วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

Diet for renal failure

คนเป็นโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease)
มาพบแพทย์คราใด แพทย์จะทำการตรวจเช็คดูการดำเนินของโรค ว่ามันดำเนินไปถึงขั้นไหน
คนไข้จะได้รับการตรวจเลือด (BUN & creatinine) และตรวจปัสสาวะ
ผลของการตรวจ สามารถบอกให้แพทย์ และคนไข้ได้ทราบว่า การทำงานของไตของคนไข้ เป็นเช่นใด

ก่อนคนไข้จะกลับบ้าน เขาจะได้รับคำแนะนำเดิม ๆ ว่า:
“ให้ระมัดระวังเรื่องอาหารการกินนะ “

หลายคนอดสงสัยไม่ได้... จึงตั้งคำถามว่า
“คนไข้เข้าใจในสิ่งที่คุณหมอบอก (แนะนำ) …
จริงหรือ ?

เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน และให้หายข้อข้องใจ จะขอนำเรื่องอาหารของคนเป็นโรคไตมาเล่า ให้พวกเราฟังเล่น ๆ ...

คนไข้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) อีกชื่อเรียกว่า kidney failure

ไตของคนเราจะทำหน้าที่ขับพิษ (urea & phosphorous) และน้ำที่เกินออกจากร่างกาย ..
ถ้าไตของท่านไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
อะไรจะเกิดขึ้น ?
พิษ และน้ำก็จะถูกกักไว้ในร่างกาย

ปกติกระแสเลือดของคนเรามีขีดจำกัดของมัน ซึ่งมันมีน้ำเป็นส่วนประกอบ
ถ้าเกิดสภาวะน้ำเกิน ไตไม่สามารถขับออกได้ มันจะไปอยู่ที่ไหนกัน ?
มันจะเก็บกัก หรือสิงสถิตในตัวเซลล์ทั่งร่างกายก่อน เมื่อมีมากเข้าก็ออกนอกเซลล์ ไปอยู่ ตามช่องต่าง ๆ เช่น ช่องปอด ช่องหัวใจ (heart cavity) ตามเนื้อหนังทั่วไป

จะพบเห็นคนไข้มีอาการ หน้าบวม (puffiness) เท้าบวม....
เมื่อมันมีมากขึ้น จะทำให้เกิดน้ำท้วมปอด... ทำให้คนไข้หายใจไม่สะดวก ต้องนำส่ง
โรงพยาบาลเพื่อการรักษาแบบฉุกเฉินต่อไป

ในคนปกติ เมื่อรับประทานเกลือเข้าไป เกลือจะทำให้มีน้ำในร่างกายเพิ่มขึ้น มันสามารถขับ ออกทางปัสสาวะได้ภายในวันสองวัน
ส่วนคนเป็นโรคไตละ...มันไม่สามารถทำเช่นนั้นได้


ในคนที่เป็นโรคไตวายไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้เช่นคนปกติหรอก

พอเพิ่มเกลือเข้าไปอีกเท่านั้นแหละ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม
จะทำให้มีน้ำในร่างกายเพิ่มมากขึ้น....ซึ่ง มันทำให้สภาวะต่างๆ เลวลง
การให้เกลือและน้ำร่วมกันในปริมาณมากเกิน จะเป็นการทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของ คนไข้ที่เป็นโรคไตวายได้ โดยไม่คำนึงว่า คนไข้รายนั้นกำลังได้รับการฟอกเลือดหรือไม่

คนไข้ที่เป็นไตวาย (kidney failure)
การวินิจฉัยอย่างนี้ เป็นการบอกให้ทราบว่า เขากำลังอยู่บนเส้นทางสู่การฟอกเลือด หรือ
การเปลี่ยนไต (kidney transplant)
แพทย์ผู้ทำการรักษา จะทำการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะของคนไข้ เพื่อพิจารณาว่า คนไข้ นั้นอยู่ในขั้นเลวร้ายแค่ใด
เพื่อเป็นการควบคุมอาการต่าง ๆ รวมไปถึงการป้องกันไม่ให้ไตเลวลงไปอีก แพทย์จะให้ยา แก่คนไข้ พร้อมกับคำแนะนำเรื่องอาหารการกินแก่เขา

นั้นคือเป้าหมายที่เราจำเป็นจะต้องควบคุมให้ได้

ถ้าคนไข้สามารถยึดมั่นในคำแนะนำเรื่องอาหารการกินได้
เขาสามารถชะลอการฟอกเลือดได้เป็นเดือน ๆ หรือ เป็นเวลาหลายปี
หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น คือ การไม่รับประทานเกลือ จะช่วยไม่ให้ไตเลวลงนั่นเอง

เมื่อคนไข้เริ่มทำการฟอกเลือด ล้างไตเมื่อใด จะมีปรับเปลี่ยนในเรื่องอาหารการกิน ทั้งนี้ย่อม อยู่บนพื้นฐานของสุขภาพของคนไข้แต่ละรายเป็นสำคัญ รวมไปถึงชนิดของการฟอกเลือดว่า จะเป็นชนิดใด (peritoneal diaysis หรือ hemodialysis)

แนวทางต่อไปนี้ สำหรับคนไข้ที่เป็นโรคไตทุกคน

• Limiting fluids
• Eating a low –protein diet
• Restricting salt, potassium, phosphorous, and other electrolytes
• Getting enough calories if you are losing weight

คำแนะนำเรื่องอาหารอาจต้องมีการปรับเมื่อเวลาผ่านไป ถ้าไตของคุณแย่ลง หรือถ้าคุณ จำเป็นต้องทำการฟอกเลือด
เป้าหมายของการให้อาหาร เพื่อคงสภาพความสมดุลในระดับของเกลือแร่ และน้ำ ของคนไข้ ที่กำลังทำการฟอกเลือด

การฟอกเลือด- hemodialysis เพียงอย่างเดียวจะไม่พอสำหรับคนเป็นโรคไต จำเป็นต้อง ระมัดระวังเรื่องอาหาร และปริมาณของน้ำด้วย
หากเราไม่ระวัง จะเป็นการเพิ่มของเสียในร่างกายขึ้น ทำให้เป็นภาระเพิ่มแก่ไตขึ้นอีก

คนไข้โรคไต พบว่าขับน้ำออกได้น้อย (ปัสสาวะลดลง) จึงจำเป็นต้องจำกัดปริมาณน้ำด้วย

การที่คนไข้ไม่ขับถ่ายปัสสาวะ จะทำให้ปริมาณเลือดในร่างกาย สูง ซึ่งจะนำไปสู่การมีน้ำใน หัวใจ ปอด และข้อเท้าทั้งสอง

คำแนะนำที่คนไข้ควรนำไปปฏิบัติ
(Recommendations)

ควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อขอคำแนะนำในเรื่องอาหาร
นักโภชนาการบางท่านก็เชี่ยวชาญในทางโรคไตเป็นการเฉพาะ
ซึ่งในกรณีเช่นนี้ สามารถสร้างแนวทางเกี่ยวกับอาหารให้คนที่เป็นโรคไตเป็นการเฉพาะได้

ระดับของ calories ต่อวัน จำเป็นต้องสูงพอสมควร เพื่อเสริมสุขภาพ และป้องกันการ ไม่ให้ร่างกายเสื่อมโทรม
นักโภชนาการจะเป็นคนแนะนำเองว่า คนไข้รายนั้น ๆ ควรรักษาน้ำหนักตัวเอาไว้เท่าไหร่ และควรวัดน้ำหนักตัวทุกเช้า

อาหารประเภทแป้ง
(Carbohydrates)

ถ้าคุณเป็นคนน้ำหนักมาก หรือเป็นโรคเบาหวาน คุณอาจจำเป็นต้องจำกัดปริมาณของอาหาร ประเภทแป้งลง

พวก carbohydrate เป็นแหล่งที่ให้พลังงานที่ดีแก่ร่างกายของคุณ
ถ้านักโภชนาการแนะนำให้คุณรับประทานอาหารที่มีโปรตีนต่ำ คุณสามารถทดแทนอาหาร โปรตีน จาก:

• ผลไม้ (fruits), bread, grains, และผักต่าง ๆ อาหารพวกนี้ให้สารที่เป็น fiber, mineral , vitamins
• Hard candies, sugar, honey, and jelly

อาหารประเภทไขมัน
(Fats)

อาหารประเภทไขมันเป็นแหล่งของพลังงานที่สูง
และจงแน่ใจด้วยว่า ไขมันที่ว่านั้น ต้องเป็นพวกไม่อิ่มตัว เช่น monounsaturated และ polyunsaturated fats ( เช่น olive oil, sunflower oil)

โปรตีน (Protein)
อาหารประเภท protein มีความจำเป็นต่อการสร้างกล้ามเนื้อ และสร้างความต้านทานต่อ การอักเสบที่จะเกิดขึ้น ตลอดรวมถึงการซ่อมแซมและชดเชยส่วนที่เสื่อมสลายไป
เมื่อท่านรับประทาน protein เข้าสู่ร่างกาย มันจะถูกเปลี่ยน (breakdown) เป็นของเสียที่ เราเรียกว่า urea
เมื่อการทำงานของไตเริ่มเสื่อมลง จะมี urea ในกระแสเลือดสูงขึ้น
เมื่อคุณรับประทาน protein เข้าไปมาก จะทำให้มีสาร urea ในกระแสเลือดสูงขึ้นอย่าง รวดเร็ว และมันจะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายขึ้นมา
การรับประทาน protein ในปริมาณไม่มาก จะเป็นประโยชน์ในแง่ที่ว่า ไม่ไปเพิ่มระดับ urea ในกระแสเลือดให้เป็นภาระของไต
ตัวอย่างที่มีปริมาณ protein สูง:
• Meat
• Poultry
• Milk oroducts
• Eggs

ตัวอย่างที่มีปริมาณ protein น้อย
• Fresh bean
• Grains
• Vegetables

อาหารที่คุณจำเป็นจะต้องได้รับ คือ อาหารที่เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ ทั้งสูง และต่ำ ซึ่งแพทย์ จะเป็นคนแนะนำว่า ควรรับประทานในปริมาณเท่าใด
โดยกำหนดให้ โปรตีน 1 gram per kilo bodyweight per day

พอหลังจากคุณเริ่มทำ dialysis คุณจำเป็นต้องได้อาหารประเภทโปรตีนเพิ่ม

สำหรับคนไข้โรคไต ก่อนที่จะได้รับการฟอกเลือด (pre-dialysis) เราจำเป็นต้องจำกัด ปริมาณของโปรตีนด้วย
ทำไม ?
เพื่อถนอมพลังของไตเอาไว้นั่นเอง ไม่ต้องให้มันทำงานมากโดยใช่เหตุ
แต่พอหลังจากทำการฟอกเลือด เราต้องปรับใหม่ จะต้องเพิ่มปริมาณโปรตีนขึ้นอีก
เขาแนะไว้ว่า ควรรับประทานอาหารที่เป็นโปรตีนต่อวัน ให้มากถึง 2 gram per kilogram body weight (แพทย์ที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้พิจารณาเองว่า คนไข้รายนั้น ๆ ควร รับประทานโปราตีนมากน้อยแค่ใด) อาหารที่แพทย์แนะนำ คือ พวก ปลา สัตว์ปีก หรือไข่ ทุกมื้อ เพื่อ ชดเชยกล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อส่วนที่สูญสลายไป


แคลเซี่ยม และ ฟอสฟอรัส
(Calcium and Phosphorous)


สารแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัส เป็นสารที่สำคัญในร่างกายของคุณ จะต้องระวังอย่างใกล้ชิด เพราะ ในระยะแรก ๆ ของการเป็นโรคไตวาย จะพบว่าระดับของฟอสฟอรัสมักจะสูงมาก เป็นเหตุให้ เกิด:

• Low calcium เป็นสาเหตุทำมีการดึงเอา calcium ออกมาจากกระดูก ซึ่งจะทำให้โรคกระดูก (0steomalcia) กระดูกของคุณจะเปราะเป็นเหตุให้เกิดการแตกหักได้ง่าย
• Itching

คุณจำเป็นต้องจำกัดอาหารประเภทที่ทำด้วยนมสัตว์ลง เช่น พวก milk yogurt และ cheese
อาหารต่าง ๆ ที่มีส่วนประกอบของนมสัตว์บางชนิด อาจมีเกลือแร่ phosphorus ต่ำ เช่น พวก margarine, butter, cream cheese

คุณอาจจำเป็นต้องได้รับ calcium เสริม เพื่อป้องกันโรคกระดูก และให้ vitamin D ด้วย เพื่อเป็นการควบคุมความสมดุลระหว่าง calcium และ phosphorous ในกายของคุณ


Fluids (น้ำ)

ในระยะแรก ๆ ของการเป็นโรค Chronic kidney disease คุณไม่จำเป็นต้องจำกัด ปริมาณของน้ำที่คุณต้องดื่มหรอก
แต่ภายหลังจากที่ไตของคุณเริ่มย่ำแย่ลง หรือเมื่อตอนที่คุณจะทำการฟอกเลือด เมื่อนั้นแหละ จำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณน้ำที่คุณดื่ม เพราะในระหว่าง sessions ของการทำฟอกเลือด อาจ มีน้ำเก็บกักภายในร่างกายของคุณในปริมาณสูงได้ ก่อให้เกิดอันตรายได้
ต้องระวังให้ดี

แพทย์ของท่าน หรือพยาบาลที่ทำการฟอกไต จะเป็นคนบอกคุณเองว่า ในแต่ละวัน คุณควร ดื่มน้ำเท่าไร
แพทย์จะแนะนำให้ใช้แก้วน้ำขนาดเล็กสำหรับดื่มน้ำ เป็นการบังคับไม่ให้คุณดื่มมากเกิน

คำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการกระหายน้ำ

• หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม
• ดื่มน้ำเย็น ใส่น้ำแข็ง....ทำให้คุณดื่มทีละน้อย
• อยู่ในห้องที่เย็น เมื่ออาการร้อน

Salt and Sodium
(เกลือ และ โซเดียม)

การจำกัดพวกเกลือ หรือ โซเดียมในอาหาร ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่ตามจริงแล้ว เป็น การยาก ที่คนเราจะไม่กินเค็ม (เกลือ) เลย
คงจะให้กินได้บ้าง แต่อย่าให้มาก
เราสามารถจำกัดปริมาณเกลือในอาหารของเราได้ อย่างแน่นอน โดยกำจัดอาหารที่มีเกลือสูง ออกทิ้งไป
ที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่:
o อาหารที่ปรุงเรียบร้อย พร้อมให้เรารับประทานได้ทันที เช่น ham, sausage, bacon, corn beef, cheese, fast foods , soy sauce และอาหารจากภัตราคราอาหารจีน
ต้องหลีกให้พ้น...
เป็นบุญของชาวบ้าน ที่ไม่คุ้นเคยกับอาหารพวกนี้ เลยรอดตัวไป ไม่ต้องระมัดระวังอะไร
รู้ไว้ก็ไม่เป็นไร ?

o อาหารกระป๋องทั้งหลายก็ใช่ย่อย ไม่ว่าจะเป็นผัก หรือเป็นพวกเนื้อ ปลา หรือหอย ต่างมีเกลือในปริมาณสูงทั้งนั้น หากท่านจำเป็นต้องใช้มันเป็นอาหารของท่าน ก็สามารถกระทำได้ โดยล้างพวกเกลือออกให้หมด
o ในบางครั้ง เราคิดว่ามีปริมาณเกลือน้อย แต่มันก็มีในปริมาณไม่น้อยอยู่ดี เช่น พวก pizza

แม้ว่า จะมีเกลือดอยู่รอบตัวของคนเราก็ตาม
เราไม่จำเป็นต้องใช้เกลือในปริมาณสูงเลย

เราสามารถเลือกอาหารที่มีเกลือ (sodium) ต่ำเข้าไว้ เช่น ถ้าต้องการรับประทาน cheese ก็เลือกซื้อ white cheese และเลือกซื้ออาหารที่มีปริมาณเกลือต่ำได้
อาหารที่ปลอดภัยที่สุด คืออาหารสด ๆ ยังไม่มีการปรุงนั้นแหละ เช่น พวกเนื้อ สัตว์ปีก และ ปลา
ประเภทผักสด หรือผักที่เก็บไว้ในตู้เย็น ผลไม้ รวมทั้งน้ำผลไม้ ต่างใช้ได้ทั้งนั้น

พอมาถึงตอนจะปรุงอาหาร เช่น ทำซุบ หรือทำก้วยเตี๋ยว เราก็สามารถปรุงได้ตามใจชอบ โดยใส่เกลือให้น้อยที่สุด
นาน ๆ ครั้ง ก็อนุญาตให้ตัวเองเพิ่มความเค็มขึ้นนิดหนึ่ง...

ของหวาน เช่นพวกขนม ขนมปัง แพนเค้ก...ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่ preservative เพราะ มันมีเกลือเป็นส่วนผสมด้วยเสมอ

พอ ออกไปนอกบ้าน ไปช็อบปิ้ง อย่าลืมมองหาอาหารที่มีปริมาณของเกลือต่ำเอาไว้

นั่นเป็นเรื่องเกี่ยวกับพวกเกลือ

พอมาถึงเรื่องน้ำ ต้องจำกัดเช่น แพทย์เขาจะแนะนำให้ท่านดื่มน้ำในระหว่าง 4 – 8 แก้ว โดยประมาณอย่าให้มากกว่านั้น
เมื่อเราพูดเรื่องน้ำ เราหมายถึงทุกอย่างที่ละลายเป็นของเหลวในอุณภูมิของห้อง เช่น พวก icecream, gelatin desserts
(อย่าลืม แตงโมก็ให้น้ำในปริมาณสูง)


Potassium.

Potassium ก็มีความสำคัญไม่น้อย คนไข้โรคไตมักมีระดับโปรแตสเซี่ยม สูง มันทำให้เกิด อาการอ่อนแรง หากมีปริมาณมาก สามารถทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
เราไม่สามารถที่จะควบ potassium ได้ด้วยเหตุผลหลายอย่าง
ข้อแรก เราไม่สามารถสัมผัสรสของมันได้
ข้อสอง ผู้ขายอาหารให้แก่เรา เขาไม่ได้บอกปริมาณของ potassium เอาไว้
เมื่อเขาไม่บอก เราก็พยามจำเอาก็แล้วกันว่า Potassium มีเป็นจำนวนสูงมาก ใน พืช-ผัก ต่อไปนี้

Nuts
Avocado
Potatoes
Pumkin
Oranges
Kivi
Peaches
Apricots
และของแห้งทั้งหลาย เช่น fruit, bean, และ Lentil ( )

สำหรับอาหาร พืชผักที่มีปริมาณ Potassium ต่ำ ซึ่งปลอดภัยสำหรับคนเป็นโรคไตวาย ได้แก่:

Applesauce
Black berry
Grapes
Tangerines
Canned Pear & Pums
Asparagus
Green or waxed beans
Corn
Cauliflower
Cucumber
Water chestnut
Summer squash

สำหรับน้ำผลไม้ (Juice) ต่อไปนี้ก็ใช้ได้ เช่น apple, cranberry,lemonade,grape
เมื่อท่านดื่มแล้ว อย่าลืมนับปริมาณร่วมเข้าไปด้วย....

Phosphorous .

โดยทั่วไป เขาจะเริ่มพิจารณาเจ้า phosphorous เมื่อคนไข้รายนั้น ๆ เริ่มทำการฟอกเลือด ขึ้นแล้ว
เนื่องจากคนโรคไตมีแนวโน้มทำให้ระดับ phosphorous สูง
เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ทำให้มี phosphorous ในเลือดสูง เราจะต้องจำกัดอาหารต่อไปนี้:

Whole grains
Bran and barley
Nuts
Coconuts
Figs and dates
Raisins
Salmon
Sardines
Oysters
Organ meats
เครื่องดื่มที่มี phosphorous สูง คือ Cola drink
ส่วน soft drinks ต่อไปนี้ ปรากฏว่ามี phosphorous ต่ำ (ดื่มได้) เช่น 7-up, spirit และ club soda

หมายเหตุ: พวก meat, poultry, fish และ eggs เป็นพวกที่มีสาร phosphorous สูงก็ จริง แต่ “โปรตีน” เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนไข้ที่ทำการฟอกเลือด ฉนั้นจึงไม่ควรจำกัดอาหาร พวกนี้

เนื่องจากเราจำเป็นต้องลดปริมาณ phosphorous ในเลือดลง แพทย์จึงมักสั่งให้คนไข้ รับประทานยาที่เป็น phosphorous – binder เช่น Tums แก่คนไข้ ให้รับประทานทุก ครั้งที่รับประทานอาหาร

จากรายการอาหารที่ห้ามเอาไว้ ใครก็ตามที่ได้รับฟังมาคงหดหู่ใจไม่น้อย
จะทำอย่างไรได้ละ...?
เพราะนั้น คือวิธีการที่จะถนอมไต หรือรักษาไตให้อยู่ในสภาพที่สามารถรับใช้ตัวเราได้นาน ที่สุดที่จะนานได้
ไม่เพียงเท่านั้น...ทำให้เรามีชีวิตยืนยาวขึ้นไปอีกด้วย
มีวิธีช่วยให้เรา ได้มีโอกาสรับประทานอาหารที่อร่อย และมีสุขภาพได้ทุกวัน
โดย รับประทานผัก ผลไม้สด (ชนิดที่มี phosphorous ต่ำ) เสริมด้วยอาหารว่าง
ที่มีปริมาณเกลือต่ำ..ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เรามีสุขภาพดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น