วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

VESTIBULAR TREATMENVEST 1

ในการรักษาคนไข้ที่มีความบกพร่องในระบบการทรงตัว
จะเรียกตามฝรั่ง...vestibular rehabilitation therapy(VRT) นั้น
ย่อมขึ้นกับอาการ, ประวัติความเจ็บป่วย และสุขภาพโดยรวมของคนไข้,
ผลที่ได้จากการตรวจร่างกาย และผลจากห้องปฏิบัติการณ์ 
ตลอดรวมไปถึงการรักษาโรคประจำตัวของคน 
ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการสูญเสียการทรงตัวของคนไข้ 

การรักษาคนไข้ที่เสียการทรงตัว:


VRT เป็นโปรแกรมการบริหารร่างกาย  ที่กำหนดขึ้นเพื่อช่วยระบบสมองส่วนกลาง
ให้ทำการชดเชย (compensation) ความบกพร่องของหูชั้นใน
ซึ่งสูญเสียการทรงตัวไป  เช่น  โรค  Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV),
Meniere’s dsease, labyrinthitis  และ  vestibular neuritis  รวมไป
ถึงคนไข้ที่มีปัญหาของหูชั้นในซึ่งได้รับการรักษาด้วยยาแต่ไม่ประสบผล

 

ทำไมจึงต้องรักษาด้วยวิธีฟื้นฟูการทรงตัว?

 

วิธีการฟื้นฟูการทรงตัว  หรือ  VRT  จะถูกนำมาใช้เมื่ออวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน

(vestibular organ) ถูกทำลายด้วยบาดเจ็บ หรืออักเสบติดเชื้อ พบว่า... 

สมองไม่สามารถพึ่งพาข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และการทรงตัวจากระบบการ

ทรงตัวในหูได้อีกต่อไป  ทำให้เกิดอาการวิงเวียน,  การวิงเวียนแบบหมุน, 

และมีปัญหาเรื่องการทรงตัว  และอื่น 

 

มีคนไข้จำนวนจำนวนหนึ่งสามารถหายจากอาการดังกล่าวได้ภายในไม่กี่อาทิตย์  

โดยคนไข้ไม่ได้ทำอะไร  สามารถดำเนินชีวิตไปตามปกติได้ 

ที่เป็นเช่นนั้น  เป็นเพราะสมองสามารถปรับตัวด้วยกระบวนการที่เราเรียกว่า  

Vestibular compensation


อย่างไรก็ตามมีคนไข้บางคนที่มีปัญหาในหูชั้น  สมองไม่สามารปรับตัวได้
ตามที่ได้กล่าวมา...เป็นเหตุให้คนไข้ต้องเคลื่อนไหวด้วยท่าทางที่ผิดปกติ
ด้วยการเคลื่อนไหวศีรษะ และลำตัวที่ผิดปกติในรูปแบบเฉพาะ  โดยอาศัย
ข้อมูลที่ได้จากตา  (vision) และข้อมูลที่ได้จากกล้ามเนื้อ และ
ข้อกระดูก (proprioception) 

ยกตัวอย่าง....คนที่มีปัญหาในระบบการทรงตัวในหูชั้นใน...
เขาจะเดินด้วยท่าทางที่มีการโยกตัวไปทางซ้ายที และขวาที...
มากกว่าที่จะโยกย้ายศีรษะ  บางที่   เราจะเห็นเขาเดินด้วยการก้มมองพื้นตลอดเวลา 
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เห็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสับสนในขณะที่มีการเคลื่อนไว

เป้าหมายของ VRT คือการฝึกสมองให้จำสิ่งที่เคยรู้มาก่อน  และสามารถ
บูรณาการข้อมูลต่างๆ จะอวัยวะการทรงตัวในหู (vestibular system)
ประสานกับข้อมูลที่ได้จากสายตา (vision) และที่ได้จากกล้ามเนื้อ และข้อ (proprioception)
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นการทำให้สมองลดความไว (desensitize)
ต่อการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดอาการเกิดขึ้น


 

มีอะไรเกิดในขณะทำการบริหารด้วยวิธี VRT ?

นักกายภาพบำบัด (PT) หรือนักอาชีวะบำบัด (OT) จะประเมินคน

ไข้โดยอาศัยข้อมูลทางประวัติความเจ็บป่วย  รวมถึงการบันทึกท่าทางการทรงตัว 

และการชดเชยการทรงตัวที่สูญเสียไป  ด้วยการอาศัย 

eye-head coordination tests…ซึ่งเป็นการตรวจดูการเคลื่อนไหวของตา

ที่มองตามวัตถุที่เคลื่อนไหว  ในขณะที่ศีรษะหยุดนิ่ง  หรือศีรษะมีการเคลื่อนไหว

 

นอกจากนั้น  สิ่งที่เขาต้องการรู้เพิ่มอีก  คือ ความรุนแรง 

และความถี่บ่อยของอาการที่เกิดขึ้นร่วมกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป

 

จากข้อมูลที่ได้จากคนไข้...

นักกายภาพบำบัดสามารถสร้างรูปแบบอออกกำลังกาย  ที่เหมาะสมกับคนไข้

แต่ละราย ซึ่งประกอบด้วยการเคลื่อนไหวของศีรษะ, ลำตัว  และบริหารลูกตา 

เพื่อให้คนไข้นำไปปฏิบัติต่อไป...

 

การบริหารดังกล่าว  เป็นการกระทำเพื่อฝึกให้สมองได้เรียนรู้ในสิ่งที่เคยเกิดขึ้น 

รวมถึงการบูรณาการข้อมูลต่างๆ จากระบบการทรงตัว (vestibular system)  

ที่ได้จากหูชั้นใน  ประสานกับข้อมูลที่ได้จากตา (vision) 

และข้อมูลที่ได้จากกล้ามเนื้อ และกระดูก-ข้อ


รูปแบบของการบริหารกาย (VRT) จะเป็นแบบใดนั้น 
ย่อมขึ้นกับข้อวินิจฉัย และแพทย์ผู้มีส่วนร่วมกับการรักษา
เช่น คนไข้ที่เป็นโรค BPPV จะใช้วิธีการรักษาที่มีชื่อ Epley maneuver
ซึ่งเป็นกรรมวิธีทำให้ก้อนคริสตอลของ calcium carbonate ที่หลุดลอยใน
หลอดครึ่งวงกลม (semicircular canal) ให้กลับสู่ที่เดิม (utricle)   

 

การสูญเสียการชดเชย (decompensation)

ภายหลังจากสมองของคนเราสามารถชดเชยตนเองต่อการสูญเสียการทำงาน

ของระบบการทรงตัวในหูชั้นใน (vestibular organs) แล้ว 

แต่มีบางครั้ง  เพียงแค่เกิดเป็นหวัด (bad cold) ไข้หวัดใหญ่ (flu)  หรือได้

รับการผ่าตัดเล็กเท่านั้น  ....ถึงกับทำให้สมอง “ลืม” สิ่งที่ได้เรียนมาหมดสิ้น

เป็นเหตุให้คนไข้เกิดมีอาการสูญเสียการทรงตัวกลับคืนมาอีก...

ภาวะเช่นนี้  เราเรียกว่า  decompensation”

 

VRT and surgery

ในคนไข้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบการทรงตัว (vestibular disorder)….

เมื่อจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด 

VRT ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องถูกนำมาใช้ในการรักษา

ทั้งนี้เพราะคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัด  มักจะเกิดมีอาการเพิ่มขึ้นได้ในระยะสั้น ๆ

ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการช่วยเหลือโดยนักกายภาพบำบัดด้วยวิธี VRT



    1    2   NEXT   >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น