วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

THE HUMAN BALANCE SYSTEM 3


Processing of conflicting sensory input
คนเราอาจเสียศูนย์ (disoriented) โดยไม่รู้ว่า เราอยู่ที่ใด กำลังจะไปไหน
กรณีเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อข้อมูล (sensory input) จากตาทั้งสอง
หรือจากกล้ามเนื้อ และข้อ หรือจาก vestibular organ ที่ส่งไปยังสมอง
มีความผิดเพี้ยนไป

ยกตัวอย่างเช่น  คนยืนอยู่บนตำแหน่งถัดจากรถบัส
ซึ่งกำลังเคลื่อนออกไปจากตำแหน่งที่จอด...
ภาพของรถ (ขนาดใหญ่) ที่กำลังเคลื่อนออกไปนั้น 
อาจสร้างความเข้าใจผิดให้แก่คนเดินเท้าได้  โดยคนเดินเท้าเข้าใจว่า 
ตัวเธอเองเป็นคนเคลื่อนที่  ไม่ใช้รถยนต์กำลังเคลื่อนจากไป

อย่างไรก็ตาม  ในเวลาเดียวกัน  ข้อมูลที่ได้จากกล้ามเนื้อ และข้อ
ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกิดจากแรงดึง หรือแรงดัน (proprioceptive information)
บ่งบอกให้ทราบว่า  จริงๆ แล้วเขา (ตัวคน) ไม่ได้เคลื่อนที่เลย

ส่วนข้อมูล (sensory input) ที่ได้จาก vestibular organs อาจช่วย
ปฏิเสธข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้

นอกจากนั้น  คลื่นคำสั่ง (motor output) จากสมองส่วนบนเกี่ยวกับความคิด
และความจำ  อาจบังคับให้ “เจ้าตัว” ไม่ให้มองไปที่รถยนต์  แต่มองไปที่พื้นแทน 
เพื่อยินยันข้อมูลที่ได้จากภาพทางสายตาว่า  นั้นไม่ใช่การเคลื่อนที่ของร่างกาย

MOTOR  OUTPUT 
คลื่นความรู้สึก (sensory information) เมื่อถูกส่งเข้าสู่สมอง...
การบูรณาการข้อมูลดังกล่าว  จะเกิดขึ้นที่ก้านสมอง (brain stem)
จากนั้น  ก้านสมองจะส่งคลื่น (motor output) ไปยังกล้ามเนื้อต่าง ๆ
ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนของลูกตาทั้งสอง,  การเคลื่อนที่ของศีรษะ และคอ,
ลำตัว  และขาทั้งสอง....เพื่อทำให้คนเราสามารถรักษาสภาพความสมดุลเอาไว้ได้
ตลอดรวมไปถึงการทำให้มองเห็นภาพในขณะเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจน

Motor output to the eyes 
ระบบ vestibular system จะส่งคลื่นคำสั่ง (motor output) ผ่านระบบ
ประสาทไปยังกล้ามเนื้อของลูกตาแบบอัตโนมัติ 
เรียก vestibulo-ocular reflex

ในขณะที่ศีรษะไม่มีการเคลื่อนไหว  จำนวนของคลื่นจาก  vestibular organs
จากด้านซ้าย และด้านขวา จะเท่ากันทางปริมาณ
แต่ในขณะที่ศีรษะมีการเคลื่อนไหว  โดยการหมุนศีรษะไปทางด้านขวามือ...
จำนวนของคลื่น (impulses) จากหูด้านขวาจะเพิ่มขึ้น
ส่วนคลื่นจากหูด้านซ้ายจะลดลง

ความแตกต่างของจำนวนคลื่นจากหูทั้งสอง  จะทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อน
ตัวของลูกตา  และรักษาตำแหน่งของภาพที่มองให้อยู่คงที่เอาไว้ได้ทั้งๆ ที่
ศีรษะมีการเคลื่อนที่  เช่น  ในขณะวิ่ง  หรือขณะชมการเล่น hockey
หรือในขณะที่ศีรษะมีการเคลื่อนไหวได้เอง (passive movements)
เช่นในขณะนั่งรถที่กำลังเคลื่อนด้วยการเพิ่มความเร็ว  หรือลดความเร็วลง

The coordinated balance system
ระบบการทรงตัวของคนเราเกิดขึ้นได้ด้วยการประสานการทำงานของ
sensorimotor control system โดยคลื่นความรู้สึกส่วนปลาย
จากสามแหล่ง (ตา, กล้ามเนื้อ และข้อ, และจาก vestibular organs
ในหูชั้นใน) ส่งคลื่นสุ่สมอง  ภายหลังสมองได้ทำการประเมิน
และบูรณาการเป็นที่เรียบร้อย  มันจะถูกส่งกลับ(mtor output) ….
เพื่อให้ร่างกายคงสภาพความสมดุลเอาไว้

หากเมื่อใดที่เกิดมีความผิดปกติในการทำงานในแหล่งใดแหล่งหนึ่ง
ย่อมก่อให้เกิดการเสียความสมดุลไป  ซึ่งอาจเป็นบาดเจ็บ (injury) ,
โรค (disease) หรือวัยที่ล่วงเข้าสู่ความสูงวัยชะรา

การสูญเสียการทรงตัว สามารถมีอาการอย่างอื่นเกิดร่วม 
เช่น อาการวิงเวียน (diziness), รู้สึกหมุน (vetigo), ปัญหาด้านสายตา
(vision problems), คลื่นไส้ (nausea), เมื่อยล้า (fatigue)
และสูญเสียสมาธิ (loss of cncentration)

โดยสรุป  ระบบความสมดุลของมนุษย์เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน เป็นเรื่องที่
ท้ายทายทั้งการวินิจฉัย  และการรักษาเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะการสูญเสียการทรงตัวจากความผิดปกติใน vestibular organs
ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับความรู้สึกนึกคิด (cognitive), การควบคุม
การเคลื่อนของลูกตา  และตำแหน่งของร่างกาย.....

<< BACK

http://vestibular.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น