วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

Hemodialsis: สำหรับท่านที่เป็นโรคไตวาย

ตรวจคนไข้สูงอายุที่เป็นโรคไตวาย (Kidney Failure) คราใด
อดสงสาร -เศร้าใจไม่ได้
ไม่ให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นได้อย่างไร
ในเมื่อใบหน้าของคนไข้บ่งบอกถึง “ความอมโรค” ไร้เสียซึ่งความมี “ชีวิตชีวา” อย่างนั้น

ในฐานะแพทย์ผู้ทำการรักษา ไม่รู้จะทำอะไรได้มากไปกว่า การรักษาปลายเหตุ
ให้คำแนะนำ ป้องกันไม่ให้โรคเลวร้ายลงไปกว่าเดิม
จะดำเนินชีวิตอย่างไร จึงจะอยู่กับโรคเรื้อรัง ที่เป็นอยู่อย่างมีความสุขที่สุด เท่าที่จะเป็นได้

ปกติ “ไต” ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย
เมื่อมันเสื่อมลง การทำงานของมันย่อมลดลงตามส่วน
เสื่อมมากย่อมมีของเสียสะสมในร่างกายมาก....และ
ของเสียที่ขจัดออกมาไม่หมดนั้นแหละที่ ทำให้คนเรารู้สึกไม่สบาย เป็นเช่นที่ได้กล่าวมา

นั่นเป็นที่มาของ เรื่อง “hemodialysis”

การฟอกเลือด- hemodialysis เขาใช้เครื่องมือที่สามารถกรองเอาของเสียต่าง ๆ เช่น เกลือ และน้ำออกจากเลือด ซึ่งเราจะกระทำเมื่อไต ไม่อยู่ในสภาพที่สามารถทำงานได้ดีพอ
การฟอกเลือด เป็นวิธีที่เราพบเห็นกันมากที่สุด ที่แพทย์นำมาใช้ในการรักษาคนไข้ที่เป็นโรค ไตวายระยะสุดท้าย
อีกนั้นแหละ...มองเห็นคนไข้กลุ่มนี้เดินเข้าสู่สถานที่ฟอกไต
ระยะแรก ๆ เราเห็นมีจำนวนหลายสิบคน พอเวลาผ่านไป จำนวนคนไข้เหล่านั้นเริ่มลดลง
หายไปทีละคน สองคน
คงไม่ต้องอธิบายนะว่า ทำไมจำนวนคนจึงลดลงไป

ในการฟอกเลือด ท่านในฐานะคนไข้ ท่านจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของการรักษาอย่างเคร่ง คัดที่สุด รับประทานยาตามที่กำหนด
และบ่อยครั้ง ท่านต้องปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกินของท่าน

การฟอกเลือด จัดเป็นเรื่องของความรับผิดชอบที่สาหัสสากันมาก ท่านไม่จำเป็นต้อง รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ท่านจะต้องทำทำงานอย่างไกล่ชิดกับทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดที่สุด เพื่อให้การรักษาดำเนินไปเป็นอย่างดีที่สุด และ ปลอดภัย

ทำไมท่านจึงต้องฟอกเลือด?

ท่านจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือด เมื่อไตของท่านทำงานได้เพียง 10 – 15 % ของการ ทำงานทั้งหมดที่ไตสามารถทำงานได้ตามปกติ
โดยที่คุณไม่จำเป็นจะต้องมีอาการ หรืออาการแสดงของไตวาย (kidney failure) เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน บวม หรือเกิดอาการเหนื่อยเพลีย
การฟอกเลือด (hemodialysis) จะทำหน้าทีแทนการทำงานของไต เช่น การควบคุม ความดันโลหิต, รักษาความสมดุลของน้ำ และสารเกลือแร่ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระดับ potassium และ sodium
นอกจากนั้น เครื่องฟอกเลือด (hemodialysis) ยังรักษาความดุลของ “กรด-ด่าง” ในกาย ของท่านอีกด้วย

แพทย์ผู้ทำการรักษาจะเป็นคนบอกท่านเองว่า ท่านควรได้รับการฟอกเลือดเมื่อใด
โดยมีปัจจัยหลายอย่าง เป็นตัวนำมาพิจารณา เช่น
- สุขภาพโดยรวมของท่าน
- การทำงานของไต (ซึ่งสามารถตรวจสอบจากการตรวจเลือด ดูระดับ creatinine และการตรวจปัสสาวะ)
- อาการ และอาการแสดง
- คุณภาพชีวิตของคุณ (quality of life) และ
- ความต้องการของคุณ (preference)

โดยปรกติแล้ว เราจะเริ่มทำการฟอกเลือด (hemodialysis) ก่อนที่ไตจะยุติการทำงาน จนถึงจุด ที่เกิดภาวะแทรกซ้อน อันเป็นอันตรายแก่ชีวิตเป็นอันขาด
การฟอกเลือดจะต้องเริ่มก่อนหน้านั้น

มาดูซิว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดไตวาย (kidney failure) ขึ้น

 โรคเบาหวาน (diabetes)
 ความดันโลหิตสูง (hypertension)
 ไตอักเสบ (glomerulonephritis)
 เส้นเลือดอักเสบ (vasculitis)
 มีโรคถุงน้ำในไต (polycystic kidney disease)

อย่างไรก็ตาม ไตอาจล้มเหลวอย่างเฉียบพัน (acute Kidney failure)
ส่วนใหญ่จะพบเห็นในรายที่ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง, เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด, เกิดภายหลังเส้นเลือดของหัวใจถูกอุดตัน (heart attack) หรือจากปัญหารุนแรงอย่างอื่น

คนไข้ส่วนใหญ่ที่สมควรได้รับการฟอกเลือด มักจะมีปัญหาที่รุนแรงหลายอย่าง
การฟอกเลือด จะช่วยทำให้ชีวิตของคนไข้ยืนยาวขึ้น แต่การคาดว่า ชีวิตของคนไข้จะยืนยาว แค่ใดก็ตาม แต่ก็อายุสั้นกว่าคนทั่วไปอยู่ดี
ภาวะแทรกซ้อน จะเกิดจากการทำการฟอกเลือด หรืออาจเกิดจากตัวโรคของไตเอง เช่น

 Low blood pressure. ผลข้างเคียงจากการทำ hemodialysis มักจะเกิดมีความดันตก (hypotension) โดยเฉพาะคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวาน ร่วมกับอาการหายใจไม่ทั่วท้อง (shortness of breath), กล้ามเนื้อเกร็ง (muscle cramps), กล้ามเนื้อท้องเกร็ง (abdominal cramps) และมีอาการคลื่นไส้ หรือ อาเจียน

 Muscle cramps . เป็นเรื่องแปลกที่คนไข้ได้รับการฟอกเลือด จะมีอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยเราไม่ทราบสาเหตุว่ามันเกิดได้อย่างไร บางครั้ง อาการเกร็งของกล้ามเนื้ออาจทำให้ดีขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนความ “ถี่” และ “ความเข็มข้น” ของวิธีการฟอกเลือดก็อาจเป็นได้ ?

 Itching. มีคนไข้เป็นจำนวนมากที่เกิดอาการคันตามผิวหนัง ซึ่งอาการส่วนใหญ่ จะเป็นมากในระหว่างทำการ... หรือภายหลังการฟอกไตเสร็จเรียบร้อย...

 Sleep problems . คนไข้ที่ไดัรับการฟอกเลือด มักจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ บางครั้งอาจเป็นเพราะการนอนหลับของคนไข้พวกนี้ มักจะมีการหลับขาดช่วง (sleep apnea) หรือเป็นเพราะปวดกล้ามเนื้อ หรือความไม่สบายที่บริเวณขาทั้งสอง..

 Anemia. คนไข้พวกนี้มักมีปัญหาโลหิตจาง ซึ่งเป็นปัญหาแทรกซ้อนของโรคไต และจากการทำการฟอกเลือด

 กรณีไตวาย ซึ่งต้องลงเอยด้วยการฟอกเลือดนั้น พบว่า ปริมาณของฮอร์โมน
erythropoietin ลดลง ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงลดตาม นอกจากนั้น การจำกัดอาหาร ร่วมกับการดูดซึมพวกเหล็กจากลำไส้ลดลง ร่วมกับการสูญเสียเหล็ก และไวตามินจากการทำการฟอกไต เป็นเหตุให้เกิดโรคโลหิตจางได้อีกทางหนึ่ง

Bone diseases. ถ้าหากไตขอบท่านถูกทำลายลง มันจะไม่สามารถใช้วิตามิน ดี ทำการดูดซึมเอาสารแคลเซี่ยมได้ เป็นเหตุให้กระดูกเกิดอ่อนแอลง นอกจากนั้น การที่มีการสร้าง parathyroid hormone เพิ่มขึ้น ซึ่งมักเป็นผลแทรกซ้อนจากการเกิดไตวายนั้น จะมีผลต่อการดึงเอาแคลเซียมออกจากกระดูกได้

 High blood pressure (hypertension) ความดันโลหิตสูงมักเป็นสาเหตุหลักของการเกิดไตวาย ในขณะที่คุณเป็นโรคไตวายนั้น หากคุณ “กิน เกลือมากไป หรือดื่มน้ำมากไปในขณะที่ไตของคุณอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่นั้น ยิ่งเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ไตมากยิ่งขึ้น ทำให้มันทรุด-เลวลงไปอีก หากไม่รักษา จะนำไปสู่การเกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภาวะที่น่ากลัวเพิ่มอีกสองอย่าง คือ heart attack และ stroke

 Fluid overload. หากคุณดื่มน้ำมากเกินกว่าที่กำหนดเอาไว้ คุณก็จะทำให้มีน้ำในกายมากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณได้ เช่น เกิดหัวใจล้มเหลว และมีน้ำท้วมปอด (pulmonary edema)

 Inflammation of the membrane surrounding the heart (pericarditis). การที่คนไข้รายใด ไม่ได้รับการฟอกไตได้เพียงพอ จะก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื้อ “หุ้มหัวใจ” ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ในการบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้

 High potassium levels (hyperkalemia). ไตจะทำหน้าที่ขับโปแตสเซี่ยมที่มากเกินออกทิ้งไป ในกรณีที่ไตทั้งสองเสียการทำงานไป คุณไม่สามารถกินอาหารที่มีโปแตสเซี่ยมได้เกินกว่าที่แนะนำได้ เพราะจะทำให้สารดังกล่าวตกค้างในกระแสเลือดในปริมาณสูง และในรายที่สารโปแตสเซี่ยมสูงเกินไป สามารถทำให้หัวใจหยุดเต้นได้

 Infection. ตรงตำแหน่งที่เจาะเลือดให้ผ่านเข้าเครื่องฟอกเลือด อาจเกิดการอักเสบขึ้นได้ ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญ

 Depression. คนไข้ส่วนใหญ่ที่ตกอยู่ในสภาพต้องฟอกเลือด จะตกอยู่ภายใต้ความกดดัน- เครียด ซึมหรือหดหู่ใจ ทำให้คนรอบข้างอดสงสารไม่ได้เลย

 Amyloidosis. กล่าวกันว่า คนไข้ที่ได้รับการฟอกเลือดเป็นเวลานาน มีโอกาสเกิดโรค amyloidosis (dialysis-related amyoidosis) เมื่อมีสารโปรตีนไปเกาะตามเอ็น (tendons) ตามข้อ (joints) ทำให้คนไข้เกิดอาการปวดตามข้อ เคลื่อนไหวลำบาก
ภาวะเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นกับคนไข้โรคไต ซึ่งได้รับการฟอกเลือดนานมากกว่า

What is your expect?

ท่านสามารถรับการฟอกเลือดจากศูนย์ฟอกเลือด หรือจากโรงพยาบาล หรือที่บ้าน
มีคนไข้จำนวนไม่น้อย ได้รับการฟอกเลือดอาทิตย์ละ 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะใช้เวลา 3 – 5 ชั่วโมง วิธีการเช่นนี้เราเรียกว่าเป็น conventional hemodialysis.
ในกรณีที่ทำ hemodialysis ทุกวัน กระทำอาทิตย์ละ 6 – 7 ครั้ง แต่ละครั้งจะเวลาสั้นกว่า คือ 2-3 ชั่วโมง
ในระยะหลังนี้ ได้มีเครื่องมือฟอกเลือดเครื่องเล็ก ๆ สามารถทำการฟอกเลือดที่บ้านได้
จากการฝึกพิเศษ ให้ใครบางคนสามารถช่วยเหลือคุณทำการฟอกไต ให้คุณสามารถกระทำที่บ้านได้

ประโยชน์ที่ได้จากวิธีการนี้ คือไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาล หรือคุณอาจทำการฟอกเลือดในขณะนอนหลับที่บ้านของคุณ

การทำ hemodialysis ไม่ทำให้คุณเจ็บหรอก แต่คุณอาจมีอาการคลื่นไส้ และมีกล้ามเนื้อเกร็งในขณะที่เลือดถูกดึงออกจากร่างกายของคุณ โดยเฉพาะการฟอกเลือด 3 ครั้งต่ออาทิตย์แทนทีจะทำ 6 – 7 ครั้งต่ออาทิตย์

Results (ผลของการรักษา)

ถ้าท่านเกิดโรคไตล้มเหลวอย่างเฉียบพลัน (acute renal failure) ท่านอาจได้รับการฟอกเลือดในระยะสั้น ๆ จนกว่าไตของบท่านจะฟื้นตัว
สำหรับท่านที่เป็นโรคไตงาย (เรื้อรัง) จะได้รับการฟอกเลือดไปตลอดชีวิตของท่าน หรือจนกว่าท่านจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต
ฉะนั้นท่านจะต้องปรับตัวให้คุ้นเคยกับมันเสีย

แม้ว่า การฟอกเลือดตามปกติที่เคยปฏิบัติเป็นงานประจำ เป็นวิธีการที่ใครๆ ก็รู้จัก แต่จากการศึกษาพบว่า การฟอกเลือดบ่อยๆ จะมีความสัมพันธุ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอาการต่าง ๆ ลง
ทำให้ท่านรับประทานอาหารได้ดีขึ้น นอนหลับ มีพละกำลังเพิ่มขึ้น สามารถทำงานได้ตามปกติ
ในขณะที่อาการกล้ามเนื้อปั้น ปวดศีรษะ หายใจไม่สะดวก อาการเหล่านี้จะลดลงไป
ในขณะที่ท่านทำการฟอกเลือด คุณต้องรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถทำให้ของการฟอกเลือดได้ผลดี โดยนักโภชนาการสามารถช่วยคุณในเรื่องอาหารการกินของคุณ โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของน้ำหนัก สมรรถภาพที่เหลือของไต ตลอดรวมไปถึง โรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันสูง

การรับประทานยาตามหมอสั่ง ก็เป็นเรื่องสำคัญเพื่อผลที่ดี และในขณะที่ทำการฟอกเลือดอยู่นั้น คุณอาจได้รับยาหลายอย่าง เพื่อรักษาความสมดุลของน้ำ สาร electrolyte เช่น sodium และ potassium
แพทย์อาจสั่งยาป้องกันการจับตัวของเม็ดเลือด (blood thinner) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมีการสร้างก้อนเลือด ไปอุดตันในสายยาง และเครื่องได้ นอกจากนั้น แพทย์จะให้ยาเพื่อลดระดับความดันที่สูง และ สาร erythropoietin เพื่อกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นใหม่

กล่าวโดยสรุป

การฟอกเลือด ช่วยทำให้ชีวิตของท่าน ให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น อายุยืนยาว ขึ้น ท่านจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือด เมื่อไตของท่านทำงานได้เพียง 10–15 % ของการ ทำงานทั้งหมดที่ไตสามารถทำงานได้ตามปกติ
โดยที่คุณไม่รอให้มีอาการแสดงของไตวายปรากฏก่อนหรอก การฟอกเลือด (hemodialysis) จะทำหน้าทีแทนการทำงานของไต เช่น การควบคุมความดันโลหิต, รักษาความสมดุลของน้ำ และสารเกลือแร่ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระดับ potassium และ sodium ตลอดรวมไปถึง การรักษา ความสมดุลของกรด และด่างในกายคุณอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น