสื่อมโทรม
นักโภชนาการจะเป็นคนแนะนำเองว่า คนไข้รายนั้น ๆ ควรรักษาน้ำหนักตัวเอาไว้เท่าไหร่ และควรวัดน้ำหนักตัวทุกเช้า
อาหารประเภทแป้ง
(Carbohydrates)
ถ้าคุณเป็นคนน้ำหนักมาก หรือเป็นโรคเบาหวาน คุณอาจจำเป็นต้องจำกัดปริมาณของอาหาร ประเภทแป้งลง
พวก carbohydrate เป็นแหล่งที่ให้พลังงานที่ดีแก่ร่างกายของคุณ
ถ้านักโภชนาการแนะนำให้คุณรับประทานอาหารที่มีโปรตีนต่ำ คุณสามารถทดแทนอาหาร โปรตีน จาก:
• ผลไม้ (fruits), bread, grains, และผักต่าง ๆ อาหารพวกนี้ให้สารที่เป็น fiber, mineral , vitamins
• Hard candies, sugar, honey, and jelly
อาหารประเภทไขมัน
(Fats)
อาหารประเภทไขมันเป็นแหล่งของพลังงานที่สูง
และจงแน่ใจด้วยว่า ไขมันที่ว่านั้น ต้องเป็นพวกไม่อิ่มตัว เช่น monounsaturated และ polyunsaturated fats ( เช่น olive oil, sunflower oil)
โปรตีน (Protein)
อาหารประเภท protein มีความจำเป็นต่อการสร้างกล้ามเนื้อ และสร้างความต้านทานต่อ การอักเสบที่จะเกิดขึ้น ตลอดรวมถึงการซ่อมแซมและชดเชยส่วนที่เสื่อมสลายไป
เมื่อท่านรับประทาน protein เข้าสู่ร่างกาย มันจะถูกเปลี่ยน (breakdown) เป็นของเสียที่ เราเรียกว่า urea
เมื่อการทำงานของไตเริ่มเสื่อมลง จะมี urea ในกระแสเลือดสูงขึ้น
เมื่อคุณรับประทาน protein เข้าไปมาก จะทำให้มีสาร urea ในกระแสเลือดสูงขึ้นอย่าง รวดเร็ว และมันจะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายขึ้นมา
การรับประทาน protein ในปริมาณไม่มาก จะเป็นประโยชน์ในแง่ที่ว่า ไม่ไปเพิ่มระดับ urea ในกระแสเลือดให้เป็นภาระของไต
ตัวอย่างที่มีปริมาณ protein สูง:
• Meat
• Poultry
• Milk oroducts
• Eggs
ตัวอย่างที่มีปริมาณ protein น้อย
• Fresh bean
• Grains
• Vegetables
•
อาหารที่คุณจำเป็นจะต้องได้รับ คือ อาหารที่เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ ทั้งสูง และต่ำ ซึ่งแพทย์ จะเป็นคนแนะนำว่า ควรรับประทานในปริมาณเท่าใด
โดยกำหนดให้ โปรตีน 1 gram per kilo bodyweight per day
พอหลังจากคุณเริ่มทำ dialysis คุณจำเป็นต้องได้อาหารประเภทโปรตีนเพิ่ม
สำหรับคนไข้โรคไต ก่อนที่จะได้รับการฟอกเลือด (pre-dialysis) เราจำเป็นต้องจำกัด ปริมาณของโปรตีนด้วย
ทำไม ?
เพื่อถนอมพลังของไตเอาไว้นั่นเอง ไม่ต้องให้มันทำงานมากโดยใช่เหตุ
แต่พอหลังจากทำการฟอกเลือด เราต้องปรับใหม่ จะต้องเพิ่มปริมาณโปรตีนขึ้นอีก
เขาแนะไว้ว่า ควรรับประทานอาหารที่เป็นโปรตีนต่อวัน ให้มากถึง 2 gram per kilogram body weight (แพทย์ที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้พิจารณาเองว่า คนไข้รายนั้น ๆ ควร รับประทานโปราตีนมากน้อยแค่ใด) อาหารที่แพทย์แนะนำ คือ พวก ปลา สัตว์ปีก หรือไข่ ทุกมื้อ เพื่อ ชดเชยกล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อส่วนที่สูญสลายไป
แคลเซี่ยม และ ฟอสฟอรัส
(Calcium and Phosphorous)
สารแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัส เป็นสารที่สำคัญในร่างกายของคุณ จะต้องระวังอย่างใกล้ชิด เพราะ ในระยะแรก ๆ ของการเป็นโรคไตวาย จะพบว่าระดับของฟอสฟอรัสมักจะสูงมาก เป็นเหตุให้ เกิด:
• Low calcium เป็นสาเหตุทำมีการดึงเอา calcium ออกมาจากกระดูก ซึ่งจะทำให้โรคกระดูก (0steomalcia) กระดูกของคุณจะเปราะเป็นเหตุให้เกิดการแตกหักได้ง่าย
• Itching
คุณจำเป็นต้องจำกัดอาหารประเภทที่ทำด้วยนมสัตว์ลง เช่น พวก milk yogurt และ cheese
อาหารต่าง ๆ ที่มีส่วนประกอบของนมสัตว์บางชนิด อาจมีเกลือแร่ phosphorus ต่ำ เช่น พวก margarine, butter, cream cheese
คุณอาจจำเป็นต้องได้รับ calcium เสริม เพื่อป้องกันโรคกระดูก และให้ vitamin D ด้วย เพื่อเป็นการควบคุมความสมดุลระหว่าง calcium และ phosphorous ในกายของคุณ
Fluids (น้ำ)
ในระยะแรก ๆ ของการเป็นโรค Chronic kidney disease คุณไม่จำเป็นต้องจำกัด ปริมาณของน้ำที่คุณต้องดื่มหรอก
แต่ภายหลังจากที่ไตของคุณเริ่มย่ำแย่ลง หรือเมื่อตอนที่คุณจะทำการฟอกเลือด เมื่อนั้นแหละ จำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณน้ำที่คุณดื่ม เพราะในระหว่าง sessions ของการทำฟอกเลือด อาจ มีน้ำเก็บกักภายในร่างกายของคุณในปริมาณสูงได้ ก่อให้เกิดอันตรายได้
ต้องระวังให้ดี
แพทย์ของท่าน หรือพยาบาลที่ทำการฟอกไต จะเป็นคนบอกคุณเองว่า ในแต่ละวัน คุณควร ดื่มน้ำเท่าไร
แพทย์จะแนะนำให้ใช้แก้วน้ำขนาดเล็กสำหรับดื่มน้ำ เป็นการบังคับไม่ให้คุณดื่มมากเกิน
คำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการกระหายน้ำ
• หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม
• ดื่มน้ำเย็น ใส่น้ำแข็ง....ทำให้คุณดื่มทีละน้อย
• อยู่ในห้องที่เย็น เมื่ออาการร้อน
Salt and Sodium
(เกลือ และ โซเดียม)
การจำกัดพวกเกลือ หรือ โซเดียมในอาหาร ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่ตามจริงแล้ว เป็น การยาก ที่คนเราจะไม่กินเค็ม (เกลือ) เลย
คงจะให้กินได้บ้าง แต่อย่าให้มาก
เราสามารถจำกัดปริมาณเกลือในอาหารของเราได้ อย่างแน่นอน โดยกำจัดอาหารที่มีเกลือสูง ออกทิ้งไป
ที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่:
o อาหารที่ปรุงเรียบร้อย พร้อมให้เรารับประทานได้ทันที เช่น ham, sausage, bacon, corn beef, cheese, fast foods , soy sauce และอาหารจากภัตราคราอาหารจีน
ต้องหลีกให้พ้น...
เป็นบุญของชาวบ้าน ที่ไม่คุ้นเคยกับอาหารพวกนี้ เลยรอดตัวไป ไม่ต้องระมัดระวังอะไร
รู้ไว้ก็ไม่เป็นไร ?
o อาหารกระป๋องทั้งหลายก็ใช่ย่อย ไม่ว่าจะเป็นผัก หรือเป็นพวกเนื้อ ปลา หรือหอย ต่างมีเกลือในปริมาณสูงทั้งนั้น หากท่านจำเป็นต้องใช้มันเป็นอาหารของท่าน ก็สามารถกระทำได้ โดยล้างพวกเกลือออกให้หมด
o ในบางครั้ง เราคิดว่ามีปริมาณเกลือน้อย แต่มันก็มีในปริมาณไม่น้อยอยู่ดี เช่น พวก pizza
แม้ว่า จะมีเกลือดอยู่รอบตัวของคนเราก็ตาม
เราไม่จำเป็นต้องใช้เกลือในปริมาณสูงเลย
เราสามารถเลือกอาหารที่มีเกลือ (sodium) ต่ำเข้าไว้ เช่น ถ้าต้องการรับประทาน cheese ก็เลือกซื้อ white cheese และเลือกซื้ออาหารที่มีปริมาณเกลือต่ำได้
อาหารที่ปลอดภัยที่สุด คืออาหารสด ๆ ยังไม่มีการปรุงนั้นแหละ เช่น พวกเนื้อ สัตว์ปีก และ ปลา
ประเภทผักสด หรือผักที่เก็บไว้ในตู้เย็น ผลไม้ รวมทั้งน้ำผลไม้ ต่างใช้ได้ทั้งนั้น
พอมาถึงตอนจะปรุงอาหาร เช่น ทำซุบ หรือทำก้วยเตี๋ยว เราก็สามารถปรุงได้ตามใจชอบ โดยใส่เกลือให้น้อยที่สุด
นาน ๆ ครั้ง ก็อนุญาตให้ตัวเองเพิ่มความเค็มขึ้นนิดหนึ่ง...
ของหวาน เช่นพวกขนม ขนมปัง แพนเค้ก...ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่ preservative เพราะ มันมีเกลือเป็นส่วนผสมด้วยเสมอ
พอ ออกไปนอกบ้าน ไปช็อบปิ้ง อย่าลืมมองหาอาหารที่มีปริมาณของเกลือต่ำเอาไว้
นั่นเป็นเรื่องเกี่ยวกับพวกเกลือ
พอมาถึงเรื่องน้ำ ต้องจำกัดเช่น แพทย์เขาจะแนะนำให้ท่านดื่มน้ำในระหว่าง 4 – 8 แก้ว โดยประมาณอย่าให้มากกว่านั้น
เมื่อเราพูดเรื่องน้ำ เราหมายถึงทุกอย่างที่ละลายเป็นของเหลวในอุณภูมิของห้อง เช่น พวก icecream, gelatin desserts
(อย่าลืม แตงโมก็ให้น้ำในปริมาณสูง)
Potassium.
Potassium ก็มีความสำคัญไม่น้อย คนไข้โรคไตมักมีระดับโปรแตสเซี่ยม สูง มันทำให้เกิด อาการอ่อนแรง หากมีปริมาณมาก สามารถทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
เราไม่สามารถที่จะควบ potassium ได้ด้วยเหตุผลหลายอย่าง
ข้อแรก เราไม่สามารถสัมผัสรสของมันได้
ข้อสอง ผู้ขายอาหารให้แก่เรา เขาไม่ได้บอกปริมาณของ potassium เอาไว้
เมื่อเขาไม่บอก เราก็พยามจำเอาก็แล้วกันว่า Potassium มีเป็นจำนวนสูงมาก ใน พืช-ผัก ต่อไปนี้
Nuts
Avocado
Potatoes
Pumkin
Oranges
Kivi
Peaches
Apricots
และของแห้งทั้งหลาย เช่น fruit, bean, และ Lentil ( )
สำหรับอาหาร พืชผักที่มีปริมาณ Potassium ต่ำ ซึ่งปลอดภัยสำหรับคนเป็นโรคไตวาย ได้แก่:
Applesauce
Black berry
Grapes
Tangerines
Canned Pear & Pums
Asparagus
Green or waxed beans
Corn
Cauliflower
Cucumber
Water chestnut
Summer squash
สำหรับน้ำผลไม้ (Juice) ต่อไปนี้ก็ใช้ได้ เช่น apple, cranberry,lemonade,grape
เมื่อท่านดื่มแล้ว อย่าลืมนับปริมาณร่วมเข้าไปด้วย....
Phosphorous .
โดยทั่วไป เขาจะเริ่มพิจารณาเจ้า phosphorous เมื่อคนไข้รายนั้น ๆ เริ่มทำการฟอกเลือด ขึ้นแล้ว
เนื่องจากคนโรคไตมีแนวโน้มทำให้ระดับ phosphorous สูง
เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ทำให้มี phosphorous ในเลือดสูง เราจะต้องจำกัดอาหารต่อไปนี้:
Whole grains
Bran and barley
Nuts
Coconuts
Figs and dates
Raisins
Salmon
Sardines
Oysters
Organ meats
เครื่องดื่มที่มี phosphorous สูง คือ Cola drink
ส่วน soft drinks ต่อไปนี้ ปรากฏว่ามี phosphorous ต่ำ (ดื่มได้) เช่น 7-up, spirit และ club soda
หมายเหตุ: พวก meat, poultry, fish และ eggs เป็นพวกที่มีสาร phosphorous สูงก็ จริง แต่ “โปรตีน” เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไข้ที่ทำการฟอกเลือด ฉนั้นจึงไม่ควรจำกัดอาหาร พวกนี้
เนื่องจากเราจำเป็นต้องลดปริมาณ phosphorous ในเลือดลง แพทย์จึงมักสั่งให้คนไข้ รับประทานยาที่เป็น phosphorous – binder เช่น Tums แก่คนไข้ ให้รับประทานทุก ครั้งที่รับประทานอาหาร
จากรายการอาหารที่ห้ามเอาไว้ ใครก็ตามที่ได้รับฟังมาคงหดหู่ใจไม่น้อย
จะทำอย่างไรได้ละ...?
เพราะนั้น คือวิธีการที่จะถนอมไต หรือรักษาไตให้อยู่ในสภาพที่สามารถรับใช้ตัวเราได้นาน ที่สุดที่จะนานได้
ไม่เพียงเท่านั้น...ทำให้เรามีชีวิตยืนยาวขึ้นไปอีกด้วย
มีวิธีช่วยให้เรา ได้มีโอกาสรับประทานอาหารที่อร่อย และมีสุขภาพได้ทุกวัน
โดย รับประทานผัก ผลไม้สด (ชนิดที่มี phosphorous ต่ำ) เสริมด้วยอาหารว่าง
ที่มีปริมาณเกลือต่ำ..ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เรามีสุขภาพดีขึ้น
มาพบแพทย์คราใด แพทย์จะทำการตรวจเช็คดูการดำเนินของโรค ว่ามันดำเนินไปถึงขั้นไหน
คนไข้จะได้รับการตรวจเลือด (BUN & creatinine) และตรวจปัสสาวะ
ผลของการตรวจ สามารถบอกให้แพทย์ และคนไข้ได้ทราบว่า การทำงานของไตของคนไข้ เป็นเช่นใด
ก่อนคนไข้จะกลับบ้าน เขาจะได้รับคำแนะนำเดิม ๆ ว่า:
“ให้ระมัดระวังเรื่องอาหารการกินนะ “
หลายคนอดสงสัยไม่ได้... จึงตั้งคำถามว่า
“คนไข้เข้าใจในสิ่งที่คุณหมอบอก (แนะนำ) …
จริงหรือ ?
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน และให้หายข้อข้องใจ จะขอนำเรื่องอาหารของคนเป็นโรคไตมาเล่า ให้พวกเราฟังเล่น ๆ ...
คนไข้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) อีกชื่อเรียกว่า kidney failure
ไตของคนเราจะทำหน้าที่ขับพิษ (urea & phosphorous) และน้ำที่เกินออกจากร่างกาย ..
ถ้าไตของท่านไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
อะไรจะเกิดขึ้น ?
พิษ และน้ำก็จะถูกกักไว้ในร่างกาย
ปกติกระแสเลือดของคนเรามีขีดจำกัดของมัน ซึ่งมันมีน้ำเป็นส่วนประกอบ
ถ้าเกิดสภาวะน้ำเกิน ไตไม่สามารถขับออกได้ มันจะไปอยู่ที่ไหนกัน ?
มันจะเก็บกัก หรือสิงสถิตในตัวเซลล์ทั่งร่างกายก่อน เมื่อมีมากเข้าก็ออกนอกเซลล์ ไปอยู่ ตามช่องต่าง ๆ เช่น ช่องปอด ช่องหัวใจ (heart cavity) ตามเนื้อหนังทั่วไป
จะพบเห็นคนไข้มีอาการ หน้าบวม (puffiness) เท้าบวม....
เมื่อมันมีมากขึ้น จะทำให้เกิดน้ำท้วมปอด... ทำให้คนไข้หายใจไม่สะดวก ต้องนำส่ง
โรงพยาบาลเพื่อการรักษาแบบฉุกเฉินต่อไป
ในคนปกติ เมื่อรับประทานเกลือเข้าไป เกลือจะทำให้มีน้ำในร่างกายเพิ่มขึ้น มันสามารถขับ ออกทางปัสสาวะได้ภายในวันสองวัน
ส่วนคนเป็นโรคไตละ...มันไม่สามารถทำเช่นนั้นได้
ในคนที่เป็นโรคไตวายไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้เช่นคนปกติหรอก
พอเพิ่มเกลือเข้าไปอีกเท่านั้นแหละ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม
จะทำให้มีน้ำในร่างกายเพิ่มมากขึ้น....ซึ่ง มันทำให้สภาวะต่างๆ เลวลง
การให้เกลือและน้ำร่วมกันในปริมาณมากเกิน จะเป็นการทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของ คนไข้ที่เป็นโรคไตวายได้ โดยไม่คำนึงว่า คนไข้รายนั้นกำลังได้รับการฟอกเลือดหรือไม่
คนไข้ที่เป็นไตวาย (kidney failure)
การวินิจฉัยอย่างนี้ เป็นการบอกให้ทราบว่า เขากำลังอยู่บนเส้นทางสู่การฟอกเลือด หรือ
การเปลี่ยนไต (kidney transplant)
แพทย์ผู้ทำการรักษา จะทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะของคนไข้ เพื่อพิจารณาว่า คนไข้ นั้นอยู่ในขั้นเลวร้ายแค่ใด
เพื่อเป็นการควบคุมอาการต่าง ๆ รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้ไตเลวลงไปอีก แพทย์จะให้ยา แก่คนไข้ พร้อมกับคำแนะนำเรื่องอาหารการกินแก่เขา
นั้นคือเป้าหมายที่เราจำเป็นจะต้องควบคุมให้ได้
ถ้าคนไข้สามารถยึดมั่นในคำแนะนำเรื่องอาหารการกินได้
เขาสามารถชะลอการฟอกเลือดได้เป็นเดือน ๆ หรือ เป็นเวลาหลายปี
หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น คือ การไม่รับประทานเกลือ จะช่วยไม่ให้ไตเลวลงนั่นเอง
เมื่อคนไข้เริ่มทำการฟอกเลือด ล้างไตเมื่อใด จะมีปรับเปลี่ยนในเรื่องอาหารการกิน ทั้งนี้ย่อม อยู่บนพื้นฐานของสุขภาพของคนไข้แต่ละรายเป็นสำคัญ รวมไปถึงชนิดของการฟอกเลือดว่า จะเป็นชนิดใด (peritoneal diaysis หรือ hemodialysis)
แนวทางต่อไปนี้ สำหรับคนไข้ที่เป็นโรคไตทุกคน
• Limiting fluids
• Eating a low –protein diet
• Restricting salt, potassium, phosphorous, and other electrolytes
• Getting enough calories if you are losing weight
คำแนะนำเรื่องอาหารอาจต้องมีการปรับเมื่อเวลาผ่านไป ถ้าไตของคุณแย่ลง หรือถ้าคุณ จำเป็นต้องทำการฟอกเลือด
เป้าหมายของการให้อาหาร เพื่อคงสภาพความสมดุลในระดับของเกลือแร่ และน้ำ ของคนไข้ ที่กำลังทำการฟอกเลือด
การฟอกเลือด- hemodialysis เพียงอย่างเดียวจะไม่พอสำหรับคนเป็นโรคไต จำเป็นต้อง ระมัดระวังเรื่องอาหาร และปริมาณของน้ำด้วย
หากเราไม่ระวัง จะเป็นการเพิ่มของเสียในร่างกายขึ้น ทำให้เป็นภาระเพิ่มแก่ไตขึ้นอีก
คนไข้โรคไต พบว่าขับน้ำออกได้น้อย (ปัสสาวะลดลง) จึงจำเป็นต้องจำกัดปริมาณน้ำด้วย
การที่คนไข้ไม่ขับถ่ายปัสสาวะ จะทำให้ปริมาณเลือดในร่างกาย สูง ซึ่งจะนำไปสู่การมีน้ำใน หัวใจ ปอด และข้อเท้าทั้งสอง
คำแนะนำที่คนไข้ควรนำไปปฏิบัติ
(Recommendations)
ควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อขอคำแนะนำในเรื่องอาหาร
นักโภชนาการบางท่านก็เชี่ยวชาญในทางโรคไตเป็นการเฉพาะ
ซึ่งในกรณีเช่นนี้ สามารถสร้างแนวทางเกี่ยวกับอาหารให้คนที่เป็นโรคไตเป็นการเฉพาะได้
ระดับของ calories ต่อวัน จำเป็นต้องสูงพอสมควร เพื่อเสริมสุขภาพ และป้องกันการ ไม่ให้ร่างกายเสื่อมโทรม
นักโภชนาการจะเป็นคนแนะนำเองว่า คนไข้รายนั้น ๆ ควรรักษาน้ำหนักตัวเอาไว้เท่าไหร่ และควรวัดน้ำหนักตัวทุกเช้า
อาหารประเภทแป้ง
(Carbohydrates)
ถ้าคุณเป็นคนน้ำหนักมาก หรือเป็นโรคเบาหวาน คุณอาจจำเป็นต้องจำกัดปริมาณของอาหาร ประเภทแป้งลง
พวก carbohydrate เป็นแหล่งที่ให้พลังงานที่ดีแก่ร่างกายของคุณ
ถ้านักโภชนาการแนะนำให้คุณรับประทานอาหารที่มีโปรตีนต่ำ คุณสามารถทดแทนอาหาร โปรตีน จาก:
• ผลไม้ (fruits), bread, grains, และผักต่าง ๆ อาหารพวกนี้ให้สารที่เป็น fiber, mineral , vitamins
• Hard candies, sugar, honey, and jelly
อาหารประเภทไขมัน
(Fats)
อาหารประเภทไขมันเป็นแหล่งของพลังงานที่สูง
และจงแน่ใจด้วยว่า ไขมันที่ว่านั้น ต้องเป็นพวกไม่อิ่มตัว เช่น monounsaturated และ polyunsaturated fats ( เช่น olive oil, sunflower oil)
โปรตีน (Protein)
อาหารประเภท protein มีความจำเป็นต่อการสร้างกล้ามเนื้อ และสร้างความต้านทานต่อ การอักเสบที่จะเกิดขึ้น ตลอดรวมถึงการซ่อมแซมและชดเชยส่วนที่เสื่อมสลายไป
เมื่อท่านรับประทาน protein เข้าสู่ร่างกาย มันจะถูกเปลี่ยน (breakdown) เป็นของเสียที่ เราเรียกว่า urea
เมื่อการทำงานของไตเริ่มเสื่อมลง จะมี urea ในกระแสเลือดสูงขึ้น
เมื่อคุณรับประทาน protein เข้าไปมาก จะทำให้มีสาร urea ในกระแสเลือดสูงขึ้นอย่าง รวดเร็ว และมันจะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายขึ้นมา
การรับประทาน protein ในปริมาณไม่มาก จะเป็นประโยชน์ในแง่ที่ว่า ไม่ไปเพิ่มระดับ urea ในกระแสเลือดให้เป็นภาระของไต
ตัวอย่างที่มีปริมาณ protein สูง:
• Meat
• Poultry
• Milk oroducts
• Eggs
ตัวอย่างที่มีปริมาณ protein น้อย
• Fresh bean
• Grains
• Vegetables
•
อาหารที่คุณจำเป็นจะต้องได้รับ คือ อาหารที่เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ ทั้งสูง และต่ำ ซึ่งแพทย์ จะเป็นคนแนะนำว่า ควรรับประทานในปริมาณเท่าใด
โดยกำหนดให้ โปรตีน 1 gram per kilo bodyweight per day
พอหลังจากคุณเริ่มทำ dialysis คุณจำเป็นต้องได้อาหารประเภทโปรตีนเพิ่ม
สำหรับคนไข้โรคไต ก่อนที่จะได้รับการฟอกเลือด (pre-dialysis) เราจำเป็นต้องจำกัด ปริมาณของโปรตีนด้วย
ทำไม ?
เพื่อถนอมพลังของไตเอาไว้นั่นเอง ไม่ต้องให้มันทำงานมากโดยใช่เหตุ
แต่พอหลังจากทำการฟอกเลือด เราต้องปรับใหม่ จะต้องเพิ่มปริมาณโปรตีนขึ้นอีก
เขาแนะไว้ว่า ควรรับประทานอาหารที่เป็นโปรตีนต่อวัน ให้มากถึง 2 gram per kilogram body weight (แพทย์ที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้พิจารณาเองว่า คนไข้รายนั้น ๆ ควร รับประทานโปราตีนมากน้อยแค่ใด) อาหารที่แพทย์แนะนำ คือ พวก ปลา สัตว์ปีก หรือไข่ ทุกมื้อ เพื่อ ชดเชยกล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อส่วนที่สูญสลายไป
แคลเซี่ยม และ ฟอสฟอรัส
(Calcium and Phosphorous)
สารแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัส เป็นสารที่สำคัญในร่างกายของคุณ จะต้องระวังอย่างใกล้ชิด เพราะ ในระยะแรก ๆ ของการเป็นโรคไตวาย จะพบว่าระดับของฟอสฟอรัสมักจะสูงมาก เป็นเหตุให้ เกิด:
• Low calcium เป็นสาเหตุทำมีการดึงเอา calcium ออกมาจากกระดูก ซึ่งจะทำให้โรคกระดูก (0steomalcia) กระดูกของคุณจะเปราะเป็นเหตุให้เกิดการแตกหักได้ง่าย
• Itching
คุณจำเป็นต้องจำกัดอาหารประเภทที่ทำด้วยนมสัตว์ลง เช่น พวก milk yogurt และ cheese
อาหารต่าง ๆ ที่มีส่วนประกอบของนมสัตว์บางชนิด อาจมีเกลือแร่ phosphorus ต่ำ เช่น พวก margarine, butter, cream cheese
คุณอาจจำเป็นต้องได้รับ calcium เสริม เพื่อป้องกันโรคกระดูก และให้ vitamin D ด้วย เพื่อเป็นการควบคุมความสมดุลระหว่าง calcium และ phosphorous ในกายของคุณ
Fluids (น้ำ)
ในระยะแรก ๆ ของการเป็นโรค Chronic kidney disease คุณไม่จำเป็นต้องจำกัด ปริมาณของน้ำที่คุณต้องดื่มหรอก
แต่ภายหลังจากที่ไตของคุณเริ่มย่ำแย่ลง หรือเมื่อตอนที่คุณจะทำการฟอกเลือด เมื่อนั้นแหละ จำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณน้ำที่คุณดื่ม เพราะในระหว่าง sessions ของการทำฟอกเลือด อาจ มีน้ำเก็บกักภายในร่างกายของคุณในปริมาณสูงได้ ก่อให้เกิดอันตรายได้
ต้องระวังให้ดี
แพทย์ของท่าน หรือพยาบาลที่ทำการฟอกไต จะเป็นคนบอกคุณเองว่า ในแต่ละวัน คุณควร ดื่มน้ำเท่าไร
แพทย์จะแนะนำให้ใช้แก้วน้ำขนาดเล็กสำหรับดื่มน้ำ เป็นการบังคับไม่ให้คุณดื่มมากเกิน
คำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการกระหายน้ำ
• หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม
• ดื่มน้ำเย็น ใส่น้ำแข็ง....ทำให้คุณดื่มทีละน้อย
• อยู่ในห้องที่เย็น เมื่ออาการร้อน
Salt and Sodium
(เกลือ และ โซเดียม)
การจำกัดพวกเกลือ หรือ โซเดียมในอาหาร ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่ตามจริงแล้ว เป็น การยาก ที่คนเราจะไม่กินเค็ม (เกลือ) เลย
คงจะให้กินได้บ้าง แต่อย่าให้มาก
เราสามารถจำกัดปริมาณเกลือในอาหารของเราได้ อย่างแน่นอน โดยกำจัดอาหารที่มีเกลือสูง ออกทิ้งไป
ที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่:
o อาหารที่ปรุงเรียบร้อย พร้อมให้เรารับประทานได้ทันที เช่น ham, sausage, bacon, corn beef, cheese, fast foods , soy sauce และอาหารจากภัตราคราอาหารจีน
ต้องหลีกให้พ้น...
เป็นบุญของชาวบ้าน ที่ไม่คุ้นเคยกับอาหารพวกนี้ เลยรอดตัวไป ไม่ต้องระมัดระวังอะไร
รู้ไว้ก็ไม่เป็นไร ?
o อาหารกระป๋องทั้งหลายก็ใช่ย่อย ไม่ว่าจะเป็นผัก หรือเป็นพวกเนื้อ ปลา หรือหอย ต่างมีเกลือในปริมาณสูงทั้งนั้น หากท่านจำเป็นต้องใช้มันเป็นอาหารของท่าน ก็สามารถกระทำได้ โดยล้างพวกเกลือออกให้หมด
o ในบางครั้ง เราคิดว่ามีปริมาณเกลือน้อย แต่มันก็มีในปริมาณไม่น้อยอยู่ดี เช่น พวก pizza
แม้ว่า จะมีเกลือดอยู่รอบตัวของคนเราก็ตาม
เราไม่จำเป็นต้องใช้เกลือในปริมาณสูงเลย
เราสามารถเลือกอาหารที่มีเกลือ (sodium) ต่ำเข้าไว้ เช่น ถ้าต้องการรับประทาน cheese ก็เลือกซื้อ white cheese และเลือกซื้ออาหารที่มีปริมาณเกลือต่ำได้
อาหารที่ปลอดภัยที่สุด คืออาหารสด ๆ ยังไม่มีการปรุงนั้นแหละ เช่น พวกเนื้อ สัตว์ปีก และ ปลา
ประเภทผักสด หรือผักที่เก็บไว้ในตู้เย็น ผลไม้ รวมทั้งน้ำผลไม้ ต่างใช้ได้ทั้งนั้น
พอมาถึงตอนจะปรุงอาหาร เช่น ทำซุบ หรือทำก้วยเตี๋ยว เราก็สามารถปรุงได้ตามใจชอบ โดยใส่เกลือให้น้อยที่สุด
นาน ๆ ครั้ง ก็อนุญาตให้ตัวเองเพิ่มความเค็มขึ้นนิดหนึ่ง...
ของหวาน เช่นพวกขนม ขนมปัง แพนเค้ก...ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่ preservative เพราะ มันมีเกลือเป็นส่วนผสมด้วยเสมอ
พอ ออกไปนอกบ้าน ไปช็อบปิ้ง อย่าลืมมองหาอาหารที่มีปริมาณของเกลือต่ำเอาไว้
นั่นเป็นเรื่องเกี่ยวกับพวกเกลือ
พอมาถึงเรื่องน้ำ ต้องจำกัดเช่น แพทย์เขาจะแนะนำให้ท่านดื่มน้ำในระหว่าง 4 – 8 แก้ว โดยประมาณอย่าให้มากกว่านั้น
เมื่อเราพูดเรื่องน้ำ เราหมายถึงทุกอย่างที่ละลายเป็นของเหลวในอุณภูมิของห้อง เช่น พวก icecream, gelatin desserts
(อย่าลืม แตงโมก็ให้น้ำในปริมาณสูง)
Potassium.
Potassium ก็มีความสำคัญไม่น้อย คนไข้โรคไตมักมีระดับโปรแตสเซี่ยม สูง มันทำให้เกิด อาการอ่อนแรง หากมีปริมาณมาก สามารถทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
เราไม่สามารถที่จะควบ potassium ได้ด้วยเหตุผลหลายอย่าง
ข้อแรก เราไม่สามารถสัมผัสรสของมันได้
ข้อสอง ผู้ขายอาหารให้แก่เรา เขาไม่ได้บอกปริมาณของ potassium เอาไว้
เมื่อเขาไม่บอก เราก็พยามจำเอาก็แล้วกันว่า Potassium มีเป็นจำนวนสูงมาก ใน พืช-ผัก ต่อไปนี้
Nuts
Avocado
Potatoes
Pumkin
Oranges
Kivi
Peaches
Apricots
และของแห้งทั้งหลาย เช่น fruit, bean, และ Lentil ( )
สำหรับอาหาร พืชผักที่มีปริมาณ Potassium ต่ำ ซึ่งปลอดภัยสำหรับคนเป็นโรคไตวาย ได้แก่:
Applesauce
Black berry
Grapes
Tangerines
Canned Pear & Pums
Asparagus
Green or waxed beans
Corn
Cauliflower
Cucumber
Water chestnut
Summer squash
สำหรับน้ำผลไม้ (Juice) ต่อไปนี้ก็ใช้ได้ เช่น apple, cranberry,lemonade,grape
เมื่อท่านดื่มแล้ว อย่าลืมนับปริมาณร่วมเข้าไปด้วย....
Phosphorous .
โดยทั่วไป เขาจะเริ่มพิจารณาเจ้า phosphorous เมื่อคนไข้รายนั้น ๆ เริ่มทำการฟอกเลือด ขึ้นแล้ว
เนื่องจากคนโรคไตมีแนวโน้มทำให้ระดับ phosphorous สูง
เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ทำให้มี phosphorous ในเลือดสูง เราจะต้องจำกัดอาหารต่อไปนี้:
Whole grains
Bran and barley
Nuts
Coconuts
Figs and dates
Raisins
Salmon
Sardines
Oysters
Organ meats
เครื่องดื่มที่มี phosphorous สูง คือ Cola drink
ส่วน soft drinks ต่อไปนี้ ปรากฏว่ามี phosphorous ต่ำ (ดื่มได้) เช่น 7-up, spirit และ club soda
หมายเหตุ: พวก meat, poultry, fish และ eggs เป็นพวกที่มีสาร phosphorous สูงก็ จริง แต่ “โปรตีน” เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไข้ที่ทำการฟอกเลือด ฉนั้นจึงไม่ควรจำกัดอาหาร พวกนี้
เนื่องจากเราจำเป็นต้องลดปริมาณ phosphorous ในเลือดลง แพทย์จึงมักสั่งให้คนไข้ รับประทานยาที่เป็น phosphorous – binder เช่น Tums แก่คนไข้ ให้รับประทานทุก ครั้งที่รับประทานอาหาร
จากรายการอาหารที่ห้ามเอาไว้ ใครก็ตามที่ได้รับฟังมาคงหดหู่ใจไม่น้อย
จะทำอย่างไรได้ละ...?
เพราะนั้น คือวิธีการที่จะถนอมไต หรือรักษาไตให้อยู่ในสภาพที่สามารถรับใช้ตัวเราได้นาน ที่สุดที่จะนานได้
ไม่เพียงเท่านั้น...ทำให้เรามีชีวิตยืนยาวขึ้นไปอีกด้วย
มีวิธีช่วยให้เรา ได้มีโอกาสรับประทานอาหารที่อร่อย และมีสุขภาพได้ทุกวัน
โดย รับประทานผัก ผลไม้สด (ชนิดที่มี phosphorous ต่ำ) เสริมด้วยอาหารว่าง
ที่มีปริมาณเกลือต่ำ..ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เรามีสุขภาพดีขึ้น
วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554
Uremia and bleeding : ทำไมแพทย์ผู้รักษา ไม่ให้ความสนใจ ?
ออกเล่นกอล์ฟในวันหยุดทีไร มีโอกาสได้เรียนรู้โรคภัยไข้เจ็บของพักพวก เพื่อนฝูง ตลอดรวมไปถึงญาติพี่น้องของเขาอีกด้วย
ถ้ารู้ก็บอกเพื่อนไป ไม่รู้ก็ต้องไปศึกษาหาความรู้ แล้ว อธิบายให้เพื่อนเข้าใจในวันหลัง
ถือว่าเป็นแรงกระตุ้นให้ศึกษาหาความรู้ใส่ตัวที่ดีอีกทางหนึ่ง
เพื่อนตั้งคำถามขึ้นว่า
“ญาติของเขาคนหนึ่งเป็นโรคไตถึงขั้นต้องฟอกเลือดอาทิตย์ 3 ครั้ง
ได้รับการรักษาด้วยวิธีการฟอกเลือดมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ประมาณ 1 เดือน เขามีอาการ ปัสสาวะเป็นเลือด บางครั้งมีเลือดออกเป็นลิ่มๆ
คนป่วย และญาติเป็นทุกข์กังวลใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
ถามแพทย์ และพยาบาลที่เกี่ยวข้อง เห็นท่านเหล่านั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เลย...
หมอช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยซิว่า ญาติของเขาเป็นอะไร ?
ขณะนี้ยังมีการปัสสาวะเป็นน้ำล้างเนื้อเกือบทุกวัน สลับกับการมีลิ่มเลือดเป็นบาง
ครั้ง”
นั่นคือคำถามที่ผมได้รับจากเพื่อน
จากการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ก็พบว่า นอกจากญาติเขาจะได้รับการฟอกเลือดแล้ว ยังได้รับสารอีกชนิดหนึ่งคือ ยา Innohep เพื่อป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด อีกด้วย
เราก็มาถึงบ้างอ้อทันที่ว่า: คนไข้ที่เป็นโรคไตวายนั้น นอกจากจะทำให้เกิดอาการเลือดออก หรือปัสสาวะเป็นเลือดได้แล้ว
จากการ ได้รับยา Innohep อีก ยาตัวนี้มันก็คือ Heparin (low molecular weight) ที่แพทย์ชอบให้เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อนในขณะที่ทำที่ทำการฟอกเลือด (hemodialysis)เชื่อว่า การที่เลือดออกทางปัสสาวะนั้นน่าจะมาจากการใช้ยาตัวนี้เอง
ได้แนะนำไปว่า ให้ลองปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาอีกครั้งว่า สมควรหยุดยาตัวนี้ดีหรือไม่?
นั่นคือคำแนะนำที่เรา ในฐานเพื่อนพอจะให้ได้
เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ได้อธิบายไป ลองพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ดู จะได้เข้าใจว่า ทำไมคนที่เป็นโรคไตวายจึงเกิดภายวะเลือดออก (bleeding)
Platelet dysfunction in uremia:
คนที่เป็นไตวายอาจมาพบแพทย์ด้วยเรื่องมีเลือดออก นั่นเป็นผลเนื่องมาจาก”เกล็ดเลือด” เกิดความผิดปกติขึ้น (platelet dysfunction) นั่นคือสาเหตุที่ทำให้คนไข้โรคไตวาย มีอาการเลือดออกได้...
อาการ...
ที่พบบ่อยที่สุด คือ เลือดออกทางกระเพาะอาหาร
หากเราทำการตรวจดูความสามารถในการหยุดเลือด (bleeding time)ของคนไข้พวกไตวายนี้ดู จะพบว่ามันจะใช้เวลายาวนานกว่าปกติ ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า มีความผิดปกติที่การทำงานของเกล็ดเลือดเป็นหลัก
ในกรณีเช่นนี้ หากคนไข้ได้รับการฟอกเลือด (dialysis) จะทำให้การทำงานของเกล็ดเลือดดีขึ้น เลือดที่ออกนั้นจะหยุดลงได้
“มันมีอะไรผิดปกติในเลือดของคนไข้ ที่เป็นโรคไตวายเหรอ ?” เพื่อนฝูงถาม
ในคนไข้ที่เป็นโรคไตวายนั้น พบว่ามีปัจจัยหลายตัวที่สามารถยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือด (platelet)ได้
เขาพบว่า คนเป็นโรคไตวายสร้าง Thromboxane A2 ได้น้อยลง
Thromboxane A2 มันทำหน้าอะไร ?
ThromboxaneA2 ถูกสร้างโดย activated Platelet และมีคุณสมบัติในการสร้างก้อนเลือดขึ้น และสารตัวนี้จะกระตุ้นให้เกล็ดเลือดจับตัวกันมากขึ้น....
ได้มีคนตัดเอาเส้นเลือดจากคนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าว(kidney failure) มาตรวจดูพบว่า มีปริมาณของสารที่เรียกว่า platelet-inhibitory prostaglandin เป็นจำนวนมาก ซึ่งสารตัวนี้สามารถลดการทำงานของเกล็ดเลือดได้
นอกจากนั้น ยังพบว่า เซลล์ endothelium ยังสร้างสาร Nitric Oxide ออกมาอีก และสารตัวนี้ยังทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดอีกเช่นกัน
ในการแก้ไข หรือการรักษาคนไข้พวกนี้ ส่วนหนึ่งสามารถกระทำได้โดยการให้เลือด(blood transfusion) หรือให้ erythropoietin therapy
Hemodialysis and Anticoagulation:
โดยทั่วไป คนไข้ที่ทำ Hemodialysis จะได้รับยาที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้มีเลือดจับตัวเป็นก้อน(anticoagulation) ด้วยเสมอ
นั่นเป็นหลักการที่เขาปฏิบัติกัน
คนไข้รายนี้ได้รับการฟอกเลือดอาทิตย์ละสามครั้ง พร้อมกับได้รับยาป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน
ยาที่ได้รับ คือ Low molecular weight warfarin ( Tinzaparin)
หลังจากได้รับการรักษาด้วยวิธีการ Dialysis + Anticoagulation ได้ระยะหนึ่ง
ปัญหาเกิดขึ้น คือ คนไข้เกิดปัสสาวะเป็นเลือด เป็นลิ่ม ๆ ตามด้วยปัสสาวะเป็นน้ำล้างเนื้อตลอด
คำถามที่เกิดขึ้นคือ คนไข้รายนี้จัดเป็นได้ High risk of bleeding หรือไม่?
ถ้ายอมรับว่าใช่....คนไข้รายนี้ควรหยุดยา Anticoagulation ซะ และให้ทำ Hemodialysis โดยไม่ต้องใช้ anticoagulation หรือ
ยอมรับความจริงว่า ได้อย่าง...เสียอย่าง
การฟอกเลือดนั้น จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น ด้วยการอาศัยเครื่องทำหน้าที่แทนไตที่วายไป ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากกาย รักษาความสมคุลย์ของสารต่าง ๆ ในร่างกาย และอื่นๆ
ในการฟอกเลือดนั้น เลือดของคนไข้เมื่อมันวิ่งผ่านไปตามท่อยาง เข้าสู่เครื่องฟอกเลือด มีแนวโน้มที่จะจับตัวกันเป็นก้อนเลือดอุดเครื่องมือ....ทำให้เครื่องมือนั้นหยุดการทำงานได้?
ประการสำคัญ การที่เลือดออกทางปัสสาวะ...แค่น้ำล้างเนื้อเท่านั้น คงไม่เป็นไร?
ด้วยเหตุดังกล่าวละมัง...แพทย์เจ้าของเครื่องจึงไม่ยุติการให้ยาลดการจับตัวของเม็ดเลือด (blood thinner)
นั่นคือความคิดเห็นทั่วๆ ไป หากผิดก็ขออภัย
ถ้ารู้ก็บอกเพื่อนไป ไม่รู้ก็ต้องไปศึกษาหาความรู้ แล้ว อธิบายให้เพื่อนเข้าใจในวันหลัง
ถือว่าเป็นแรงกระตุ้นให้ศึกษาหาความรู้ใส่ตัวที่ดีอีกทางหนึ่ง
เพื่อนตั้งคำถามขึ้นว่า
“ญาติของเขาคนหนึ่งเป็นโรคไตถึงขั้นต้องฟอกเลือดอาทิตย์ 3 ครั้ง
ได้รับการรักษาด้วยวิธีการฟอกเลือดมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ประมาณ 1 เดือน เขามีอาการ ปัสสาวะเป็นเลือด บางครั้งมีเลือดออกเป็นลิ่มๆ
คนป่วย และญาติเป็นทุกข์กังวลใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
ถามแพทย์ และพยาบาลที่เกี่ยวข้อง เห็นท่านเหล่านั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เลย...
หมอช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยซิว่า ญาติของเขาเป็นอะไร ?
ขณะนี้ยังมีการปัสสาวะเป็นน้ำล้างเนื้อเกือบทุกวัน สลับกับการมีลิ่มเลือดเป็นบาง
ครั้ง”
นั่นคือคำถามที่ผมได้รับจากเพื่อน
จากการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ก็พบว่า นอกจากญาติเขาจะได้รับการฟอกเลือดแล้ว ยังได้รับสารอีกชนิดหนึ่งคือ ยา Innohep เพื่อป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด อีกด้วย
เราก็มาถึงบ้างอ้อทันที่ว่า: คนไข้ที่เป็นโรคไตวายนั้น นอกจากจะทำให้เกิดอาการเลือดออก หรือปัสสาวะเป็นเลือดได้แล้ว
จากการ ได้รับยา Innohep อีก ยาตัวนี้มันก็คือ Heparin (low molecular weight) ที่แพทย์ชอบให้เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อนในขณะที่ทำที่ทำการฟอกเลือด (hemodialysis)เชื่อว่า การที่เลือดออกทางปัสสาวะนั้นน่าจะมาจากการใช้ยาตัวนี้เอง
ได้แนะนำไปว่า ให้ลองปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาอีกครั้งว่า สมควรหยุดยาตัวนี้ดีหรือไม่?
นั่นคือคำแนะนำที่เรา ในฐานเพื่อนพอจะให้ได้
เพื่อให้เข้าใจสิ่งที่ได้อธิบายไป ลองพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ดู จะได้เข้าใจว่า ทำไมคนที่เป็นโรคไตวายจึงเกิดภายวะเลือดออก (bleeding)
Platelet dysfunction in uremia:
คนที่เป็นไตวายอาจมาพบแพทย์ด้วยเรื่องมีเลือดออก นั่นเป็นผลเนื่องมาจาก”เกล็ดเลือด” เกิดความผิดปกติขึ้น (platelet dysfunction) นั่นคือสาเหตุที่ทำให้คนไข้โรคไตวาย มีอาการเลือดออกได้...
อาการ...
ที่พบบ่อยที่สุด คือ เลือดออกทางกระเพาะอาหาร
หากเราทำการตรวจดูความสามารถในการหยุดเลือด (bleeding time)ของคนไข้พวกไตวายนี้ดู จะพบว่ามันจะใช้เวลายาวนานกว่าปกติ ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่า มีความผิดปกติที่การทำงานของเกล็ดเลือดเป็นหลัก
ในกรณีเช่นนี้ หากคนไข้ได้รับการฟอกเลือด (dialysis) จะทำให้การทำงานของเกล็ดเลือดดีขึ้น เลือดที่ออกนั้นจะหยุดลงได้
“มันมีอะไรผิดปกติในเลือดของคนไข้ ที่เป็นโรคไตวายเหรอ ?” เพื่อนฝูงถาม
ในคนไข้ที่เป็นโรคไตวายนั้น พบว่ามีปัจจัยหลายตัวที่สามารถยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือด (platelet)ได้
เขาพบว่า คนเป็นโรคไตวายสร้าง Thromboxane A2 ได้น้อยลง
Thromboxane A2 มันทำหน้าอะไร ?
ThromboxaneA2 ถูกสร้างโดย activated Platelet และมีคุณสมบัติในการสร้างก้อนเลือดขึ้น และสารตัวนี้จะกระตุ้นให้เกล็ดเลือดจับตัวกันมากขึ้น....
ได้มีคนตัดเอาเส้นเลือดจากคนไข้ที่เป็นโรคดังกล่าว(kidney failure) มาตรวจดูพบว่า มีปริมาณของสารที่เรียกว่า platelet-inhibitory prostaglandin เป็นจำนวนมาก ซึ่งสารตัวนี้สามารถลดการทำงานของเกล็ดเลือดได้
นอกจากนั้น ยังพบว่า เซลล์ endothelium ยังสร้างสาร Nitric Oxide ออกมาอีก และสารตัวนี้ยังทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดอีกเช่นกัน
ในการแก้ไข หรือการรักษาคนไข้พวกนี้ ส่วนหนึ่งสามารถกระทำได้โดยการให้เลือด(blood transfusion) หรือให้ erythropoietin therapy
Hemodialysis and Anticoagulation:
โดยทั่วไป คนไข้ที่ทำ Hemodialysis จะได้รับยาที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้มีเลือดจับตัวเป็นก้อน(anticoagulation) ด้วยเสมอ
นั่นเป็นหลักการที่เขาปฏิบัติกัน
คนไข้รายนี้ได้รับการฟอกเลือดอาทิตย์ละสามครั้ง พร้อมกับได้รับยาป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน
ยาที่ได้รับ คือ Low molecular weight warfarin ( Tinzaparin)
หลังจากได้รับการรักษาด้วยวิธีการ Dialysis + Anticoagulation ได้ระยะหนึ่ง
ปัญหาเกิดขึ้น คือ คนไข้เกิดปัสสาวะเป็นเลือด เป็นลิ่ม ๆ ตามด้วยปัสสาวะเป็นน้ำล้างเนื้อตลอด
คำถามที่เกิดขึ้นคือ คนไข้รายนี้จัดเป็นได้ High risk of bleeding หรือไม่?
ถ้ายอมรับว่าใช่....คนไข้รายนี้ควรหยุดยา Anticoagulation ซะ และให้ทำ Hemodialysis โดยไม่ต้องใช้ anticoagulation หรือ
ยอมรับความจริงว่า ได้อย่าง...เสียอย่าง
การฟอกเลือดนั้น จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้น ด้วยการอาศัยเครื่องทำหน้าที่แทนไตที่วายไป ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากกาย รักษาความสมคุลย์ของสารต่าง ๆ ในร่างกาย และอื่นๆ
ในการฟอกเลือดนั้น เลือดของคนไข้เมื่อมันวิ่งผ่านไปตามท่อยาง เข้าสู่เครื่องฟอกเลือด มีแนวโน้มที่จะจับตัวกันเป็นก้อนเลือดอุดเครื่องมือ....ทำให้เครื่องมือนั้นหยุดการทำงานได้?
ประการสำคัญ การที่เลือดออกทางปัสสาวะ...แค่น้ำล้างเนื้อเท่านั้น คงไม่เป็นไร?
ด้วยเหตุดังกล่าวละมัง...แพทย์เจ้าของเครื่องจึงไม่ยุติการให้ยาลดการจับตัวของเม็ดเลือด (blood thinner)
นั่นคือความคิดเห็นทั่วๆ ไป หากผิดก็ขออภัย
Hemodialsis: สำหรับท่านที่เป็นโรคไตวาย
ตรวจคนไข้สูงอายุที่เป็นโรคไตวาย (Kidney Failure) คราใด
อดสงสาร -เศร้าใจไม่ได้
ไม่ให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นได้อย่างไร
ในเมื่อใบหน้าของคนไข้บ่งบอกถึง “ความอมโรค” ไร้เสียซึ่งความมี “ชีวิตชีวา” อย่างนั้น
ในฐานะแพทย์ผู้ทำการรักษา ไม่รู้จะทำอะไรได้มากไปกว่า การรักษาปลายเหตุ
ให้คำแนะนำ ป้องกันไม่ให้โรคเลวร้ายลงไปกว่าเดิม
จะดำเนินชีวิตอย่างไร จึงจะอยู่กับโรคเรื้อรัง ที่เป็นอยู่อย่างมีความสุขที่สุด เท่าที่จะเป็นได้
ปกติ “ไต” ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย
เมื่อมันเสื่อมลง การทำงานของมันย่อมลดลงตามส่วน
เสื่อมมากย่อมมีของเสียสะสมในร่างกายมาก....และ
ของเสียที่ขจัดออกมาไม่หมดนั้นแหละที่ ทำให้คนเรารู้สึกไม่สบาย เป็นเช่นที่ได้กล่าวมา
นั่นเป็นที่มาของ เรื่อง “hemodialysis”
การฟอกเลือด- hemodialysis เขาใช้เครื่องมือที่สามารถกรองเอาของเสียต่าง ๆ เช่น เกลือ และน้ำออกจากเลือด ซึ่งเราจะกระทำเมื่อไต ไม่อยู่ในสภาพที่สามารถทำงานได้ดีพอ
การฟอกเลือด เป็นวิธีที่เราพบเห็นกันมากที่สุด ที่แพทย์นำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรค ไตวายระยะสุดท้าย
อีกนั้นแหละ...มองเห็นคนไข้กลุ่มนี้เดินเข้าสู่สถานที่ฟอกไต
ระยะแรก ๆ เราเห็นมีจำนวนหลายสิบคน พอเวลาผ่านไป จำนวนคนไข้เหล่านั้นเริ่มลดลง
หายไปทีละคน สองคน
คงไม่ต้องอธิบายนะว่า ทำไมจำนวนคนจึงลดลงไป
ในการฟอกเลือด ท่านในฐานะคนไข้ ท่านจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของการรักษาอย่างเคร่ง คัดที่สุด รับประทานยาตามที่กำหนด
และบ่อยครั้ง ท่านต้องปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกินของท่าน
การฟอกเลือด จัดเป็นเรื่องของความรับผิดชอบที่สาหัสสากันมาก ท่านไม่จำเป็นต้อง รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ท่านจะต้องทำทำงานอย่างไกล่ชิดกับทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดที่สุด เพื่อให้การรักษาดำเนินไปเป็นอย่างดีที่สุด และ ปลอดภัย
ทำไมท่านจึงต้องฟอกเลือด?
ท่านจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือด เมื่อไตของท่านทำงานได้เพียง 10 – 15 % ของการ ทำงานทั้งหมดที่ไตสามารถทำงานได้ตามปกติ
โดยที่คุณไม่จำเป็นจะต้องมีอาการ หรืออาการแสดงของไตวาย (kidney failure) เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน บวม หรือเกิดอาการเหนื่อยเพลีย
การฟอกเลือด (hemodialysis) จะทำหน้าทีแทนการทำงานของไต เช่น การควบคุม ความดันโลหิต, รักษาความสมดุลของน้ำ และสารเกลือแร่ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระดับ potassium และ sodium
นอกจากนั้น เครื่องฟอกเลือด (hemodialysis) ยังรักษาความดุลของ “กรด-ด่าง” ในกาย ของท่านอีกด้วย
แพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นคนบอกท่านเองว่า ท่านควรได้รับการฟอกเลือดเมื่อใด
โดยมีปัจจัยหลายอย่าง เป็นตัวนำมาพิจารณา เช่น
- สุขภาพโดยรวมของท่าน
- การทำงานของไต (ซึ่งสามารถตรวจสอบจากการตรวจเลือด ดูระดับ creatinine และการตรวจปัสสาวะ)
- อาการ และอาการแสดง
- คุณภาพชีวิตของคุณ (quality of life) และ
- ความต้องการของคุณ (preference)
โดยปรกติแล้ว เราจะเริ่มทำการฟอกเลือด (hemodialysis) ก่อนที่ไตจะยุติการทำงาน จนถึงจุด ที่เกิดภาวะแทรกซ้อน อันเป็นอันตรายแก่ชีวิตเป็นอันขาด
การฟอกเลือดจะต้องเริ่มก่อนหน้านั้น
มาดูซิว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดไตวาย (kidney failure) ขึ้น
โรคเบาหวาน (diabetes)
ความดันโลหิตสูง (hypertension)
ไตอักเสบ (glomerulonephritis)
เส้นเลือดอักเสบ (vasculitis)
มีโรคถุงน้ำในไต (polycystic kidney disease)
อย่างไรก็ตาม ไตอาจล้มเหลวอย่างเฉียบพัน (acute Kidney failure)
ส่วนใหญ่จะพบเห็นในรายที่ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง, เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด, เกิดภายหลังเส้นเลือดของหัวใจถูกอุดตัน (heart attack) หรือจากปัญหารุนแรงอย่างอื่น
คนไข้ส่วนใหญ่ที่สมควรได้รับการฟอกเลือด มักจะมีปัญหาที่รุนแรงหลายอย่าง
การฟอกเลือด จะช่วยทำให้ชีวิตของคนไข้ยืนยาวขึ้น แต่การคาดว่า ชีวิตของคนไข้จะยืนยาว แค่ใดก็ตาม แต่ก็อายุสั้นกว่าคนทั่วไปอยู่ดี
ภาวะแทรกซ้อน จะเกิดจากการทำการฟอกเลือด หรืออาจเกิดจากตัวโรคของไตเอง เช่น
Low blood pressure. ผลข้างเคียงจากการทำ hemodialysis มักจะเกิดมีความดันตก (hypotension) โดยเฉพาะคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับอาการหายใจไม่ทั่วท้อง (shortness of breath), กล้ามเนื้อเกร็ง (muscle cramps), กล้ามเนื้อท้องเกร็ง (abdominal cramps) และมีอาการคลื่นไส้ หรือ อาเจียน
Muscle cramps . เป็นเรื่องแปลกที่คนไข้ได้รับการฟอกเลือด จะมีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยเราไม่ทราบสาเหตุว่ามันเกิดได้อย่างไร บางครั้ง อาการเกร็งของกล้ามเนื้ออาจทำให้ดีขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนความ “ถี่” และ “ความเข็มข้น” ของวิธีการฟอกเลือดก็อาจเป็นได้ ?
Itching. มีคนไข้เป็นจำนวนมากที่เกิดอาการคันตามผิวหนัง ซึ่งอาการส่วนใหญ่ จะเป็นมากในระหว่างทำการ... หรือภายหลังการฟอกไตเสร็จเรียบร้อย...
Sleep problems . คนไข้ที่ไดัรับการฟอกเลือด มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ บางครั้งอาจเป็นเพราะการนอนหลับของคนไข้พวกนี้ มักจะมีการหลับขาดช่วง (sleep apnea) หรือเป็นเพราะปวดกล้ามเนื้อ หรือความไม่สบายที่บริเวณขาทั้งสอง..
Anemia. คนไข้พวกนี้มักมีปัญหาโลหิตจาง ซึ่งเป็นปัญหาแทรกซ้อนของโรคไต และจากการทำการฟอกเลือด
กรณีไตวาย ซึ่งต้องลงเอยด้วยการฟอกเลือดนั้น พบว่า ปริมาณของฮอร์โมน
erythropoietin ลดลง ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงลดตาม นอกจากนั้น การจำกัดอาหาร ร่วมกับการดูดซึมพวกเหล็กจากลำไส้ลดลง ร่วมกับการสูญเสียเหล็ก และไวตามินจากการทำการฟอกไต เป็นเหตุให้เกิดโรคโลหิตจางได้อีกทางหนึ่ง
Bone diseases. ถ้าหากไตขอบท่านถูกทำลายลง มันจะไม่สามารถใช้วิตามิน ดี ทำการดูดซึมเอาสารแคลเซี่ยมได้ เป็นเหตุให้กระดูกเกิดอ่อนแอลง นอกจากนั้น การที่มีการสร้าง parathyroid hormone เพิ่มขึ้น ซึ่งมักเป็นผลแทรกซ้อนจากการเกิดไตวายนั้น จะมีผลต่อการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูกได้
High blood pressure (hypertension) ความดันโลหิตสูงมักเป็นสาเหตุหลักของการเกิดไตวาย ในขณะที่คุณเป็นโรคไตวายนั้น หากคุณ “กิน เกลือมากไป หรือดื่มน้ำมากไปในขณะที่ไตของคุณอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่นั้น ยิ่งเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ไตมากยิ่งขึ้น ทำให้มันทรุด-เลวลงไปอีก หากไม่รักษา จะนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภาวะที่น่ากลัวเพิ่มอีกสองอย่าง คือ heart attack และ stroke
Fluid overload. หากคุณดื่มน้ำมากเกินกว่าที่กำหนดเอาไว้ คุณก็จะทำให้มีน้ำในกายมากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณได้ เช่น เกิดหัวใจล้มเหลว และมีน้ำท้วมปอด (pulmonary edema)
Inflammation of the membrane surrounding the heart (pericarditis). การที่คนไข้รายใด ไม่ได้รับการฟอกไตได้เพียงพอ จะก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื้อ “หุ้มหัวใจ” ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ในการบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
High potassium levels (hyperkalemia). ไตจะทำหน้าที่ขับโปแตสเซี่ยมที่มากเกินออกทิ้งไป ในกรณีที่ไตทั้งสองเสียการทำงานไป คุณไม่สามารถกินอาหารที่มีโปแตสเซี่ยมได้เกินกว่าที่แนะนำได้ เพราะจะทำให้สารดังกล่าวตกค้างในกระแสเลือดในปริมาณสูง และในรายที่สารโปแตสเซี่ยมสูงเกินไป สามารถทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
Infection. ตรงตำแหน่งที่เจาะเลือดให้ผ่านเข้าเครื่องฟอกเลือด อาจเกิดการอักเสบขึ้นได้ ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ
Depression. คนไข้ส่วนใหญ่ที่ตกอยู่ในสภาพต้องฟอกเลือด จะตกอยู่ภายใต้ความกดดัน- เครียด ซึมหรือหดหู่ใจ ทำให้คนรอบข้างอดสงสารไม่ได้เลย
Amyloidosis. กล่าวกันว่า คนไข้ที่ได้รับการฟอกเลือดเป็นเวลานาน มีโอกาสเกิดโรค amyloidosis (dialysis-related amyoidosis) เมื่อมีสารโปรตีนไปเกาะตามเอ็น (tendons) ตามข้อ (joints) ทำให้คนไข้เกิดอาการปวดตามข้อ เคลื่อนไหวลำบาก
ภาวะเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นกับคนไข้โรคไต ซึ่งได้รับการฟอกเลือดนานมากกว่า
What is your expect?
ท่านสามารถรับการฟอกเลือดจากศูนย์ฟอกเลือด หรือจากโรงพยาบาล หรือที่บ้าน
มีคนไข้จำนวนไม่น้อย ได้รับการฟอกเลือดอาทิตย์ละ 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้เวลา 3 – 5 ชั่วโมง วิธีการเช่นนี้เราเรียกว่าเป็น conventional hemodialysis.
ในกรณีที่ทำ hemodialysis ทุกวัน กระทำอาทิตย์ละ 6 – 7 ครั้ง แต่ละครั้งจะเวลาสั้นกว่า คือ 2-3 ชั่วโมง
ในระยะหลังนี้ ได้มีเครื่องมือฟอกเลือดเครื่องเล็ก ๆ สามารถทำการฟอกเลือดที่บ้านได้
จากการฝึกพิเศษ ให้ใครบางคนสามารถช่วยเหลือคุณทำการฟอกไต ให้คุณสามารถกระทำที่บ้านได้
ประโยชน์ที่ได้จากวิธีการนี้ คือไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาล หรือคุณอาจทำการฟอกเลือดในขณะนอนหลับที่บ้านของคุณ
การทำ hemodialysis ไม่ทำให้คุณเจ็บหรอก แต่คุณอาจมีอาการคลื่นไส้ และมีกล้ามเนื้อเกร็งในขณะที่เลือดถูกดึงออกจากร่างกายของคุณ โดยเฉพาะการฟอกเลือด 3 ครั้งต่ออาทิตย์แทนทีจะทำ 6 – 7 ครั้งต่ออาทิตย์
Results (ผลของการรักษา)
ถ้าท่านเกิดโรคไตล้มเหลวอย่างเฉียบพลัน (acute renal failure) ท่านอาจได้รับการฟอกเลือดในระยะสั้น ๆ จนกว่าไตของบท่านจะฟื้นตัว
สำหรับท่านที่เป็นโรคไตงาย (เรื้อรัง) จะได้รับการฟอกเลือดไปตลอดชีวิตของท่าน หรือจนกว่าท่านจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต
ฉะนั้นท่านจะต้องปรับตัวให้คุ้นเคยกับมันเสีย
แม้ว่า การฟอกเลือดตามปกติที่เคยปฏิบัติเป็นงานประจำ เป็นวิธีการที่ใครๆ ก็รู้จัก แต่จากการศึกษาพบว่า การฟอกเลือดบ่อยๆ จะมีความสัมพันธุ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอาการต่าง ๆ ลง
ทำให้ท่านรับประทานอาหารได้ดีขึ้น นอนหลับ มีพละกำลังเพิ่มขึ้น สามารถทำงานได้ตามปกติ
ในขณะที่อาการกล้ามเนื้อปั้น ปวดศีรษะ หายใจไม่สะดวก อาการเหล่านี้จะลดลงไป
ในขณะที่ท่านทำการฟอกเลือด คุณต้องรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถทำให้ของการฟอกเลือดได้ผลดี โดยนักโภชนาการสามารถช่วยคุณในเรื่องอาหารการกินของคุณ โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของน้ำหนัก สมรรถภาพที่เหลือของไต ตลอดรวมไปถึง โรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันสูง
การรับประทานยาตามหมอสั่ง ก็เป็นเรื่องสำคัญเพื่อผลที่ดี และในขณะที่ทำการฟอกเลือดอยู่นั้น คุณอาจได้รับยาหลายอย่าง เพื่อรักษาความสมดุลของน้ำ สาร electrolyte เช่น sodium และ potassium
แพทย์อาจสั่งยาป้องกันการจับตัวของเม็ดเลือด (blood thinner) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมีการสร้างก้อนเลือด ไปอุดตันในสายยาง และเครื่องได้ นอกจากนั้น แพทย์จะให้ยาเพื่อลดระดับความดันที่สูง และ สาร erythropoietin เพื่อกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นใหม่
กล่าวโดยสรุป
การฟอกเลือด ช่วยทำให้ชีวิตของท่าน ให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น อายุยืนยาว ขึ้น ท่านจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือด เมื่อไตของท่านทำงานได้เพียง 10–15 % ของการ ทำงานทั้งหมดที่ไตสามารถทำงานได้ตามปกติ
โดยที่คุณไม่รอให้มีอาการแสดงของไตวายปรากฏก่อนหรอก การฟอกเลือด (hemodialysis) จะทำหน้าทีแทนการทำงานของไต เช่น การควบคุมความดันโลหิต, รักษาความสมดุลของน้ำ และสารเกลือแร่ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระดับ potassium และ sodium ตลอดรวมไปถึง การรักษา ความสมดุลของกรด และด่างในกายคุณอีกด้วย
อดสงสาร -เศร้าใจไม่ได้
ไม่ให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นได้อย่างไร
ในเมื่อใบหน้าของคนไข้บ่งบอกถึง “ความอมโรค” ไร้เสียซึ่งความมี “ชีวิตชีวา” อย่างนั้น
ในฐานะแพทย์ผู้ทำการรักษา ไม่รู้จะทำอะไรได้มากไปกว่า การรักษาปลายเหตุ
ให้คำแนะนำ ป้องกันไม่ให้โรคเลวร้ายลงไปกว่าเดิม
จะดำเนินชีวิตอย่างไร จึงจะอยู่กับโรคเรื้อรัง ที่เป็นอยู่อย่างมีความสุขที่สุด เท่าที่จะเป็นได้
ปกติ “ไต” ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย
เมื่อมันเสื่อมลง การทำงานของมันย่อมลดลงตามส่วน
เสื่อมมากย่อมมีของเสียสะสมในร่างกายมาก....และ
ของเสียที่ขจัดออกมาไม่หมดนั้นแหละที่ ทำให้คนเรารู้สึกไม่สบาย เป็นเช่นที่ได้กล่าวมา
นั่นเป็นที่มาของ เรื่อง “hemodialysis”
การฟอกเลือด- hemodialysis เขาใช้เครื่องมือที่สามารถกรองเอาของเสียต่าง ๆ เช่น เกลือ และน้ำออกจากเลือด ซึ่งเราจะกระทำเมื่อไต ไม่อยู่ในสภาพที่สามารถทำงานได้ดีพอ
การฟอกเลือด เป็นวิธีที่เราพบเห็นกันมากที่สุด ที่แพทย์นำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรค ไตวายระยะสุดท้าย
อีกนั้นแหละ...มองเห็นคนไข้กลุ่มนี้เดินเข้าสู่สถานที่ฟอกไต
ระยะแรก ๆ เราเห็นมีจำนวนหลายสิบคน พอเวลาผ่านไป จำนวนคนไข้เหล่านั้นเริ่มลดลง
หายไปทีละคน สองคน
คงไม่ต้องอธิบายนะว่า ทำไมจำนวนคนจึงลดลงไป
ในการฟอกเลือด ท่านในฐานะคนไข้ ท่านจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของการรักษาอย่างเคร่ง คัดที่สุด รับประทานยาตามที่กำหนด
และบ่อยครั้ง ท่านต้องปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกินของท่าน
การฟอกเลือด จัดเป็นเรื่องของความรับผิดชอบที่สาหัสสากันมาก ท่านไม่จำเป็นต้อง รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ท่านจะต้องทำทำงานอย่างไกล่ชิดกับทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดที่สุด เพื่อให้การรักษาดำเนินไปเป็นอย่างดีที่สุด และ ปลอดภัย
ทำไมท่านจึงต้องฟอกเลือด?
ท่านจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือด เมื่อไตของท่านทำงานได้เพียง 10 – 15 % ของการ ทำงานทั้งหมดที่ไตสามารถทำงานได้ตามปกติ
โดยที่คุณไม่จำเป็นจะต้องมีอาการ หรืออาการแสดงของไตวาย (kidney failure) เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน บวม หรือเกิดอาการเหนื่อยเพลีย
การฟอกเลือด (hemodialysis) จะทำหน้าทีแทนการทำงานของไต เช่น การควบคุม ความดันโลหิต, รักษาความสมดุลของน้ำ และสารเกลือแร่ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระดับ potassium และ sodium
นอกจากนั้น เครื่องฟอกเลือด (hemodialysis) ยังรักษาความดุลของ “กรด-ด่าง” ในกาย ของท่านอีกด้วย
แพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นคนบอกท่านเองว่า ท่านควรได้รับการฟอกเลือดเมื่อใด
โดยมีปัจจัยหลายอย่าง เป็นตัวนำมาพิจารณา เช่น
- สุขภาพโดยรวมของท่าน
- การทำงานของไต (ซึ่งสามารถตรวจสอบจากการตรวจเลือด ดูระดับ creatinine และการตรวจปัสสาวะ)
- อาการ และอาการแสดง
- คุณภาพชีวิตของคุณ (quality of life) และ
- ความต้องการของคุณ (preference)
โดยปรกติแล้ว เราจะเริ่มทำการฟอกเลือด (hemodialysis) ก่อนที่ไตจะยุติการทำงาน จนถึงจุด ที่เกิดภาวะแทรกซ้อน อันเป็นอันตรายแก่ชีวิตเป็นอันขาด
การฟอกเลือดจะต้องเริ่มก่อนหน้านั้น
มาดูซิว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดไตวาย (kidney failure) ขึ้น
โรคเบาหวาน (diabetes)
ความดันโลหิตสูง (hypertension)
ไตอักเสบ (glomerulonephritis)
เส้นเลือดอักเสบ (vasculitis)
มีโรคถุงน้ำในไต (polycystic kidney disease)
อย่างไรก็ตาม ไตอาจล้มเหลวอย่างเฉียบพัน (acute Kidney failure)
ส่วนใหญ่จะพบเห็นในรายที่ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง, เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด, เกิดภายหลังเส้นเลือดของหัวใจถูกอุดตัน (heart attack) หรือจากปัญหารุนแรงอย่างอื่น
คนไข้ส่วนใหญ่ที่สมควรได้รับการฟอกเลือด มักจะมีปัญหาที่รุนแรงหลายอย่าง
การฟอกเลือด จะช่วยทำให้ชีวิตของคนไข้ยืนยาวขึ้น แต่การคาดว่า ชีวิตของคนไข้จะยืนยาว แค่ใดก็ตาม แต่ก็อายุสั้นกว่าคนทั่วไปอยู่ดี
ภาวะแทรกซ้อน จะเกิดจากการทำการฟอกเลือด หรืออาจเกิดจากตัวโรคของไตเอง เช่น
Low blood pressure. ผลข้างเคียงจากการทำ hemodialysis มักจะเกิดมีความดันตก (hypotension) โดยเฉพาะคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับอาการหายใจไม่ทั่วท้อง (shortness of breath), กล้ามเนื้อเกร็ง (muscle cramps), กล้ามเนื้อท้องเกร็ง (abdominal cramps) และมีอาการคลื่นไส้ หรือ อาเจียน
Muscle cramps . เป็นเรื่องแปลกที่คนไข้ได้รับการฟอกเลือด จะมีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยเราไม่ทราบสาเหตุว่ามันเกิดได้อย่างไร บางครั้ง อาการเกร็งของกล้ามเนื้ออาจทำให้ดีขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนความ “ถี่” และ “ความเข็มข้น” ของวิธีการฟอกเลือดก็อาจเป็นได้ ?
Itching. มีคนไข้เป็นจำนวนมากที่เกิดอาการคันตามผิวหนัง ซึ่งอาการส่วนใหญ่ จะเป็นมากในระหว่างทำการ... หรือภายหลังการฟอกไตเสร็จเรียบร้อย...
Sleep problems . คนไข้ที่ไดัรับการฟอกเลือด มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ บางครั้งอาจเป็นเพราะการนอนหลับของคนไข้พวกนี้ มักจะมีการหลับขาดช่วง (sleep apnea) หรือเป็นเพราะปวดกล้ามเนื้อ หรือความไม่สบายที่บริเวณขาทั้งสอง..
Anemia. คนไข้พวกนี้มักมีปัญหาโลหิตจาง ซึ่งเป็นปัญหาแทรกซ้อนของโรคไต และจากการทำการฟอกเลือด
กรณีไตวาย ซึ่งต้องลงเอยด้วยการฟอกเลือดนั้น พบว่า ปริมาณของฮอร์โมน
erythropoietin ลดลง ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงลดตาม นอกจากนั้น การจำกัดอาหาร ร่วมกับการดูดซึมพวกเหล็กจากลำไส้ลดลง ร่วมกับการสูญเสียเหล็ก และไวตามินจากการทำการฟอกไต เป็นเหตุให้เกิดโรคโลหิตจางได้อีกทางหนึ่ง
Bone diseases. ถ้าหากไตขอบท่านถูกทำลายลง มันจะไม่สามารถใช้วิตามิน ดี ทำการดูดซึมเอาสารแคลเซี่ยมได้ เป็นเหตุให้กระดูกเกิดอ่อนแอลง นอกจากนั้น การที่มีการสร้าง parathyroid hormone เพิ่มขึ้น ซึ่งมักเป็นผลแทรกซ้อนจากการเกิดไตวายนั้น จะมีผลต่อการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูกได้
High blood pressure (hypertension) ความดันโลหิตสูงมักเป็นสาเหตุหลักของการเกิดไตวาย ในขณะที่คุณเป็นโรคไตวายนั้น หากคุณ “กิน เกลือมากไป หรือดื่มน้ำมากไปในขณะที่ไตของคุณอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่นั้น ยิ่งเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ไตมากยิ่งขึ้น ทำให้มันทรุด-เลวลงไปอีก หากไม่รักษา จะนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภาวะที่น่ากลัวเพิ่มอีกสองอย่าง คือ heart attack และ stroke
Fluid overload. หากคุณดื่มน้ำมากเกินกว่าที่กำหนดเอาไว้ คุณก็จะทำให้มีน้ำในกายมากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณได้ เช่น เกิดหัวใจล้มเหลว และมีน้ำท้วมปอด (pulmonary edema)
Inflammation of the membrane surrounding the heart (pericarditis). การที่คนไข้รายใด ไม่ได้รับการฟอกไตได้เพียงพอ จะก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื้อ “หุ้มหัวใจ” ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ในการบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
High potassium levels (hyperkalemia). ไตจะทำหน้าที่ขับโปแตสเซี่ยมที่มากเกินออกทิ้งไป ในกรณีที่ไตทั้งสองเสียการทำงานไป คุณไม่สามารถกินอาหารที่มีโปแตสเซี่ยมได้เกินกว่าที่แนะนำได้ เพราะจะทำให้สารดังกล่าวตกค้างในกระแสเลือดในปริมาณสูง และในรายที่สารโปแตสเซี่ยมสูงเกินไป สามารถทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
Infection. ตรงตำแหน่งที่เจาะเลือดให้ผ่านเข้าเครื่องฟอกเลือด อาจเกิดการอักเสบขึ้นได้ ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ
Depression. คนไข้ส่วนใหญ่ที่ตกอยู่ในสภาพต้องฟอกเลือด จะตกอยู่ภายใต้ความกดดัน- เครียด ซึมหรือหดหู่ใจ ทำให้คนรอบข้างอดสงสารไม่ได้เลย
Amyloidosis. กล่าวกันว่า คนไข้ที่ได้รับการฟอกเลือดเป็นเวลานาน มีโอกาสเกิดโรค amyloidosis (dialysis-related amyoidosis) เมื่อมีสารโปรตีนไปเกาะตามเอ็น (tendons) ตามข้อ (joints) ทำให้คนไข้เกิดอาการปวดตามข้อ เคลื่อนไหวลำบาก
ภาวะเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นกับคนไข้โรคไต ซึ่งได้รับการฟอกเลือดนานมากกว่า
What is your expect?
ท่านสามารถรับการฟอกเลือดจากศูนย์ฟอกเลือด หรือจากโรงพยาบาล หรือที่บ้าน
มีคนไข้จำนวนไม่น้อย ได้รับการฟอกเลือดอาทิตย์ละ 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้เวลา 3 – 5 ชั่วโมง วิธีการเช่นนี้เราเรียกว่าเป็น conventional hemodialysis.
ในกรณีที่ทำ hemodialysis ทุกวัน กระทำอาทิตย์ละ 6 – 7 ครั้ง แต่ละครั้งจะเวลาสั้นกว่า คือ 2-3 ชั่วโมง
ในระยะหลังนี้ ได้มีเครื่องมือฟอกเลือดเครื่องเล็ก ๆ สามารถทำการฟอกเลือดที่บ้านได้
จากการฝึกพิเศษ ให้ใครบางคนสามารถช่วยเหลือคุณทำการฟอกไต ให้คุณสามารถกระทำที่บ้านได้
ประโยชน์ที่ได้จากวิธีการนี้ คือไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาล หรือคุณอาจทำการฟอกเลือดในขณะนอนหลับที่บ้านของคุณ
การทำ hemodialysis ไม่ทำให้คุณเจ็บหรอก แต่คุณอาจมีอาการคลื่นไส้ และมีกล้ามเนื้อเกร็งในขณะที่เลือดถูกดึงออกจากร่างกายของคุณ โดยเฉพาะการฟอกเลือด 3 ครั้งต่ออาทิตย์แทนทีจะทำ 6 – 7 ครั้งต่ออาทิตย์
Results (ผลของการรักษา)
ถ้าท่านเกิดโรคไตล้มเหลวอย่างเฉียบพลัน (acute renal failure) ท่านอาจได้รับการฟอกเลือดในระยะสั้น ๆ จนกว่าไตของบท่านจะฟื้นตัว
สำหรับท่านที่เป็นโรคไตงาย (เรื้อรัง) จะได้รับการฟอกเลือดไปตลอดชีวิตของท่าน หรือจนกว่าท่านจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต
ฉะนั้นท่านจะต้องปรับตัวให้คุ้นเคยกับมันเสีย
แม้ว่า การฟอกเลือดตามปกติที่เคยปฏิบัติเป็นงานประจำ เป็นวิธีการที่ใครๆ ก็รู้จัก แต่จากการศึกษาพบว่า การฟอกเลือดบ่อยๆ จะมีความสัมพันธุ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอาการต่าง ๆ ลง
ทำให้ท่านรับประทานอาหารได้ดีขึ้น นอนหลับ มีพละกำลังเพิ่มขึ้น สามารถทำงานได้ตามปกติ
ในขณะที่อาการกล้ามเนื้อปั้น ปวดศีรษะ หายใจไม่สะดวก อาการเหล่านี้จะลดลงไป
ในขณะที่ท่านทำการฟอกเลือด คุณต้องรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถทำให้ของการฟอกเลือดได้ผลดี โดยนักโภชนาการสามารถช่วยคุณในเรื่องอาหารการกินของคุณ โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของน้ำหนัก สมรรถภาพที่เหลือของไต ตลอดรวมไปถึง โรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันสูง
การรับประทานยาตามหมอสั่ง ก็เป็นเรื่องสำคัญเพื่อผลที่ดี และในขณะที่ทำการฟอกเลือดอยู่นั้น คุณอาจได้รับยาหลายอย่าง เพื่อรักษาความสมดุลของน้ำ สาร electrolyte เช่น sodium และ potassium
แพทย์อาจสั่งยาป้องกันการจับตัวของเม็ดเลือด (blood thinner) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมีการสร้างก้อนเลือด ไปอุดตันในสายยาง และเครื่องได้ นอกจากนั้น แพทย์จะให้ยาเพื่อลดระดับความดันที่สูง และ สาร erythropoietin เพื่อกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นใหม่
กล่าวโดยสรุป
การฟอกเลือด ช่วยทำให้ชีวิตของท่าน ให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น อายุยืนยาว ขึ้น ท่านจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือด เมื่อไตของท่านทำงานได้เพียง 10–15 % ของการ ทำงานทั้งหมดที่ไตสามารถทำงานได้ตามปกติ
โดยที่คุณไม่รอให้มีอาการแสดงของไตวายปรากฏก่อนหรอก การฟอกเลือด (hemodialysis) จะทำหน้าทีแทนการทำงานของไต เช่น การควบคุมความดันโลหิต, รักษาความสมดุลของน้ำ และสารเกลือแร่ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระดับ potassium และ sodium ตลอดรวมไปถึง การรักษา ความสมดุลของกรด และด่างในกายคุณอีกด้วย
วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554
Low Diastolic blood pressure:
จากการได้พบเห็นคนไข้สูงอายุ ได้พบเห็นความจริงที่ย้ำเตือน...สอนให้เราได้ทราบว่า
“ทุกสิ่ง ทุกอย่างในโลก ที่มันเกิดความผิดปกติ หรือ การแปรปรวนไปนั้น
ส่วนใหญ่เป็นเพราะความไม่พอดี...หาใช่เรื่องอื่นใดไม่”
ฉะนั้น...ธรรมชาติจึงสอนเราว่า ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เราต้อง:
“ทำให้เกิดความพอดีให้ได้”
ตัวอย่างหนึ่ง ที่เห็นในคนสูงอายุ คือ เรื่องความดันโลหิต
ถ้ามันสูงเกินพอดี....มันก็ทำให้เจ้าตัว เกิดความไม่สบาย
ถ้ามันต่ำกว่าปกติ...มันก็ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้เช่นเดียวกัน
ความดันโลหิตของคนเรา วัดได้เป็น “บน/ล่าง” เช่น 120/80 มีหน่วยวัดเป็น mm Hg
เลขตัวบนเป็นความดันที่เกิดจากการบีบตัว (contraction)ของกล้ามเนื้อหัว ทำให้เลือดที่มีออกซิเจน และสารอาหาร ถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เรียก systolic blood pressure
ส่วนตัวล่าง หมายถึงความดันที่เกิดขึ้นในขณะที่กล้ามเนื้อหยุดการบีบตัว หรือเป็นความดันที่เกิดขึ้นในระหว่างการบีบตัว
เรียก diastolic blood pressure
ช่วงนี้แหละ ที่เลือดไหลย้อนกลับมายังเส้นเลือด aorta…และเป็นช่วงที่เลือดวิ่งผ่านไปตามเป็นเลือดของหัว-carotid artery เพื่อให้เลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ถ้าความดันในช่วงนี้มันลดลงมากเกินไป....จะส่งผลกระทบต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้...
เมื่อเราวัดความดันโลหิต หากมันต่ำกว่าปกติ เราเรียกว่า “ hypotension”
ถ้า diastolic pressure มีค่าต่ำกว่า 60 สามารถบ่งบอกให้รู้ว่า เป็น hypotension
ผู้เชี่ยวชาญได้อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้:
เมื่อไรก็ตามที่ความดันลดลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดอันตรายแก่คนไข้ได้ เช่นการเปลี่ยนแปลงความดันเพียง 20 mm Hg จากที่เคยวัดได้ เช่น จาก 130 mm Hg ไปเป็น 110 mm Hg สามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียน เป็นลม (fainting)
เหตุการณ์เช่นนี้ สามารถพบได้ในกรณีที่มีการเสียเลือดอย่างรวดเร็ว และอย่างมาก หรือเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง หรือ จากอาการแพ้อย่างมาก สามารถเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
สำหรับนักกีฬา หรือคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มักจะมีความดันต่ำ และการเต้นของหัวใจช้า นั่นเป็นเรื่องปกติ
ในทางตรงกันข้าม การที่คนมีความดันต่ำ เป็นอาการแสดงถึงโรคที่รุนแรงที่ซ่อนตัวอยู่ ซึ่งสามารถทำลายชีวิตคนได้
ในกรณีที่เกิดมีเลือดไหลย้อนกลับไปยังเส้นเลือด aorta ในช่วงที่หัวใจหยุดการบีบ หรือหดตัว คือในช่วงที่เราเรียก diastole หากคนไข้มีความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจ aortic จะทำให้เลือดย้อนกลับสู่หัวใจสู่ห้องล่าง (ventricle) เป็นเหตุให้เกิด diastolic hypotension ขึ้น จะกระทบต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้
สาเหตุอย่างอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความดันตัวล่างต่ำ (diastolic hypotension) ได้แก่
o ตั้งครรภ์ (pregnancy) : ใน ระยะ 24 อาทิตย์ ที่เกิดตั้งท้อง พบว่า มีเหตุการณ์หลายอย่างบังเกิดขึ้น เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการตั้งท้อง ความดันมีแนวโน้มที่จะลดลง โดย systolic pressure จะลดลงประมาณ 10 จุด และ diastolic pressure จะลดลงประมาณ 10 – 15 จุด
นี้เป็นเหตุการณ์ปกติ และจะกลับสู่สภาพเดิมเมื่อคลอดบุตรแล้ว
o โรคหัวใจ (Heart problems): โรคหัวใจบางชนิด อาจเป็นเหตุให้เกิดความดันต่ำ เช่น การเต้นของหัวใจช้า (bradycardia) , โรคลิ้นหัวใจ (heart valve problems) รวมไปถึงหัวใจล้มเหลว (heart failure) และเส้นเลือดของหัวใจอุดตัน (heart attack)
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ อาจทำให้ความดันลดลง เป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถได้รับเลือดได้ตามปกติ
o Endocrine problems เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง หรือไทรอยด์เป็นพิษ ต่างทำให้ความดันลดลงได้
นอกจากนี้ ภายใต้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ก็สามารถทำให้ความดันลดต่ำลงได้เช่นกัน
o Medications : Thiazide- Diuretic, ยาลดความดัน (antihypertensive drugs) ลดความดันลงมากเกินไป, beta- blocker (เช่น หยุดยาโดยกะทันหัน) และ Viagra
o Dehydrated ภาวะขาดน้ำ สามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียน และเหนื่อยเพลียได้ , การเป็นไข้ อาเจียน, ท้องล่วง หรือใช้ยาขับปัสสาวะมากไป ก็สามารถทำให้คนไข้เสียน้ำ เกิดภาวะ dehydrated ได้
o Loss blood การเสียเลือด เลือดตกภายในร่างกาย ในปริมาณมาก สามารถทำให้ความดันลดต่ำลงได้
o Anaphylaxis เช่นเกิดจากการแพ้ยา สามารถก่อ ให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต และทำให้ความดันลดลงได้
ถ้าหากความดันของท่าน ต่ำมากๆ สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากหัวใจ และสมอง ขาดออกซิเจน และสารอาหาร ทำให้คุณจะเกิดมีอาการ เช่น “วิงเวียน” “เป็นลมหน้ามืด” จนกระ ทั้งถึง “shock” ได้
จัดเป็นสภาวะที่มีอันตราย
เมื่อเกิดภาวะความดันลด ต่ำลงมาก ๆ จนเกิดอาการขึ้น ท่านจะทำอย่างไร?
ท่านสามารถทำได้หลายอย่าง เป็นต้นว่า
o “ให้ยารักษา” หรือ
o “ช่วยเหลือตัวท่านเอง”
โดยเฉพาะคนสูงอายุ เรามักพบคนเป็น isolated systolic hypertension กันบ่อยมาก โดยมี pulse pressure กว้างกว่าปกติ และ
จากการรักษาความดันโลหิตสูงชนิด isolated systolic hypertension ทำให้diastolic blood pressure ลดต่ำด้วย บางรายต่ำลงมากเกินไป เป็นเหตุให้เกิดอันตรายขึ้น
ด้วยเหตุนี้เอง จึงเกิดมีคำถามว่า เราจะลดความดัน systolic blood pressure ลงมาถึงระดับใดจึง จะพอดี ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่คนไข้ได้
จากการศึกษา พบว่า คนไข้ที่เป็น isolated systolic hypertension ได้รับการรักษาทำให้ความ ดันตัวล่าง- diastolic blood pressure ลดลงต่ำกว่า 70 mm Hg พบว่า คนไข้มี ภาวะแทรกซ้อนทางระบบ cardiovascular สูง
แต่หากทำให้ความดัน – diastolic blood pressure ให้ลดลงน้อยกว่า 55 mmHg เมื่อใด พบว่าเกิดมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบ cardiovascular มากเป็นสองเท่า
ดังนั้น ในการลดความดันลงนั้น เราจะไม่ให้ความดัน diastolic ลดลงต่ำกว่า 55 mm Hg
ถ้าหากท่านไม่มีอาการอะไรเลย หรือมีอาการแต่เพียงน้อยนิด เช่น มีอาการวิงเวียนเป็นบางครั้ง
ท่านก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรทั้งนั้น
การรักษาด้วยยา:
รายทีอาการไม่มาก หรือไม่มีอาการแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา
ในรายที่มีอาการ การรักษาที่ดีทีสุดอยู่ที่แก้ “ต้นเหตุ” ที่ทำให้เกิดความดันต่ำ เช่น โรคขาดน้ำ (dehydration) , heart failure, diabetes, hypothyroidism และอื่น ๆ
ถ้าต้นเหตุมาจากยารักษา ก็ทำการเปลี่ยนยาขนาดของยา หรือ ยุติการใช้ยานั้น ๆ แล้วแต่กรณีไป
ถ้าเราไม่ทราบสาเหตุว่าอะไรทำให้ความดันลดต่ำลง เป้าหมายของการรักษา คือเพิ่มความดันที่ลด ต่ำลง และแก้อาการที่เกิดขึ้น ซึ่งท่านสามารถกระทำได้ด้วยการ
• ยา: ยาที่นำมาใช้ในการรักษาโรคความดันต่ำ เช่น เมื่อท่านลุกขึ้นยืน (postural hypotension) ได้มีการนำเอายา fludrocortisones มาใช้ในการรักษา ปรากกว่าได้ผลดี
• เพิ่มเกลือในอาหารของท่าน เกลือจะดูดเอาน้ำเข้าสู่กระแสเลือดของท่าน ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตของท่านเพิ่มสูงขึ้น ในกรณีเช่นนี้ ท่านควรตรวจเช็คกับแพทย์ของท่านด้วยว่า ควรรับประทานเกลื่อมากน้อยเท่าใด มีข้อห้ามไหม ?
Lifestyle and home remedies
คุณสามารถลด หรือป้องกันไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ โดยมีคำแนะนำดังต่อไปนี้:
• อย่าให้ร่างกายของท่านขาดน้ำเป็นอันขาด โดยดื่มน้ำวันละ 8 แก้วเป็นอย่างน้อย การดื่มน้ำดังกล่าว จะทำให้ปริมาณของเลือดมากพอ เป็นการป้องกันไม่ให้ขาดน้ำ
• ให้หลีกเลี่ยงการดื่มพวกแอลกอฮอล์ เพราะมันจะทำให้ท่านเกิดการขาดน้ำ
• อาหารเสริม ที่สามารถเพิ่มความดันโลหิตได้ เช่น “โสม” (ginseng) พบว่า สารดังกล่าว สามารถเพิ่มความดันโลหิตได้
• เพิ่มการดื่มพวกกาแฟ (caffeine) เพราะกาแฟจะทำให้เส้นเลือดของท่านหดตัว (contract)ได้เล็กน้อย จากการที่เส้นเลือดของท่านหดตัวนี้แหละ จะเพิ่มแรงดันให้เลือดเคลื่อนไปตามเส้นเลือด
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่นอาหารสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ผัก ผลไม้ อาหารชนิดที่เป็นเมล็ด หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นมัน
• เวลาเปลี่ยนอิริยาบถ ให้ค่อย ๆ เปลี่ยนอย่างช้า ๆ เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด postural hypotension
• รับประทานอาหารปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง สามารถป้องกันไม่ให้ความดันลดหลังรับประทานอาหารหนักได้
Sources:
Ari Mosenjis MD; Raymond R Townsend,MD.: Diastolic Blood Pressure: How low is too Low.
Mayo Clinic: Hypotension
“ทุกสิ่ง ทุกอย่างในโลก ที่มันเกิดความผิดปกติ หรือ การแปรปรวนไปนั้น
ส่วนใหญ่เป็นเพราะความไม่พอดี...หาใช่เรื่องอื่นใดไม่”
ฉะนั้น...ธรรมชาติจึงสอนเราว่า ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เราต้อง:
“ทำให้เกิดความพอดีให้ได้”
ตัวอย่างหนึ่ง ที่เห็นในคนสูงอายุ คือ เรื่องความดันโลหิต
ถ้ามันสูงเกินพอดี....มันก็ทำให้เจ้าตัว เกิดความไม่สบาย
ถ้ามันต่ำกว่าปกติ...มันก็ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้เช่นเดียวกัน
ความดันโลหิตของคนเรา วัดได้เป็น “บน/ล่าง” เช่น 120/80 มีหน่วยวัดเป็น mm Hg
เลขตัวบนเป็นความดันที่เกิดจากการบีบตัว (contraction)ของกล้ามเนื้อหัว ทำให้เลือดที่มีออกซิเจน และสารอาหาร ถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เรียก systolic blood pressure
ส่วนตัวล่าง หมายถึงความดันที่เกิดขึ้นในขณะที่กล้ามเนื้อหยุดการบีบตัว หรือเป็นความดันที่เกิดขึ้นในระหว่างการบีบตัว
เรียก diastolic blood pressure
ช่วงนี้แหละ ที่เลือดไหลย้อนกลับมายังเส้นเลือด aorta…และเป็นช่วงที่เลือดวิ่งผ่านไปตามเป็นเลือดของหัว-carotid artery เพื่อให้เลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ถ้าความดันในช่วงนี้มันลดลงมากเกินไป....จะส่งผลกระทบต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้...
เมื่อเราวัดความดันโลหิต หากมันต่ำกว่าปกติ เราเรียกว่า “ hypotension”
ถ้า diastolic pressure มีค่าต่ำกว่า 60 สามารถบ่งบอกให้รู้ว่า เป็น hypotension
ผู้เชี่ยวชาญได้อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้:
เมื่อไรก็ตามที่ความดันลดลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดอันตรายแก่คนไข้ได้ เช่นการเปลี่ยนแปลงความดันเพียง 20 mm Hg จากที่เคยวัดได้ เช่น จาก 130 mm Hg ไปเป็น 110 mm Hg สามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียน เป็นลม (fainting)
เหตุการณ์เช่นนี้ สามารถพบได้ในกรณีที่มีการเสียเลือดอย่างรวดเร็ว และอย่างมาก หรือเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง หรือ จากอาการแพ้อย่างมาก สามารถเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
สำหรับนักกีฬา หรือคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มักจะมีความดันต่ำ และการเต้นของหัวใจช้า นั่นเป็นเรื่องปกติ
ในทางตรงกันข้าม การที่คนมีความดันต่ำ เป็นอาการแสดงถึงโรคที่รุนแรงที่ซ่อนตัวอยู่ ซึ่งสามารถทำลายชีวิตคนได้
ในกรณีที่เกิดมีเลือดไหลย้อนกลับไปยังเส้นเลือด aorta ในช่วงที่หัวใจหยุดการบีบ หรือหดตัว คือในช่วงที่เราเรียก diastole หากคนไข้มีความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจ aortic จะทำให้เลือดย้อนกลับสู่หัวใจสู่ห้องล่าง (ventricle) เป็นเหตุให้เกิด diastolic hypotension ขึ้น จะกระทบต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้
สาเหตุอย่างอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความดันตัวล่างต่ำ (diastolic hypotension) ได้แก่
o ตั้งครรภ์ (pregnancy) : ใน ระยะ 24 อาทิตย์ ที่เกิดตั้งท้อง พบว่า มีเหตุการณ์หลายอย่างบังเกิดขึ้น เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการตั้งท้อง ความดันมีแนวโน้มที่จะลดลง โดย systolic pressure จะลดลงประมาณ 10 จุด และ diastolic pressure จะลดลงประมาณ 10 – 15 จุด
นี้เป็นเหตุการณ์ปกติ และจะกลับสู่สภาพเดิมเมื่อคลอดบุตรแล้ว
o โรคหัวใจ (Heart problems): โรคหัวใจบางชนิด อาจเป็นเหตุให้เกิดความดันต่ำ เช่น การเต้นของหัวใจช้า (bradycardia) , โรคลิ้นหัวใจ (heart valve problems) รวมไปถึงหัวใจล้มเหลว (heart failure) และเส้นเลือดของหัวใจอุดตัน (heart attack)
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ อาจทำให้ความดันลดลง เป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถได้รับเลือดได้ตามปกติ
o Endocrine problems เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง หรือไทรอยด์เป็นพิษ ต่างทำให้ความดันลดลงได้
นอกจากนี้ ภายใต้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ก็สามารถทำให้ความดันลดต่ำลงได้เช่นกัน
o Medications : Thiazide- Diuretic, ยาลดความดัน (antihypertensive drugs) ลดความดันลงมากเกินไป, beta- blocker (เช่น หยุดยาโดยกะทันหัน) และ Viagra
o Dehydrated ภาวะขาดน้ำ สามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียน และเหนื่อยเพลียได้ , การเป็นไข้ อาเจียน, ท้องล่วง หรือใช้ยาขับปัสสาวะมากไป ก็สามารถทำให้คนไข้เสียน้ำ เกิดภาวะ dehydrated ได้
o Loss blood การเสียเลือด เลือดตกภายในร่างกาย ในปริมาณมาก สามารถทำให้ความดันลดต่ำลงได้
o Anaphylaxis เช่นเกิดจากการแพ้ยา สามารถก่อ ให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต และทำให้ความดันลดลงได้
ถ้าหากความดันของท่าน ต่ำมากๆ สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากหัวใจ และสมอง ขาดออกซิเจน และสารอาหาร ทำให้คุณจะเกิดมีอาการ เช่น “วิงเวียน” “เป็นลมหน้ามืด” จนกระ ทั้งถึง “shock” ได้
จัดเป็นสภาวะที่มีอันตราย
เมื่อเกิดภาวะความดันลด ต่ำลงมาก ๆ จนเกิดอาการขึ้น ท่านจะทำอย่างไร?
ท่านสามารถทำได้หลายอย่าง เป็นต้นว่า
o “ให้ยารักษา” หรือ
o “ช่วยเหลือตัวท่านเอง”
โดยเฉพาะคนสูงอายุ เรามักพบคนเป็น isolated systolic hypertension กันบ่อยมาก โดยมี pulse pressure กว้างกว่าปกติ และ
จากการรักษาความดันโลหิตสูงชนิด isolated systolic hypertension ทำให้diastolic blood pressure ลดต่ำด้วย บางรายต่ำลงมากเกินไป เป็นเหตุให้เกิดอันตรายขึ้น
ด้วยเหตุนี้เอง จึงเกิดมีคำถามว่า เราจะลดความดัน systolic blood pressure ลงมาถึงระดับใดจึง จะพอดี ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่คนไข้ได้
จากการศึกษา พบว่า คนไข้ที่เป็น isolated systolic hypertension ได้รับการรักษาทำให้ความ ดันตัวล่าง- diastolic blood pressure ลดลงต่ำกว่า 70 mm Hg พบว่า คนไข้มี ภาวะแทรกซ้อนทางระบบ cardiovascular สูง
แต่หากทำให้ความดัน – diastolic blood pressure ให้ลดลงน้อยกว่า 55 mmHg เมื่อใด พบว่าเกิดมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบ cardiovascular มากเป็นสองเท่า
ดังนั้น ในการลดความดันลงนั้น เราจะไม่ให้ความดัน diastolic ลดลงต่ำกว่า 55 mm Hg
ถ้าหากท่านไม่มีอาการอะไรเลย หรือมีอาการแต่เพียงน้อยนิด เช่น มีอาการวิงเวียนเป็นบางครั้ง
ท่านก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรทั้งนั้น
การรักษาด้วยยา:
รายทีอาการไม่มาก หรือไม่มีอาการแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา
ในรายที่มีอาการ การรักษาที่ดีทีสุดอยู่ที่แก้ “ต้นเหตุ” ที่ทำให้เกิดความดันต่ำ เช่น โรคขาดน้ำ (dehydration) , heart failure, diabetes, hypothyroidism และอื่น ๆ
ถ้าต้นเหตุมาจากยารักษา ก็ทำการเปลี่ยนยาขนาดของยา หรือ ยุติการใช้ยานั้น ๆ แล้วแต่กรณีไป
ถ้าเราไม่ทราบสาเหตุว่าอะไรทำให้ความดันลดต่ำลง เป้าหมายของการรักษา คือเพิ่มความดันที่ลด ต่ำลง และแก้อาการที่เกิดขึ้น ซึ่งท่านสามารถกระทำได้ด้วยการ
• ยา: ยาที่นำมาใช้ในการรักษาโรคความดันต่ำ เช่น เมื่อท่านลุกขึ้นยืน (postural hypotension) ได้มีการนำเอายา fludrocortisones มาใช้ในการรักษา ปรากกว่าได้ผลดี
• เพิ่มเกลือในอาหารของท่าน เกลือจะดูดเอาน้ำเข้าสู่กระแสเลือดของท่าน ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตของท่านเพิ่มสูงขึ้น ในกรณีเช่นนี้ ท่านควรตรวจเช็คกับแพทย์ของท่านด้วยว่า ควรรับประทานเกลื่อมากน้อยเท่าใด มีข้อห้ามไหม ?
Lifestyle and home remedies
คุณสามารถลด หรือป้องกันไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ โดยมีคำแนะนำดังต่อไปนี้:
• อย่าให้ร่างกายของท่านขาดน้ำเป็นอันขาด โดยดื่มน้ำวันละ 8 แก้วเป็นอย่างน้อย การดื่มน้ำดังกล่าว จะทำให้ปริมาณของเลือดมากพอ เป็นการป้องกันไม่ให้ขาดน้ำ
• ให้หลีกเลี่ยงการดื่มพวกแอลกอฮอล์ เพราะมันจะทำให้ท่านเกิดการขาดน้ำ
• อาหารเสริม ที่สามารถเพิ่มความดันโลหิตได้ เช่น “โสม” (ginseng) พบว่า สารดังกล่าว สามารถเพิ่มความดันโลหิตได้
• เพิ่มการดื่มพวกกาแฟ (caffeine) เพราะกาแฟจะทำให้เส้นเลือดของท่านหดตัว (contract)ได้เล็กน้อย จากการที่เส้นเลือดของท่านหดตัวนี้แหละ จะเพิ่มแรงดันให้เลือดเคลื่อนไปตามเส้นเลือด
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่นอาหารสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ผัก ผลไม้ อาหารชนิดที่เป็นเมล็ด หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นมัน
• เวลาเปลี่ยนอิริยาบถ ให้ค่อย ๆ เปลี่ยนอย่างช้า ๆ เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด postural hypotension
• รับประทานอาหารปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง สามารถป้องกันไม่ให้ความดันลดหลังรับประทานอาหารหนักได้
Sources:
Ari Mosenjis MD; Raymond R Townsend,MD.: Diastolic Blood Pressure: How low is too Low.
Mayo Clinic: Hypotension
: Bedwetting in Elderly : ช่วยได้ไหม ?
ในเมื่อเราถูกแต่งตั้งโดยใครก็ไม่รู้ ให้เป็นหมอสนามกอล์ฟ หน้าที่ส่วนใหญ่ของเรา คือให้คำปรึกษาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ แก่พักพวกที่ต้องการ
แม้ว่า ปัญหานั้น ๆ จะอยู่นอกสาขาที่เราร่ำเรียนมา เ
ราต้องเสาะหาคำตอบให้แก่พักพวกเพื่อนฝูงที่อุตสาห์ถามเราให้ได้
โชคดีที่ยุคนี้ เป็นยุคที่เราสามารถค้นคว้าหาความรู้จากเนต ผมเรียกว่า “ห้องสมุดสาธารณะก็คงไม่ผิด
วันนี้ เจอคำถามจากเพื่อนผู้สูงวัย ขณะออกรอบเล่นกอล์ฟ เพื่อนของเรา เริ่มด้วยประโยคที่ยาวพอสมควรว่า:
“ญาติของผมได้ทำการผ่าตัดต่อมลูกหมากไปเรียบร้อยแล้ว ผลของการผ่าตัดเป็นที่พอใจของคนป่วย แต่มาตอนหลังนี้ เขามีปัญหาเรื่อง ปัสสาวะรดที่นอนโดยไม่รู้ตัวเลย ซึ่งมันต่างจากตอนเป็นลูกหมากก่อนผ่าตัด ซึ่งตอนนั้นเป็นปัญหาเรื่องปัสสาวะ “เล็ด” “กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยจะอยู่...”
ตอนนี้ มันไม่ใช่อย่างนั้นเสียแล้ว
ที่นอนเปียกทุกวัน (คืน) ต้องแยกตัวออกไปนอนคนเดียว....คุณหมอพอที่จะแนะนำให้ผมได้ไหม?”
นั่นคือประเด็นที่ผู้เขียนจะต้องให้คำตอบแก่เพื่อน:
คนไข้รายนี้เป็นชายวัย 70 ได้รับการผ่าตัดผ่านกล้อง ภายในท่อปัสสาวะ ซึ่งได้กระทำมาประมาณ 2 ปีเห็นจะได้ มาไม่กี่เดือนนี้ เกิดมีอาการปัสสาวะลดที่นอน จนต้องแยกจากภรรยา (แยกเตียง แยกห้องนอน เพราะภรรยาทนกลิ่นปัสสาวะไม่ไหว)
เพื่อเป็นการสนองตอบเพื่อนที่ถาม...ผมก็จำเป็นต้องร่ายยาวเรื่องปัสสาวะลดที่นอน (Bedwetting) ให้เพื่อน และบันทึกไว้เป็นหลักฐานเพื่อกันลืม
Definition:
ปัสสาวะลดที่นอนโดยไม่รู้ตัว และเกิดตอนกลางคืนขณะนอนหลับ ฝรั่งเรียก Nocturnal enuresis
ภาวะเช่นนี้ มีสาเหตุมากมาย ที่เราควรรู้เอาไว้ ซึ่งได้แก่: โรคเบาหวาน ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบประสาทผิดปกติ มะเร็งของต่อมลูกหมาก รวมทั้งต่อมลูกหมากโต เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และทางเดินระบบหายใจอุดกลั้นขณะนอนหลับ (Obstructive sleep apnea)
นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุอีกประการหนึ่ง แต่พบได้น้อยมาก เช่น ภาวะที่ผิดปกติทางจิต หรือเกิดความเครียดอย่างแรง ก็อาจทำให้ฉี่ลดที่นอนโดยไม่รู้ตัวได้
จากหลักฐานที่กล่าวมาเสียยาวยืดอย่างนี้ ผมว่า คุณ ควรให้ญาติของคุณมาทำการตรวจร่างกายเสีย จะได้รู้เสียที ว่า สาเหตุของโรคนั้นเป็นอะไรกันแน่ ที่สำคัญ เมื่อรักษาหาย ญาติของคุณจะได้กลับไปใช้ชีวิตเป็นปกติ ร่วมหลับนอนกับภรรยาได้ตามเดิมซะที
ก่อนไปพบแพทย์ มีคำแนะนำให้บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอาการของคนไข้ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการนำไปวิเคราะห์ หาสาเหตุของโรคได้ ดังนี้
ให้ลูกของคนป่วยบันทึกจำนวนครั้งของการปัสสาวะ กลางวัน กี่ครั้ง กลางคืนกี่ครั้ง
ให้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดปัสสาวะโดยไม่รู้ตัว ทั้งกลางวัน หรือกลางคืน
ให้วัดปริมาณปัสสาวะที่ออกมาในแต่ละครั้ง
บันทึกข้อมูลพฤติกรรมการดื่มน้ำ ว่าตอนบ่ายดื่มมากน้อยแค่ไหน
ดื่มอะไร (น้ำหวาน กาแฟ น้ำตาลเทียม พวก carbonate แอลกอฮอล์ หรือ...)
บันทึกลักษณะของลำปัสสาวะ (เป็นลำ สม่ำเสมอตลอดสาย ตอนเริ่มต้นปัสสาวะเป็นอย่างไร...กว่าจะปัสสาวะออกต้องรอนาน หรือเวลาปัสสาวะ...มันหยด)
มีการอักเสบของระบบขับถ่ายปัสสาวะบ่อยแค่ไหน
ในเดือนหนึ่งปัสสาวะลดที่นอนกี่ครั้งในหนึ่งเดือน (ให้เปรียบเทียบระหว่างที่นอนแห้ง กับจำนวนครั้งที่นอนเปียก)
นอกจากนั้นให้บันทึกด้วยว่า ในขณะที่เกิดปัสสาวะโดยไม่รู้ตัวนั้น มีเหงื่อออกด้วยหรือไม้
เมื่อคุณพาญาติที่มีปัญหาเรื่องปัสสาวะลดที่นอนไปพบแพทย์ สิ่งที่คุณจะได้พบมีด้งนี้:
• ได้รับการตรวจร่างกายทั่ว ๆ ไป (Physical examination)
• ได้รับการตรวจทางระบบประสาท (Neurological examination)
• การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) และมีการตรวจเพาะเชื้อ (culture) จากปัสสาวะ
• การตรวจ Uroflowmetry เป็นการตรวจ โดยให้คนไข้ปัสสาวะลงไปในกรวยพิเศษ เพื่อตรวจการไหลของปัสสาวะ (flow rate) วัดปริมาณ และเวลาที่คนไข้ต้องการปัสสาวะ
• ตรวจวัดปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะหลังจากที่ปัสสาวะแล้ว เป็นกาตรวจโดยใช้ ultrasound
นอกจากที่กล่าวมา หากมีความสงสัยว่า มีปัญหาอย่างอื่น คนไข้ก็จะได้รับการตรวจเพิ่มเติม เพื่อให้รู้ว่าไม่มีปัญหาอื่น ๆ
คุณควรพาญาติของคุณไปพบแพทย์ประเภทไหน?
แน่นอน แพทย์คนแรกที่ควรพบ คือแพทย์ประจำของคนไข้ ต่อจากนั้น เขาจะเป็นคนแนะนำเองแหละว่า ควรไปพบใคร ซึ่ง แพทย์ที่ควรควรได้พบ คือ ผู้ชำนาญการทางด้านระบบขับปัสสาวะนั้นเอง
ในขณะที่คุณ หรือญาติของคุณมีความละอายที่จะคุยปัญหาปัสสาวะลดที่นอน การปรึกษาแพทย์นั่นเป็นหนทางที่ดี ซึ่งเขาสามารถให้คำแนะนำที่ดีแก่คน หรือญาติของคุณได้
อย่าลืมว่า คนไข้ที่เป็นพวกฉี่ลดที่นอนตอนกลางคืนนั้น ส่วนใหญ่รักษาให้หายขาดได้
Treatment
แนวทางการรักษามีดังนี้:
• Monitoring fluid intake ให้คุณจำกัดปริมาณน้ำดื่มในตอนบ่าย หรือก่อนนอน เพราะการทำเช่นนั้นจะลดการสร้างน้ำปัสสาวะลง และทำให้การปัสสาวะลดลง เป็นวิธีการขั้นแรกในการรักษาพวกฉี่ลดที่นอนตอนกลางคืนได้ดี
ลดการดื่มพวกกาแฟ และลดการดื่มพวกแอลกอฮอล์ ลง จะช่วยลดการถ่ายปัสสาวะลงได้อย่างมาก
ที่พูดมาทั้งหมด ไม่หมายความว่า ท่านดื่มน้ำให้น้อยลงนะ ท่านต้องดื่มน้ำให้มาก เพื่อสุขภาพของท่านเอง แต่ให้เปลี่ยนเวลาการดื่มน้ำเท่านั้น ให้ดื่มน้ำในตอนเช้า และกลางวัน และตอนเย็นแทน และดื่มให้เยอะ ๆ ด้วย หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอน
• Bladder Volume Control เป็นวิธีการเพิ่มความสามารถของกระเพาะปัสสาวะให้ดีขึ้น ด้วยวิธีการให้ดื่มน้ำให้มาก ๆ ไว้ เสร็จแล้วเมื่อมีความต้องการจอยากฉี่ ให้อดกลั้นเอาไว้อย่าพึ่งไปฉี่ ให้รอประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงก่อน เพื่อเป็นการฝึกให้กล้ามเนื้อของกระเพาะแข็งแรงขึ้น การฝึกด้วยวิธีการนี้ สามารถทำให้การทำงานของกระเพาะปัสสาวะดีขึ้น (Functional bladder capacity)
ทำให้ปัสสาวะน้อยลงได้
วิธีการนี้ใช้ได้ผลดีในรายที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานมากไป (Detrusor over-activithy) พวกนี้ จะพบว่ากระเพาะปัสสาวะจะหดเล็ก จากการที่มันเกร็งบ่อย
นอกจากนี้ ยังใช้ได้ผลกับคนไข้ที่เป็นต่อมาลูกหมากโตอีกด้วย
• Bedwetting alarm system เป็นเครื่องมือเตือนคนไข้ให้รู้สึกตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์ปัสสาวะไม่รู้ตัวขึ้น เครื่องมือชนิดนี้ติดไว้ใต้กางเกงนอน หรือใต้ที่นอน เป็นเครื่องเช็คตอนมีปัสสาวะไหลออก มันจะปลุกให้ท่านตื่นขึ้น เมื่อท่านตื่น การปัสสาวะโดยไม่รู้ตัวจะหยุดลงทันที แล้วท่านไปปลดทุกข์ให้เรียบร้อย แล้วกลับมานอน
การปลุกด้วยวิธีนี้ จะทำให้ร่างกายของท่านเกิดการปรับตัว ทำให้ตื่นขึ้นเมื่อเกิดมีความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะขึ้น
มีคนไข้หลายรายที่สามารถแก้ไข้ด้วยวิธีการนี้
• Waking ให้ตั้งนาฬิกาปลุกในตอนกลางคืน เพื่อปลุกให้ท่านตื่นขึ้นมาปัสสาวะ ไม่รอให้เกิดการปัสสาวะลดที่นอนให้เปียก ให้กะเอาว่า ควรจะทำการปลุกตอนไหนดี การทำเช่นนี้ เป็นการป้องกันไม่ให้มันเกิดการปัสสาวะโดยที่คุณไม่รู้นั้นเอง
พูดมาถึงตอนนี้ ก็มีปัญหาจากเพื่อนเพิ่มขึ้นมาอีกว่า
“นอกจากวิธี ที่เสนอมา มีวิธีการอื่น อีกไหม?”
ผู้เขียนตั้งใจจะยุติการพูดคุยเรื่องนี้ แต่เมื่อมีการถามมา ก็ขอต่อให้จบความ
การรักษาพวกฉี่ลดที่นอนโดยไม่รู้ตัว ยังมีการรักษาด้วยวิธีการอย่างอื่นอีก คือ รักษาด้วยยา ซึ่งมีรายงานว่า มีการใช้ยารักษาได้ผลเช่นกัน แต่ต้องกินยาไปตลอด หยุดเมื่อไหร่เกิดอาการทันที ไม่ใช้วิธีรักษาต้นเหตุ หากท่านต้องการวิธีนี้ ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางนี้ดีกว่า
อีกวิธีหนึ่ง คือรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งกระทำในรายที่มีต้นเหตุของโรคฉี่ลดที่นอน ซึ่งมีสาเหตุ จากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกินไป (Over-activity)
วิธีการทางผ่าตัดนี้ จะกระทำเมื่อวิธีการอื่น ๆ ใช้ไม่ได้ผล ซึ่งมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีอันตรายทั้งนั้น ก่อนตัดสินใจต้องพิจารณาให้ดี
แม้ว่า ปัญหานั้น ๆ จะอยู่นอกสาขาที่เราร่ำเรียนมา เ
ราต้องเสาะหาคำตอบให้แก่พักพวกเพื่อนฝูงที่อุตสาห์ถามเราให้ได้
โชคดีที่ยุคนี้ เป็นยุคที่เราสามารถค้นคว้าหาความรู้จากเนต ผมเรียกว่า “ห้องสมุดสาธารณะก็คงไม่ผิด
วันนี้ เจอคำถามจากเพื่อนผู้สูงวัย ขณะออกรอบเล่นกอล์ฟ เพื่อนของเรา เริ่มด้วยประโยคที่ยาวพอสมควรว่า:
“ญาติของผมได้ทำการผ่าตัดต่อมลูกหมากไปเรียบร้อยแล้ว ผลของการผ่าตัดเป็นที่พอใจของคนป่วย แต่มาตอนหลังนี้ เขามีปัญหาเรื่อง ปัสสาวะรดที่นอนโดยไม่รู้ตัวเลย ซึ่งมันต่างจากตอนเป็นลูกหมากก่อนผ่าตัด ซึ่งตอนนั้นเป็นปัญหาเรื่องปัสสาวะ “เล็ด” “กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยจะอยู่...”
ตอนนี้ มันไม่ใช่อย่างนั้นเสียแล้ว
ที่นอนเปียกทุกวัน (คืน) ต้องแยกตัวออกไปนอนคนเดียว....คุณหมอพอที่จะแนะนำให้ผมได้ไหม?”
นั่นคือประเด็นที่ผู้เขียนจะต้องให้คำตอบแก่เพื่อน:
คนไข้รายนี้เป็นชายวัย 70 ได้รับการผ่าตัดผ่านกล้อง ภายในท่อปัสสาวะ ซึ่งได้กระทำมาประมาณ 2 ปีเห็นจะได้ มาไม่กี่เดือนนี้ เกิดมีอาการปัสสาวะลดที่นอน จนต้องแยกจากภรรยา (แยกเตียง แยกห้องนอน เพราะภรรยาทนกลิ่นปัสสาวะไม่ไหว)
เพื่อเป็นการสนองตอบเพื่อนที่ถาม...ผมก็จำเป็นต้องร่ายยาวเรื่องปัสสาวะลดที่นอน (Bedwetting) ให้เพื่อน และบันทึกไว้เป็นหลักฐานเพื่อกันลืม
Definition:
ปัสสาวะลดที่นอนโดยไม่รู้ตัว และเกิดตอนกลางคืนขณะนอนหลับ ฝรั่งเรียก Nocturnal enuresis
ภาวะเช่นนี้ มีสาเหตุมากมาย ที่เราควรรู้เอาไว้ ซึ่งได้แก่: โรคเบาหวาน ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบประสาทผิดปกติ มะเร็งของต่อมลูกหมาก รวมทั้งต่อมลูกหมากโต เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และทางเดินระบบหายใจอุดกลั้นขณะนอนหลับ (Obstructive sleep apnea)
นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุอีกประการหนึ่ง แต่พบได้น้อยมาก เช่น ภาวะที่ผิดปกติทางจิต หรือเกิดความเครียดอย่างแรง ก็อาจทำให้ฉี่ลดที่นอนโดยไม่รู้ตัวได้
จากหลักฐานที่กล่าวมาเสียยาวยืดอย่างนี้ ผมว่า คุณ ควรให้ญาติของคุณมาทำการตรวจร่างกายเสีย จะได้รู้เสียที ว่า สาเหตุของโรคนั้นเป็นอะไรกันแน่ ที่สำคัญ เมื่อรักษาหาย ญาติของคุณจะได้กลับไปใช้ชีวิตเป็นปกติ ร่วมหลับนอนกับภรรยาได้ตามเดิมซะที
ก่อนไปพบแพทย์ มีคำแนะนำให้บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอาการของคนไข้ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการนำไปวิเคราะห์ หาสาเหตุของโรคได้ ดังนี้
ให้ลูกของคนป่วยบันทึกจำนวนครั้งของการปัสสาวะ กลางวัน กี่ครั้ง กลางคืนกี่ครั้ง
ให้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดปัสสาวะโดยไม่รู้ตัว ทั้งกลางวัน หรือกลางคืน
ให้วัดปริมาณปัสสาวะที่ออกมาในแต่ละครั้ง
บันทึกข้อมูลพฤติกรรมการดื่มน้ำ ว่าตอนบ่ายดื่มมากน้อยแค่ไหน
ดื่มอะไร (น้ำหวาน กาแฟ น้ำตาลเทียม พวก carbonate แอลกอฮอล์ หรือ...)
บันทึกลักษณะของลำปัสสาวะ (เป็นลำ สม่ำเสมอตลอดสาย ตอนเริ่มต้นปัสสาวะเป็นอย่างไร...กว่าจะปัสสาวะออกต้องรอนาน หรือเวลาปัสสาวะ...มันหยด)
มีการอักเสบของระบบขับถ่ายปัสสาวะบ่อยแค่ไหน
ในเดือนหนึ่งปัสสาวะลดที่นอนกี่ครั้งในหนึ่งเดือน (ให้เปรียบเทียบระหว่างที่นอนแห้ง กับจำนวนครั้งที่นอนเปียก)
นอกจากนั้นให้บันทึกด้วยว่า ในขณะที่เกิดปัสสาวะโดยไม่รู้ตัวนั้น มีเหงื่อออกด้วยหรือไม้
เมื่อคุณพาญาติที่มีปัญหาเรื่องปัสสาวะลดที่นอนไปพบแพทย์ สิ่งที่คุณจะได้พบมีด้งนี้:
• ได้รับการตรวจร่างกายทั่ว ๆ ไป (Physical examination)
• ได้รับการตรวจทางระบบประสาท (Neurological examination)
• การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) และมีการตรวจเพาะเชื้อ (culture) จากปัสสาวะ
• การตรวจ Uroflowmetry เป็นการตรวจ โดยให้คนไข้ปัสสาวะลงไปในกรวยพิเศษ เพื่อตรวจการไหลของปัสสาวะ (flow rate) วัดปริมาณ และเวลาที่คนไข้ต้องการปัสสาวะ
• ตรวจวัดปริมาณปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะหลังจากที่ปัสสาวะแล้ว เป็นกาตรวจโดยใช้ ultrasound
นอกจากที่กล่าวมา หากมีความสงสัยว่า มีปัญหาอย่างอื่น คนไข้ก็จะได้รับการตรวจเพิ่มเติม เพื่อให้รู้ว่าไม่มีปัญหาอื่น ๆ
คุณควรพาญาติของคุณไปพบแพทย์ประเภทไหน?
แน่นอน แพทย์คนแรกที่ควรพบ คือแพทย์ประจำของคนไข้ ต่อจากนั้น เขาจะเป็นคนแนะนำเองแหละว่า ควรไปพบใคร ซึ่ง แพทย์ที่ควรควรได้พบ คือ ผู้ชำนาญการทางด้านระบบขับปัสสาวะนั้นเอง
ในขณะที่คุณ หรือญาติของคุณมีความละอายที่จะคุยปัญหาปัสสาวะลดที่นอน การปรึกษาแพทย์นั่นเป็นหนทางที่ดี ซึ่งเขาสามารถให้คำแนะนำที่ดีแก่คน หรือญาติของคุณได้
อย่าลืมว่า คนไข้ที่เป็นพวกฉี่ลดที่นอนตอนกลางคืนนั้น ส่วนใหญ่รักษาให้หายขาดได้
Treatment
แนวทางการรักษามีดังนี้:
• Monitoring fluid intake ให้คุณจำกัดปริมาณน้ำดื่มในตอนบ่าย หรือก่อนนอน เพราะการทำเช่นนั้นจะลดการสร้างน้ำปัสสาวะลง และทำให้การปัสสาวะลดลง เป็นวิธีการขั้นแรกในการรักษาพวกฉี่ลดที่นอนตอนกลางคืนได้ดี
ลดการดื่มพวกกาแฟ และลดการดื่มพวกแอลกอฮอล์ ลง จะช่วยลดการถ่ายปัสสาวะลงได้อย่างมาก
ที่พูดมาทั้งหมด ไม่หมายความว่า ท่านดื่มน้ำให้น้อยลงนะ ท่านต้องดื่มน้ำให้มาก เพื่อสุขภาพของท่านเอง แต่ให้เปลี่ยนเวลาการดื่มน้ำเท่านั้น ให้ดื่มน้ำในตอนเช้า และกลางวัน และตอนเย็นแทน และดื่มให้เยอะ ๆ ด้วย หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอน
• Bladder Volume Control เป็นวิธีการเพิ่มความสามารถของกระเพาะปัสสาวะให้ดีขึ้น ด้วยวิธีการให้ดื่มน้ำให้มาก ๆ ไว้ เสร็จแล้วเมื่อมีความต้องการจอยากฉี่ ให้อดกลั้นเอาไว้อย่าพึ่งไปฉี่ ให้รอประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงก่อน เพื่อเป็นการฝึกให้กล้ามเนื้อของกระเพาะแข็งแรงขึ้น การฝึกด้วยวิธีการนี้ สามารถทำให้การทำงานของกระเพาะปัสสาวะดีขึ้น (Functional bladder capacity)
ทำให้ปัสสาวะน้อยลงได้
วิธีการนี้ใช้ได้ผลดีในรายที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานมากไป (Detrusor over-activithy) พวกนี้ จะพบว่ากระเพาะปัสสาวะจะหดเล็ก จากการที่มันเกร็งบ่อย
นอกจากนี้ ยังใช้ได้ผลกับคนไข้ที่เป็นต่อมาลูกหมากโตอีกด้วย
• Bedwetting alarm system เป็นเครื่องมือเตือนคนไข้ให้รู้สึกตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์ปัสสาวะไม่รู้ตัวขึ้น เครื่องมือชนิดนี้ติดไว้ใต้กางเกงนอน หรือใต้ที่นอน เป็นเครื่องเช็คตอนมีปัสสาวะไหลออก มันจะปลุกให้ท่านตื่นขึ้น เมื่อท่านตื่น การปัสสาวะโดยไม่รู้ตัวจะหยุดลงทันที แล้วท่านไปปลดทุกข์ให้เรียบร้อย แล้วกลับมานอน
การปลุกด้วยวิธีนี้ จะทำให้ร่างกายของท่านเกิดการปรับตัว ทำให้ตื่นขึ้นเมื่อเกิดมีความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะขึ้น
มีคนไข้หลายรายที่สามารถแก้ไข้ด้วยวิธีการนี้
• Waking ให้ตั้งนาฬิกาปลุกในตอนกลางคืน เพื่อปลุกให้ท่านตื่นขึ้นมาปัสสาวะ ไม่รอให้เกิดการปัสสาวะลดที่นอนให้เปียก ให้กะเอาว่า ควรจะทำการปลุกตอนไหนดี การทำเช่นนี้ เป็นการป้องกันไม่ให้มันเกิดการปัสสาวะโดยที่คุณไม่รู้นั้นเอง
พูดมาถึงตอนนี้ ก็มีปัญหาจากเพื่อนเพิ่มขึ้นมาอีกว่า
“นอกจากวิธี ที่เสนอมา มีวิธีการอื่น อีกไหม?”
ผู้เขียนตั้งใจจะยุติการพูดคุยเรื่องนี้ แต่เมื่อมีการถามมา ก็ขอต่อให้จบความ
การรักษาพวกฉี่ลดที่นอนโดยไม่รู้ตัว ยังมีการรักษาด้วยวิธีการอย่างอื่นอีก คือ รักษาด้วยยา ซึ่งมีรายงานว่า มีการใช้ยารักษาได้ผลเช่นกัน แต่ต้องกินยาไปตลอด หยุดเมื่อไหร่เกิดอาการทันที ไม่ใช้วิธีรักษาต้นเหตุ หากท่านต้องการวิธีนี้ ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางนี้ดีกว่า
อีกวิธีหนึ่ง คือรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งกระทำในรายที่มีต้นเหตุของโรคฉี่ลดที่นอน ซึ่งมีสาเหตุ จากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานมากเกินไป (Over-activity)
วิธีการทางผ่าตัดนี้ จะกระทำเมื่อวิธีการอื่น ๆ ใช้ไม่ได้ผล ซึ่งมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีอันตรายทั้งนั้น ก่อนตัดสินใจต้องพิจารณาให้ดี
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554
: High Blood Pressure: ความดันโลหิตสูง ทำให้คนตายได้ไหม?
“ความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว ทำให้คนเราตายได้หรือไม่ ?”
เป็นประโยคที่ไม่น่าฟังสักนิด
แต่จากประสบการณ์ของแพทย์ที่ดูแลคนไข้สูงอายุ ปรากฏว่า มีคนสูงอายุจำนวนหนึ่งไม่คอย ใส่ใจในเรื่องนี้เท่าไหร่นัก
ไม่เห็นมีความกลัวปรากฏให้เห็น
ดูประหนึ่ง เด็กไร้เดียงสา เดินเตาะแตะไปยังปากเหว ไม่รู้ว่านั้นคือ ปากเหว ถ้าผู้ใหญ่ช่วย ไม่ทัน ...คงตกเหวตายอย่างแต่นอน
คนไข้ที่พบเห็น ก็มีลักษณะเป็นเช่นนั้น...
ต่อไปนี้ คือตัวอย่างที่พบเห็นเป็นประจำ ทีคลินิกผู้สูงอายุ (เลย 70)
เป็นคนไข้ที่ได้รับการรักษา หลายโรค และความดันโลหิตสูงก็เป็นหนึ่งในโรคของเขา
จากการดูรายงานเก่า พบว่า ผลการรักษาความดันโลหิตของเขา อยู่ในขั้นที่ดี คือ ความดันต่ำ กว่า 140/90 mm Hg
แต่มาคราวนี้ วัดความดันได้ 200/100 mm Hg อยู่ในขั้นอันตราย
มีคำถามเกิดขึ้นว่า อะไรเกิดขึ้น กังชายคนนี้ ?
จากการซักประวัติ พบว่า คนไข้ไม่ได้กินยามาแค่ 2 อาทิตย์ เท่านั้นเอง
จากการพูดคุยกัน ดูประหนึ่งว่า แกไม่กลัวโรคความดันสูงแม้แต่น้อย เหมือนเด็กไร้เดียงสา ไม่ผิดเพี้ยนแม่แต่น้อย
“ยาหมด...ไม่มีเวลามารับยา”
นั่นคือคำตอบของชายคนนั้น...
จากหลักฐานที่ได้จาก Cleveland Clinic ได้ให้คำจำกัดความของ ความดันโลหิตสูง เอาไว้ว่า เมื่อความดันที่เราวัดได้นั้น มากกว่า 140/90 mm Hg…
ถือว่า เป็นความดันโลหิตสูง
หากปล่อยให้ความดันสูงถึง 180/110 mm Hg จัดเป็นความดันสูงขั้นวิกฤติ หรือเรียก hypertensive crisis
ทั้งความดันโลหิตสูงเรื้อรัง และความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤติ สามารถ “คร่า” ชีวิตของคนได้
(ตาย)
ชนิดต่าง ๆ ของความดันสูง (Types)
ใครที่ปล่อยให้มีความดันสูงอยู่เป็นเวลานาน เรียก chronic hypertension
จากความดันที่สูงอยู่แล้ว สามารถกระฉูดสูงขึ้นด้วยสาเหตุหลายย่าง เช่น ไม่กินยาลดความ ดันตามที่แพทย์แนะนำ หรือเลิกใช้ยาลดความดันในกลุ่ม Beta-Blocker ทันที
ในกรณีเช่นนี้ เรา เรียกว่า “ความดันสูงขั้นวิกฤติ” สามารถคร่าชีวิตได้ในชั่วเวลาเป็นชั่วโมง
คนที่ไม่ได้รับการรักษาความดันสูง และปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานเป็นปี
อะไรจะเกิดขึ้น ?
ความดันโลหิตสูง...ปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานหลายปี สามารถทำให้เส้นเลือดแดงเกิดมีรอย แผล (damage) และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ (weaken) ลง
หากมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น คนไข้อาจตายได้ในชั่วเวลาเป็นชั่วโมง
อาการของคนเป็นความดันสูง
ในรายที่มีความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 mm Hg นานเป็นปี เขาอาจมีอาการ “ปวด ศีรษะ”, “วิงเวียน” และมี “เลือดกำเดาออก”
ในกรณีที่เป็น hypertensive crisis คนไข้อาจมีอาการ ปวดศีรษะอย่างแรง มีความ กระวนกระวาย และหายใจลำบาก
เมื่อเวลาผ่านไป นานเข้า รอยแผลที่เกิดบนเส้นเลือดแดงที่ปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับการรักษา จะ เปลี่ยนเป็นเส้นเลือดแข็ง เหมือนสายยาลดน้ำสนามหญ้า ที่ปล่อยทิ้งไว้กลางสนามเป็นเวลานานปี เรา จะเห็นมันแข็งตัว ไม่มีความยืดหยุ่นหลงเหลือ แถมยังมีรอยแตกเป็นแห่ง ๆ ปรากฏให้เห็น
เส้นเลือดแดงของคนเป็นความดันสูงดังกล่าว เมื่อนานเข้า มันจะแข็ง (stiff) พร้อมที่จะเกิด การอุดตัน จากคราบของไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันเส้นเลือดแดงของหัวใจ(heart attack) ในเวลาต่อมา
นั่นเป็นพัฒนาการของความดันสูงชนิดเรื้อรัง
ในกรณีที่เป็น ความดันสูงวิกฤติ (hypertensive crisis) จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ รุนแรงได้ เช่น เกิดอุดตันเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจ (heart attack) เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน หรือ แตก (stroke) เกิดน้ำท้วมปอด (pulmonary edema) และชัก (seizers)
เราจะป้องกัน และรักษาอย่างไร ?
โชคยังดี ที่คนไข้ที่มาหาเราส่วนใหญ่อยู่ในขั้น ความดันสูงขั้นวิกฤติ ชนิด urgency เท่านั้น ยังไม่มีรอยแผล (damage) เกิดที่อวัยวะสำคัญใด ๆทั้งสิ้น
การรักษาคนไข้มีความดันสูง โดยทั่วไป เขาให้ยาเม็ด “กิน” เช่น “ยาขับปัสสาวะ” (diuretics), ACE, Calcium channel antagonist และ Beta-blcoker …
ส่วนความดันชนิดวิกฤตินั้น ถ้าเป็นชนิด urgency ให้การรักษาด้วยยาเม็ดรับประทาน และรักษาแบบไปกลับได้ การลดความดันให้ลดลงภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยคนไข้ไม่ต้อรอในโรงพยาบาล
ส่วนความดันสูงแบบ hypertensive emergency การลดความดัน ให้ลดลงอย่างรวดเร็ว ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องไม่ลืมว่า การลดความดันลงเร็วเช่นนั้นมักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง กล้ามเนื้อหัวใจ และไตลดลง…
เป้าหมาย คือ ลดความดัน Diastolic blood pressureลง 10 – 15 % หรือ 110 mm Hg ในเวลา 30 - 60 นาที
ในคนไข้ที่เราสงสัย หรือมี aortic dissection เราจะต้องลดความดันลงอย่างรวดเร็วภายใน 5 – 10 นาที จนกว่าเราจะลด systolic blood pressure < 120 mm Hg.
กล่าวโดยสรุป โรคความดันสูง เป็นโรคเรื้อรัง จะต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต การรักษานั้นเป็นเรื่องไม่ยาก แต่ที่มันยากส่วนใหญ่คนไข้ปล่อยให้เรื่อง “ง่าย” เป็น “เรื่องยาก”ขึ้นมา โดยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และเลิกล้มการกินยาโดยพละการ
ผลเสียจึงเกิดขึ้น และมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
Sourse:
Mayo clinic: Hypertension
Cleveland clinic: hypertensive crisis
เป็นประโยคที่ไม่น่าฟังสักนิด
แต่จากประสบการณ์ของแพทย์ที่ดูแลคนไข้สูงอายุ ปรากฏว่า มีคนสูงอายุจำนวนหนึ่งไม่คอย ใส่ใจในเรื่องนี้เท่าไหร่นัก
ไม่เห็นมีความกลัวปรากฏให้เห็น
ดูประหนึ่ง เด็กไร้เดียงสา เดินเตาะแตะไปยังปากเหว ไม่รู้ว่านั้นคือ ปากเหว ถ้าผู้ใหญ่ช่วย ไม่ทัน ...คงตกเหวตายอย่างแต่นอน
คนไข้ที่พบเห็น ก็มีลักษณะเป็นเช่นนั้น...
ต่อไปนี้ คือตัวอย่างที่พบเห็นเป็นประจำ ทีคลินิกผู้สูงอายุ (เลย 70)
เป็นคนไข้ที่ได้รับการรักษา หลายโรค และความดันโลหิตสูงก็เป็นหนึ่งในโรคของเขา
จากการดูรายงานเก่า พบว่า ผลการรักษาความดันโลหิตของเขา อยู่ในขั้นที่ดี คือ ความดันต่ำ กว่า 140/90 mm Hg
แต่มาคราวนี้ วัดความดันได้ 200/100 mm Hg อยู่ในขั้นอันตราย
มีคำถามเกิดขึ้นว่า อะไรเกิดขึ้น กังชายคนนี้ ?
จากการซักประวัติ พบว่า คนไข้ไม่ได้กินยามาแค่ 2 อาทิตย์ เท่านั้นเอง
จากการพูดคุยกัน ดูประหนึ่งว่า แกไม่กลัวโรคความดันสูงแม้แต่น้อย เหมือนเด็กไร้เดียงสา ไม่ผิดเพี้ยนแม่แต่น้อย
“ยาหมด...ไม่มีเวลามารับยา”
นั่นคือคำตอบของชายคนนั้น...
จากหลักฐานที่ได้จาก Cleveland Clinic ได้ให้คำจำกัดความของ ความดันโลหิตสูง เอาไว้ว่า เมื่อความดันที่เราวัดได้นั้น มากกว่า 140/90 mm Hg…
ถือว่า เป็นความดันโลหิตสูง
หากปล่อยให้ความดันสูงถึง 180/110 mm Hg จัดเป็นความดันสูงขั้นวิกฤติ หรือเรียก hypertensive crisis
ทั้งความดันโลหิตสูงเรื้อรัง และความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤติ สามารถ “คร่า” ชีวิตของคนได้
(ตาย)
ชนิดต่าง ๆ ของความดันสูง (Types)
ใครที่ปล่อยให้มีความดันสูงอยู่เป็นเวลานาน เรียก chronic hypertension
จากความดันที่สูงอยู่แล้ว สามารถกระฉูดสูงขึ้นด้วยสาเหตุหลายย่าง เช่น ไม่กินยาลดความ ดันตามที่แพทย์แนะนำ หรือเลิกใช้ยาลดความดันในกลุ่ม Beta-Blocker ทันที
ในกรณีเช่นนี้ เรา เรียกว่า “ความดันสูงขั้นวิกฤติ” สามารถคร่าชีวิตได้ในชั่วเวลาเป็นชั่วโมง
คนที่ไม่ได้รับการรักษาความดันสูง และปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานเป็นปี
อะไรจะเกิดขึ้น ?
ความดันโลหิตสูง...ปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานหลายปี สามารถทำให้เส้นเลือดแดงเกิดมีรอย แผล (damage) และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ (weaken) ลง
หากมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น คนไข้อาจตายได้ในชั่วเวลาเป็นชั่วโมง
อาการของคนเป็นความดันสูง
ในรายที่มีความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 mm Hg นานเป็นปี เขาอาจมีอาการ “ปวด ศีรษะ”, “วิงเวียน” และมี “เลือดกำเดาออก”
ในกรณีที่เป็น hypertensive crisis คนไข้อาจมีอาการ ปวดศีรษะอย่างแรง มีความ กระวนกระวาย และหายใจลำบาก
เมื่อเวลาผ่านไป นานเข้า รอยแผลที่เกิดบนเส้นเลือดแดงที่ปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับการรักษา จะ เปลี่ยนเป็นเส้นเลือดแข็ง เหมือนสายยาลดน้ำสนามหญ้า ที่ปล่อยทิ้งไว้กลางสนามเป็นเวลานานปี เรา จะเห็นมันแข็งตัว ไม่มีความยืดหยุ่นหลงเหลือ แถมยังมีรอยแตกเป็นแห่ง ๆ ปรากฏให้เห็น
เส้นเลือดแดงของคนเป็นความดันสูงดังกล่าว เมื่อนานเข้า มันจะแข็ง (stiff) พร้อมที่จะเกิด การอุดตัน จากคราบของไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันเส้นเลือดแดงของหัวใจ(heart attack) ในเวลาต่อมา
นั่นเป็นพัฒนาการของความดันสูงชนิดเรื้อรัง
ในกรณีที่เป็น ความดันสูงวิกฤติ (hypertensive crisis) จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ รุนแรงได้ เช่น เกิดอุดตันเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจ (heart attack) เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน หรือ แตก (stroke) เกิดน้ำท้วมปอด (pulmonary edema) และชัก (seizers)
เราจะป้องกัน และรักษาอย่างไร ?
โชคยังดี ที่คนไข้ที่มาหาเราส่วนใหญ่อยู่ในขั้น ความดันสูงขั้นวิกฤติ ชนิด urgency เท่านั้น ยังไม่มีรอยแผล (damage) เกิดที่อวัยวะสำคัญใด ๆทั้งสิ้น
การรักษาคนไข้มีความดันสูง โดยทั่วไป เขาให้ยาเม็ด “กิน” เช่น “ยาขับปัสสาวะ” (diuretics), ACE, Calcium channel antagonist และ Beta-blcoker …
ส่วนความดันชนิดวิกฤตินั้น ถ้าเป็นชนิด urgency ให้การรักษาด้วยยาเม็ดรับประทาน และรักษาแบบไปกลับได้ การลดความดันให้ลดลงภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยคนไข้ไม่ต้อรอในโรงพยาบาล
ส่วนความดันสูงแบบ hypertensive emergency การลดความดัน ให้ลดลงอย่างรวดเร็ว ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องไม่ลืมว่า การลดความดันลงเร็วเช่นนั้นมักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง กล้ามเนื้อหัวใจ และไตลดลง…
เป้าหมาย คือ ลดความดัน Diastolic blood pressureลง 10 – 15 % หรือ 110 mm Hg ในเวลา 30 - 60 นาที
ในคนไข้ที่เราสงสัย หรือมี aortic dissection เราจะต้องลดความดันลงอย่างรวดเร็วภายใน 5 – 10 นาที จนกว่าเราจะลด systolic blood pressure < 120 mm Hg.
กล่าวโดยสรุป โรคความดันสูง เป็นโรคเรื้อรัง จะต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต การรักษานั้นเป็นเรื่องไม่ยาก แต่ที่มันยากส่วนใหญ่คนไข้ปล่อยให้เรื่อง “ง่าย” เป็น “เรื่องยาก”ขึ้นมา โดยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และเลิกล้มการกินยาโดยพละการ
ผลเสียจึงเกิดขึ้น และมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
Sourse:
Mayo clinic: Hypertension
Cleveland clinic: hypertensive crisis
วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554
หนูไม่รู้..ทำไมหนูท้อง.”
ยา หรือสารใด ๆ ที่เรารับประทานเข้าไป... จะถูกกระทำปฏิกิริยา...ด้วยเอ็นไซม์ชนิดหนึ่ง
และเมื่อใดก็ตาม ที่เราบังเอิญรับประทาน “ยา” หรือ “อาหารเสริม” ตัวอื่น ร่วมเข้าไปด้วย
ยา หรืออาหารเสริมนั้น อาจไปเสริม (induce) การทำงานของเอ็นไซม์ตัวที่ว่านั้นให้ทำงานผิดปกติไป
ผลที่เกิดขึ้น จะทำให้ยาที่รับประทานเข้าไป ถูกทำลาย และขับออกมามาก ทำให้ปริมาณยาในกระแสเลือดมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อการทำงานตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
กรณีเช่นนี้มีให้เห็นได้ในหลายๆ เรื่อง
นี้คือ ตัวอย่างหนึ่งที่เราได้พบเห็น:
“เอ็ง... ทำไม...ไม่เชื่อคำพูดของฉัน.หือ...
ฉันบอกให้แกกินยาคุม... อย่าพึ่งมีลูก... งานการยังไม่เข้าที่... แกยังไม่พร้อมที่จะมี...ในตอนนี้เลย
...ต้องการเพิ่มภาระให้ฉันต้องเลี้ยงดูลูกของแกอีกหรืออย่างไร ?”
นั่น...เป็นเสียงของหญิงวัยกลางคน พูดตะคอกใส่ลูกสาว
“หนูปฏิบัติตามที่คุณแม่บอกทุกประการ มิได้ขาดตกบกพร่องแม้แต่นิดเดียว...”
เสียงตอบจากลูกสาว วัย 20 เศษ
“แล้ว...เอ็ง ท้องป่องได้อย่างไร... ?” เสียงผู้เป็นแม่ตวาดกลับ
“หนูไม่รู้......” พร้อมกับเสียง...กระซิกๆ ...ร้องไห้ของเจ้าทุกข์(ลูกสาว)
นั่นคือเสียงของคน... ผู้ไม่สมหวัง
เป็นเสียงของคนที่ไม่พร้อมที่จะมีบุตร....เกิดผิดพลาด ตั้งครรภ์ขึ้นทั้งๆ ทีมีการกินยาคุม
ประเด็นที่เราจะหยิบยกขึ้นมาพูด คือเรื่องนี้แหละ.
“หนูไม่รู้....ทำไมหนูถึงตั้งท้องได้” ซึ่งมันตรงกับ Oral contraceptive failure
การที่สุภาพสตรีกินยาคุมแล้วปรากกว่า ไม่สามารถคุมไม่ให้ตั้งครรภ์ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การกินยาคุมร่วมกับยาบางอย่าง เช่น ปฏิชีวนะ และอาหารเสริม ยาเหล่านี้ อาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมาได้ทั้งๆ ที่กินยาคุม
ที่เป็นเช่นนั้น สาเหตุอาจเป็นเพราะว่า “ยา” หรือ “อาหารเสริม” ที่เรารับเพิ่มเข้าไปนั้น อาจไปทำปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกาย...
เป็นเหตุให้ “ยาคุม” ทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้สตรีผู้ใช้ยาคุมตั้งท้องได้
รายการต่อไปนี้อาจมีผลกระทบต่อยาคุมได้ทั้งนั้น:
1. Antibiotics
ยาปฏิชีวนะบางตัว เมื่อกินร่วมกับยาคุมเมื่อใด ยาตัวนั้นสามารถทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้ เช่น
• Rifampin: ยาที่ใช้ในการรักษาวัณโรค หรือเยื้อสมองอักเสบ
• Rifabutin: เป็นยาที่ใช้รักษาพวก mycobacterium avium complex
• Tetracycline
• Rifapentine: ใช้รักษาวัณโรค
• Cephalosporin (Keflin)
2. Anti-HIV Protease Inhibitors
Ritonavir เป็นยาต่อต้านไวรัส ซึ่งนำมาใช้รักษาโรค HIV หรือหากท่านใช้ยาต้านไวรัสตัวอื่นๆ เพื่อรักษา HIV หรือโรค AIDS
3. Anti-Seizers Medications
พวก Barbiturate ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคชัก (seizures) สามารถกระทบต่อประสิทธิภาพของยาคุมได้ ยาพวกนี้ได้แก่:
• Phenobarbital
• Primidone
นอกเหนือไปจากยาพวกนี้แล้ว ยังมียาชนิดอื่นที่นำมาใช้รักษาโรคชัก (epilepsy) และช่วยระงับความเจ็บปวด ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะมีผลต่อยาคุมเช่นเดียวกัน เช่น
• Oxcarbazepine
• Carbamazepine
• Phenytoin
• Topiramate
4. Antidepressants
ยาบางตัวที่นำมาใช้รักษาโรคซึมเศร้า (mental depression) เช่น Nefazodone สามารถทำให้ระดับของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป และมีผลต่อยาคุมได้เช่นกัน
5. Anti-fungal Medications
ยาที่นำมาใช้ในการรักษาเชื้อราทั้งหลาย โดยเฉพาะยาที่กิน สามารถลดประสิทธิภาพของยาคุมได้
6. Anxietry Treatments ยาที่นำมาใช้ในการรักษาความเครียด (anti-anxiety) จะมีผลกระทบต่อยาคุมได้ เช่น Diazempam หรือ Temazepam
7. Natural Supplements
นอกเหนือจากยาที่กล่าวมา อาหารเสริมบางอย่างจะมีผลกระทบต่อยาคุมได้ เช่น
• Soy Isoflavone ซึ่งมันก็คือนมถั่วเหลือง หรือน้ำเต้าฮู้ ทีเป็นอาหารเสริมนั่นเอง
• St. John Wort เป็นสมุนไพรชนิดใหม่ที่อาจจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก จัดเป็นอาหารเสริมสุขภาพ มีจำหน่ายในยุโรป และอเมริกา เป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาความผิดปกติของอารมณ์ มีผลกระทบต่อยาคุมเช่นกัน
8. Vomiting and Diarhea
การที่คนเราเกิดอาเจียน และท้องล้วง แม้ว่า ไม่ใช้ยาก็ตาม มีผลกระทบต่อยาคุมได้เช่นกัน
นอกจากนั้น ยาแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน เช่น Aprepitant ก็มีผลกระทบกับยาคุมเช่นกัน
9. ยาเม็ดลดน้ำตาล (รักษาโรคเบาหวาน) เช่น plioglitazone , troglitazone สามารถกระทำปฏิกิริยา ทำให้ยาคุมไม่ได้ผลได้เช่นกัน
จากรายการของยาต่างๆ ที่รวบรวมมา รวมถึงอาหารเสริม และ.....อาจทำให้สตรี ที่ยังไม่พร้อมที่จะมีลูกเกิดตั้งท้องได้ ทั้งๆ ที่กินยาคุม...
เมื่อเกิดความสงสัย และ เพื่อความแน่นอน ท่านควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง “สูตินารีแพทย์” น่าจะปลอดภัยทีสุด..
และเมื่อใดก็ตาม ที่เราบังเอิญรับประทาน “ยา” หรือ “อาหารเสริม” ตัวอื่น ร่วมเข้าไปด้วย
ยา หรืออาหารเสริมนั้น อาจไปเสริม (induce) การทำงานของเอ็นไซม์ตัวที่ว่านั้นให้ทำงานผิดปกติไป
ผลที่เกิดขึ้น จะทำให้ยาที่รับประทานเข้าไป ถูกทำลาย และขับออกมามาก ทำให้ปริมาณยาในกระแสเลือดมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อการทำงานตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
กรณีเช่นนี้มีให้เห็นได้ในหลายๆ เรื่อง
นี้คือ ตัวอย่างหนึ่งที่เราได้พบเห็น:
“เอ็ง... ทำไม...ไม่เชื่อคำพูดของฉัน.หือ...
ฉันบอกให้แกกินยาคุม... อย่าพึ่งมีลูก... งานการยังไม่เข้าที่... แกยังไม่พร้อมที่จะมี...ในตอนนี้เลย
...ต้องการเพิ่มภาระให้ฉันต้องเลี้ยงดูลูกของแกอีกหรืออย่างไร ?”
นั่น...เป็นเสียงของหญิงวัยกลางคน พูดตะคอกใส่ลูกสาว
“หนูปฏิบัติตามที่คุณแม่บอกทุกประการ มิได้ขาดตกบกพร่องแม้แต่นิดเดียว...”
เสียงตอบจากลูกสาว วัย 20 เศษ
“แล้ว...เอ็ง ท้องป่องได้อย่างไร... ?” เสียงผู้เป็นแม่ตวาดกลับ
“หนูไม่รู้......” พร้อมกับเสียง...กระซิกๆ ...ร้องไห้ของเจ้าทุกข์(ลูกสาว)
นั่นคือเสียงของคน... ผู้ไม่สมหวัง
เป็นเสียงของคนที่ไม่พร้อมที่จะมีบุตร....เกิดผิดพลาด ตั้งครรภ์ขึ้นทั้งๆ ทีมีการกินยาคุม
ประเด็นที่เราจะหยิบยกขึ้นมาพูด คือเรื่องนี้แหละ.
“หนูไม่รู้....ทำไมหนูถึงตั้งท้องได้” ซึ่งมันตรงกับ Oral contraceptive failure
การที่สุภาพสตรีกินยาคุมแล้วปรากกว่า ไม่สามารถคุมไม่ให้ตั้งครรภ์ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การกินยาคุมร่วมกับยาบางอย่าง เช่น ปฏิชีวนะ และอาหารเสริม ยาเหล่านี้ อาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมาได้ทั้งๆ ที่กินยาคุม
ที่เป็นเช่นนั้น สาเหตุอาจเป็นเพราะว่า “ยา” หรือ “อาหารเสริม” ที่เรารับเพิ่มเข้าไปนั้น อาจไปทำปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกาย...
เป็นเหตุให้ “ยาคุม” ทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้สตรีผู้ใช้ยาคุมตั้งท้องได้
รายการต่อไปนี้อาจมีผลกระทบต่อยาคุมได้ทั้งนั้น:
1. Antibiotics
ยาปฏิชีวนะบางตัว เมื่อกินร่วมกับยาคุมเมื่อใด ยาตัวนั้นสามารถทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้ เช่น
• Rifampin: ยาที่ใช้ในการรักษาวัณโรค หรือเยื้อสมองอักเสบ
• Rifabutin: เป็นยาที่ใช้รักษาพวก mycobacterium avium complex
• Tetracycline
• Rifapentine: ใช้รักษาวัณโรค
• Cephalosporin (Keflin)
2. Anti-HIV Protease Inhibitors
Ritonavir เป็นยาต่อต้านไวรัส ซึ่งนำมาใช้รักษาโรค HIV หรือหากท่านใช้ยาต้านไวรัสตัวอื่นๆ เพื่อรักษา HIV หรือโรค AIDS
3. Anti-Seizers Medications
พวก Barbiturate ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคชัก (seizures) สามารถกระทบต่อประสิทธิภาพของยาคุมได้ ยาพวกนี้ได้แก่:
• Phenobarbital
• Primidone
นอกเหนือไปจากยาพวกนี้แล้ว ยังมียาชนิดอื่นที่นำมาใช้รักษาโรคชัก (epilepsy) และช่วยระงับความเจ็บปวด ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะมีผลต่อยาคุมเช่นเดียวกัน เช่น
• Oxcarbazepine
• Carbamazepine
• Phenytoin
• Topiramate
4. Antidepressants
ยาบางตัวที่นำมาใช้รักษาโรคซึมเศร้า (mental depression) เช่น Nefazodone สามารถทำให้ระดับของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป และมีผลต่อยาคุมได้เช่นกัน
5. Anti-fungal Medications
ยาที่นำมาใช้ในการรักษาเชื้อราทั้งหลาย โดยเฉพาะยาที่กิน สามารถลดประสิทธิภาพของยาคุมได้
6. Anxietry Treatments ยาที่นำมาใช้ในการรักษาความเครียด (anti-anxiety) จะมีผลกระทบต่อยาคุมได้ เช่น Diazempam หรือ Temazepam
7. Natural Supplements
นอกเหนือจากยาที่กล่าวมา อาหารเสริมบางอย่างจะมีผลกระทบต่อยาคุมได้ เช่น
• Soy Isoflavone ซึ่งมันก็คือนมถั่วเหลือง หรือน้ำเต้าฮู้ ทีเป็นอาหารเสริมนั่นเอง
• St. John Wort เป็นสมุนไพรชนิดใหม่ที่อาจจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก จัดเป็นอาหารเสริมสุขภาพ มีจำหน่ายในยุโรป และอเมริกา เป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาความผิดปกติของอารมณ์ มีผลกระทบต่อยาคุมเช่นกัน
8. Vomiting and Diarhea
การที่คนเราเกิดอาเจียน และท้องล้วง แม้ว่า ไม่ใช้ยาก็ตาม มีผลกระทบต่อยาคุมได้เช่นกัน
นอกจากนั้น ยาแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน เช่น Aprepitant ก็มีผลกระทบกับยาคุมเช่นกัน
9. ยาเม็ดลดน้ำตาล (รักษาโรคเบาหวาน) เช่น plioglitazone , troglitazone สามารถกระทำปฏิกิริยา ทำให้ยาคุมไม่ได้ผลได้เช่นกัน
จากรายการของยาต่างๆ ที่รวบรวมมา รวมถึงอาหารเสริม และ.....อาจทำให้สตรี ที่ยังไม่พร้อมที่จะมีลูกเกิดตั้งท้องได้ ทั้งๆ ที่กินยาคุม...
เมื่อเกิดความสงสัย และ เพื่อความแน่นอน ท่านควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง “สูตินารีแพทย์” น่าจะปลอดภัยทีสุด..
Isolated Systolic Hypertension
เล่นกอ์ล์ฟครบ 18 หลุม พวกเราจะมีโอกาสคุย เสวนาตามแต่เหตุการณ์จะพาไป
มีทุกเรื่อง ไปตั้งแต่ทิศทางของการเมือง ไปเรื่อย...
สำหรับผู้เขียน สามารถคุยได้เรื่องเดียว ที่พอเป็นน้ำเป็นเนื้อกับเขาได้
นั่น คือ เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของเพื่อนพ้องที่ออกเล่นกอล์ฟด้วยกัน
“หมอ...ช่วยทำให้ผมหายข้อข้องใจหน่อย” เพื่อนคนหนึ่งเริ่มขึ้น ทำให้ทุกคนหันมาสนใจ เรื่องสุขภาพแทน
เรื่องมีว่า เพื่อนของเรามีประวัติเกี่ยวกับสุขภาพมานานหลายปี โดยมีความดันอยู่ระหว่าง
160/90 และ 150/85 mm Hg มาตลอด แต่ไม่มีอาการอะไรเลย
แพทย์คนแรก ซึ่งเป็นเพื่อนของเขาบอกเขาว่า
“อย่าไปสนใจเลย....แก่แล้ว มันเป็นเช่นนั้นเอง”
(คนแนะนำก็แก่ คนได้รับคำแนะนำก็แก่ด้วยกันทั้งคู่)
นั่นคือสิ่งที่เขาได้รับทราบ และไม่ทำอะไรเลย จนกระทั้งระยะหลัง ๆ มีหมอหนุ่มไฟแรงคน หนึ่ง ตรวจพบ และบอกเพื่อนของเราว่า เขาเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรได้รับการรักษาซะ... หนึ่งในพวกเราได้ถามเขาว่า
“เขาได้รับการรักษากับคุณหมอหนุ่มคนนั้นไหม ?”
เพื่อนของเราก็ตอบด้วยความมั่นใจว่า
“ไม่”
ผมก็อดที่จะแซวเขาไม่ได้ว่า
“ถ้าผมบอกว่า จากข้อมูลที่ให้มา เพื่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง สมควรได้รับการรักษา” ก่อนที่จะพูดอะไรต่อไป เพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มได้สอดขึ้นว่า
“ ญาติของเขาคนหนึ่งก็เป็น ลักษณะนี้ และลงเอยด้วยการเป็นอัมพาติไปเมื่อปีทีแล้วนี้เอง”
จากประโยคหลังนี่เอง ที่ทำให้เพื่อนที่ตั้งคำถาม เริ่มไม่สบายใจ...แสดงออกทางสีหน้า พร้อมกับตั้งคำถามว่า
“เขาเป็นโรคความดันจริงหรือเปล่า ?
...เขาควรจะทำ อย่างไรต่อ...”
นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเขียนเรื่อง
“Isolated systolic hypertension”
เพราะจากข้อมูลที่ได้รับนั้น เขาเป็นโรคความดันสูง ชนิด “isolated systolic hypertension นั่นเอง
เวลาเราเห็นแพทย์ หรือ พยาบาลวัดความดันให้เรา เราจะเห็นจะเห็นเลขตัวบนและตัวล่าง
ตัวบนหมายถึงความดันที่เกิดจากการที่หัวใจห้องล่าง “บีบ” ตัวเพื่อให้เลือดถูกฉีดไปเลี้ยงส่วน ต่างๆ ของร่างกาย เราเรียก systolic pressure
ส่วนตัวล่าง เป็นความดันที่วัดได้ขณะที่หัวใจคลายตัวจากการ “บีบ” ตัว เราเรียก diastolic pressure
ค่าตัวเลขทั้งสองจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่มีการบิบ หรือการเต้นของหัวใจ
ในขณะที่หัวใจมีการเต้น (contraction) หรือมีมีการบีบตัวในแต่ละครั้ง เลือดจะดันออก จากหัวใจไปสู่เส้นเลือดใหญ่ ไปตามแขนงของมัน เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และ ในขณะที่หัวใจมีการบีบตัวนั้น จะมีแรงให้ปรากฏในเส้นเลือด ซึ่งสามารถวัดได้ (systolic blood pressure)
ในช่วงที่หัวใจคลายตัวจากการบีบตัว ความดันที่วัดได้ในเส้นเลือด เราเรียก diastolic blood pressure
ตัวเลขที่วัดได้ทั้งสองตัว (บน และล่าง) มีความสำคัญ เพราะตัวเลขที่ปรากฏจะบอกให้เรา ทราบว่า คนๆ นั้น ว่าเป็นโรคความดันสูงหรือไม่ ซึ่งอาจสูงเฉพาะตัวบน เรียก systolic hypertension หรือสูงเฉพาะตัวล่าง diastolic hypertension หรือ สูงทั้งตัวบนและตัวล่าง
คนที่มีความดันปกติ จะพบว่า
Systolic blood pressure จะต้อง “ต่ำ” กว่า 140 mm Hg ถ้าตัวเลขสูงกว่านี้ให้ท่าน เข้าใจไว้เถอะว่า ท่านเป็นความดันสูงแล้ว
ส่วน Diastolic blood pressure จะต้องต่ำกว่า 90 mm Hg
ถ้าสูงกว่านั้น ถือว่าท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง diastolic hypertension โดยไม่ต้อง สงสัยใดๆ ทั้งสิ้น
คนส่วนใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 65 หรือ 70 แล้วเป็นโรคความดันหิตสูง จะพบว่า ความดันช่วง ล่าง-diastolic pressure จะสูงมากว่า 90 mm Hg ด้วย
ในคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรัง และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลเนื่องมาจาก ความ ดันตัวล่าง (diastolic hypertension) ทั้งนั้น
ปัญหาจาก diastolic hypertension คือ การทำให้เกิดรอยโรค (damage) แก่ หัวใจ, สมอง, และไต การ
ดังนั้น เป้าหมายแรกในการรักษาคนไข้เหล่านี้ คือการลดระดับความดันของ diastolic ให้ ลดลงต่ำกว่า 90 mm Hg
ส่วนเป้าหมายอันดับลองลงมา (secondary goal) คือ การลดความดัน systolic ให้ ต่ำลงให้น้อยกว่า 140 mm Hg
พูดมาถึงตรงนี้ ท่านคนเข้าใจแล้วใช่ไหมว่า สิ่งที่น่าห่วงมากมี่สุด คือ diastolic, pressure
ในระยะหลัง ๆ นี้ จะพบว่า คนสูงอายุมักจะมาพบแพทย์ด้วยโรคความดันโลหิตสูง ชนิด
Isolated Systolic Hypertension กันบ่อยๆ (ที่เป็นเช่นนั้นเพราะความยืดหยุ่นของเส้นเลือดแดง ได้เสียไปนั้นเอง) ในขณะที่ความดัน diastolic pressure อยู่ในเกณฑ์ปกติ
จากการศึกษาข้อมูลทางการแพทย์ เกิดมีข้อสงสัยว่า แพทย์ทีให้การรักษาโรคความดันตาม แบบที่เคยปฏิบัติมานั้น มีบางราบที่ทำการรักษาอย่าง aggressive เพื่อให้ความดันลงสู่เป้าหมาย บาง ราย ปรากฏว่าหย่อนยานไป
จากข้อสงเกตุ ได้นำไปสู่ข้อสรุปดังนี้
• คนไข้ซึ่งสุขภาพสมบูรณ์ดี เป้าหมายของการรักษาความดัน คือ 140/90 mm Hg น่าจะเพียงพอ แต่หากคนไข้รายนั้น มีปัญหาอย่างอื่นร่วม เช่น เป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคไตเรื้อรัง หากให้ความดันอยู่ในระดับ 140/80 mm Hg ถือว่ายังไม่พอ เพราะคนไข้ยังตกอยู่ภายใต้อันตรายจากการมีความดันสูงอยู่ จำเป็นต้องลดความดันให้ต่ำลงให้น้อยกว่า 140/90
• ในการรักษาคนสูงอายุ ที่เป็น isolated systolic hypertension (diastolic pressure มักจะปกติอยู่แล้ว) เมื่อได้รับการรักษา นอกจาก systolic pressure จะลดลง
แล้ว ความดัน diastolic ก็ถูกทำให้ลดลงด้วย บางรายพบว่า ความดัน diastolic ถูกทำให้ลดลงมากเกินไป (ต่ำกว่า 65-70 mmHg) ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัว นั่นคือ ทำให้เลือดไปเลียงสมองไม่พอ...เกิดเป็นภาวะของสมองขาดเลือด (stroke)ได้
เป้าหมายการรักษา (New recommended treatement goals)
1. ในคนไข้ที่เป็น typical diastolic hypertension ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่อย่างใด ให้ทำการ รักษาตามหลักทั่วไป คือให้ความดันลดลงต่ำกว่า 140/90 mm Hg
2. สำหรับคนไข้สูงอายุที่เป็น isolated systolic hypertension ในการรักษาคนไข้พวกนี้ มีข้อควรระมัดระวัง คือ ไม่ให้ระดับความดัน diastolic ต่ำกว่า 65 mm Hg
แม้ว่า ผลของการลด systolic pressure จะไม่ลดลงตามเป้าก็ต้องยอม เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
3. สำหรับคนไข้ที่จัดอยู่ในปัจจัยเสี่ยงสูง (high risk) ร่วมกับการมี high diastolic blood pressure เราจะต้องให้การรักษาอย่างเข้มข้นหน่อย เพื่อลดความดัน diastolic pressure ให้ลดลงมาถึง 80 หรือต่ำกว่านั้นให้ได้
แต่ ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่
o คนไข้เป็นโรคเบาหวาน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เราจะต้องลดความดันลงมายัง 130/80 หรือต่ำกว่า
o รายที่เป็นโรคไต (renal insufficiency) เพื่อเป็นการป้องกันไม้ให้โรคไตเลวลงไปอีก เราจะต้องลดความดันลงถึง 125/75 หรือต่ำกว่านั้น
o คนไข้สีผิว (ดำ) มักจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเรา ไม่ทราบเหตุว่าเป็นเพราะเหตุใด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าว เราจะต้องลด diastolic pressure ให้ต่ำกว่า 85
กล่าวโดยสรุป กรณีของเพือนรวมเล่นกอล์ เป็นโรคความดันสูงชนิด isolated systolic hypetension อย่างแน่นอน สมควรได้รับการรักษาตามที่ได้แนะนำมา
Sourse:
Richard N. Fogoros, M.D. New Treatmnet Goals for Hyertension. About.com
Guide.
มีทุกเรื่อง ไปตั้งแต่ทิศทางของการเมือง ไปเรื่อย...
สำหรับผู้เขียน สามารถคุยได้เรื่องเดียว ที่พอเป็นน้ำเป็นเนื้อกับเขาได้
นั่น คือ เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของเพื่อนพ้องที่ออกเล่นกอล์ฟด้วยกัน
“หมอ...ช่วยทำให้ผมหายข้อข้องใจหน่อย” เพื่อนคนหนึ่งเริ่มขึ้น ทำให้ทุกคนหันมาสนใจ เรื่องสุขภาพแทน
เรื่องมีว่า เพื่อนของเรามีประวัติเกี่ยวกับสุขภาพมานานหลายปี โดยมีความดันอยู่ระหว่าง
160/90 และ 150/85 mm Hg มาตลอด แต่ไม่มีอาการอะไรเลย
แพทย์คนแรก ซึ่งเป็นเพื่อนของเขาบอกเขาว่า
“อย่าไปสนใจเลย....แก่แล้ว มันเป็นเช่นนั้นเอง”
(คนแนะนำก็แก่ คนได้รับคำแนะนำก็แก่ด้วยกันทั้งคู่)
นั่นคือสิ่งที่เขาได้รับทราบ และไม่ทำอะไรเลย จนกระทั้งระยะหลัง ๆ มีหมอหนุ่มไฟแรงคน หนึ่ง ตรวจพบ และบอกเพื่อนของเราว่า เขาเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรได้รับการรักษาซะ... หนึ่งในพวกเราได้ถามเขาว่า
“เขาได้รับการรักษากับคุณหมอหนุ่มคนนั้นไหม ?”
เพื่อนของเราก็ตอบด้วยความมั่นใจว่า
“ไม่”
ผมก็อดที่จะแซวเขาไม่ได้ว่า
“ถ้าผมบอกว่า จากข้อมูลที่ให้มา เพื่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง สมควรได้รับการรักษา” ก่อนที่จะพูดอะไรต่อไป เพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มได้สอดขึ้นว่า
“ ญาติของเขาคนหนึ่งก็เป็น ลักษณะนี้ และลงเอยด้วยการเป็นอัมพาติไปเมื่อปีทีแล้วนี้เอง”
จากประโยคหลังนี่เอง ที่ทำให้เพื่อนที่ตั้งคำถาม เริ่มไม่สบายใจ...แสดงออกทางสีหน้า พร้อมกับตั้งคำถามว่า
“เขาเป็นโรคความดันจริงหรือเปล่า ?
...เขาควรจะทำ อย่างไรต่อ...”
นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเขียนเรื่อง
“Isolated systolic hypertension”
เพราะจากข้อมูลที่ได้รับนั้น เขาเป็นโรคความดันสูง ชนิด “isolated systolic hypertension นั่นเอง
เวลาเราเห็นแพทย์ หรือ พยาบาลวัดความดันให้เรา เราจะเห็นจะเห็นเลขตัวบนและตัวล่าง
ตัวบนหมายถึงความดันที่เกิดจากการที่หัวใจห้องล่าง “บีบ” ตัวเพื่อให้เลือดถูกฉีดไปเลี้ยงส่วน ต่างๆ ของร่างกาย เราเรียก systolic pressure
ส่วนตัวล่าง เป็นความดันที่วัดได้ขณะที่หัวใจคลายตัวจากการ “บีบ” ตัว เราเรียก diastolic pressure
ค่าตัวเลขทั้งสองจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่มีการบิบ หรือการเต้นของหัวใจ
ในขณะที่หัวใจมีการเต้น (contraction) หรือมีมีการบีบตัวในแต่ละครั้ง เลือดจะดันออก จากหัวใจไปสู่เส้นเลือดใหญ่ ไปตามแขนงของมัน เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และ ในขณะที่หัวใจมีการบีบตัวนั้น จะมีแรงให้ปรากฏในเส้นเลือด ซึ่งสามารถวัดได้ (systolic blood pressure)
ในช่วงที่หัวใจคลายตัวจากการบีบตัว ความดันที่วัดได้ในเส้นเลือด เราเรียก diastolic blood pressure
ตัวเลขที่วัดได้ทั้งสองตัว (บน และล่าง) มีความสำคัญ เพราะตัวเลขที่ปรากฏจะบอกให้เรา ทราบว่า คนๆ นั้น ว่าเป็นโรคความดันสูงหรือไม่ ซึ่งอาจสูงเฉพาะตัวบน เรียก systolic hypertension หรือสูงเฉพาะตัวล่าง diastolic hypertension หรือ สูงทั้งตัวบนและตัวล่าง
คนที่มีความดันปกติ จะพบว่า
Systolic blood pressure จะต้อง “ต่ำ” กว่า 140 mm Hg ถ้าตัวเลขสูงกว่านี้ให้ท่าน เข้าใจไว้เถอะว่า ท่านเป็นความดันสูงแล้ว
ส่วน Diastolic blood pressure จะต้องต่ำกว่า 90 mm Hg
ถ้าสูงกว่านั้น ถือว่าท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง diastolic hypertension โดยไม่ต้อง สงสัยใดๆ ทั้งสิ้น
คนส่วนใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 65 หรือ 70 แล้วเป็นโรคความดันหิตสูง จะพบว่า ความดันช่วง ล่าง-diastolic pressure จะสูงมากว่า 90 mm Hg ด้วย
ในคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรัง และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลเนื่องมาจาก ความ ดันตัวล่าง (diastolic hypertension) ทั้งนั้น
ปัญหาจาก diastolic hypertension คือ การทำให้เกิดรอยโรค (damage) แก่ หัวใจ, สมอง, และไต การ
ดังนั้น เป้าหมายแรกในการรักษาคนไข้เหล่านี้ คือการลดระดับความดันของ diastolic ให้ ลดลงต่ำกว่า 90 mm Hg
ส่วนเป้าหมายอันดับลองลงมา (secondary goal) คือ การลดความดัน systolic ให้ ต่ำลงให้น้อยกว่า 140 mm Hg
พูดมาถึงตรงนี้ ท่านคนเข้าใจแล้วใช่ไหมว่า สิ่งที่น่าห่วงมากมี่สุด คือ diastolic, pressure
ในระยะหลัง ๆ นี้ จะพบว่า คนสูงอายุมักจะมาพบแพทย์ด้วยโรคความดันโลหิตสูง ชนิด
Isolated Systolic Hypertension กันบ่อยๆ (ที่เป็นเช่นนั้นเพราะความยืดหยุ่นของเส้นเลือดแดง ได้เสียไปนั้นเอง) ในขณะที่ความดัน diastolic pressure อยู่ในเกณฑ์ปกติ
จากการศึกษาข้อมูลทางการแพทย์ เกิดมีข้อสงสัยว่า แพทย์ทีให้การรักษาโรคความดันตาม แบบที่เคยปฏิบัติมานั้น มีบางราบที่ทำการรักษาอย่าง aggressive เพื่อให้ความดันลงสู่เป้าหมาย บาง ราย ปรากฏว่าหย่อนยานไป
จากข้อสงเกตุ ได้นำไปสู่ข้อสรุปดังนี้
• คนไข้ซึ่งสุขภาพสมบูรณ์ดี เป้าหมายของการรักษาความดัน คือ 140/90 mm Hg น่าจะเพียงพอ แต่หากคนไข้รายนั้น มีปัญหาอย่างอื่นร่วม เช่น เป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคไตเรื้อรัง หากให้ความดันอยู่ในระดับ 140/80 mm Hg ถือว่ายังไม่พอ เพราะคนไข้ยังตกอยู่ภายใต้อันตรายจากการมีความดันสูงอยู่ จำเป็นต้องลดความดันให้ต่ำลงให้น้อยกว่า 140/90
• ในการรักษาคนสูงอายุ ที่เป็น isolated systolic hypertension (diastolic pressure มักจะปกติอยู่แล้ว) เมื่อได้รับการรักษา นอกจาก systolic pressure จะลดลง
แล้ว ความดัน diastolic ก็ถูกทำให้ลดลงด้วย บางรายพบว่า ความดัน diastolic ถูกทำให้ลดลงมากเกินไป (ต่ำกว่า 65-70 mmHg) ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัว นั่นคือ ทำให้เลือดไปเลียงสมองไม่พอ...เกิดเป็นภาวะของสมองขาดเลือด (stroke)ได้
เป้าหมายการรักษา (New recommended treatement goals)
1. ในคนไข้ที่เป็น typical diastolic hypertension ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่อย่างใด ให้ทำการ รักษาตามหลักทั่วไป คือให้ความดันลดลงต่ำกว่า 140/90 mm Hg
2. สำหรับคนไข้สูงอายุที่เป็น isolated systolic hypertension ในการรักษาคนไข้พวกนี้ มีข้อควรระมัดระวัง คือ ไม่ให้ระดับความดัน diastolic ต่ำกว่า 65 mm Hg
แม้ว่า ผลของการลด systolic pressure จะไม่ลดลงตามเป้าก็ต้องยอม เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
3. สำหรับคนไข้ที่จัดอยู่ในปัจจัยเสี่ยงสูง (high risk) ร่วมกับการมี high diastolic blood pressure เราจะต้องให้การรักษาอย่างเข้มข้นหน่อย เพื่อลดความดัน diastolic pressure ให้ลดลงมาถึง 80 หรือต่ำกว่านั้นให้ได้
แต่ ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่
o คนไข้เป็นโรคเบาหวาน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เราจะต้องลดความดันลงมายัง 130/80 หรือต่ำกว่า
o รายที่เป็นโรคไต (renal insufficiency) เพื่อเป็นการป้องกันไม้ให้โรคไตเลวลงไปอีก เราจะต้องลดความดันลงถึง 125/75 หรือต่ำกว่านั้น
o คนไข้สีผิว (ดำ) มักจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเรา ไม่ทราบเหตุว่าเป็นเพราะเหตุใด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าว เราจะต้องลด diastolic pressure ให้ต่ำกว่า 85
กล่าวโดยสรุป กรณีของเพือนรวมเล่นกอล์ เป็นโรคความดันสูงชนิด isolated systolic hypetension อย่างแน่นอน สมควรได้รับการรักษาตามที่ได้แนะนำมา
Sourse:
Richard N. Fogoros, M.D. New Treatmnet Goals for Hyertension. About.com
Guide.
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554
Antibiotics and alcohol: ควรกิน ร่วมกันหรือไม่?
ออกรอบเล่นกอล์ฟในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ มี “เรื่อง” มาเล่าสู่กันฟังได้อีกหนึ่งเรื่อง
หนึ่งในก๊วน ก่อนออกสวิง ต้องเปิดกระป๋องเบียร์ก่อน
“เล่นกอลฟ์ไป....ดื่มไป” จากหลุมแรกจนกระทั้งหลุมสุดท้าย
เป็นที่น่าสังเกตว่า เพื่อนรายนี้ ตอนต้นๆ ของการออกรอบ จะเป็นหมูสนามทุกหลุม แต่พอเบียรที่ดื่มไปหมดไปหลายกระป๋องนี้ซิ ...
เล่นเอาพักพวกหนาวไปตาม ๆ กัน
ไม่ให้เกิดอาการอย่างนั้นได้อย่างไรละ... ในเมื่อเพื่อนของเราคนนี้ หลังจากเขาดื่มได้ทีเท่านั้นแหละ อะไร ๆ ก็ดีไปหมด
สวิงลูกกอล์ฟแต่ละครั้ง ตรงแน่วไปด้านหน้า เหมือนกับสั่งได้ เวลาพัทลูกกอล์ฟลงหลุมทีไร ไกลๆ ก็ไม่พลาด
จะไม่ให้เพื่อนขยาดอย่างไรไหว ?
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น....?
เพื่อนๆ ที่ไมชอบดื่ม ก็ตอบว่า
“จิตเขาสงบขึ้น...” ผู้เขียนสังเกตดูก็พบว่า เออ...เป็นเช่นนั้นจริง
เพื่อนคนนี้ ตีลูกกอล์ฟ ไป...เดินไปข้างหน้าด้วยอารมณ์ที่สดใส พร้อมกับพูดตลกโปกฮาไปตลอดทาง
ทำให้ทุกคนในก๊วนหวัวเราะกันตลอดเวลาที่เล่นกอล์ฟ
มีคำพูดอย่างหนึ่งกระตุ้นให้ผู้เขียนอยากเขียน...
เมื่อเพื่อนคนหนึ่งในก๊วน บอกว่า
เพื่อนของเราคนนี้ ชอบดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดที่ขวางหน้า....
แม้กระทั้ง “ยา” เขายังใช้เหล้าแทนน้ำเพื่อดื่มยาเลย
สำหรับเพื่อนคนดังกล่าว ข้อเขียนที่จะเสนอไปในวันนี้ ไม่มี่ประโยชน์สำหรับเพื่อนคนนี้อย่างแน่นอน
แต่เขียนขึ้น.....เพื่อคลายความเครียดของผู้เขียนเอง ?
เขียนแล้วเกิดควารู้สึกสบายใจอย่างบอกไม่ถูก
“เมื่อท่านกินยาปฏิชีวนะ...ท่านควรดื่มเหล้าแทนน้ำ หรือไม่ ?”
ความเป็นจริงมีว่า ผลของแอลกอฮอล์...ร่วมกับยาปฏิชีวนะ มีได้ต่างกัน ขึ้นกับว่า ยาปฏิชีวนะที่ท่าน “กิน” เข้าไปนั้น เป็นยาชนิดไหน
ส่วนใหญ่แล้ว แอลกอฮอล์ ไม่ลดประสิทธิภาพของยาที่เรากินกันหรอก
ผลที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ร่วมกับยาปฏิชีวนะ:
ทั้งยา และแอลกอฮอล์ ต่างก็มีอาการเหมือนกัน เช่น มีอาการทางท้อง (จุก, เสียด, แน่นท้อง...)
หากเราให้ร่วมกัน อาการดังกล่าวอาจเพิ่มมากขึ้น...
มียาปฏิชีวนะบางตัวเท่านั้น ที่ท่านควรจำเอาไว้ ว่า อย่าได้กินมันพร้อมกับแอลกอฮอล์ เป็นอันขาด เพราะหากท่านขืน ดื่ม-กิน ร่วมกันเมื่อไหร่...
ผลข้างเคียงอาจเกิดได้อย่างรุนแรง
เช่น เกิดอาการ “ปวดศีรษะ” “หน้าแดง” “คลื่นไส้” “อาเจียน” และ “ หัวใจเต้นเร็ว”
ยา ที่ให้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แล้วเกิดอาการดังกล่าว ได้แก่:
• Metronidazole (Flagyl)
• Tinidazole(Tindamax)
• Trimethoprim- sulfametoxamole (Bactrim)
นอกเหนือไปจากนี้แล้ว เราควรทราบเอาไว้ว่า ยารักษาโรคหวัดทั้งหลาย รวมไปถึงน้ำยาบ้วนปากต่างมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ด้วยเสมอ...
ท่านควรตรวจเช็คฉลากยาทุกครั้ง...หากมีแอลกฮอล์ อย่าได้กินร่วมกับยาปฏิชีวนะเลย…
คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นอาจิณ หรือนานๆ ดื่มครั้ง แต่ดื่มหนัก จะมีผลกระทบต่อ “ตับ” และอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาเคมีของยาบางอย่างได้
ยกตัวอย่าง ยา doxycycline (Vibramycin,Doryx) จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ตับ ซึ่งในกรณีดังกล่าว ท่านจะต้องกินยาที่มีขนาดสูงขึ้น เพื่อให้ได้รับประสิทธิผล (therapeutic effect) ของยา
กล่าวโดยสรุป การดื่มแอลกอฮอล์ สามารถลดพละกำลัง (energy) ของท่านได้ ตลอดรวมไปถึงการฟื้นตัวจากความเจ็บไข้ได้ป่วยของท่านจะช้าลง....
ดังนั้น ในขณะที่ท่านกินยาปฏิชีวนะ ให้ท่านงดการดื่มแอลกอฮอล์เอาไว้ก่อน
เมื่อ หาย หรือ ฟื้นตัวดีเป็นปกติแล้ว ท่านค่อยว่ากันไป....
หนึ่งในก๊วน ก่อนออกสวิง ต้องเปิดกระป๋องเบียร์ก่อน
“เล่นกอลฟ์ไป....ดื่มไป” จากหลุมแรกจนกระทั้งหลุมสุดท้าย
เป็นที่น่าสังเกตว่า เพื่อนรายนี้ ตอนต้นๆ ของการออกรอบ จะเป็นหมูสนามทุกหลุม แต่พอเบียรที่ดื่มไปหมดไปหลายกระป๋องนี้ซิ ...
เล่นเอาพักพวกหนาวไปตาม ๆ กัน
ไม่ให้เกิดอาการอย่างนั้นได้อย่างไรละ... ในเมื่อเพื่อนของเราคนนี้ หลังจากเขาดื่มได้ทีเท่านั้นแหละ อะไร ๆ ก็ดีไปหมด
สวิงลูกกอล์ฟแต่ละครั้ง ตรงแน่วไปด้านหน้า เหมือนกับสั่งได้ เวลาพัทลูกกอล์ฟลงหลุมทีไร ไกลๆ ก็ไม่พลาด
จะไม่ให้เพื่อนขยาดอย่างไรไหว ?
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น....?
เพื่อนๆ ที่ไมชอบดื่ม ก็ตอบว่า
“จิตเขาสงบขึ้น...” ผู้เขียนสังเกตดูก็พบว่า เออ...เป็นเช่นนั้นจริง
เพื่อนคนนี้ ตีลูกกอล์ฟ ไป...เดินไปข้างหน้าด้วยอารมณ์ที่สดใส พร้อมกับพูดตลกโปกฮาไปตลอดทาง
ทำให้ทุกคนในก๊วนหวัวเราะกันตลอดเวลาที่เล่นกอล์ฟ
มีคำพูดอย่างหนึ่งกระตุ้นให้ผู้เขียนอยากเขียน...
เมื่อเพื่อนคนหนึ่งในก๊วน บอกว่า
เพื่อนของเราคนนี้ ชอบดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดที่ขวางหน้า....
แม้กระทั้ง “ยา” เขายังใช้เหล้าแทนน้ำเพื่อดื่มยาเลย
สำหรับเพื่อนคนดังกล่าว ข้อเขียนที่จะเสนอไปในวันนี้ ไม่มี่ประโยชน์สำหรับเพื่อนคนนี้อย่างแน่นอน
แต่เขียนขึ้น.....เพื่อคลายความเครียดของผู้เขียนเอง ?
เขียนแล้วเกิดควารู้สึกสบายใจอย่างบอกไม่ถูก
“เมื่อท่านกินยาปฏิชีวนะ...ท่านควรดื่มเหล้าแทนน้ำ หรือไม่ ?”
ความเป็นจริงมีว่า ผลของแอลกอฮอล์...ร่วมกับยาปฏิชีวนะ มีได้ต่างกัน ขึ้นกับว่า ยาปฏิชีวนะที่ท่าน “กิน” เข้าไปนั้น เป็นยาชนิดไหน
ส่วนใหญ่แล้ว แอลกอฮอล์ ไม่ลดประสิทธิภาพของยาที่เรากินกันหรอก
ผลที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ร่วมกับยาปฏิชีวนะ:
ทั้งยา และแอลกอฮอล์ ต่างก็มีอาการเหมือนกัน เช่น มีอาการทางท้อง (จุก, เสียด, แน่นท้อง...)
หากเราให้ร่วมกัน อาการดังกล่าวอาจเพิ่มมากขึ้น...
มียาปฏิชีวนะบางตัวเท่านั้น ที่ท่านควรจำเอาไว้ ว่า อย่าได้กินมันพร้อมกับแอลกอฮอล์ เป็นอันขาด เพราะหากท่านขืน ดื่ม-กิน ร่วมกันเมื่อไหร่...
ผลข้างเคียงอาจเกิดได้อย่างรุนแรง
เช่น เกิดอาการ “ปวดศีรษะ” “หน้าแดง” “คลื่นไส้” “อาเจียน” และ “ หัวใจเต้นเร็ว”
ยา ที่ให้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แล้วเกิดอาการดังกล่าว ได้แก่:
• Metronidazole (Flagyl)
• Tinidazole(Tindamax)
• Trimethoprim- sulfametoxamole (Bactrim)
นอกเหนือไปจากนี้แล้ว เราควรทราบเอาไว้ว่า ยารักษาโรคหวัดทั้งหลาย รวมไปถึงน้ำยาบ้วนปากต่างมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ด้วยเสมอ...
ท่านควรตรวจเช็คฉลากยาทุกครั้ง...หากมีแอลกฮอล์ อย่าได้กินร่วมกับยาปฏิชีวนะเลย…
คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นอาจิณ หรือนานๆ ดื่มครั้ง แต่ดื่มหนัก จะมีผลกระทบต่อ “ตับ” และอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาเคมีของยาบางอย่างได้
ยกตัวอย่าง ยา doxycycline (Vibramycin,Doryx) จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ตับ ซึ่งในกรณีดังกล่าว ท่านจะต้องกินยาที่มีขนาดสูงขึ้น เพื่อให้ได้รับประสิทธิผล (therapeutic effect) ของยา
กล่าวโดยสรุป การดื่มแอลกอฮอล์ สามารถลดพละกำลัง (energy) ของท่านได้ ตลอดรวมไปถึงการฟื้นตัวจากความเจ็บไข้ได้ป่วยของท่านจะช้าลง....
ดังนั้น ในขณะที่ท่านกินยาปฏิชีวนะ ให้ท่านงดการดื่มแอลกอฮอล์เอาไว้ก่อน
เมื่อ หาย หรือ ฟื้นตัวดีเป็นปกติแล้ว ท่านค่อยว่ากันไป....
: ภาวะอ่อนหล้า และปวดกล้ามเนื้อหลังการรับประทานอาหาร
ท่านเคยรู้ หรือเคยรับฟังปัญหาเช่นนี้มาบ้างไหม ?
“คุณหมอครับ ช่วยอธิบายเรื่องต่อไปนี้ให้ผมฟังหน่อยซิ”
กระทาชายนายหนึ่ง ซึ่งเป็นเพื่อนของผู้เขียนเอง ตั้งประเด็นการพูดคุยในขณะออกรอบเล่นกอล์ฟในวันหยุดสุดสัปดาห์
เนื่องจากวันนั้น เป็นวันที่ดีที่สุดของผู้เขียน ทำอะไรก็ดีไปหมด เล่นกอล์ฟได้ดีเป็นพิเศษ จึงตอบรับเพื่อนด้วยความยินดี ส่วนเพื่อนของเราแสดง สีหน้าไม่ค่อยจะปกตินัก ได้ขยายความต่อว่า
“ผมมีความทุกข์ใจมาก ไม่รู้จะช่วยเหลือภรรยาของผมได้อย่างไร
หลังจากที่เธอรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อย เธอจะบ่นว่า ปวดกล้ามเนื้อทั่วไป และรู้สึกเหนื่อยหล้าเหลือเกิน ไม่อยากจะทำอะไรทั้งสิ้น
ตอนแรก ๆ ผมก็ไม่ได้คิดอะไรมาก... แต่ที่ไหนได้ เธอบ่นทุกวัน”
เพื่อนเราพูดไป ถอนหายใจไป หยุดได้พักหนึ่ง จึงกล่าวต่อ ทำให้เพื่อนๆ หยุดฟังชั่วขณะ
จากนั้นเพื่อนของเราก็พูดต่อ
“ ผมมีความรู้สึก เหนื่อยเพลีย กับปัญหาที่เกิดขึ้นกับของภรรยาจนไม่รู้จะทำอย่างไร
บางครั้ง เพื่อหลีกหนีปัญหา ผมไม่อยากนั่งกินข้าวร่วมกับเธอแล้ว...
คุณหมอ พอที่จะแนะนำ...ให้ผมได้ไหม?”
เพื่อนของเราเอ่ยขึ้น โดยไม่สนใจต่อผลของการเล่นกอล์ฟในวันนั้นเลย
“มิน่าละ หมู่นี้เล่นกอล์ฟแพ้คุณหมอแทบทุกหลุม ”
เพื่อน ๆ ที่เล่นกอล์ฟด้วยกัน สอดขึ้นด้วยความคะนองปาก อยากมีส่วนร่วมในการสนทนาด้วย
นั่นคือส่วนหนึ่งของการพูดคุยในขณะเล่นกอล์ฟ
อาการเหนื่อยเพลีย หลังการทำงานอย่างหนัก หรือการออกกำลังกาย เป็นเรื่องปรกติ ที่เกิดขึ้นกับ
ทุกคนอยู่แล้ว แต่เมื่อได้รับการพักผ่อน อาการเหนื่อยเพลียก็จะหายไป
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า มีบางคน มีภาวะเหนื่อยเพลีย หลังการรับประทานอาหาร
ขณะเดียวกันก็มีอาการปวดกล้ามเนื้อด้วย หลังการพักผ่อน อาการน่าจะหายไป ที่ไหนได้ อาการยังคงอยู่เหมือนเดิม ไม่หาย...
“อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการขึ้นเช่นนั้น
ภรรยาของผมได้รับการตรวจจากแพทย์หลายคน...แพทย์ได้ทำการตรวจอย่างละเอียดบอกว่า ผลการตรวจทุกชนิดปรกติทุกประการ”
เพื่อนเจ้าของปัญหาให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ผมเชื่อตามที่เพื่อนบอก กรณี ภรรยา ของเขาเพื่อน น่าจะจัดอยู่ในกลุ่ม “ภาวะเพลียเรื้อรัง”
เมื่อทำการตรวจสอบทางเว็บฯ ศึกษาบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ทางอินเตอรเน็ทดู ก็จะพบว่า อาการเหนื่อยเพลีย ร่วมกับการปวดกล้ามเนื้อ หลังการกินข้าว ดูเหมือนว่าเป็นความผิดปรกติของร่างกายอย่างหนึ่ง ซึ่งมีเกิดอาการเพลีย...ขึ้นมา แล้วแพทย์เราไม่สามารถตรวจพบได้ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเช่นนั้นขึ้น
“เป็นโรคประสาท หรือเปล่าหมอ ?” เพื่อนอีกคนกระซิบถามเบา ๆ กลัวเพื่อนเจ้าของปัญหาจะโกรธเอา
สำหรับกรณีที่เรานำเสนอมา ภาวะเหนื่อยเพลียของเธอ ไม่เพียงแต่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันของเธอเท่านั้น...
ฟังจากน้ำเสียงของเพื่อนเรา ดูเหมือนว่า ชีวิตสมรสของเธอก็ไม่ค่อยจะราบรื่นนัก สังเกตุการเล่นกอล์ฟของเพื่อนเราก็รู้สึกว่า เล่นได้ไม่ดีเลย เป็นหมูสนามทุกหลุม .
ในฐานะเพื่อน เราขอบอกอย่างไม่อ้อมค้อม แบบฟันธงเลยว่า เธอมีอาการเหนื่อยเพลีย..จริง ไม่ใช่เสแสร้ง เพื่อเรียกร้องความสนใจจากสามี ตามทีคุณเข้าใจหรอก
มันเกิดขึ้นกับเธอจริง ๆ
กลุ่มอาการเหนื่อยหล้า ชนิดเรื้อรัง หรือ chronic fatigue syndrome จะมีลักษณะอาการเหนื่อยเพลียอย่างหนัก แม้ว่าจะได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ เช่น การนอนหลับอย่างเต็มที่ อาการก็ยังไม่หาย
ตามความเป็นจริงแล้ว คนที่ทรมานด้วยภาวะนี้ อาการจะแย่ลงทุก ๆ ครั้งที่เธอรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และพวกน้ำตาลในปริมาณมาก ๆ
“ผู้ชาย เกิดภาวะดังกล่าวได้ไหมหมอ ?” เพื่อนอีกคนในก๊วนเอ่ยถาม
เพศชายก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่า จะพบในเพศหญิงได้มากกว่าชายถึง 2-4 เท่า
อย่างไรก็ตาม คนไข้ผู้ซึ่งไม่เคยสนใจใยดีในเรื่องอาหารที่ตนเองกิน มักจะเป็นคนที่มีอาการอ่อนหล้า และปวดกล้ามเนื้อหลังกินข้าว และเป็นการยากมาก ๆ ที่เราจะบ่งบอกได้ว่า ใครคนไหนเป็นโรคเหนื่อยหล้า.. (chronic fatigue syndrome) ไม่ใช้กิดจากภาวะอื่น
เหตุผล เพราะ อาการที่เกิดขึ้นนั้น มันไม่ชัดเจน มักจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น อาการเหนื่อยหล้า ปวดกล้ามเนื้อ ความจำเสื่อม ไม่สนใจต่อสภาพรอบตัว นอนไม่หลับ และมีอาการอ่อนแรง...
ก่อนที่จะมีโอกาสพูดต่อไป ก็ได้รับการขัดจังหวะจากเพื่อน เจ้าของปัญหา ว่า
“หมอมีทางรักษา ภรรยาของผมให้หายขาดได้ไหม
เห็นสีหน้าของเพื่อนแล้ว รู้สึกสงสาร เพราะหมอฝรั่งเขาบอก ว่า ภาวะดังกล่าว ไม่มีทางรักษาหายขาดหรอก แต่พอมีทางทำให้ภาวะที่เธอเป็นนั้นดีขึ้นได้ ให้เธอกลับสู่สังคมได้ตามเดิม
สำหรับเรา มีความเห็นแตกต่างออกไป
วิธีการที่จะทำให้ภาวะเหนื่อยเพลียหาย มีทางทำได้ แต่ที่ไม่หาย หรือไม่ประสบผล ตามที่ควรจะเป็นอาจเป็นเพราะเธอผู้ป่วย ขี้เกียจ ไม่ทำตามคำแนะนำเท่านั้นเอง
ข้อแรก : ให้เธอระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน หมั่นตรวจ และสังเกตให้ได้ว่า อาหารชนิดใด ที่กินเข้าไปแล้ว เกิดอาการเหนื่อยเพลีย... เธอต้องหลีกเลี่ยงให้ได้
ให้ลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลลง
ข้อที่สอง : ให้เธอพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะให้นอนหลับพักผ่อนคืนละ 6 ชม. เป็นอย่างน้อย
ข้อสาม : ให้เธอ ปฏิบัติธรรม หมายถึงให้ภาวนาดูกาย ดูจิต นั่นแหละ ให้หมั่นทำทุกวัน...
บางท่านเคยอุปมา อุปมัยเอาไว้ว่า ร่างกายที่สกปรกจากเหงื่อไคล ถูกทำให้สะอาดได้ด้วยการอาบน้ำฉันใด จิตใจที่สกปรกด้วยกิเลสทั้งหลาย ก็สามารถขจัด หรือทำให้สะอาดหมดจดได้ด้วยการปฏิบัติธรรม... การเจริญสติทุกวัน (ต้องถือศิล 5 ด้วย) ก็จะสามารถทำให้จิตของเราสะอาด สดชื่น และช่วยทำให้อาการที่เธอเป็นดีขึ้นได้
ข้อสุดท้าย : ให้เธอออกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที จะออกกำลังกายในรูปแบบใดก็ได้ เช่น ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ เล่นแอร์โรบิค หรือ เดินเร็ว สลับช้าอย่างละ 15 นาที เป็นต้น
เราคงจำได้ว่า รุ่น คุณปู่ คุณย่า ของเรา เคยกล่าว “กิฬา เป็น ยาวิเศษ” กันทุกคน
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องกระทำอย่างหนักหรอก เอาแค่เดินเร็ว สลับกับการเดินช้า วันละครึ่งชั่วโมง จะทำให้มีการหลั่งสาร “เอ็นดอร์ฟีนส์” ออกมาจากสมองของเรา สารตัวนี้แหละที่คุณปู่ คุณย่าของเราพูดว่า “กิฬา เป็นยาวิเศษ” ซึ่งท่านหมายถึง การกิฬาสร้างยาวิเศษตัวที่เรากล่าวถึงนั่นแหละ
เอ็นดอร์ฟินส์ คืออะไร?
เอ็นดอร์ฟินส์ เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ถูกสร้างโดยสมองของคนเรา ซึ่งจะจับตัวกับ Neuro-receptor ทำหน้าที่ระงับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคนเรา
ว่ากันตามจริง ฝรั่งเขาค้นพบมานานหลายสิบปีแล้ว (ค.ศ. 1975) สารตัวนี้ นอกจากจะรักษาอาการเจ็บปวดได้แล้ว ยังเสริมระบบภูมิต้านทานของคนเราให้ดียิ่งขึ้น สามารถลดความเครียดได้
และสำหรับคนสูงอายุ มันสามารถทำให้ดูหนุ่ม หรือดูดีขึ้นอีกด้วย
ไม่เพียงแต่การออกกำลังกายเท่านั้นหรอก ที่สามารถกระตุ้นให้สมองสร้าง และปล่อยสารเอ็นดอร์ฟินออกมา ยังมีกรรมวิธีอย่างอื่น เช่น การปฏิบัติธรรม เจริญภาวนา ดูกาย-จิต การนวด การฝังเข็ม ก็สามารถ..
ยังพูดไม่จบความ เพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งร้อนวิชาพอ ๆ กัน เสริมขึ้นว่า:
“กินพริก ก็ทำให้มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินได้เช่นกัน ใช่ไหม ?”
ถูกต้องครับ การรับประทานอาหารที่มีรสจัด (เผ็ด) และแม้กระทั้งการ หายใจลึก ๆ ก็สามารถทำให้มีการหลั่งของสารเอ็นดอร์ฟีนได้เช่นกัน
แม้ว่า จะมีคนบอกว่า ภาวะเหนื่อยหล้า และปวดกล้ามเนื้อ หลังการรับประทานอาหาร เป็นภาวะที่ไม่หายขาดก็ตาม ถ้า ภรรยาของท่านปฏิบัติตาม ที่ผมได้เล่ามาทั้งหมด โดยไม่ขี้เกียจ อาการของเธอจะดีขึ้นอย่างแน่นอน
ไม่แน่นะครับ สิ่งดี ๆ อาจตามมาให้คุณได้ชื่นชมก็ได้
ก่อนที่พวกเราจะแยกย้ายกลับ ( เล่น กอล์ฟครบ 18 หลุม) เพื่อนของเราคนหนึ่งเอ่ยขึ้นเป็นการตบท้ายว่า
“ชวนภรรยา ออกรอบเล่นกอล์ฟด้วยกันซิ...”
นั่นซิ...การเล่นกอล์ฟของพวกเรา คงสนุก และมีชีวิตชีวาเป็นแน่
“คุณหมอครับ ช่วยอธิบายเรื่องต่อไปนี้ให้ผมฟังหน่อยซิ”
กระทาชายนายหนึ่ง ซึ่งเป็นเพื่อนของผู้เขียนเอง ตั้งประเด็นการพูดคุยในขณะออกรอบเล่นกอล์ฟในวันหยุดสุดสัปดาห์
เนื่องจากวันนั้น เป็นวันที่ดีที่สุดของผู้เขียน ทำอะไรก็ดีไปหมด เล่นกอล์ฟได้ดีเป็นพิเศษ จึงตอบรับเพื่อนด้วยความยินดี ส่วนเพื่อนของเราแสดง สีหน้าไม่ค่อยจะปกตินัก ได้ขยายความต่อว่า
“ผมมีความทุกข์ใจมาก ไม่รู้จะช่วยเหลือภรรยาของผมได้อย่างไร
หลังจากที่เธอรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อย เธอจะบ่นว่า ปวดกล้ามเนื้อทั่วไป และรู้สึกเหนื่อยหล้าเหลือเกิน ไม่อยากจะทำอะไรทั้งสิ้น
ตอนแรก ๆ ผมก็ไม่ได้คิดอะไรมาก... แต่ที่ไหนได้ เธอบ่นทุกวัน”
เพื่อนเราพูดไป ถอนหายใจไป หยุดได้พักหนึ่ง จึงกล่าวต่อ ทำให้เพื่อนๆ หยุดฟังชั่วขณะ
จากนั้นเพื่อนของเราก็พูดต่อ
“ ผมมีความรู้สึก เหนื่อยเพลีย กับปัญหาที่เกิดขึ้นกับของภรรยาจนไม่รู้จะทำอย่างไร
บางครั้ง เพื่อหลีกหนีปัญหา ผมไม่อยากนั่งกินข้าวร่วมกับเธอแล้ว...
คุณหมอ พอที่จะแนะนำ...ให้ผมได้ไหม?”
เพื่อนของเราเอ่ยขึ้น โดยไม่สนใจต่อผลของการเล่นกอล์ฟในวันนั้นเลย
“มิน่าละ หมู่นี้เล่นกอล์ฟแพ้คุณหมอแทบทุกหลุม ”
เพื่อน ๆ ที่เล่นกอล์ฟด้วยกัน สอดขึ้นด้วยความคะนองปาก อยากมีส่วนร่วมในการสนทนาด้วย
นั่นคือส่วนหนึ่งของการพูดคุยในขณะเล่นกอล์ฟ
อาการเหนื่อยเพลีย หลังการทำงานอย่างหนัก หรือการออกกำลังกาย เป็นเรื่องปรกติ ที่เกิดขึ้นกับ
ทุกคนอยู่แล้ว แต่เมื่อได้รับการพักผ่อน อาการเหนื่อยเพลียก็จะหายไป
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า มีบางคน มีภาวะเหนื่อยเพลีย หลังการรับประทานอาหาร
ขณะเดียวกันก็มีอาการปวดกล้ามเนื้อด้วย หลังการพักผ่อน อาการน่าจะหายไป ที่ไหนได้ อาการยังคงอยู่เหมือนเดิม ไม่หาย...
“อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการขึ้นเช่นนั้น
ภรรยาของผมได้รับการตรวจจากแพทย์หลายคน...แพทย์ได้ทำการตรวจอย่างละเอียดบอกว่า ผลการตรวจทุกชนิดปรกติทุกประการ”
เพื่อนเจ้าของปัญหาให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ผมเชื่อตามที่เพื่อนบอก กรณี ภรรยา ของเขาเพื่อน น่าจะจัดอยู่ในกลุ่ม “ภาวะเพลียเรื้อรัง”
เมื่อทำการตรวจสอบทางเว็บฯ ศึกษาบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ทางอินเตอรเน็ทดู ก็จะพบว่า อาการเหนื่อยเพลีย ร่วมกับการปวดกล้ามเนื้อ หลังการกินข้าว ดูเหมือนว่าเป็นความผิดปรกติของร่างกายอย่างหนึ่ง ซึ่งมีเกิดอาการเพลีย...ขึ้นมา แล้วแพทย์เราไม่สามารถตรวจพบได้ว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเช่นนั้นขึ้น
“เป็นโรคประสาท หรือเปล่าหมอ ?” เพื่อนอีกคนกระซิบถามเบา ๆ กลัวเพื่อนเจ้าของปัญหาจะโกรธเอา
สำหรับกรณีที่เรานำเสนอมา ภาวะเหนื่อยเพลียของเธอ ไม่เพียงแต่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันของเธอเท่านั้น...
ฟังจากน้ำเสียงของเพื่อนเรา ดูเหมือนว่า ชีวิตสมรสของเธอก็ไม่ค่อยจะราบรื่นนัก สังเกตุการเล่นกอล์ฟของเพื่อนเราก็รู้สึกว่า เล่นได้ไม่ดีเลย เป็นหมูสนามทุกหลุม .
ในฐานะเพื่อน เราขอบอกอย่างไม่อ้อมค้อม แบบฟันธงเลยว่า เธอมีอาการเหนื่อยเพลีย..จริง ไม่ใช่เสแสร้ง เพื่อเรียกร้องความสนใจจากสามี ตามทีคุณเข้าใจหรอก
มันเกิดขึ้นกับเธอจริง ๆ
กลุ่มอาการเหนื่อยหล้า ชนิดเรื้อรัง หรือ chronic fatigue syndrome จะมีลักษณะอาการเหนื่อยเพลียอย่างหนัก แม้ว่าจะได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ เช่น การนอนหลับอย่างเต็มที่ อาการก็ยังไม่หาย
ตามความเป็นจริงแล้ว คนที่ทรมานด้วยภาวะนี้ อาการจะแย่ลงทุก ๆ ครั้งที่เธอรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และพวกน้ำตาลในปริมาณมาก ๆ
“ผู้ชาย เกิดภาวะดังกล่าวได้ไหมหมอ ?” เพื่อนอีกคนในก๊วนเอ่ยถาม
เพศชายก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่า จะพบในเพศหญิงได้มากกว่าชายถึง 2-4 เท่า
อย่างไรก็ตาม คนไข้ผู้ซึ่งไม่เคยสนใจใยดีในเรื่องอาหารที่ตนเองกิน มักจะเป็นคนที่มีอาการอ่อนหล้า และปวดกล้ามเนื้อหลังกินข้าว และเป็นการยากมาก ๆ ที่เราจะบ่งบอกได้ว่า ใครคนไหนเป็นโรคเหนื่อยหล้า.. (chronic fatigue syndrome) ไม่ใช้กิดจากภาวะอื่น
เหตุผล เพราะ อาการที่เกิดขึ้นนั้น มันไม่ชัดเจน มักจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น อาการเหนื่อยหล้า ปวดกล้ามเนื้อ ความจำเสื่อม ไม่สนใจต่อสภาพรอบตัว นอนไม่หลับ และมีอาการอ่อนแรง...
ก่อนที่จะมีโอกาสพูดต่อไป ก็ได้รับการขัดจังหวะจากเพื่อน เจ้าของปัญหา ว่า
“หมอมีทางรักษา ภรรยาของผมให้หายขาดได้ไหม
เห็นสีหน้าของเพื่อนแล้ว รู้สึกสงสาร เพราะหมอฝรั่งเขาบอก ว่า ภาวะดังกล่าว ไม่มีทางรักษาหายขาดหรอก แต่พอมีทางทำให้ภาวะที่เธอเป็นนั้นดีขึ้นได้ ให้เธอกลับสู่สังคมได้ตามเดิม
สำหรับเรา มีความเห็นแตกต่างออกไป
วิธีการที่จะทำให้ภาวะเหนื่อยเพลียหาย มีทางทำได้ แต่ที่ไม่หาย หรือไม่ประสบผล ตามที่ควรจะเป็นอาจเป็นเพราะเธอผู้ป่วย ขี้เกียจ ไม่ทำตามคำแนะนำเท่านั้นเอง
ข้อแรก : ให้เธอระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน หมั่นตรวจ และสังเกตให้ได้ว่า อาหารชนิดใด ที่กินเข้าไปแล้ว เกิดอาการเหนื่อยเพลีย... เธอต้องหลีกเลี่ยงให้ได้
ให้ลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาลลง
ข้อที่สอง : ให้เธอพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะให้นอนหลับพักผ่อนคืนละ 6 ชม. เป็นอย่างน้อย
ข้อสาม : ให้เธอ ปฏิบัติธรรม หมายถึงให้ภาวนาดูกาย ดูจิต นั่นแหละ ให้หมั่นทำทุกวัน...
บางท่านเคยอุปมา อุปมัยเอาไว้ว่า ร่างกายที่สกปรกจากเหงื่อไคล ถูกทำให้สะอาดได้ด้วยการอาบน้ำฉันใด จิตใจที่สกปรกด้วยกิเลสทั้งหลาย ก็สามารถขจัด หรือทำให้สะอาดหมดจดได้ด้วยการปฏิบัติธรรม... การเจริญสติทุกวัน (ต้องถือศิล 5 ด้วย) ก็จะสามารถทำให้จิตของเราสะอาด สดชื่น และช่วยทำให้อาการที่เธอเป็นดีขึ้นได้
ข้อสุดท้าย : ให้เธอออกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที จะออกกำลังกายในรูปแบบใดก็ได้ เช่น ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ เล่นแอร์โรบิค หรือ เดินเร็ว สลับช้าอย่างละ 15 นาที เป็นต้น
เราคงจำได้ว่า รุ่น คุณปู่ คุณย่า ของเรา เคยกล่าว “กิฬา เป็น ยาวิเศษ” กันทุกคน
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องกระทำอย่างหนักหรอก เอาแค่เดินเร็ว สลับกับการเดินช้า วันละครึ่งชั่วโมง จะทำให้มีการหลั่งสาร “เอ็นดอร์ฟีนส์” ออกมาจากสมองของเรา สารตัวนี้แหละที่คุณปู่ คุณย่าของเราพูดว่า “กิฬา เป็นยาวิเศษ” ซึ่งท่านหมายถึง การกิฬาสร้างยาวิเศษตัวที่เรากล่าวถึงนั่นแหละ
เอ็นดอร์ฟินส์ คืออะไร?
เอ็นดอร์ฟินส์ เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ถูกสร้างโดยสมองของคนเรา ซึ่งจะจับตัวกับ Neuro-receptor ทำหน้าที่ระงับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคนเรา
ว่ากันตามจริง ฝรั่งเขาค้นพบมานานหลายสิบปีแล้ว (ค.ศ. 1975) สารตัวนี้ นอกจากจะรักษาอาการเจ็บปวดได้แล้ว ยังเสริมระบบภูมิต้านทานของคนเราให้ดียิ่งขึ้น สามารถลดความเครียดได้
และสำหรับคนสูงอายุ มันสามารถทำให้ดูหนุ่ม หรือดูดีขึ้นอีกด้วย
ไม่เพียงแต่การออกกำลังกายเท่านั้นหรอก ที่สามารถกระตุ้นให้สมองสร้าง และปล่อยสารเอ็นดอร์ฟินออกมา ยังมีกรรมวิธีอย่างอื่น เช่น การปฏิบัติธรรม เจริญภาวนา ดูกาย-จิต การนวด การฝังเข็ม ก็สามารถ..
ยังพูดไม่จบความ เพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งร้อนวิชาพอ ๆ กัน เสริมขึ้นว่า:
“กินพริก ก็ทำให้มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินได้เช่นกัน ใช่ไหม ?”
ถูกต้องครับ การรับประทานอาหารที่มีรสจัด (เผ็ด) และแม้กระทั้งการ หายใจลึก ๆ ก็สามารถทำให้มีการหลั่งของสารเอ็นดอร์ฟีนได้เช่นกัน
แม้ว่า จะมีคนบอกว่า ภาวะเหนื่อยหล้า และปวดกล้ามเนื้อ หลังการรับประทานอาหาร เป็นภาวะที่ไม่หายขาดก็ตาม ถ้า ภรรยาของท่านปฏิบัติตาม ที่ผมได้เล่ามาทั้งหมด โดยไม่ขี้เกียจ อาการของเธอจะดีขึ้นอย่างแน่นอน
ไม่แน่นะครับ สิ่งดี ๆ อาจตามมาให้คุณได้ชื่นชมก็ได้
ก่อนที่พวกเราจะแยกย้ายกลับ ( เล่น กอล์ฟครบ 18 หลุม) เพื่อนของเราคนหนึ่งเอ่ยขึ้นเป็นการตบท้ายว่า
“ชวนภรรยา ออกรอบเล่นกอล์ฟด้วยกันซิ...”
นั่นซิ...การเล่นกอล์ฟของพวกเรา คงสนุก และมีชีวิตชีวาเป็นแน่
Drug reaction :มารู้จักกับเอ็นไซม์ CYP1A2 กัน
เอ็นไซม์ที่มีชื่อว่า Cytochrome P450 สามารถพบได้ที่ตับเป็นส่วนใหญ่ และมีบางส่วน (โดยเฉพาะCYP3A4) จะพบได้ที่บริเวณลำไส้ในปริมาณไม่น้อยเช่นกัน
เอ็นไซม์เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นกับยาที่ใช้รักษาโรค เพื่อขจัดออกจากร่างกายไป
ในกระบวนการที่ร่างกายกระทำต่อยาดังกล่าว เราจะพบปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น
เขาจัดลำดับความสำคัญของ cytochrome P4503A4 (CYP3A4) ไว้เป็น superstar ทั้งนี้เพราะเอ็นไซม์ตัวนี้ มีบทบาทต่อยา (object drug) มากที่สุด (> 50%)
ส่วนเอ็นไซม์ที่มีความสำคัญตัวอื่น ๆ ได้แก่ CYP1A2, CYP2C9, CYP2C19, และ CYP2D6
สำหรับวันนี้ เราจะพูดเรื่อง CYP1A2 กัน
ถอดความ และเรียบเรียงจากบทความ
ของ Drs Horns & Hansten,PharmD. Published Online: Nov.1,2007
www.Pharmacytimes.com/drug reactions
CYP1A2 Substrates
ความสำคัญของ CYP1A2 ที่เกี่ยวข้องกับ drug interaction ปรากกว่ามีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากมีปริมาณของยา ที่ถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีโดยเอ็นไซม์ CYP1A2มีเพิ่มขึ้น
ยาที่ถูก กระทำทางปฏิกิริยาทางเคมีโดยเอ็นไซม์นั้นเรียกว่า CYP1A2 Substrate ซึ่งได้แก่ยาต่อไปนี้:
Table 1.
CYP1A2 Subtrates
Alosertron(Lotronex) Ramelteon(Rozerem)
Caffeine
Clozapine (Clozaril) Rasagiline(Azilext)
Flutamide(Eulexin) Ropinirole(Requip)
Frovatriptan(Frova) Tacrine(Cognex)
Melatonin Tizanidine(Zanaflex)
Mexiletine(mexitil) Triamterene(Dyrenium)
Mirtazapine(Remeron) Zolmitriptan(Zomig)
Olanzapine(Zyprexa)
Theophylline
Tacrine
Etc.
CYP1A2 Inhibitors:
ยาที่สามรถยับยั้ง (inhibit) กาทำงานของเอ็นไซม์ CYP1A2 เมื่อเราให้ร่วมกับยารักษา (object drug) เมื่อใด มันจะทำให้เอ็นไซม์ CYP1A2 ทำงานได้น้อยลงไป
ผลที่เกิดขึ้น จะทำให้ระดับของยา (object drug) ในกระแสเลือดสูง เป็นเหตุให้มีปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์แก่คนไข้เกิดขึ้นได้
ยกตัวอย่าง เช่นยา “ Fluvoxamine”
เป็นยาที่ฤทธิ์ในการยับยั้งเอ็นไซม์ CYP1A2 ได้สูงมาก( potent CYP1A2 inhibitor) …เท่านั้นยังไม่พอ มันยังเป็นตัวยับยั้ง (inhibit) เอ็นไซม์ cytochrome p450 ตัวอื่นๆได้อีกด้วย เช่น เอ็นไซม์ : CYP2C19, CYP3A4 และ CYP2C9
ดังนั้น เราจะเห็นว่า Fluvoxamine อาจป้องกันไม่ให้เกิดมีการชดเชยจากกระบวนการทางเมตาบอลิสมทางอื่นๆ จากการที่มันเป็น CYP1A2 inhibitionได้ ?
Table 2. Table 3.
CYP1A2 Inhibitors: CYP1A2 Inducers
Artemisinin Barbiturateds
Atazamavir(Reyataz)
Cimetidine(Tagamet) Cruciferous vegetables
Ciprofloxzcin(Cipro) Grilled meat
Enoxacin Carbamazepine (Tegretol)
Ethinyl Estrradiol Primidone
Flucozmine Rifampin(Rifadin)
Mexiletine Smoking
Tacrine(Cognex)
Thiabendazole
Zileuton(Zyflo)
นอกนั้นยังพบว่า Fluroquinolone antibiotics, enoxacin และ ciprofloxacin ยังเป็นตัว CYP1A2 inhibitor ด้วย
CYP1A2 Inducers:
มียาและสารหลายตัวที่สามารถกระตุ้น CYP1A2 และอาจไปลดประสิทธิภาพของยา ซึ่งเป็น CYP1A2 substrate ได้ ยกตัวอย่างที่เห็นชัด คือ การสูบบุหรี่ สามารถไปเพิ่มการทำงาน (activity) ของเอ็นไซม์ CYP1A2 ได้
ดังนั้น เราจึงเห็นผลของการสูบบุหรี่ อาจลดประสิทธิภาพ (efficacy) ของยาซึ่งเป็น CYP1A2 substrate ลงได้
ยกตัวอย่างที่เห็น คือ การสูบบุหรี่ทำให้แพทย์ต้องปรับเพิ่มยา Theophylline ให้แก่คนไข้
ทั้งนี้เพราะการสูบบุหรี่ ทำให้ CYP1A2 ทำงานมาก มีการขับยา Theophylline ออกเยอะทำให้ปริมาณของยาที่เป็น object drug มีไม่พอแก่การรักษา...จึงจำเป็นต้องมีการปรับเพิ่มขนาดยา theophylline เพื่อชดเชยส่วนที่ถูกทำลายด้วย CYP1A2 ไป
ในเร็วๆ นี้ได้มีรายงานว่า การสูบบุหรี่ ได้ลดปริมาณของยาที่ใช้รักษาพวก atypical antisychotics , clozapine และ olanzapine
Important Drug Interactions Involving CYP1A2
ปฏิกิริยาทางชีวเคมี... ของเอ็นไซม์CYP1A2 บางตัวมีข้อจำกัดทางคลินิก
ยกตัวอย่าง คนบางคนสามารถทนต่อระดับ “Caffeine” ในกระแสเลือดที่เพิ่มขึ้น โดยที่คนๆ ได้รับยา “Ciprofloxacin”
เขาไม่เกิดมีผลข้างเคียงใดๆ ขึ้น แต่บางคน อาจมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้
จากประวัติการใช้ยาในอดีต ปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่สำคัญของเอ็นไซม์ CYP1A2 คือพิษที่เกิดจากการใช้ยา “theophylline” ร่วมกับการใช้ยาที่เป็นตัวยับยั้ง (inhibitors) เอ็นไซม์ CYP1A2
เช่น Ciprofloxacxin หรือ fluvoxzmine ทั้งสองตัว ทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYP1A2gเมื่อเรานำมาใช้กับยา theophylline ซึ่งเป็นยาที่เราใช้เพื่อการรักษา (object drug) จะทำให้ยาในกระแสเลือดสูง...ซึ่งจะก่อให้เกิดพิษจากการมีสาร theophylline ในเลือดสูง
แต่ในปัจจุบันนี้ จะไม่ค่อยได้พบเห็นเท่าใด
มียาตัวใหม่ๆ ซึ่งถูกกระทำปฏิกิริยาชีวเคมีกับเอ็นไซม์ CYP1A2 เมื่อใช้ร่วมกับยาที่ยับยั้ง เอ็นไซม์ CYP1A2
เช่น ยา “tizanidine.” เมื่อให้ร่วมกับยาที่เป็นตัวยับยั้ง (inhibit)เอ็นไซม์ CYP1A2 คือ “fluvoxzmine”
ผลที่เกิดขึ้น จะทำให้การทำงานของเอ็นไซม์ CYP1A2 ลดลง
ผลที่เกิดขึ้น คือ ทำให้ระดับของยา “tizanidine” ในกระแสเลือดสูงมาก (30 เท่า)
กล่าวโดยสรุป
ปัจจุบัน เอ็นไซม์CYP1A2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดผลข้างเคียง (drug interactions) เพิ่มขึ้น โดยกระบวนการสร้างและสลายตัวของยาใหม่ๆ
มียาบางตัวควรได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นได้แก่ “theophylline” ,”clozamine”, “olanzamine” และ “tizanidine”
สารบางตัวที่เป็นตัวยับยั้งที่รุนแรงมาก เช่น “cimetindine”, “ciprofloxacin”, “onoxazin” และ “fluvoxamine”
สารที่เป็นตัวสนับสนุน(inducer) คือการสูบบุหรี่ ที่สามารถกระตุ้นเอ็นไซม์CYP1A2 นอกนั้นก็มียาตัวอื่นๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นตามปกติ(induce) เช่น “rifampin”, และ “barbiturate” พวกนี้สามารถเพิ่มการทำงาน (activity) ของเอ็นไซม์ CYP1A2
เอ็นไซม์เหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นกับยาที่ใช้รักษาโรค เพื่อขจัดออกจากร่างกายไป
ในกระบวนการที่ร่างกายกระทำต่อยาดังกล่าว เราจะพบปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น
เขาจัดลำดับความสำคัญของ cytochrome P4503A4 (CYP3A4) ไว้เป็น superstar ทั้งนี้เพราะเอ็นไซม์ตัวนี้ มีบทบาทต่อยา (object drug) มากที่สุด (> 50%)
ส่วนเอ็นไซม์ที่มีความสำคัญตัวอื่น ๆ ได้แก่ CYP1A2, CYP2C9, CYP2C19, และ CYP2D6
สำหรับวันนี้ เราจะพูดเรื่อง CYP1A2 กัน
ถอดความ และเรียบเรียงจากบทความ
ของ Drs Horns & Hansten,PharmD. Published Online: Nov.1,2007
www.Pharmacytimes.com/drug reactions
CYP1A2 Substrates
ความสำคัญของ CYP1A2 ที่เกี่ยวข้องกับ drug interaction ปรากกว่ามีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากมีปริมาณของยา ที่ถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีโดยเอ็นไซม์ CYP1A2มีเพิ่มขึ้น
ยาที่ถูก กระทำทางปฏิกิริยาทางเคมีโดยเอ็นไซม์นั้นเรียกว่า CYP1A2 Substrate ซึ่งได้แก่ยาต่อไปนี้:
Table 1.
CYP1A2 Subtrates
Alosertron(Lotronex) Ramelteon(Rozerem)
Caffeine
Clozapine (Clozaril) Rasagiline(Azilext)
Flutamide(Eulexin) Ropinirole(Requip)
Frovatriptan(Frova) Tacrine(Cognex)
Melatonin Tizanidine(Zanaflex)
Mexiletine(mexitil) Triamterene(Dyrenium)
Mirtazapine(Remeron) Zolmitriptan(Zomig)
Olanzapine(Zyprexa)
Theophylline
Tacrine
Etc.
CYP1A2 Inhibitors:
ยาที่สามรถยับยั้ง (inhibit) กาทำงานของเอ็นไซม์ CYP1A2 เมื่อเราให้ร่วมกับยารักษา (object drug) เมื่อใด มันจะทำให้เอ็นไซม์ CYP1A2 ทำงานได้น้อยลงไป
ผลที่เกิดขึ้น จะทำให้ระดับของยา (object drug) ในกระแสเลือดสูง เป็นเหตุให้มีปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์แก่คนไข้เกิดขึ้นได้
ยกตัวอย่าง เช่นยา “ Fluvoxamine”
เป็นยาที่ฤทธิ์ในการยับยั้งเอ็นไซม์ CYP1A2 ได้สูงมาก( potent CYP1A2 inhibitor) …เท่านั้นยังไม่พอ มันยังเป็นตัวยับยั้ง (inhibit) เอ็นไซม์ cytochrome p450 ตัวอื่นๆได้อีกด้วย เช่น เอ็นไซม์ : CYP2C19, CYP3A4 และ CYP2C9
ดังนั้น เราจะเห็นว่า Fluvoxamine อาจป้องกันไม่ให้เกิดมีการชดเชยจากกระบวนการทางเมตาบอลิสมทางอื่นๆ จากการที่มันเป็น CYP1A2 inhibitionได้ ?
Table 2. Table 3.
CYP1A2 Inhibitors: CYP1A2 Inducers
Artemisinin Barbiturateds
Atazamavir(Reyataz)
Cimetidine(Tagamet) Cruciferous vegetables
Ciprofloxzcin(Cipro) Grilled meat
Enoxacin Carbamazepine (Tegretol)
Ethinyl Estrradiol Primidone
Flucozmine Rifampin(Rifadin)
Mexiletine Smoking
Tacrine(Cognex)
Thiabendazole
Zileuton(Zyflo)
นอกนั้นยังพบว่า Fluroquinolone antibiotics, enoxacin และ ciprofloxacin ยังเป็นตัว CYP1A2 inhibitor ด้วย
CYP1A2 Inducers:
มียาและสารหลายตัวที่สามารถกระตุ้น CYP1A2 และอาจไปลดประสิทธิภาพของยา ซึ่งเป็น CYP1A2 substrate ได้ ยกตัวอย่างที่เห็นชัด คือ การสูบบุหรี่ สามารถไปเพิ่มการทำงาน (activity) ของเอ็นไซม์ CYP1A2 ได้
ดังนั้น เราจึงเห็นผลของการสูบบุหรี่ อาจลดประสิทธิภาพ (efficacy) ของยาซึ่งเป็น CYP1A2 substrate ลงได้
ยกตัวอย่างที่เห็น คือ การสูบบุหรี่ทำให้แพทย์ต้องปรับเพิ่มยา Theophylline ให้แก่คนไข้
ทั้งนี้เพราะการสูบบุหรี่ ทำให้ CYP1A2 ทำงานมาก มีการขับยา Theophylline ออกเยอะทำให้ปริมาณของยาที่เป็น object drug มีไม่พอแก่การรักษา...จึงจำเป็นต้องมีการปรับเพิ่มขนาดยา theophylline เพื่อชดเชยส่วนที่ถูกทำลายด้วย CYP1A2 ไป
ในเร็วๆ นี้ได้มีรายงานว่า การสูบบุหรี่ ได้ลดปริมาณของยาที่ใช้รักษาพวก atypical antisychotics , clozapine และ olanzapine
Important Drug Interactions Involving CYP1A2
ปฏิกิริยาทางชีวเคมี... ของเอ็นไซม์CYP1A2 บางตัวมีข้อจำกัดทางคลินิก
ยกตัวอย่าง คนบางคนสามารถทนต่อระดับ “Caffeine” ในกระแสเลือดที่เพิ่มขึ้น โดยที่คนๆ ได้รับยา “Ciprofloxacin”
เขาไม่เกิดมีผลข้างเคียงใดๆ ขึ้น แต่บางคน อาจมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้
จากประวัติการใช้ยาในอดีต ปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่สำคัญของเอ็นไซม์ CYP1A2 คือพิษที่เกิดจากการใช้ยา “theophylline” ร่วมกับการใช้ยาที่เป็นตัวยับยั้ง (inhibitors) เอ็นไซม์ CYP1A2
เช่น Ciprofloxacxin หรือ fluvoxzmine ทั้งสองตัว ทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYP1A2gเมื่อเรานำมาใช้กับยา theophylline ซึ่งเป็นยาที่เราใช้เพื่อการรักษา (object drug) จะทำให้ยาในกระแสเลือดสูง...ซึ่งจะก่อให้เกิดพิษจากการมีสาร theophylline ในเลือดสูง
แต่ในปัจจุบันนี้ จะไม่ค่อยได้พบเห็นเท่าใด
มียาตัวใหม่ๆ ซึ่งถูกกระทำปฏิกิริยาชีวเคมีกับเอ็นไซม์ CYP1A2 เมื่อใช้ร่วมกับยาที่ยับยั้ง เอ็นไซม์ CYP1A2
เช่น ยา “tizanidine.” เมื่อให้ร่วมกับยาที่เป็นตัวยับยั้ง (inhibit)เอ็นไซม์ CYP1A2 คือ “fluvoxzmine”
ผลที่เกิดขึ้น จะทำให้การทำงานของเอ็นไซม์ CYP1A2 ลดลง
ผลที่เกิดขึ้น คือ ทำให้ระดับของยา “tizanidine” ในกระแสเลือดสูงมาก (30 เท่า)
กล่าวโดยสรุป
ปัจจุบัน เอ็นไซม์CYP1A2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดผลข้างเคียง (drug interactions) เพิ่มขึ้น โดยกระบวนการสร้างและสลายตัวของยาใหม่ๆ
มียาบางตัวควรได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นได้แก่ “theophylline” ,”clozamine”, “olanzamine” และ “tizanidine”
สารบางตัวที่เป็นตัวยับยั้งที่รุนแรงมาก เช่น “cimetindine”, “ciprofloxacin”, “onoxazin” และ “fluvoxamine”
สารที่เป็นตัวสนับสนุน(inducer) คือการสูบบุหรี่ ที่สามารถกระตุ้นเอ็นไซม์CYP1A2 นอกนั้นก็มียาตัวอื่นๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นตามปกติ(induce) เช่น “rifampin”, และ “barbiturate” พวกนี้สามารถเพิ่มการทำงาน (activity) ของเอ็นไซม์ CYP1A2
Drug reaction :จงมารู้จักกับเอ็นไซม์ CYP2C19 กันเถอะ
ข้อมูลต่อไปนี้...ได้ถอดความจาก:
Get to Know an Enzyme:CYP2C19
Drs R Horns&Hansten,PharmD
WWW.Pharmacy.com
เป็นเอ็นไซม์ที่พบในตับ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางชีวเคมีของยาหลายตัว
Genetics influences
เป็นที่ทราบกันว่า พันธุกรรมเป็นปัจจัยสำคัญเช่นเดียวกับคนที่มีปริมาณของเอ็นไซม์ CYP2D19 ในร่างกายน้อย
คนเชื้อชาติ Caucasians จะเป็นคนที่อยู่ในประเภท Poor metabolizer ( 3-5% ) ซึ่งหมายความว่าคนๆ นั้นขาด Functioning gene มีปริมาณไม่พอเพียงที่จะสร้าง CYP2C19 จึงเป็นเหตุให้มีเอ็นไซม์CYP2C19 น้อยลงไป
ในกลุ่มของคนผิวเหลือง (Asians) จัดอยู่ในประเภท Poor metabolizer 13- 23%
CYP2C19 Substrate
ยาที่ถูกทำปฏิกิริยาสร้างและสลาย (metabolize) โดยเอ็นไซม์ CYP2C19 เราเรียกสารตัวนั้นว่าเป็น CYP2C19 Substrate
มียาหลายตัวจะถูกทำปฏิกิริยาสร้าง และสลายโดยเอ็นไซม์ได้มากกว่าหนึ่งตัว นั้นคือสารที่จะถูกทำปฏิกิริยาโดยเอ็นไซม์ CYP2C19 มันยังถูกทำปฏิกิริยาด้วยเอ็นไซม์ตัวอื่น ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเคมีทางที่สอง (secondary pathway) ถึงกระนั้นก็ตาม ก็มียาบางตัว จะถูกกระทำปฏิกิริยาเคมีโดยเอ็นไซม์ CYP2C19 ก่อน (Primary pathway) และส่วนทิ่เหลือจะถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีด้วยเอ็นไซม์ Cyrtochrome P450 ตัวอื่น ๆ ดังแสดงไว้ให้เห็นตามรายการ (ดูเครื่องหมาย *)
Table 1
CYP2C19 Substrate CYP2C19 Substrate
Aripimprazole Omeprazole
Carisoprodol(Soma) Pantoprazole(Protonix)*
Citalopram(Celexa)* Pentamidine*
Clomipramine(Anafranil) Phenobarbital
Clopidogrel(Plavix) Phenytoin (Dilantin)
Clozapine Proguanil*
Desipramine Propanolol(Inderal)
Diazepam(Valium)* Sertraline(Zoloft)*
Diphenhydramine(Benadryl) Thalidomide*
Doxapin Voriconazole(Vfend)
Esxitalopram(lexprol)* R-warfarin (less active isomer)
Fluoxetine(Prozac)
Imipramine(Trofanil)
Lansoprazole(Prevacid)
Mephenytoin
Methadone
Moclovenide(Manerix)
Remarks: * CYP2C19 is the primary pathway
CYP2C19 Inhibitors
ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้ง (inhibit) เอ็นไซม์ CYP2C19 จะมีแนวโน้มที่จะ “เพิ่ม”ระดับของยาในเลือดให้สูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเอ็นไซม์ตัวนี้ ไม่สามารถทำงานตามที่มันควรจะเป็นได้ ดังแสดงไว้ใน Table 1. :ซึ่งแสดงโดยเครื่องหมาย (*) และในบางราย ปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์อาจเกิดขึ้นได้ ใน Table 1 ยาตัวอื่น ๆ นอกเหนือจากที่แสดงไว้ จากการกระทำปฏิกิริยาทางเคมีของเอ็นไซม์ตัวอื่น ซึ่งอาจมีความสำคัญมากกว่า
ผลที่เกิด(drug interaction) อาจรุนแรงเกินกว่าที่จะคาดคิดได้
Table 2.
CYP2C19 Inhibitors: CYP2C19 Inhibitors
Chloramhenicol Delavirdine(Resripotor)
Cimetidine Efavirenz((Sustiva)
Clopidogrel(Plavix) Esomeprazole(Nexium)
Fluoxetine Meclobemide(Manerix)
Fluvoxetine Modafiil(Provigil)
Isonizid Oxcarbarzepine(Trileptal)
Omeprazole( Ticlopeidline(Ticlid)
Voriconazole(Vfend)
CYP2C19 Inducers:
ยาบางตัวจะทำหน้าที่กระตุ้น (induce) เอ็นไซม์ CYP2C19 เป็นเหตุให้เอ็นไซม์กระทำต่อยาที่เป็น substrate ของมันได้เพิ่มขึ้น ผลที่ตามมา คือยาที่ถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีโดยเอ็นไซม์ยา CYP2C19 จึงลดลง
พร้อมกับประสิทธิภาพของมันก็ลดลงตามไปด้วย
มีบ่อยครั้งเช่นกันที่ปรากฏว่า มันสามารถกระตุ้น (induce) เอ็นไซม์cytochrome p450 ตัวอื่นๆ
ได้อีกหลายตัว
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ที่เกิดจากการกระตุ้น (induction) ของยา หรือสาร คนไข้ไม่แสดงอาการอะไรปรากฏให้เห็น ยาหรือสารในกระแสเลือดมีระดับน้อยนั่นเอง
Table 3.
CYP2C19 Inducers:
Aminoglutethimide
Artemisinin
Barbiturate
Carbamazepine (Tegretol)
Phenytoin(Dilantin)
Rifapentine
Rifampin (Rifadin)
St John wort
ปฏิกิริยาที่พบเห็นใน CYP2C19
เนื่องจากยาหลายตัว ที่ถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีโดยเอ็นไซม์ CYP2C19 มักจะถูกกระทำปฏิกิริยาด้วยเอ็นไซม์ตัวอื่นเสมอ หากคนไข้รายนั้นเป็นพวกที่มีเอ็นไซม์ CYP2C19 พร่องไป ยาก็จะถูกกระทำปฏิกิริยาโดยทางอื่นๆ
ยกตัวอย่าง ยา Omeprazole จะถูกกระทำปฏิกิริยาโดย CYP2C19 ก่อน หากบังเอิญคนๆ นั้นขาดเอ็นไซม์ CYP2C19 ยา Omeprazole จะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเอ็นไซม์ CYP3A4 ซึ่งจะกระทำปฏิกิริยา เป็นกระบวนการ???????????????????????????????????ที่สองต่อไป
ในคนไข้ที่มีเอ็นไซม์ CYP2C19 ในระดับปกติ ยาซึ่งเป็นพวก CYP3A4 inhibitor จะไม่ค่อยมีผลต่อ Omeprazole ได้มากนัก
ในทางตรงกันข้าม หากคนไข้รายนั้น เป็นพวกที่มีเอ็นไซม์ CYP2C19 น้อย CYP3A4 inhibitor จะทำให้ระดับของ omeprazole มีปริมาณมากขึ้นอย่างมาก
ยาหลายตัวที่ทำหน้าที่กระตุ้น (inducer) เอ็นไซม์ CYP2C19 มักจะกระตุ้นปฏิกิริยาเคมีต่อยาหลายตัวในหลายๆ ทาง ดังนั้น การกระตุ้นเอ็นไซม์ให้ทำงาน มักจะทำให้ระดับของยาที่มันทำปฏิกิริยาลดลงอย่างมีนัย ซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาหลายทางนั่นเอง
ยกตัวอย่าง ถ้ายาตัวหนึ่งถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมี โดยเอ็นไซม์ CYP2C19, CYP1A2 และCYP3A4 ทั้งสามตัว เมื่อมีคนไข้ได้รับยา ซึ่งสามารถทำหน้าทีกระตุ้น (induce) เอ็นไซม์ดังกล่าวเมื่อไร มันจะกระตุ้นให้ปฏิกิริยาของทั้งสามเกิดขึ้นร่วมกันทันที
ผลที่เกิดขึ้น ทำให้ระดับยาในกระแสเลือดลดลงอย่างมาก ๆ
กล่าวโดยสรุป
เอ็นไซม์ CYP2C19 เป็นเอ็นไซม์ซึ่งอย่างน้อยสุด มีส่วนในการทำปฏิกิริยาเคมีต่อ “ยา” หลายๆ ตัว แต่ CYP2C19 inhibitors มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดผลสูงสุดต่อยา ซึ่งเป็น substrate ของ CYP2C19
แต่การยับยั้ง เอ็นไซม์ CYP2C19 โดยตัวของมัน จะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงของยาบ่อยนัก เมื่อเปรียบกับการทำงานของเอ็นไซม์ตัวอื่น ๆ
ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะ:
1. เป็นเพราะว่า CYP2C19 substrate ส่วนมากจะไม่ค่อยก่อให้เกิดพิษที่รุนแรง
2. ปฏิกิริยาทางเคมีของเอ็นไซม์ตัวอื่นทำงานแทน (Take over)
อย่างไรก็ตามในบางครั้ง ผลของการยับยั้ง หรือ กระตุ้นเอ็นไซม์ CYP2C19 อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เราไม่ควรเพิกเฉยเป็นอันขาด
Get to Know an Enzyme:CYP2C19
Drs R Horns&Hansten,PharmD
WWW.Pharmacy.com
เป็นเอ็นไซม์ที่พบในตับ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางชีวเคมีของยาหลายตัว
Genetics influences
เป็นที่ทราบกันว่า พันธุกรรมเป็นปัจจัยสำคัญเช่นเดียวกับคนที่มีปริมาณของเอ็นไซม์ CYP2D19 ในร่างกายน้อย
คนเชื้อชาติ Caucasians จะเป็นคนที่อยู่ในประเภท Poor metabolizer ( 3-5% ) ซึ่งหมายความว่าคนๆ นั้นขาด Functioning gene มีปริมาณไม่พอเพียงที่จะสร้าง CYP2C19 จึงเป็นเหตุให้มีเอ็นไซม์CYP2C19 น้อยลงไป
ในกลุ่มของคนผิวเหลือง (Asians) จัดอยู่ในประเภท Poor metabolizer 13- 23%
CYP2C19 Substrate
ยาที่ถูกทำปฏิกิริยาสร้างและสลาย (metabolize) โดยเอ็นไซม์ CYP2C19 เราเรียกสารตัวนั้นว่าเป็น CYP2C19 Substrate
มียาหลายตัวจะถูกทำปฏิกิริยาสร้าง และสลายโดยเอ็นไซม์ได้มากกว่าหนึ่งตัว นั้นคือสารที่จะถูกทำปฏิกิริยาโดยเอ็นไซม์ CYP2C19 มันยังถูกทำปฏิกิริยาด้วยเอ็นไซม์ตัวอื่น ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเคมีทางที่สอง (secondary pathway) ถึงกระนั้นก็ตาม ก็มียาบางตัว จะถูกกระทำปฏิกิริยาเคมีโดยเอ็นไซม์ CYP2C19 ก่อน (Primary pathway) และส่วนทิ่เหลือจะถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีด้วยเอ็นไซม์ Cyrtochrome P450 ตัวอื่น ๆ ดังแสดงไว้ให้เห็นตามรายการ (ดูเครื่องหมาย *)
Table 1
CYP2C19 Substrate CYP2C19 Substrate
Aripimprazole Omeprazole
Carisoprodol(Soma) Pantoprazole(Protonix)*
Citalopram(Celexa)* Pentamidine*
Clomipramine(Anafranil) Phenobarbital
Clopidogrel(Plavix) Phenytoin (Dilantin)
Clozapine Proguanil*
Desipramine Propanolol(Inderal)
Diazepam(Valium)* Sertraline(Zoloft)*
Diphenhydramine(Benadryl) Thalidomide*
Doxapin Voriconazole(Vfend)
Esxitalopram(lexprol)* R-warfarin (less active isomer)
Fluoxetine(Prozac)
Imipramine(Trofanil)
Lansoprazole(Prevacid)
Mephenytoin
Methadone
Moclovenide(Manerix)
Remarks: * CYP2C19 is the primary pathway
CYP2C19 Inhibitors
ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้ง (inhibit) เอ็นไซม์ CYP2C19 จะมีแนวโน้มที่จะ “เพิ่ม”ระดับของยาในเลือดให้สูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเอ็นไซม์ตัวนี้ ไม่สามารถทำงานตามที่มันควรจะเป็นได้ ดังแสดงไว้ใน Table 1. :ซึ่งแสดงโดยเครื่องหมาย (*) และในบางราย ปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์อาจเกิดขึ้นได้ ใน Table 1 ยาตัวอื่น ๆ นอกเหนือจากที่แสดงไว้ จากการกระทำปฏิกิริยาทางเคมีของเอ็นไซม์ตัวอื่น ซึ่งอาจมีความสำคัญมากกว่า
ผลที่เกิด(drug interaction) อาจรุนแรงเกินกว่าที่จะคาดคิดได้
Table 2.
CYP2C19 Inhibitors: CYP2C19 Inhibitors
Chloramhenicol Delavirdine(Resripotor)
Cimetidine Efavirenz((Sustiva)
Clopidogrel(Plavix) Esomeprazole(Nexium)
Fluoxetine Meclobemide(Manerix)
Fluvoxetine Modafiil(Provigil)
Isonizid Oxcarbarzepine(Trileptal)
Omeprazole( Ticlopeidline(Ticlid)
Voriconazole(Vfend)
CYP2C19 Inducers:
ยาบางตัวจะทำหน้าที่กระตุ้น (induce) เอ็นไซม์ CYP2C19 เป็นเหตุให้เอ็นไซม์กระทำต่อยาที่เป็น substrate ของมันได้เพิ่มขึ้น ผลที่ตามมา คือยาที่ถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีโดยเอ็นไซม์ยา CYP2C19 จึงลดลง
พร้อมกับประสิทธิภาพของมันก็ลดลงตามไปด้วย
มีบ่อยครั้งเช่นกันที่ปรากฏว่า มันสามารถกระตุ้น (induce) เอ็นไซม์cytochrome p450 ตัวอื่นๆ
ได้อีกหลายตัว
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ที่เกิดจากการกระตุ้น (induction) ของยา หรือสาร คนไข้ไม่แสดงอาการอะไรปรากฏให้เห็น ยาหรือสารในกระแสเลือดมีระดับน้อยนั่นเอง
Table 3.
CYP2C19 Inducers:
Aminoglutethimide
Artemisinin
Barbiturate
Carbamazepine (Tegretol)
Phenytoin(Dilantin)
Rifapentine
Rifampin (Rifadin)
St John wort
ปฏิกิริยาที่พบเห็นใน CYP2C19
เนื่องจากยาหลายตัว ที่ถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีโดยเอ็นไซม์ CYP2C19 มักจะถูกกระทำปฏิกิริยาด้วยเอ็นไซม์ตัวอื่นเสมอ หากคนไข้รายนั้นเป็นพวกที่มีเอ็นไซม์ CYP2C19 พร่องไป ยาก็จะถูกกระทำปฏิกิริยาโดยทางอื่นๆ
ยกตัวอย่าง ยา Omeprazole จะถูกกระทำปฏิกิริยาโดย CYP2C19 ก่อน หากบังเอิญคนๆ นั้นขาดเอ็นไซม์ CYP2C19 ยา Omeprazole จะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเอ็นไซม์ CYP3A4 ซึ่งจะกระทำปฏิกิริยา เป็นกระบวนการ???????????????????????????????????ที่สองต่อไป
ในคนไข้ที่มีเอ็นไซม์ CYP2C19 ในระดับปกติ ยาซึ่งเป็นพวก CYP3A4 inhibitor จะไม่ค่อยมีผลต่อ Omeprazole ได้มากนัก
ในทางตรงกันข้าม หากคนไข้รายนั้น เป็นพวกที่มีเอ็นไซม์ CYP2C19 น้อย CYP3A4 inhibitor จะทำให้ระดับของ omeprazole มีปริมาณมากขึ้นอย่างมาก
ยาหลายตัวที่ทำหน้าที่กระตุ้น (inducer) เอ็นไซม์ CYP2C19 มักจะกระตุ้นปฏิกิริยาเคมีต่อยาหลายตัวในหลายๆ ทาง ดังนั้น การกระตุ้นเอ็นไซม์ให้ทำงาน มักจะทำให้ระดับของยาที่มันทำปฏิกิริยาลดลงอย่างมีนัย ซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาหลายทางนั่นเอง
ยกตัวอย่าง ถ้ายาตัวหนึ่งถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมี โดยเอ็นไซม์ CYP2C19, CYP1A2 และCYP3A4 ทั้งสามตัว เมื่อมีคนไข้ได้รับยา ซึ่งสามารถทำหน้าทีกระตุ้น (induce) เอ็นไซม์ดังกล่าวเมื่อไร มันจะกระตุ้นให้ปฏิกิริยาของทั้งสามเกิดขึ้นร่วมกันทันที
ผลที่เกิดขึ้น ทำให้ระดับยาในกระแสเลือดลดลงอย่างมาก ๆ
กล่าวโดยสรุป
เอ็นไซม์ CYP2C19 เป็นเอ็นไซม์ซึ่งอย่างน้อยสุด มีส่วนในการทำปฏิกิริยาเคมีต่อ “ยา” หลายๆ ตัว แต่ CYP2C19 inhibitors มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดผลสูงสุดต่อยา ซึ่งเป็น substrate ของ CYP2C19
แต่การยับยั้ง เอ็นไซม์ CYP2C19 โดยตัวของมัน จะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงของยาบ่อยนัก เมื่อเปรียบกับการทำงานของเอ็นไซม์ตัวอื่น ๆ
ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะ:
1. เป็นเพราะว่า CYP2C19 substrate ส่วนมากจะไม่ค่อยก่อให้เกิดพิษที่รุนแรง
2. ปฏิกิริยาทางเคมีของเอ็นไซม์ตัวอื่นทำงานแทน (Take over)
อย่างไรก็ตามในบางครั้ง ผลของการยับยั้ง หรือ กระตุ้นเอ็นไซม์ CYP2C19 อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เราไม่ควรเพิกเฉยเป็นอันขาด
Drug Reactions: กฏระเบียบจราจร มีคนปฏิบัติตามกฎมากน้อยแค่ใด?
กฎ 20/80 จะนำมาใช้กับคนที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบได้หรือไม่?
ในตอนเช้าขณะเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวผ่านสี่แยกที่มีไฟจราจรควบคุม เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดอุบัติเหตุบนถนนหนทาง:
ไฟจราจร “สีเขียว” บ่งบอกให้ผ่านไปได้
ไฟจราจร “สีเหลือง” บอกให้รีบไป
ไฟจราจร “สีแดง” บ่งบอกให้หยุดอย่างสิ้นเชิง
แต่ที่พบเห็น ปรากฏว่ามีส่วนหนึ่ง... สีแดงแล้ว มันยังขับผ่านเราอย่างหน้าตาเฉย
อย่างนี้ มันจะหลีกเลี่ยงไม่เกิดอุบัติเหตุบนถนนหนทางได้อย่างไร?
อย่างไรเสีย กฎระเบียบยังจำเป็นที่จะต้องมีอยู่ต่อไป แม้ว่าคนส่วนหนึ่ง มันจะไม่ยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบก็ตามที
หากจะคิดเป็นตัวเลข อาจว่า คนไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบมีได้ถึง 20 % ก็อาจเป็นได้นะ?
ขนาดมีกฎระเบียบขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุแท้ ๆ คนยังแหกกฎให้เห็นเป็นประจำเลย
ลองมาดูกฎระเบียบของการใช้ยา (มี หรือ ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปล่าก็ไม่รู้) ว่า สถานพยาบาลแต่ละแห่งจะมีคำเตือน(อนุโลมว่าเป็นกฎระเบียบก็แล้วกัน) ว่า ยาตัวนั้น ๆ ห้ามใช้อย่างโน้นอย่างนี้….
ปัญหามีคนถามว่า “จะมีสักกี่คนที่อ่านคำเตือนเหล่านั้น.”
ใช้กฎ 80/20 % ได้หรือ เปล่า?
มีคนสนใจ 20 % อีก 80% อาจไม่คนสนใจก็อาจเป็นได้
แล้วเราจะทำอย่างไร ?
คำตอบแบบกำปั้นทุบดิน...ก็ต้องปล่อยให้เหมือนกับคนฝืนกฎจรจรไฟแดงจังหวัดขอนแก่นนั่นแหละ
เมื่อพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับยาที่คนไข้รับประทานเพื่อรักษาโรคนั้นละ มีระบบเตือนภัยให้แก่ประชาชนมากน้อยแค่ไหนกัน ?
ถ้ามี....อาจมีคนปฏิบัติเพียง 20/80
ถ้าไม่มี....เขาจะรอดพ้นจากการแพ้ยาได้สักกี่มากน้อยกัน
บางท่านอาจแนะว่า “ ตัวใครตัวมัน” ก็คงจะไม่ผิด
ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นของจริงที่ปรากฏในชีวิตประจำวันของคนเป็นโรค
มีผู้เกี่ยวข้องอยู่สองฝ่ายเท่านั้น คือ คนไข้ และแพทย์ หรือผู้จ่ายยา.เท่านั้น ทีจะต้อง “ดู..สัญญานเตือนภัย” เกี่ยวกับการใช้ยา
ที่จะพูดต่อไปนี้ไม่ใช้กฎระเบียบ แต่เป็นความจริง หากระมัดระวังเอาไว้บ้าง อันตรายก็จะไม่เกิดขึ้น
ยกตัวอย่าง:
คนไข้รายใดที่ได้รับยา warfarin อยู่ สิ่งที่ผู้ทำการรักษา หรือบังเอิญมีส่วนรู้เห็นด้วย ให้มองหาว่าคนๆ นั้นรับยาที่เป็น ตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYP2C9 (CYP2C9) inhibitor ด้วยหรือไม่
เช่น Fluconazole, amiodarone, finofibrate,isoniazid,lovastatin, phenylbutazone, sertraline
คนไข้รายใดที่ได้รับยา Budesonide, fluticasone หรือ simvastatin ให้มองหาวา มียาที่เป็นตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYtochromeP450 (CYP3A4 inhibitor) หรือไม่
เช่น HIV Antivirals:indinvir,nelfinavir,ritonavir, clarithromycin,itraconazole,ketokonazole,grapejuice,verapamil, diltiazem,cimetidine ,amiodarone,ciprofloxacin. Etc.
คนไข้ที่รับยา Digoxin และ colchicines ควรมองหาว่า เขาได้รับยาที่เป็นตัวยับยั้ง (inhibit) P glycoprotein (PGP inhibitors) หรือไม่
คนไข้ที่ได้รับยา lithium เราจะต้องตรวจสอบดูว่า คนไข้รายนั้นรับยาในกลุ่ม Angiotensin Conversting enzyme inhibitor และ Angiotensin receptor blocker หรือไม่
คนที่ได้รับยา Tamoxefen ท่านควรมองหาวา คนไขได้รับยาที่เป็นตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYP2C6 (CYP2C6 inhibitors)
เช่น Thiotepa, ticlopidine
ยาที่เป็นตัวยับยั้ง (nhibitors) เหล่านี้ เมื่อให้ร่วมกับยาที่เราให้แก่คนไข้เมื่อใด....อันตรายจะเกิดแก่คนได้
ถ้าเราจะเปรียบว่า เป็นสัญญาณ “ไฟแดง” ก็น่าจะได้นะ ?
ให้ระวัง ห้ามฝืนเป็นอันขาด อันตรายอาจเกิดขึ้นได้...นะท่าน
Source:
Drs Horn &Hansten PharmD.: Should we removed the traffic light?.
www.pharmarcyTimes.com/
ในตอนเช้าขณะเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวผ่านสี่แยกที่มีไฟจราจรควบคุม เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดอุบัติเหตุบนถนนหนทาง:
ไฟจราจร “สีเขียว” บ่งบอกให้ผ่านไปได้
ไฟจราจร “สีเหลือง” บอกให้รีบไป
ไฟจราจร “สีแดง” บ่งบอกให้หยุดอย่างสิ้นเชิง
แต่ที่พบเห็น ปรากฏว่ามีส่วนหนึ่ง... สีแดงแล้ว มันยังขับผ่านเราอย่างหน้าตาเฉย
อย่างนี้ มันจะหลีกเลี่ยงไม่เกิดอุบัติเหตุบนถนนหนทางได้อย่างไร?
อย่างไรเสีย กฎระเบียบยังจำเป็นที่จะต้องมีอยู่ต่อไป แม้ว่าคนส่วนหนึ่ง มันจะไม่ยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบก็ตามที
หากจะคิดเป็นตัวเลข อาจว่า คนไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบมีได้ถึง 20 % ก็อาจเป็นได้นะ?
ขนาดมีกฎระเบียบขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุแท้ ๆ คนยังแหกกฎให้เห็นเป็นประจำเลย
ลองมาดูกฎระเบียบของการใช้ยา (มี หรือ ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปล่าก็ไม่รู้) ว่า สถานพยาบาลแต่ละแห่งจะมีคำเตือน(อนุโลมว่าเป็นกฎระเบียบก็แล้วกัน) ว่า ยาตัวนั้น ๆ ห้ามใช้อย่างโน้นอย่างนี้….
ปัญหามีคนถามว่า “จะมีสักกี่คนที่อ่านคำเตือนเหล่านั้น.”
ใช้กฎ 80/20 % ได้หรือ เปล่า?
มีคนสนใจ 20 % อีก 80% อาจไม่คนสนใจก็อาจเป็นได้
แล้วเราจะทำอย่างไร ?
คำตอบแบบกำปั้นทุบดิน...ก็ต้องปล่อยให้เหมือนกับคนฝืนกฎจรจรไฟแดงจังหวัดขอนแก่นนั่นแหละ
เมื่อพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับยาที่คนไข้รับประทานเพื่อรักษาโรคนั้นละ มีระบบเตือนภัยให้แก่ประชาชนมากน้อยแค่ไหนกัน ?
ถ้ามี....อาจมีคนปฏิบัติเพียง 20/80
ถ้าไม่มี....เขาจะรอดพ้นจากการแพ้ยาได้สักกี่มากน้อยกัน
บางท่านอาจแนะว่า “ ตัวใครตัวมัน” ก็คงจะไม่ผิด
ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นของจริงที่ปรากฏในชีวิตประจำวันของคนเป็นโรค
มีผู้เกี่ยวข้องอยู่สองฝ่ายเท่านั้น คือ คนไข้ และแพทย์ หรือผู้จ่ายยา.เท่านั้น ทีจะต้อง “ดู..สัญญานเตือนภัย” เกี่ยวกับการใช้ยา
ที่จะพูดต่อไปนี้ไม่ใช้กฎระเบียบ แต่เป็นความจริง หากระมัดระวังเอาไว้บ้าง อันตรายก็จะไม่เกิดขึ้น
ยกตัวอย่าง:
คนไข้รายใดที่ได้รับยา warfarin อยู่ สิ่งที่ผู้ทำการรักษา หรือบังเอิญมีส่วนรู้เห็นด้วย ให้มองหาว่าคนๆ นั้นรับยาที่เป็น ตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYP2C9 (CYP2C9) inhibitor ด้วยหรือไม่
เช่น Fluconazole, amiodarone, finofibrate,isoniazid,lovastatin, phenylbutazone, sertraline
คนไข้รายใดที่ได้รับยา Budesonide, fluticasone หรือ simvastatin ให้มองหาวา มียาที่เป็นตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYtochromeP450 (CYP3A4 inhibitor) หรือไม่
เช่น HIV Antivirals:indinvir,nelfinavir,ritonavir, clarithromycin,itraconazole,ketokonazole,grapejuice,verapamil, diltiazem,cimetidine ,amiodarone,ciprofloxacin. Etc.
คนไข้ที่รับยา Digoxin และ colchicines ควรมองหาว่า เขาได้รับยาที่เป็นตัวยับยั้ง (inhibit) P glycoprotein (PGP inhibitors) หรือไม่
คนไข้ที่ได้รับยา lithium เราจะต้องตรวจสอบดูว่า คนไข้รายนั้นรับยาในกลุ่ม Angiotensin Conversting enzyme inhibitor และ Angiotensin receptor blocker หรือไม่
คนที่ได้รับยา Tamoxefen ท่านควรมองหาวา คนไขได้รับยาที่เป็นตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYP2C6 (CYP2C6 inhibitors)
เช่น Thiotepa, ticlopidine
ยาที่เป็นตัวยับยั้ง (nhibitors) เหล่านี้ เมื่อให้ร่วมกับยาที่เราให้แก่คนไข้เมื่อใด....อันตรายจะเกิดแก่คนได้
ถ้าเราจะเปรียบว่า เป็นสัญญาณ “ไฟแดง” ก็น่าจะได้นะ ?
ให้ระวัง ห้ามฝืนเป็นอันขาด อันตรายอาจเกิดขึ้นได้...นะท่าน
Source:
Drs Horn &Hansten PharmD.: Should we removed the traffic light?.
www.pharmarcyTimes.com/
Colchicine-Drug Interaction
มียาตัวหนึ่งที่มนุษย์เรานำมาใช้ในการรักษาโรค นับเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยเนโร โน้น
(Nero Claudius Caecsar Drusus Germanicus) A.D. 37 – 68
และยังปรากฏผลว่า เป็นยาที่ดี
เมื่อไรก็ตามที่ระดับยา colchicines ในกระแสเลือดสูงเกินไป จะก่อให้เกิดพิษขึ้นอันตรายของมันนั้น...น่ากลัวมาก เพราะอาจทำให้ถึงขั้นอันตรายต่อชีวิตได้
สาเหตุอย่างหนึ่งในหลายสาเหตุ ที่ทำให้เกิดอันตรายดังกล่าว คือ ระดับของยา colchicines สูงขึ้น โดยเกิดจากการได้รับประทาน ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ
ยาต่าง ๆ ที่ทำปฏิกิริยากับยา Colchicine:
ยา colchicine เป็นสารที่จะต้องถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีกับเอ็นไซม์ตัวหนึ่ง ชื่อ P- Glcoprotein (PGP) ซึ่งเอ็นไซม์ตัวนี้จะทำหน้าที่ขจัดยา colchicine ออกจากกายทาง “น้ำดี”. “ทางปัสสาวะ” และทาง “ลำไส้”
ได้มีรายงานว่า มียาอยู่หลายตัวเมื่อใช้ร่วมกับยา colchicines แล้ว จะทำให้ระดับของยา colchicines ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อคนไข้
ยาเหล่านั้นได้แก่:
กลุ่มยาปฏิชีวนะ ซึ่งได้แก่ Clarithromycin., erythromycin
กลุ่มที่ใช้ลดความดัน ได้แก่ Verapamil
และกลุ่ม..Immunosuppressants .เช่น cyclosporine เป็นยาที่ใช้ในกรณีปลูกถ่ายอวัยวะ..ทำให้ร่างกายไม่ต่อต้านอวัยวะของคนอื่นที่ใส่เข้าไป.
ยาทั้งสามกลุ่มที่เสนอมานั้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนเราแล้ว มันจะทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ P-Glycoprotein ทำให้เอ็นไซม์ตัวนี้มารถขับเอายา (object drug) ออกจากร่างกายเราได้
จากรายงานของคนที่แพ้พิษยา colchicines นั้น เป็นภาพที่ไม่ค่อยจะน่าดูเท่าไหร่นักหรอก เพราะมันมีอันตรายถึงขั้นชีวิต และตายได้
มีคนไข้รายหนึ่ง ที่เกิดแพ้พิษของ colchicines เขามาพบแพทย์ด้วยอาการ “ไข้สูง” , “ท้องล่วง” , “ปวดกล้ามเนื้อ” และ “ปวดท้อง” นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดภายหลังจากเจ้าตัว รับประทานยาปฏิชีวนะชื่อ clarithromycin เข้าไปแล้ว 4 วัน เท่านั้นเอง
ผลไม่ได้อยู่แค่นั้น อาการของเขาทรุดหนัก เพราะอวัยวะที่สำคัญๆ ถูกทำลายลงหมด (multiple organ failure)
รายที่สอง: ในขณะที่รับประทานยา colchicines เขาได้รับประทานยา clarithromycin เข้าไปด้วย เพียง 3 วันให้หลัง เขาเกิดอาการไข้ ปวดท้อง และท้องเดิน
มีการเสียน้ำอย่างมาก เลือดเป็นกรด (acidosis) ไขกระดูกถูกกด ทำให้เม็ดเลือดทั้งหลายลดต่ำลง (pancytopenia)
โชคดีที่คนไข้รายนี้รักษาได้ทัน....รอดตาย
รายที่สาม โชคร้าย... หลังจากรับประทานยา clarithromycin ร่วมกับ colchicines แล้ว แพทย์ไมสามารถช่วยชีวิตไปไว้ได้ เพราะเม็ดเลือดทั้งหลายลดต่ำลงอย่างมาก- agranulocytosis
นอกจากยา clarithromycin เมื่อรับประทานร่วมกับยา colchicines แล้ว ย่อมก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้เช่นเดียวกัน
ยาเหล่านั้น ต่างทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ PGP เหมือนกับ clarithromycin
ดังตารางข้างล่างนี้:
ยางต่าง ๆ ที่ทำหน้าทียับยั้ง (Inhibit) P-glycoprotein
------------------------------------------------------
Amiodarone Nicardipine
Clarithromycin Propafemone
Cyclosporine Quinidine
Diltiazem Ritonavir
Erythromycin Saquinavir
Indinavir Tacrolimus
Itraconazole Tamoxefen
Ketoconazole Verapam
Nelfinavir
ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดพิษจากยา colchicine:
คนไข้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (chronic renal insufficiency) สามารถนำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะมีระดับของ colchicines ในกระแสเลือดสูง
นอกจากนั้น อะไรก็ตามที่ทำให้ระดับของ colchicines สูง สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการเกิดพิษได้ทั้งนั้น เช่น ขนาดของยาที่กินเข้าไปมากไป และโรคตับ
ท่านที่เป็นโรคเก๊า จะต้องระวังเรื่องการใช้ยาให้มาก...
มีคนพูดว่า “หมอที่เก่งที่สุด คือ ตัวเราเอง”
นั่นหมายความว่า เราจะต้องยอมรับว่า เราเป็นโรคนั้นๆ แล้ว ขั้นต่อไป ท่านจะต้องรู้วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้มันทำอันตรายตัวท่านได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน งดเล้า งดเครื่องในสัตว์ งดของทะเล ไม่ซื้อยารับประทานเอง หรือหากท่านไม่ได้พบแพทย์ประจำคนเดิม ท่านต้องบอกแพทย์คนที่กำลังรักษาท่านในขณะนั้นด้วยว่า...ท่านกำลังรับประทานยาอะไรอยู่...
สงสัยอะไรก็ตาม (เกี่ยวกับยา) ท่านต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทันที...
อย่าได้ลองผิดลองถูกเป็นอันขาด...เพราะท่านเท่านั้นที่จะได้รับอันตราย หาใช้ใครอื่นไม่
กล่าวโดยสรุป:
คนไข้ที่ได้รับยา colchicines ไม่ควรรับประทานยา ที่ไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ PGP โดยเด็ดขาด เช่น ยา Clarithromycin หรือ erythromycin เพราะมันทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้
หากจำเป็นจะต้องใช้ยา PGP inhibitor เราจำต้องลดขนาดของยา colchicines ลง หรือหยุดยา colchicines เอาไว้ก่อน (ให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เขา)
คนไข้จะต้องรายงานอาการ ของการเกิดพิษจาก colchicines ทันที เช่น ไข้ ท้องล่วง ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ เกิดอาการ Paresthesia (มึนเซียตามแขนขา)
-Drug Interaction
(Nero Claudius Caecsar Drusus Germanicus) A.D. 37 – 68
และยังปรากฏผลว่า เป็นยาที่ดี
เมื่อไรก็ตามที่ระดับยา colchicines ในกระแสเลือดสูงเกินไป จะก่อให้เกิดพิษขึ้นอันตรายของมันนั้น...น่ากลัวมาก เพราะอาจทำให้ถึงขั้นอันตรายต่อชีวิตได้
สาเหตุอย่างหนึ่งในหลายสาเหตุ ที่ทำให้เกิดอันตรายดังกล่าว คือ ระดับของยา colchicines สูงขึ้น โดยเกิดจากการได้รับประทาน ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ
ยาต่าง ๆ ที่ทำปฏิกิริยากับยา Colchicine:
ยา colchicine เป็นสารที่จะต้องถูกกระทำปฏิกิริยาทางเคมีกับเอ็นไซม์ตัวหนึ่ง ชื่อ P- Glcoprotein (PGP) ซึ่งเอ็นไซม์ตัวนี้จะทำหน้าที่ขจัดยา colchicine ออกจากกายทาง “น้ำดี”. “ทางปัสสาวะ” และทาง “ลำไส้”
ได้มีรายงานว่า มียาอยู่หลายตัวเมื่อใช้ร่วมกับยา colchicines แล้ว จะทำให้ระดับของยา colchicines ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อคนไข้
ยาเหล่านั้นได้แก่:
กลุ่มยาปฏิชีวนะ ซึ่งได้แก่ Clarithromycin., erythromycin
กลุ่มที่ใช้ลดความดัน ได้แก่ Verapamil
และกลุ่ม..Immunosuppressants .เช่น cyclosporine เป็นยาที่ใช้ในกรณีปลูกถ่ายอวัยวะ..ทำให้ร่างกายไม่ต่อต้านอวัยวะของคนอื่นที่ใส่เข้าไป.
ยาทั้งสามกลุ่มที่เสนอมานั้น เมื่อเข้าสู่ร่างกายของคนเราแล้ว มันจะทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ P-Glycoprotein ทำให้เอ็นไซม์ตัวนี้มารถขับเอายา (object drug) ออกจากร่างกายเราได้
จากรายงานของคนที่แพ้พิษยา colchicines นั้น เป็นภาพที่ไม่ค่อยจะน่าดูเท่าไหร่นักหรอก เพราะมันมีอันตรายถึงขั้นชีวิต และตายได้
มีคนไข้รายหนึ่ง ที่เกิดแพ้พิษของ colchicines เขามาพบแพทย์ด้วยอาการ “ไข้สูง” , “ท้องล่วง” , “ปวดกล้ามเนื้อ” และ “ปวดท้อง” นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดภายหลังจากเจ้าตัว รับประทานยาปฏิชีวนะชื่อ clarithromycin เข้าไปแล้ว 4 วัน เท่านั้นเอง
ผลไม่ได้อยู่แค่นั้น อาการของเขาทรุดหนัก เพราะอวัยวะที่สำคัญๆ ถูกทำลายลงหมด (multiple organ failure)
รายที่สอง: ในขณะที่รับประทานยา colchicines เขาได้รับประทานยา clarithromycin เข้าไปด้วย เพียง 3 วันให้หลัง เขาเกิดอาการไข้ ปวดท้อง และท้องเดิน
มีการเสียน้ำอย่างมาก เลือดเป็นกรด (acidosis) ไขกระดูกถูกกด ทำให้เม็ดเลือดทั้งหลายลดต่ำลง (pancytopenia)
โชคดีที่คนไข้รายนี้รักษาได้ทัน....รอดตาย
รายที่สาม โชคร้าย... หลังจากรับประทานยา clarithromycin ร่วมกับ colchicines แล้ว แพทย์ไมสามารถช่วยชีวิตไปไว้ได้ เพราะเม็ดเลือดทั้งหลายลดต่ำลงอย่างมาก- agranulocytosis
นอกจากยา clarithromycin เมื่อรับประทานร่วมกับยา colchicines แล้ว ย่อมก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้เช่นเดียวกัน
ยาเหล่านั้น ต่างทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ PGP เหมือนกับ clarithromycin
ดังตารางข้างล่างนี้:
ยางต่าง ๆ ที่ทำหน้าทียับยั้ง (Inhibit) P-glycoprotein
------------------------------------------------------
Amiodarone Nicardipine
Clarithromycin Propafemone
Cyclosporine Quinidine
Diltiazem Ritonavir
Erythromycin Saquinavir
Indinavir Tacrolimus
Itraconazole Tamoxefen
Ketoconazole Verapam
Nelfinavir
ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดพิษจากยา colchicine:
คนไข้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (chronic renal insufficiency) สามารถนำไปสู่การเกิดปฏิกิริยาแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะมีระดับของ colchicines ในกระแสเลือดสูง
นอกจากนั้น อะไรก็ตามที่ทำให้ระดับของ colchicines สูง สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการเกิดพิษได้ทั้งนั้น เช่น ขนาดของยาที่กินเข้าไปมากไป และโรคตับ
ท่านที่เป็นโรคเก๊า จะต้องระวังเรื่องการใช้ยาให้มาก...
มีคนพูดว่า “หมอที่เก่งที่สุด คือ ตัวเราเอง”
นั่นหมายความว่า เราจะต้องยอมรับว่า เราเป็นโรคนั้นๆ แล้ว ขั้นต่อไป ท่านจะต้องรู้วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้มันทำอันตรายตัวท่านได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน งดเล้า งดเครื่องในสัตว์ งดของทะเล ไม่ซื้อยารับประทานเอง หรือหากท่านไม่ได้พบแพทย์ประจำคนเดิม ท่านต้องบอกแพทย์คนที่กำลังรักษาท่านในขณะนั้นด้วยว่า...ท่านกำลังรับประทานยาอะไรอยู่...
สงสัยอะไรก็ตาม (เกี่ยวกับยา) ท่านต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทันที...
อย่าได้ลองผิดลองถูกเป็นอันขาด...เพราะท่านเท่านั้นที่จะได้รับอันตราย หาใช้ใครอื่นไม่
กล่าวโดยสรุป:
คนไข้ที่ได้รับยา colchicines ไม่ควรรับประทานยา ที่ไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ PGP โดยเด็ดขาด เช่น ยา Clarithromycin หรือ erythromycin เพราะมันทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้
หากจำเป็นจะต้องใช้ยา PGP inhibitor เราจำต้องลดขนาดของยา colchicines ลง หรือหยุดยา colchicines เอาไว้ก่อน (ให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เขา)
คนไข้จะต้องรายงานอาการ ของการเกิดพิษจาก colchicines ทันที เช่น ไข้ ท้องล่วง ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ เกิดอาการ Paresthesia (มึนเซียตามแขนขา)
-Drug Interaction
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)