วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

BALANCE DISORDERS 1

What is a balance disorder?


การสูญเสียความสมดุล หรือ  จะเรียกว่า Balance disorder…
มันหมายถึงความผิดปกติที่คนเรารู้สึกว่า  ตนเองไม่มีความมั่นคง เสมือนว่า  
ตัวเองมีการเคลื่อนไหว  มีการหมุน  หรือลอยตัวในอากาศ

ในหูชั้นใน (inner ear) ของเรา  จะเรียกว่า Labyrinth ไม่ไม่ว่ากัน
มีอวัยวะสำคัญ  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว มีชื่อเรียก Balance หรือ
Vestibular system  โดยมันจะทำปฏิกิริยากับระบบอื่นๆ ของร่างกาย
เช่น  การมองเห็น (visual system) และระบบการกล้ามเนื้อ และข้อกระดูก 
เพื่อทำหน้าที่รักษาร่างกายให้คงอยู่ในสภาพการทรงตัวได้เป็นปกติ

ทั้งสามระบบที่กล่าวมา ( ตา, หูชั้นใน และระบบการรับรู้ของกายเช่น กล้ามเนื้อ
เอ็น และข้อกระดูก)  รวมกับสมอง และระบบประสาท...
เมื่อเกิดเป็นโรคขึ้นมา หรือได้รับบาดเจ็บ
ต่างมีโอกาสเป็นปัญหากระทบต่อระบบการทรงตัว (balance) ได้ทั้งนั้น


ลองมาพิจารณาอวัยวะสำคัญที่อยู่ในหูชั้นใน (labyrinth) 
ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดครึ่งวงกลมจำนวนสามอัน (semicircular canals)
เมื่อเราทำการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการหมุนตัว
ดูซิว่า  มีอะไรเกิดขึ้น ?

ภายในหลอดครึ่งวงกลมดังกล่าว (superior,posterior และ horizontal)
จะมีน้ำบรรจุอยู่เต็ม  การเคลื่อนไหวของน้ำภายในหลอดทั้งสาม
จะบอกให้เราได้ทราบว่า  ตัวเรามีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น

การทำงานของหลอดครึ่งวงกลมดังกล่าว  รวมกับการทำงานของสายตา
และการรับรู้ความรู้สึกระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก
ทำให้คนเราสามารถทราบว่า  ร่างกายของเราอยู่ในตำแหน่งใด....


หลอดครึ่งวงกลม (semicircular canals) จำนวนสามหลอด
เรียก vestibular organ  จะอยู่ภายในหูชั้นในใกล้ชิดกับอวัยวะฟังเสียง
(hearing organ)  มีชื่อเรียก cochlear มีลักษณะเป็นรู้ก้นหอย


Vestibular organ (system) ทำงานร่วมกับระบบการมองเห็น (visual
System)  สมารถทำให้เราโฟกัสสายตาที่วัตถุได้ทั้งที่ศีรษะมีการเคลื่อนที่
นอกจากนั้น  การรับรู้ของระบบกล้ามเนื้อและข้อกระดูก  ยังมีส่วนสำคัญ
ต่อการรักษาความสมดุลเอาไว้ได้

                                                
ส่วนสมอง  จะทำหน้าทีรับข้อมูลจากระบบทั้งสาม (ตา, หู และ กล้ามเนื้อ
และข้อกระดูก)  มีการแปล และประเมิน และบูรณาการข้อมูลเหล่านั้น 
เพื่อนำมาซึ่งการควบคุมความสมดุลของร่างกายให้อยู่ในสภาพเป็นปกติ

ระบบการทรงตัว (vestibular system) ทำงานอย่างไร ?

เมื่อน้ำที่อยู่ภายในหลอดครึ่งวงกลมเคลื่อนไหว...
มันจะส่งคลื่นสัญญาณ (signals) เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของศีรษะ
(ทิศทาง และความเร็วของการหมุน) เช่น  การพยักหน้าขึ้น-ลง หรือ
มองซ้าย  แลขวา  ไปยังสมอง...



หลอดครึ่งวงกลม (semicircular canal) แต่ละอันจะมีส่วนปลายมีรูปร่าง
เป็นกระเปาะกลมโต (bulb end)  ซึ่งมีขน (hair cells) เป็นจำนวนมาก
(ฝังตัวในสารที่มีลักษณะคล้ายเจลลี่)

การหมุนศีรษะจะทำให้น้ำในหลอดครึ่งวงกลมเคลื่อนตัวไปกระทบกับขน (hair cells)  
เป็นเหตุให้ขน เคลื่อนไหว  ก่อให้เกิดเป็นคลื่นประสสาท
ขึ้น

นอกจากหลอดครึ่งวงกลม  ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบการทรงตัว(vestibular organ)
มันยังมีอวัยวะอีกอย่างหนึ่งเรียก otolith organ
ซึ่งประกอบด้วย Utricle และ saacule 
โดยอวัยวะทั้งสอง  จะทำหน้าที่เกี่ยวในการตรวจจับการเคลื่อนไหว
ตามแนวเส้นตรง  หรือเคลื่อนไหวด้วยความเร่งในแนวเส้นตรง
(linear acceleration)

ภายในอวัยวะ Utriucle  และ saccule  ต่างก็มีขน (hair cells) เช่นกัน   
โดยมันจะถูกคลุมด้วยสารเป็นชั้นมีลักษณะเหมือนเจลลี
(jelly-like sybstance)  ซึ่งมีสาร “แคลเซี่ยม” เป็นก้อนเล็ก ๆ 
เรียกก้อนดังกล่าวว่า   otoconia” จับตัวอยู่
เมื่อศีรษะของคนเราเกิดการเอียงตัว  จะทำให้ก้อนแคลเซี่ยม 
ที่วางตัวอยู่แผ่นเจลลี่ที่คลุม “ปลายขน” 
เกิดการเคลื่อนตัวตามแนวโน้มถ่วง (gravity) เป็นเหตุทำให้ขน
(hair cells) เกิดการโค้งงอตามก้อนแคลเซี่ยม


ดยปกติระบบการทรงตัว  จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง สายตา
และระบบกล้ามเนื้อและกระดูก  และความรู้สึกจากระบบ vestibular
เพื่อทำหน้าที่รักษาความสมดุลของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ

ยกตัวอย่าง  คลื่นสัญญาณจากสายตา เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
ที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม จะถูกส่งไปยังสมอง  
จากนั้นเป็นหน้าที่ของสมองประเมินผล  พร้อมกับเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้
จากระบบการทรงตัว (vestibular) และความรู้สึกการรับรู้ที่ได้จาก
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก-ข้อ


ตัวอย่างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมองเห็น (visual system) และจากระบบ
การทรงตัว (vestibular system) 
เราเรียกว่า  vestibular-ocular reflex
ซึ่งเราจะพบเห็นในคนที่ถูกจับหมุนรอบแกน  แล้วให้หยุดทันที...

ในคนปกติ  เราจะพบเห็นการเคลื่อนไหวของลูกตาเป็นจังหวะกระตุก
(nystagmus)  แต่หากระบบการทรงตัว vestibular system ของคนไข้
รายนั้นถูกทำลายไป...การเคลื่อนไหวของลูกตาแบบกระตุก (systagmus)
จะไม่เกิดขึ้น

 NEXT  >>

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น