วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

หนูไม่รู้..ทำไมหนูท้อง.”

ยา หรือสารใด ๆ ที่เรารับประทานเข้าไป... จะถูกกระทำปฏิกิริยา...ด้วยเอ็นไซม์ชนิดหนึ่ง
และเมื่อใดก็ตาม ที่เราบังเอิญรับประทาน “ยา” หรือ “อาหารเสริม” ตัวอื่น ร่วมเข้าไปด้วย
ยา หรืออาหารเสริมนั้น อาจไปเสริม (induce) การทำงานของเอ็นไซม์ตัวที่ว่านั้นให้ทำงานผิดปกติไป
ผลที่เกิดขึ้น จะทำให้ยาที่รับประทานเข้าไป ถูกทำลาย และขับออกมามาก ทำให้ปริมาณยาในกระแสเลือดมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อการทำงานตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
กรณีเช่นนี้มีให้เห็นได้ในหลายๆ เรื่อง

นี้คือ ตัวอย่างหนึ่งที่เราได้พบเห็น:

“เอ็ง... ทำไม...ไม่เชื่อคำพูดของฉัน.หือ...
ฉันบอกให้แกกินยาคุม... อย่าพึ่งมีลูก... งานการยังไม่เข้าที่... แกยังไม่พร้อมที่จะมี...ในตอนนี้เลย
...ต้องการเพิ่มภาระให้ฉันต้องเลี้ยงดูลูกของแกอีกหรืออย่างไร ?”

นั่น...เป็นเสียงของหญิงวัยกลางคน พูดตะคอกใส่ลูกสาว
“หนูปฏิบัติตามที่คุณแม่บอกทุกประการ มิได้ขาดตกบกพร่องแม้แต่นิดเดียว...”
เสียงตอบจากลูกสาว วัย 20 เศษ

“แล้ว...เอ็ง ท้องป่องได้อย่างไร... ?” เสียงผู้เป็นแม่ตวาดกลับ
“หนูไม่รู้......” พร้อมกับเสียง...กระซิกๆ ...ร้องไห้ของเจ้าทุกข์(ลูกสาว)

นั่นคือเสียงของคน... ผู้ไม่สมหวัง
เป็นเสียงของคนที่ไม่พร้อมที่จะมีบุตร....เกิดผิดพลาด ตั้งครรภ์ขึ้นทั้งๆ ทีมีการกินยาคุม
ประเด็นที่เราจะหยิบยกขึ้นมาพูด คือเรื่องนี้แหละ.
“หนูไม่รู้....ทำไมหนูถึงตั้งท้องได้” ซึ่งมันตรงกับ Oral contraceptive failure

การที่สุภาพสตรีกินยาคุมแล้วปรากกว่า ไม่สามารถคุมไม่ให้ตั้งครรภ์ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การกินยาคุมร่วมกับยาบางอย่าง เช่น ปฏิชีวนะ และอาหารเสริม ยาเหล่านี้ อาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมาได้ทั้งๆ ที่กินยาคุม
ที่เป็นเช่นนั้น สาเหตุอาจเป็นเพราะว่า “ยา” หรือ “อาหารเสริม” ที่เรารับเพิ่มเข้าไปนั้น อาจไปทำปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกาย...
เป็นเหตุให้ “ยาคุม” ทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้สตรีผู้ใช้ยาคุมตั้งท้องได้

รายการต่อไปนี้อาจมีผลกระทบต่อยาคุมได้ทั้งนั้น:

1. Antibiotics
ยาปฏิชีวนะบางตัว เมื่อกินร่วมกับยาคุมเมื่อใด ยาตัวนั้นสามารถทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้ เช่น
• Rifampin: ยาที่ใช้ในการรักษาวัณโรค หรือเยื้อสมองอักเสบ
• Rifabutin: เป็นยาที่ใช้รักษาพวก mycobacterium avium complex
• Tetracycline
• Rifapentine: ใช้รักษาวัณโรค
• Cephalosporin (Keflin)

2. Anti-HIV Protease Inhibitors
Ritonavir เป็นยาต่อต้านไวรัส ซึ่งนำมาใช้รักษาโรค HIV หรือหากท่านใช้ยาต้านไวรัสตัวอื่นๆ เพื่อรักษา HIV หรือโรค AIDS
3. Anti-Seizers Medications
พวก Barbiturate ที่นำมาใช้ในการรักษาโรคชัก (seizures) สามารถกระทบต่อประสิทธิภาพของยาคุมได้ ยาพวกนี้ได้แก่:

• Phenobarbital
• Primidone

นอกเหนือไปจากยาพวกนี้แล้ว ยังมียาชนิดอื่นที่นำมาใช้รักษาโรคชัก (epilepsy) และช่วยระงับความเจ็บปวด ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะมีผลต่อยาคุมเช่นเดียวกัน เช่น

• Oxcarbazepine
• Carbamazepine
• Phenytoin
• Topiramate

4. Antidepressants
ยาบางตัวที่นำมาใช้รักษาโรคซึมเศร้า (mental depression) เช่น Nefazodone สามารถทำให้ระดับของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป และมีผลต่อยาคุมได้เช่นกัน

5. Anti-fungal Medications
ยาที่นำมาใช้ในการรักษาเชื้อราทั้งหลาย โดยเฉพาะยาที่กิน สามารถลดประสิทธิภาพของยาคุมได้

6. Anxietry Treatments ยาที่นำมาใช้ในการรักษาความเครียด (anti-anxiety) จะมีผลกระทบต่อยาคุมได้ เช่น Diazempam หรือ Temazepam

7. Natural Supplements
นอกเหนือจากยาที่กล่าวมา อาหารเสริมบางอย่างจะมีผลกระทบต่อยาคุมได้ เช่น

• Soy Isoflavone ซึ่งมันก็คือนมถั่วเหลือง หรือน้ำเต้าฮู้ ทีเป็นอาหารเสริมนั่นเอง
• St. John Wort เป็นสมุนไพรชนิดใหม่ที่อาจจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก จัดเป็นอาหารเสริมสุขภาพ มีจำหน่ายในยุโรป และอเมริกา เป็นสมุนไพรที่ใช้รักษาความผิดปกติของอารมณ์ มีผลกระทบต่อยาคุมเช่นกัน


8. Vomiting and Diarhea
การที่คนเราเกิดอาเจียน และท้องล้วง แม้ว่า ไม่ใช้ยาก็ตาม มีผลกระทบต่อยาคุมได้เช่นกัน
นอกจากนั้น ยาแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน เช่น Aprepitant ก็มีผลกระทบกับยาคุมเช่นกัน
9. ยาเม็ดลดน้ำตาล (รักษาโรคเบาหวาน) เช่น plioglitazone , troglitazone สามารถกระทำปฏิกิริยา ทำให้ยาคุมไม่ได้ผลได้เช่นกัน

จากรายการของยาต่างๆ ที่รวบรวมมา รวมถึงอาหารเสริม และ.....อาจทำให้สตรี ที่ยังไม่พร้อมที่จะมีลูกเกิดตั้งท้องได้ ทั้งๆ ที่กินยาคุม...
เมื่อเกิดความสงสัย และ เพื่อความแน่นอน ท่านควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง “สูตินารีแพทย์” น่าจะปลอดภัยทีสุด..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น