วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

CAUSES OF DIZZINESS 3


Non-vestibular causes of dizziness :
อาการวิงเวียน (dizziness) สามารถสัมพันธ์กับกลุ่มที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ
ซึ่งเกี่ยวกับความผิดปกติในการไหลเวียนของเลือด จากปัญหาของระบบหัว
ใจ และเส้นเลือด (cardiovascular problems)  เช่น:


Aneurysm:
มีจุดอ่อนแอในผนังของเส้นเลือดแดง  ทำให้เลือดเซาะผ่านตามรอยรั่วของ
ผนังเส้นเลือด  ภาวะของผนังเส้นเลือดเกิดการโป่งพอง ถือว่าเป็นภาวะที่ทำ
ให้เกิดอาการวิงเวียน  ทำให้มีความลำบากในการเดิน

Arrhythmia:
เป็นภาวะของการเต้นหัวใจผิดปกติ  สามารถทำให้เกิดความดันโลหิตไหลสู่
สมองลดต่ำลง  ทำให้เกิดอาการวิงเวียน  หรือรู้สึกจะเป็นลมได้

Atherosclerosis:
เป็นภาวการณ์แข็งตัวของผนังเส้นเลือดแดง  ซึ่งเกิดจากการมีคราบไขมันไป
เกาะ  บางรายถึงขั้นทำให้แส้นเลือดตีบแคบ หรืออุดตัน  เป็นเหตุให้เลือด
ไหลเวียนสู่อวัยวะที่สำคัญเช่นสมองได้ไม่พอ  เป็นเหตุให้เกิดมีอาการวิงเวียนได้

Carotid sinus reflex:
ปกติในคนหนุ่มสาว  carotid sinus reflex จะทำงานได้ไวมาก
แต่ในคนสูงอายุ  โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องการไหลเวียนของเลือดร่วม
จะพบว่า  cartid sinus reflex จะช้ามาก ๆ

Carotid sinsus  ซึ่งอยู่ใน carotid artery…
จะมีความไวต่อระดับความดันที่ต่ำลง
ในกรณีที่ความดันโลหิตลดต่ำลง...reflex ใน carotid sinus  จะกระตุ้นให้
เส้นเลือดของขาเกิดการหดเกร็ง (constrict) และทำให้เส้นเลือดในสมอง
ขยายตัว (dilate) เพื่อให้เลือดไหลเวียนสู่สมองเพิ่มขึ้น
ภายใต้ภาวะดังกล่าว...สามารถทำให้คนเกิดมีอาการวิงเวียนได้

Defective heart valve:
โดยเฉพาะลื้นหัวใจเอออติค (aortic valve) เกิดเป็นโรคตีบแคบลง (aortic
Stenosis)  ป้องกันไม่ให้เลือดไหลเวียนไปสู่สมองได้น้อยลง..

Dehydration:
ภายใต้ภาวการณ์ขาดน้ำ (dehydration) สามารถทำให้เกิดอาการมึนงง
โดยผ่านกระบวนการหลายอย่างในร่างกาย

Degenerative arthritis of cervical spine:
ภายใต้สภาพดังกล่าว  สามารถกดเส้นเลือด vertebral arteries  และมีผล
กระทบต่อการไหลเวียนเลือดสู่สมอได้

Embolism:
ลิ่มเลือด หรือก้อนเลือดที่เกิดในบริเวณลิ้นหัวใจที่ทำงานได้ไม่ดี  หรือลิ้ม
เลือดหลุดเข้าสู่เส้นเลือดแดง  ไหลสู่สมอง ทำให้เกิดสมองถูกทำลาย
และ  สามารถก่อให้เกิดอาการ “วิงเวียน”
และหากมันหลุดเข้าสู่ ระบบ vestibular system สามารถทำให้เกิดอาการ
วิงเวียนอย่างรุนแรงได้

Heart attack:
ภายใต้ภาวะหัวใจขาดเลือดถึงขั้นเกิด heart attack
สามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้ 

Hyperventilation:
ภายใต้ภาวะ hyperventilation (หายใจเร็ว) จะทำให้ คาร์บอนไดออกไซด์
ถูกกำจัดออกจากร่างได้มากกว่าปกติ
จะทำให้ระดับของ CO2 ในกระแสเลือดลดลง และจะกระทบกับการทำ
งานของเซลล์สมอง  ทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้ชั่วขณะ

Certain Medications:
ยารักษาโรค  รวมถึงยาที่ซื้อจากร้านขายา สามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียน
ได้ชั่วขณะเช่นกัน

Nervous-system disorders:
เช่น  peripheral neuropathies ทำให้การทำงานของประสาทลดลง  และ
การเป็นโรค multiple sclerosis สามารถทำให้คนเป็นโรคเกิดความไม่มั่นคง
สามารถหกล้มได้ง่าย (unsteadiness)

Orthostatic hypotension:
เป็นภาวะที่เกิดในคนสูงอายุได้บ่อยมาก  โดยเฉพาะในคนที่มีปัญหาของการ
ในการไหลเวียนของเลือด  และคนเป็นโรคเบาหวาน
มีโอกาสทำให้เกิดภาวะ orthostatic hypotension ได้

ในคนปกติ เวลาเราลุกขึ้นยืน  ร่างกายจะมีการปรับตัวผ่านกระบวนการทำให้
เส้นเลือดจากส่วนร่างของกายหดตัว  ทำให้เลือดไหลสู่สมองได้เพียงพอ
แต่ในภาวะที่มีความบกพร่องในการไหลเวียนของเลือด  การปรับตัวดังกล่าว
จะเสียไป  เป็นเหตุให้เลือดไหลเวียนสู่สมองได้ไม่พอเพียง  เป็นเหตุให้เกิด
 อาการวิงเวียนได้

§  Dizziness and aging
เมื่อคนเราย่างเข้าสู่วัยชรา...
จะพบว่า  อวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวจะทำงานเลวลง 
ยกตัวอย่าง สายตาเริ่มมัว  มองไม่ค่อยเห็น   หูชั้นในเริ่มเสื่อมลง  ประสาทการรับรู้เริ่มแย่ลง
และกลไกการควบคุมระดับความดันโลหิตเริ่มทดถอย  ไม่สามารถตอบสนองต่อ
การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของร่างกาย...

คนสูงอายุมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางโรคหัวใจ  หรือโรคทางระบบเส้น
เลือด และสมอง  ซึ่งสามารถเป็นต้นเหตุของอาการวิงเวียนได้
นอกจากนั้น  คนสูงอายุมีแนวโน้มที่จะรับประทานยาหลายตัว 
ซึ่งสามารถเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการวิงเวียน รวมไปถึงการเกิดมีโรค
ความดันโลหิตสูง,  เจ็บหน้าอก (angina), หัวใจล้มเหลว, ชักกระตุก  และอาการเครียด 
รวมไปถึงการใช้ยาปฏิชีวนะบงตัว,  ยาแก้แพ้ (anti-histamines และยานอนหลับ
 ดังนั้น  เราจะเห็นว่า  คนที่สูงอายุส่วนใหญ่ที่มีอาการวิงเวียน 
มักจะมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไป


แม้ว่าอาการวิงเวียน  เป็นปัญหาของคนทุกอายุ
แต่ผลของอาการวิงเวียน  และ vertigo มักเป็นปัญหาของคนสูงอายุ
สำหรับคนที่มีร่างกายอ่อนแอ  มีความเสี่ยงต่อกระดูกแตกหักได้ง่าย
จึงเป็นเหตุให้คนสูงอายุ  มีความกลัวต่อการเคลื่อนไหว 
และกลัวต่อการหกล้ม   ทำให้สมรรถภาพในภารกิจประจำวันลดลง


นอกเหนือจากการรักษาสาเหตุเป็นการเฉพาะแล้ว...
คนสูงอายุทั้งหลายที่มีอาการวิงเวียน  และมีอาการ vertigo  อาจได้
รับประโยชน์จากการรักษาด้วยวิธีการภาพบำบัด
และการบริหารเพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรง  เป็นการช่วยให้การเคลื่อน
ไหวได้ดีขึ้น

Others:

อาการวิงเวียนที่ต้นเหตุมาจากความบกพร่องในความรู้สึกน้ำเข้า (Sensory
Input) หลาย ๆอย่าง

Dizziness caused by multiple sensory deficits 
เมือใดก็ตามที่คนเรามีปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่างเกิดขึ้น  จะทำให้การทรง
และการรักษาความสมดุลลำบากมากขึ้น

ในคนที่มีปัญหาด้าน vestibular disorder ที่ไม่รุนแรง  อาจเป็นปัญหา
ที่ยากต่อการรักษา  เช่นในกรณีที่มีปัญหาด้านสายตาที่บกพร่องไป
ซึ่งมันอาจชดเชยความบกพร่องดังกล่าวได้
แต่หากมีปัญหาด้านการรับรู้ความรู้สึกจากกล้ามเนื้อ และกระดูก (proprioception)
เกิดบกพร่องร่วมด้วย  เช่น  ได้รับบาดเจ็บ  หรือเป็นโรค
อะไรสักอย่าง  ย่อมสามารถทำให้เกิดอาการวิงเวียนอย่างรุนแรงได้

การตรวจคนไข้ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการวิงเวียน...
จำเป็นต้องได้การตรวจสอบด้วยความรอบครอบ เพื่อให้ได้คำวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ก่อนให้การรักษาที่เหมาะสมกันต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น