เล่นกอ์ล์ฟครบ 18 หลุม พวกเราจะมีโอกาสคุย เสวนาตามแต่เหตุการณ์จะพาไป
มีทุกเรื่อง ไปตั้งแต่ทิศทางของการเมือง ไปเรื่อย...
สำหรับผู้เขียน สามารถคุยได้เรื่องเดียว ที่พอเป็นน้ำเป็นเนื้อกับเขาได้
นั่น คือ เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของเพื่อนพ้องที่ออกเล่นกอล์ฟด้วยกัน
“หมอ...ช่วยทำให้ผมหายข้อข้องใจหน่อย” เพื่อนคนหนึ่งเริ่มขึ้น ทำให้ทุกคนหันมาสนใจ เรื่องสุขภาพแทน
เรื่องมีว่า เพื่อนของเรามีประวัติเกี่ยวกับสุขภาพมานานหลายปี โดยมีความดันอยู่ระหว่าง
160/90 และ 150/85 mm Hg มาตลอด แต่ไม่มีอาการอะไรเลย
แพทย์คนแรก ซึ่งเป็นเพื่อนของเขาบอกเขาว่า
“อย่าไปสนใจเลย....แก่แล้ว มันเป็นเช่นนั้นเอง”
(คนแนะนำก็แก่ คนได้รับคำแนะนำก็แก่ด้วยกันทั้งคู่)
นั่นคือสิ่งที่เขาได้รับทราบ และไม่ทำอะไรเลย จนกระทั้งระยะหลัง ๆ มีหมอหนุ่มไฟแรงคน หนึ่ง ตรวจพบ และบอกเพื่อนของเราว่า เขาเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรได้รับการรักษาซะ... หนึ่งในพวกเราได้ถามเขาว่า
“เขาได้รับการรักษากับคุณหมอหนุ่มคนนั้นไหม ?”
เพื่อนของเราก็ตอบด้วยความมั่นใจว่า
“ไม่”
ผมก็อดที่จะแซวเขาไม่ได้ว่า
“ถ้าผมบอกว่า จากข้อมูลที่ให้มา เพื่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง สมควรได้รับการรักษา” ก่อนที่จะพูดอะไรต่อไป เพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มได้สอดขึ้นว่า
“ ญาติของเขาคนหนึ่งก็เป็น ลักษณะนี้ และลงเอยด้วยการเป็นอัมพาติไปเมื่อปีทีแล้วนี้เอง”
จากประโยคหลังนี่เอง ที่ทำให้เพื่อนที่ตั้งคำถาม เริ่มไม่สบายใจ...แสดงออกทางสีหน้า พร้อมกับตั้งคำถามว่า
“เขาเป็นโรคความดันจริงหรือเปล่า ?
...เขาควรจะทำ อย่างไรต่อ...”
นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเขียนเรื่อง
“Isolated systolic hypertension”
เพราะจากข้อมูลที่ได้รับนั้น เขาเป็นโรคความดันสูง ชนิด “isolated systolic hypertension นั่นเอง
เวลาเราเห็นแพทย์ หรือ พยาบาลวัดความดันให้เรา เราจะเห็นจะเห็นเลขตัวบนและตัวล่าง
ตัวบนหมายถึงความดันที่เกิดจากการที่หัวใจห้องล่าง “บีบ” ตัวเพื่อให้เลือดถูกฉีดไปเลี้ยงส่วน ต่างๆ ของร่างกาย เราเรียก systolic pressure
ส่วนตัวล่าง เป็นความดันที่วัดได้ขณะที่หัวใจคลายตัวจากการ “บีบ” ตัว เราเรียก diastolic pressure
ค่าตัวเลขทั้งสองจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่มีการบิบ หรือการเต้นของหัวใจ
ในขณะที่หัวใจมีการเต้น (contraction) หรือมีมีการบีบตัวในแต่ละครั้ง เลือดจะดันออก จากหัวใจไปสู่เส้นเลือดใหญ่ ไปตามแขนงของมัน เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และ ในขณะที่หัวใจมีการบีบตัวนั้น จะมีแรงให้ปรากฏในเส้นเลือด ซึ่งสามารถวัดได้ (systolic blood pressure)
ในช่วงที่หัวใจคลายตัวจากการบีบตัว ความดันที่วัดได้ในเส้นเลือด เราเรียก diastolic blood pressure
ตัวเลขที่วัดได้ทั้งสองตัว (บน และล่าง) มีความสำคัญ เพราะตัวเลขที่ปรากฏจะบอกให้เรา ทราบว่า คนๆ นั้น ว่าเป็นโรคความดันสูงหรือไม่ ซึ่งอาจสูงเฉพาะตัวบน เรียก systolic hypertension หรือสูงเฉพาะตัวล่าง diastolic hypertension หรือ สูงทั้งตัวบนและตัวล่าง
คนที่มีความดันปกติ จะพบว่า
Systolic blood pressure จะต้อง “ต่ำ” กว่า 140 mm Hg ถ้าตัวเลขสูงกว่านี้ให้ท่าน เข้าใจไว้เถอะว่า ท่านเป็นความดันสูงแล้ว
ส่วน Diastolic blood pressure จะต้องต่ำกว่า 90 mm Hg
ถ้าสูงกว่านั้น ถือว่าท่านเป็นโรคความดันโลหิตสูง diastolic hypertension โดยไม่ต้อง สงสัยใดๆ ทั้งสิ้น
คนส่วนใหญ่ที่มีอายุต่ำกว่า 65 หรือ 70 แล้วเป็นโรคความดันหิตสูง จะพบว่า ความดันช่วง ล่าง-diastolic pressure จะสูงมากว่า 90 mm Hg ด้วย
ในคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรัง และปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลเนื่องมาจาก ความ ดันตัวล่าง (diastolic hypertension) ทั้งนั้น
ปัญหาจาก diastolic hypertension คือ การทำให้เกิดรอยโรค (damage) แก่ หัวใจ, สมอง, และไต การ
ดังนั้น เป้าหมายแรกในการรักษาคนไข้เหล่านี้ คือการลดระดับความดันของ diastolic ให้ ลดลงต่ำกว่า 90 mm Hg
ส่วนเป้าหมายอันดับลองลงมา (secondary goal) คือ การลดความดัน systolic ให้ ต่ำลงให้น้อยกว่า 140 mm Hg
พูดมาถึงตรงนี้ ท่านคนเข้าใจแล้วใช่ไหมว่า สิ่งที่น่าห่วงมากมี่สุด คือ diastolic, pressure
ในระยะหลัง ๆ นี้ จะพบว่า คนสูงอายุมักจะมาพบแพทย์ด้วยโรคความดันโลหิตสูง ชนิด
Isolated Systolic Hypertension กันบ่อยๆ (ที่เป็นเช่นนั้นเพราะความยืดหยุ่นของเส้นเลือดแดง ได้เสียไปนั้นเอง) ในขณะที่ความดัน diastolic pressure อยู่ในเกณฑ์ปกติ
จากการศึกษาข้อมูลทางการแพทย์ เกิดมีข้อสงสัยว่า แพทย์ทีให้การรักษาโรคความดันตาม แบบที่เคยปฏิบัติมานั้น มีบางราบที่ทำการรักษาอย่าง aggressive เพื่อให้ความดันลงสู่เป้าหมาย บาง ราย ปรากฏว่าหย่อนยานไป
จากข้อสงเกตุ ได้นำไปสู่ข้อสรุปดังนี้
• คนไข้ซึ่งสุขภาพสมบูรณ์ดี เป้าหมายของการรักษาความดัน คือ 140/90 mm Hg น่าจะเพียงพอ แต่หากคนไข้รายนั้น มีปัญหาอย่างอื่นร่วม เช่น เป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคไตเรื้อรัง หากให้ความดันอยู่ในระดับ 140/80 mm Hg ถือว่ายังไม่พอ เพราะคนไข้ยังตกอยู่ภายใต้อันตรายจากการมีความดันสูงอยู่ จำเป็นต้องลดความดันให้ต่ำลงให้น้อยกว่า 140/90
• ในการรักษาคนสูงอายุ ที่เป็น isolated systolic hypertension (diastolic pressure มักจะปกติอยู่แล้ว) เมื่อได้รับการรักษา นอกจาก systolic pressure จะลดลง
แล้ว ความดัน diastolic ก็ถูกทำให้ลดลงด้วย บางรายพบว่า ความดัน diastolic ถูกทำให้ลดลงมากเกินไป (ต่ำกว่า 65-70 mmHg) ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัว นั่นคือ ทำให้เลือดไปเลียงสมองไม่พอ...เกิดเป็นภาวะของสมองขาดเลือด (stroke)ได้
เป้าหมายการรักษา (New recommended treatement goals)
1. ในคนไข้ที่เป็น typical diastolic hypertension ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่อย่างใด ให้ทำการ รักษาตามหลักทั่วไป คือให้ความดันลดลงต่ำกว่า 140/90 mm Hg
2. สำหรับคนไข้สูงอายุที่เป็น isolated systolic hypertension ในการรักษาคนไข้พวกนี้ มีข้อควรระมัดระวัง คือ ไม่ให้ระดับความดัน diastolic ต่ำกว่า 65 mm Hg
แม้ว่า ผลของการลด systolic pressure จะไม่ลดลงตามเป้าก็ต้องยอม เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
3. สำหรับคนไข้ที่จัดอยู่ในปัจจัยเสี่ยงสูง (high risk) ร่วมกับการมี high diastolic blood pressure เราจะต้องให้การรักษาอย่างเข้มข้นหน่อย เพื่อลดความดัน diastolic pressure ให้ลดลงมาถึง 80 หรือต่ำกว่านั้นให้ได้
แต่ ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงได้แก่
o คนไข้เป็นโรคเบาหวาน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เราจะต้องลดความดันลงมายัง 130/80 หรือต่ำกว่า
o รายที่เป็นโรคไต (renal insufficiency) เพื่อเป็นการป้องกันไม้ให้โรคไตเลวลงไปอีก เราจะต้องลดความดันลงถึง 125/75 หรือต่ำกว่านั้น
o คนไข้สีผิว (ดำ) มักจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเรา ไม่ทราบเหตุว่าเป็นเพราะเหตุใด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าว เราจะต้องลด diastolic pressure ให้ต่ำกว่า 85
กล่าวโดยสรุป กรณีของเพือนรวมเล่นกอล์ เป็นโรคความดันสูงชนิด isolated systolic hypetension อย่างแน่นอน สมควรได้รับการรักษาตามที่ได้แนะนำมา
Sourse:
Richard N. Fogoros, M.D. New Treatmnet Goals for Hyertension. About.com
Guide.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น