วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

Drug Reactions: กฏระเบียบจราจร มีคนปฏิบัติตามกฎมากน้อยแค่ใด?

กฎ 20/80 จะนำมาใช้กับคนที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบได้หรือไม่?
ในตอนเช้าขณะเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวผ่านสี่แยกที่มีไฟจราจรควบคุม เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดอุบัติเหตุบนถนนหนทาง:
ไฟจราจร “สีเขียว” บ่งบอกให้ผ่านไปได้
ไฟจราจร “สีเหลือง” บอกให้รีบไป
ไฟจราจร “สีแดง” บ่งบอกให้หยุดอย่างสิ้นเชิง
แต่ที่พบเห็น ปรากฏว่ามีส่วนหนึ่ง... สีแดงแล้ว มันยังขับผ่านเราอย่างหน้าตาเฉย
อย่างนี้ มันจะหลีกเลี่ยงไม่เกิดอุบัติเหตุบนถนนหนทางได้อย่างไร?
อย่างไรเสีย กฎระเบียบยังจำเป็นที่จะต้องมีอยู่ต่อไป แม้ว่าคนส่วนหนึ่ง มันจะไม่ยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบก็ตามที
หากจะคิดเป็นตัวเลข อาจว่า คนไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบมีได้ถึง 20 % ก็อาจเป็นได้นะ?

ขนาดมีกฎระเบียบขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอุบัติเหตุแท้ ๆ คนยังแหกกฎให้เห็นเป็นประจำเลย
ลองมาดูกฎระเบียบของการใช้ยา (มี หรือ ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือเปล่าก็ไม่รู้) ว่า สถานพยาบาลแต่ละแห่งจะมีคำเตือน(อนุโลมว่าเป็นกฎระเบียบก็แล้วกัน) ว่า ยาตัวนั้น ๆ ห้ามใช้อย่างโน้นอย่างนี้….
ปัญหามีคนถามว่า “จะมีสักกี่คนที่อ่านคำเตือนเหล่านั้น.”
ใช้กฎ 80/20 % ได้หรือ เปล่า?
มีคนสนใจ 20 % อีก 80% อาจไม่คนสนใจก็อาจเป็นได้
แล้วเราจะทำอย่างไร ?
คำตอบแบบกำปั้นทุบดิน...ก็ต้องปล่อยให้เหมือนกับคนฝืนกฎจรจรไฟแดงจังหวัดขอนแก่นนั่นแหละ

เมื่อพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับยาที่คนไข้รับประทานเพื่อรักษาโรคนั้นละ มีระบบเตือนภัยให้แก่ประชาชนมากน้อยแค่ไหนกัน ?
ถ้ามี....อาจมีคนปฏิบัติเพียง 20/80
ถ้าไม่มี....เขาจะรอดพ้นจากการแพ้ยาได้สักกี่มากน้อยกัน
บางท่านอาจแนะว่า “ ตัวใครตัวมัน” ก็คงจะไม่ผิด

ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นของจริงที่ปรากฏในชีวิตประจำวันของคนเป็นโรค
มีผู้เกี่ยวข้องอยู่สองฝ่ายเท่านั้น คือ คนไข้ และแพทย์ หรือผู้จ่ายยา.เท่านั้น ทีจะต้อง “ดู..สัญญานเตือนภัย” เกี่ยวกับการใช้ยา
ที่จะพูดต่อไปนี้ไม่ใช้กฎระเบียบ แต่เป็นความจริง หากระมัดระวังเอาไว้บ้าง อันตรายก็จะไม่เกิดขึ้น

ยกตัวอย่าง:
คนไข้รายใดที่ได้รับยา warfarin อยู่ สิ่งที่ผู้ทำการรักษา หรือบังเอิญมีส่วนรู้เห็นด้วย ให้มองหาว่าคนๆ นั้นรับยาที่เป็น ตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYP2C9 (CYP2C9) inhibitor ด้วยหรือไม่
เช่น Fluconazole, amiodarone, finofibrate,isoniazid,lovastatin, phenylbutazone, sertraline
คนไข้รายใดที่ได้รับยา Budesonide, fluticasone หรือ simvastatin ให้มองหาวา มียาที่เป็นตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYtochromeP450 (CYP3A4 inhibitor) หรือไม่
เช่น HIV Antivirals:indinvir,nelfinavir,ritonavir, clarithromycin,itraconazole,ketokonazole,grapejuice,verapamil, diltiazem,cimetidine ,amiodarone,ciprofloxacin. Etc.

คนไข้ที่รับยา Digoxin และ colchicines ควรมองหาว่า เขาได้รับยาที่เป็นตัวยับยั้ง (inhibit) P glycoprotein (PGP inhibitors) หรือไม่

คนไข้ที่ได้รับยา lithium เราจะต้องตรวจสอบดูว่า คนไข้รายนั้นรับยาในกลุ่ม Angiotensin Conversting enzyme inhibitor และ Angiotensin receptor blocker หรือไม่

คนที่ได้รับยา Tamoxefen ท่านควรมองหาวา คนไขได้รับยาที่เป็นตัวยับยั้งเอ็นไซม์ CYP2C6 (CYP2C6 inhibitors)

เช่น Thiotepa, ticlopidine

ยาที่เป็นตัวยับยั้ง (nhibitors) เหล่านี้ เมื่อให้ร่วมกับยาที่เราให้แก่คนไข้เมื่อใด....อันตรายจะเกิดแก่คนได้
ถ้าเราจะเปรียบว่า เป็นสัญญาณ “ไฟแดง” ก็น่าจะได้นะ ?
ให้ระวัง ห้ามฝืนเป็นอันขาด อันตรายอาจเกิดขึ้นได้...นะท่าน

Source:
Drs Horn &Hansten PharmD.: Should we removed the traffic light?.
www.pharmarcyTimes.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น