วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Brain Reserve

พลังสำรองของสมอง...คืออะไร... ?

Cognitive function ตามความเข้าใจของเรา คงหมายถึง
หน้าที่ของสมองนั่นเอง  ซึ่งมันหมายความถึงความจำ (รู้คิด), สมาธิ และ
การรับรู้  ซึ่งจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมตามที่คนเราต้องการ
เมื่อสมองของคนเราเกิดเสื่อมลง  ความสามารถของสมองดังกล่าว
ย่อมลดลงเป็นธรรมดา


จากความเชื่อว่า  เมื่อสมองของคนเราเกิดการเสื่อมเสียไป
เช่น  จากวัยชรา  หรือจากการเกิดเป็นโรคจนทำให้สมองเกิดมีพยาธิสภาพ
ของโรคสมองเสื่อม “อัลไซเมอร์” โดยพบว่า amyloid plaque สะสมอยู่
ระหว่างเซลล์สมอง (neurons) และภายในเซลล์ประสาทสมองเอง
ปรากฏว่า  มี neurofibilliary tangles  ซึ่งเป็นใยของชิ้นส่วนของโปรตีน
ชนิดหนึ่งชื่อ  protein tau……แต่ปรากฏว่า  คนๆ ที่พยาธิสภาพ
ของโรคภายในสมองเช่นนั้น  กลับไม่มีอาการแสดงของโรค
ที่เป็นเช่นนั้น  เขาอธิบายว่า  เป็นเพราะมีพลังสำรองของสมองนั้นเอง

ผลจากการศึกษา:
ในปี 2008  นาย Roe และ colleagues จาก Washington University, 
St. Louis ได้ทำการศึกษาเป็นเวลาหลายปี ด้วยการศึกษาเรื่องพลังสำรอง
ของสมอง (cognitive reserve)

จากการใช้จำนวนเวลาในศึกษาหาความรู้ (years of education)  พบว่า 
คนที่ได้รับการศึกษามากจะมีคามต้านทานต่อการเกิด
อาการของโรค “อัลไซเมอร์” ทั้งๆ ที่มีพยาธิสภาพของโรคปรากฏในสมอง

Roe และเพื่อน ได้ทำการศึกษาในคน 198 ราย มีอายุโดยเฉลี่ย 67
ในจำนวนนี้เป็นคนสมองปกติ 37 ราย ส่วนที่เหลือ 198 ราย ได้รับการ
วินิจฉัยเป็นโรค “อัลไซเมอร์”

ทุกคนได้รับการตรวจดูการทำงานของสมอง-(cognitive function)
ด้วยการตรวจ PiB PET scan ซึ่งพบว่า
ภายในเนื้อสมองของพวกเขามี beta-amyloid plaques
เกาะตัวเป็นกลุ่มในเนื้อสมอง

สำหรับคนที่มีสาร amyloid plaque ในปริมาณสูง
หากพวกเขามีการศึกษาเพิ่มขึ้น  ปรากฏว่า
พลังสมองความรู้คิดจะเพิ่มขึ้น   แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าว  จะไม่พบ
ในรายที่มีปริมาณ amyloid plaque น้อย

ผลจากการศึกษานี้บอกให้เราทราบว่า

คนที่ได้รับการศึกษามาก  (greater education)  สามารถรักษาการทำ
งานของสมอง (cognitive function) ให้คงสภาพอยู่เป็นปกติ
ทั้งๆ ที่สมองมีพยาธิสภาพของโรค “อัลไซเมอร์”

โดยสรุป:
จากการศึกษายืนยันให้เราได้ทราบว่า
พลังการรู้คิด หรือพลังสำรองของสมอง  ซึ่งถูกวัดโดยจำนวนปีของการศึกษา
จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง การทำงานของสมอง
กับปริมาณของพยาธิสภาพของโรค “อัลไซเมอร์
โดยไม่ก่อให้เกิดอาการของโรคปรากฏให้เห้น

http://www.thememorypractice.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น