จากการได้พบเห็นคนไข้สูงอายุ ได้พบเห็นความจริงที่ย้ำเตือน...สอนให้เราได้ทราบว่า
“ทุกสิ่ง ทุกอย่างในโลก ที่มันเกิดความผิดปกติ หรือ การแปรปรวนไปนั้น
ส่วนใหญ่เป็นเพราะความไม่พอดี...หาใช่เรื่องอื่นใดไม่”
ฉะนั้น...ธรรมชาติจึงสอนเราว่า ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เราต้อง:
“ทำให้เกิดความพอดีให้ได้”
ตัวอย่างหนึ่ง ที่เห็นในคนสูงอายุ คือ เรื่องความดันโลหิต
ถ้ามันสูงเกินพอดี....มันก็ทำให้เจ้าตัว เกิดความไม่สบาย
ถ้ามันต่ำกว่าปกติ...มันก็ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้เช่นเดียวกัน
ความดันโลหิตของคนเรา วัดได้เป็น “บน/ล่าง” เช่น 120/80 มีหน่วยวัดเป็น mm Hg
เลขตัวบนเป็นความดันที่เกิดจากการบีบตัว (contraction)ของกล้ามเนื้อหัว ทำให้เลือดที่มีออกซิเจน และสารอาหาร ถูกส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เรียก systolic blood pressure
ส่วนตัวล่าง หมายถึงความดันที่เกิดขึ้นในขณะที่กล้ามเนื้อหยุดการบีบตัว หรือเป็นความดันที่เกิดขึ้นในระหว่างการบีบตัว
เรียก diastolic blood pressure
ช่วงนี้แหละ ที่เลือดไหลย้อนกลับมายังเส้นเลือด aorta…และเป็นช่วงที่เลือดวิ่งผ่านไปตามเป็นเลือดของหัว-carotid artery เพื่อให้เลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ถ้าความดันในช่วงนี้มันลดลงมากเกินไป....จะส่งผลกระทบต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้...
เมื่อเราวัดความดันโลหิต หากมันต่ำกว่าปกติ เราเรียกว่า “ hypotension”
ถ้า diastolic pressure มีค่าต่ำกว่า 60 สามารถบ่งบอกให้รู้ว่า เป็น hypotension
ผู้เชี่ยวชาญได้อธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นดังนี้:
เมื่อไรก็ตามที่ความดันลดลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดอันตรายแก่คนไข้ได้ เช่นการเปลี่ยนแปลงความดันเพียง 20 mm Hg จากที่เคยวัดได้ เช่น จาก 130 mm Hg ไปเป็น 110 mm Hg สามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียน เป็นลม (fainting)
เหตุการณ์เช่นนี้ สามารถพบได้ในกรณีที่มีการเสียเลือดอย่างรวดเร็ว และอย่างมาก หรือเกิดการอักเสบอย่างรุนแรง หรือ จากอาการแพ้อย่างมาก สามารถเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
สำหรับนักกีฬา หรือคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มักจะมีความดันต่ำ และการเต้นของหัวใจช้า นั่นเป็นเรื่องปกติ
ในทางตรงกันข้าม การที่คนมีความดันต่ำ เป็นอาการแสดงถึงโรคที่รุนแรงที่ซ่อนตัวอยู่ ซึ่งสามารถทำลายชีวิตคนได้
ในกรณีที่เกิดมีเลือดไหลย้อนกลับไปยังเส้นเลือด aorta ในช่วงที่หัวใจหยุดการบีบ หรือหดตัว คือในช่วงที่เราเรียก diastole หากคนไข้มีความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจ aortic จะทำให้เลือดย้อนกลับสู่หัวใจสู่ห้องล่าง (ventricle) เป็นเหตุให้เกิด diastolic hypotension ขึ้น จะกระทบต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้
สาเหตุอย่างอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความดันตัวล่างต่ำ (diastolic hypotension) ได้แก่
o ตั้งครรภ์ (pregnancy) : ใน ระยะ 24 อาทิตย์ ที่เกิดตั้งท้อง พบว่า มีเหตุการณ์หลายอย่างบังเกิดขึ้น เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการตั้งท้อง ความดันมีแนวโน้มที่จะลดลง โดย systolic pressure จะลดลงประมาณ 10 จุด และ diastolic pressure จะลดลงประมาณ 10 – 15 จุด
นี้เป็นเหตุการณ์ปกติ และจะกลับสู่สภาพเดิมเมื่อคลอดบุตรแล้ว
o โรคหัวใจ (Heart problems): โรคหัวใจบางชนิด อาจเป็นเหตุให้เกิดความดันต่ำ เช่น การเต้นของหัวใจช้า (bradycardia) , โรคลิ้นหัวใจ (heart valve problems) รวมไปถึงหัวใจล้มเหลว (heart failure) และเส้นเลือดของหัวใจอุดตัน (heart attack)
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ อาจทำให้ความดันลดลง เป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถได้รับเลือดได้ตามปกติ
o Endocrine problems เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง หรือไทรอยด์เป็นพิษ ต่างทำให้ความดันลดลงได้
นอกจากนี้ ภายใต้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ก็สามารถทำให้ความดันลดต่ำลงได้เช่นกัน
o Medications : Thiazide- Diuretic, ยาลดความดัน (antihypertensive drugs) ลดความดันลงมากเกินไป, beta- blocker (เช่น หยุดยาโดยกะทันหัน) และ Viagra
o Dehydrated ภาวะขาดน้ำ สามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียน และเหนื่อยเพลียได้ , การเป็นไข้ อาเจียน, ท้องล่วง หรือใช้ยาขับปัสสาวะมากไป ก็สามารถทำให้คนไข้เสียน้ำ เกิดภาวะ dehydrated ได้
o Loss blood การเสียเลือด เลือดตกภายในร่างกาย ในปริมาณมาก สามารถทำให้ความดันลดต่ำลงได้
o Anaphylaxis เช่นเกิดจากการแพ้ยา สามารถก่อ ให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต และทำให้ความดันลดลงได้
ถ้าหากความดันของท่าน ต่ำมากๆ สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากหัวใจ และสมอง ขาดออกซิเจน และสารอาหาร ทำให้คุณจะเกิดมีอาการ เช่น “วิงเวียน” “เป็นลมหน้ามืด” จนกระ ทั้งถึง “shock” ได้
จัดเป็นสภาวะที่มีอันตราย
เมื่อเกิดภาวะความดันลด ต่ำลงมาก ๆ จนเกิดอาการขึ้น ท่านจะทำอย่างไร?
ท่านสามารถทำได้หลายอย่าง เป็นต้นว่า
o “ให้ยารักษา” หรือ
o “ช่วยเหลือตัวท่านเอง”
โดยเฉพาะคนสูงอายุ เรามักพบคนเป็น isolated systolic hypertension กันบ่อยมาก โดยมี pulse pressure กว้างกว่าปกติ และ
จากการรักษาความดันโลหิตสูงชนิด isolated systolic hypertension ทำให้diastolic blood pressure ลดต่ำด้วย บางรายต่ำลงมากเกินไป เป็นเหตุให้เกิดอันตรายขึ้น
ด้วยเหตุนี้เอง จึงเกิดมีคำถามว่า เราจะลดความดัน systolic blood pressure ลงมาถึงระดับใดจึง จะพอดี ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่คนไข้ได้
จากการศึกษา พบว่า คนไข้ที่เป็น isolated systolic hypertension ได้รับการรักษาทำให้ความ ดันตัวล่าง- diastolic blood pressure ลดลงต่ำกว่า 70 mm Hg พบว่า คนไข้มี ภาวะแทรกซ้อนทางระบบ cardiovascular สูง
แต่หากทำให้ความดัน – diastolic blood pressure ให้ลดลงน้อยกว่า 55 mmHg เมื่อใด พบว่าเกิดมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบ cardiovascular มากเป็นสองเท่า
ดังนั้น ในการลดความดันลงนั้น เราจะไม่ให้ความดัน diastolic ลดลงต่ำกว่า 55 mm Hg
ถ้าหากท่านไม่มีอาการอะไรเลย หรือมีอาการแต่เพียงน้อยนิด เช่น มีอาการวิงเวียนเป็นบางครั้ง
ท่านก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรทั้งนั้น
การรักษาด้วยยา:
รายทีอาการไม่มาก หรือไม่มีอาการแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา
ในรายที่มีอาการ การรักษาที่ดีทีสุดอยู่ที่แก้ “ต้นเหตุ” ที่ทำให้เกิดความดันต่ำ เช่น โรคขาดน้ำ (dehydration) , heart failure, diabetes, hypothyroidism และอื่น ๆ
ถ้าต้นเหตุมาจากยารักษา ก็ทำการเปลี่ยนยาขนาดของยา หรือ ยุติการใช้ยานั้น ๆ แล้วแต่กรณีไป
ถ้าเราไม่ทราบสาเหตุว่าอะไรทำให้ความดันลดต่ำลง เป้าหมายของการรักษา คือเพิ่มความดันที่ลด ต่ำลง และแก้อาการที่เกิดขึ้น ซึ่งท่านสามารถกระทำได้ด้วยการ
• ยา: ยาที่นำมาใช้ในการรักษาโรคความดันต่ำ เช่น เมื่อท่านลุกขึ้นยืน (postural hypotension) ได้มีการนำเอายา fludrocortisones มาใช้ในการรักษา ปรากกว่าได้ผลดี
• เพิ่มเกลือในอาหารของท่าน เกลือจะดูดเอาน้ำเข้าสู่กระแสเลือดของท่าน ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตของท่านเพิ่มสูงขึ้น ในกรณีเช่นนี้ ท่านควรตรวจเช็คกับแพทย์ของท่านด้วยว่า ควรรับประทานเกลื่อมากน้อยเท่าใด มีข้อห้ามไหม ?
Lifestyle and home remedies
คุณสามารถลด หรือป้องกันไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ โดยมีคำแนะนำดังต่อไปนี้:
• อย่าให้ร่างกายของท่านขาดน้ำเป็นอันขาด โดยดื่มน้ำวันละ 8 แก้วเป็นอย่างน้อย การดื่มน้ำดังกล่าว จะทำให้ปริมาณของเลือดมากพอ เป็นการป้องกันไม่ให้ขาดน้ำ
• ให้หลีกเลี่ยงการดื่มพวกแอลกอฮอล์ เพราะมันจะทำให้ท่านเกิดการขาดน้ำ
• อาหารเสริม ที่สามารถเพิ่มความดันโลหิตได้ เช่น “โสม” (ginseng) พบว่า สารดังกล่าว สามารถเพิ่มความดันโลหิตได้
• เพิ่มการดื่มพวกกาแฟ (caffeine) เพราะกาแฟจะทำให้เส้นเลือดของท่านหดตัว (contract)ได้เล็กน้อย จากการที่เส้นเลือดของท่านหดตัวนี้แหละ จะเพิ่มแรงดันให้เลือดเคลื่อนไปตามเส้นเลือด
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่นอาหารสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ผัก ผลไม้ อาหารชนิดที่เป็นเมล็ด หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นมัน
• เวลาเปลี่ยนอิริยาบถ ให้ค่อย ๆ เปลี่ยนอย่างช้า ๆ เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด postural hypotension
• รับประทานอาหารปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง สามารถป้องกันไม่ให้ความดันลดหลังรับประทานอาหารหนักได้
Sources:
Ari Mosenjis MD; Raymond R Townsend,MD.: Diastolic Blood Pressure: How low is too Low.
Mayo Clinic: Hypotension
ขอสาระน่ารู้บทความ นพ.มานิตย์ ไปเผยแพร่กับชาวชลประทาน เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพที่พบ หรือแก้ปัญหาสุขภาพในอนาคต
ตอบลบมนชัย สวัสดิวารี
ขอบคุณมากค่ะ
ตอบลบสอมถามครับ ถ้าความดันโลหิตมีช่วงที่ห่างมาก เช่น150/70 เป็นอะไรรึป่าวครับ
ตอบลบตอนนี้แม่นอน ร.พ. ไม่สามารถวัดความดันได้ หมอจึงให้น้ำเกลือ ปริมาณ 1500 มล. ค่ะ ตอนเย็นวันนี้ครบตามปริมาณที่หมอสั่ง พยาบาลมาวัดความดันก็ยังไม่สามารถวัดค่าได้อีก จึงแจ้งคุณหมอให้ทราบ หมอสั่งว่าให้น้ำเกลือต่อในปริมาณ 80มล. ต่อ ชั่วโมง ต่อไปอีก อาการแม่ขณะนั้น ซีดค่ะ หน้าซีด ปากซีด ไม่มีแรง กรุณาช่วยแนะนำได้มั้ยคะ จักเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ
ตอบลบความตัน67/55แบบนี้ถือว่าความดันต่ำรึป่าวค่ะ
ตอบลบ